Blog Page 78

มารู้จัก Nudge Theory ทฤษฎีผลักดัน ที่ช่วยเก็บเงินแบบปัง ๆ ไปยาว ๆ

มารู้จัก Nudge Theory ทฤษฎีผลักดัน ที่ช่วยเก็บเงินแบบปัง ๆ ไปยาว ๆ

“เคยเป็นไหม ? เก็บเงินไม่ค่อยอยู่ เพราะเริ่มเบื่อกับวิธีการเก็บเงินแบบเดิม ๆ”

เพราะบางครั้งการเก็บเงินแต่ละทีจะต้องมีแรงผลักดัน หรือแรงกระตุ้นให้เรารู้สึกอยากเก็บเงิน แต่พอไม่มีสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นที่หนักมากพอก็จะทำให้แผนการเงินของเราล้มเหลวไปโดยปริยาย ทฤษฎี Nudge Theory จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในทฤษฎีการออมเงิน ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินแบบปัง ๆ วางแผนการเงินได้แบบยาว ๆ

Nudge Theory หรือทฤษฎีผลักดัน เป็นทฤษฎีของดร.ริชาร์ด เอช. เธอเลอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบสถานการณ์ หรือทางเลือก แต่ไม่ใช่การบังคับฝืนใจ เพื่อให้เราผลักดันทำให้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งเมื่อนำมาปรับใช้กับในเรื่องของการเงินก็จะช่วยให้เรามีแรงผลักดัน สามารถไปสู่เป้าหมายได้ตามต้องการได้อย่างง่าย ๆ  เพราะโดยปกติคนเรามักจะไม่ชอบเรื่องของการบีบบังคับ หรือฝืนใจทำในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ ทฤษฎีนี้ก็จะมาช่วยปรับใช้กับการออมเงินของเราได้ ด้วย 4 วิธีนี้ค่ะ

  1. เมื่อทำถึงเป้าหมายต้องให้รางวัลกับตัวเอง

หากเราเริ่มต้นการออมเงินมาได้ระยะหนึ่ง สิ่งที่จะช่วยให้เราจะสามารถออมเงินต่อไปได้คือการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับตัวเอง เพื่อสร้างกำลังใจ หรือแรงผลักดันในการออมต่อ ๆ ไป เพราะหากเราออมเงินแบบตึงเกิน ก็อาจทำให้ไม่มีความสุขกับการออม แต่ถ้าหากหย่อนไปก็อาจทำให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ช้าลง ฉะนั้นจึงควรมีทางสายกลางเพื่อสร้างแรงผลักดันในการออมเงินต่อไปได้

  1. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ประจำวันให้เป็นคนใหม่

การค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันทีละนิดนั้น จะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ได้เร็วขึ้น เพราะเราจะต้องปรับพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเรานั่นเอง เช่น วางเป้าหมายเก็บเงินแสนให้ได้ภายใน 1 ปี เราก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น เป็นต้น

  1. จัดทำบัญชีแยกเป็นส่วน ๆ

การแยกเงินออกเป็นส่วน ๆ ออกในแต่ละบัญชี จะช่วยให้เราจดจำได้ว่าแต่ละบัญชีเราจะใช้เงินไปกับอะไร เช่น บัญชีเงินเดือน บัญชีเงินเก็บ บัญชีค่าใช้สำหรับชีวิตประจำวัน บัญชีสำหรับการลงทุน บัญชีสำหรับการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการแยกเงินออกเป็นส่วน ๆ เช่นนี้จะช่วยให้เงินไม่กระจุกอยู่ที่เดียว ช่วยให้เราไม่เผลอใช้ไปจนหมด และยังเป็นแรงผลักดันให้เราหาเงินมาเก็บออมเยอะ ๆ ได้อีกด้วย

  1. เช็กยอดเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

การเช็กเงินในบัญชีซ้ำ ๆ ถือเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เพราะการที่เราเห็นจำนวนตัวเลขในบัญชีจะเป็นการสร้างแรงผลักดันให้เราอยากออมเงินมากยิ่งขึ้น และไม่เผลอตัวไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือสิ่งของที่ไม่จำเป็น

สุดท้ายนี้ Nudge Theory ก็เป็นเพียงหนึ่งในทฤษฎีที่จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้การออมเงินของเราไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่เป้าหมายทั้งหมดคงจะสำเร็จไม่ได้หากเราไม่มีการปรับพฤติกรรม และสร้างวินัยทางการเงินอย่างสม่ำเสมอนั่นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.krungsri.com/bank/th/krungsri-consumer/moneymatters/nudge-theory.html

ปรับนิสัย เปลี่ยนวินัยทางการเงินด้วยทฤษฎี 21 วัน ต้อนรับปีใหม่ 2564

ปรับนิสัย เปลี่ยนวินัยทางการเงินด้วยทฤษฎี 21 วัน ต้อนรับปีใหม่ 2564

“ทฤษฎี 21 วัน เปลี่ยนวินัยทางการเงินได้ตลอดกาล”

ทฤษฎี 21 วัน หรือ 21-Day Habit Theory เป็นทฤษฎีของ Dr.Maxwell Maltz เขาได้เขียนทฤษฎีนี้ลงในหนังสือ “Psycho-Cybernetics” หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นิสัยของตัวเอง โดยเริ่มจากการวางเป้าหมาย เพื่อทำบางสิ่งบางอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลา 21 วัน เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดก็จะทำให้สิ่งที่เราทำตลอด 21 วันติดกลายมาเป็นนิสัย

อย่างในเรื่องของการเงินที่ต้องหมั่นสร้างวินัยทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ เราก็สามารถนำทฤษฎี 21 วันมาปรับใช้ในเรื่องของการสร้างวินัยทางการเงินได้เช่นกันค่ะ

  1. จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายต่อเนื่องกันทุกวัน

ข้อดีของการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะช่วยให้เราเห็นรอยรั่วทางการเงินของตัวเองว่าหมดค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ซึ่งหากเราทำเป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้เรามีสติในการใช้จ่าย และมีความรอบคอบเรื่องการเงินมากขึ้น

  1. หยอดเหรียญใส่กระปุกวันละ 10-20 บาท

หากหักดิบออมเงินทีละมาก ๆ ไม่ได้ เราสามารถเริ่มต้นออมเงินทีละเล็ก ๆ ได้โดยเริ่มจากการออมวันละ 10-20 บาท ตลอดเนื่องเป็นเวลา 21 วัน การเริ่มต้นออมละเล็กละน้อย จะช่วยให้เรามีกำลังใจในการออมต่อไป และต้องการไปถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยเร็ว โดยการเพิ่มจำนวนเงินที่ออมนั่นเองค่ะ

  1. ลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

ถ้ารู้ตัว่าเป็นคนใช้เงินเก่ง ชอบชอปปิง ต้องเริ่มปรับนิสัยด้วยทฤษฎี 21 วัน โดยเริ่มจากการลดซื้อของที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเครื่องดื่ม เสื้อผ้า กระเป๋า ที่ซื้อมาแล้วแต่ไม่ได้ใส่ เป็นต้น แม้กระทั่งการซื้อของตามกระแสด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากสามารถลดได้เป็นเวลา 21 วัน ติดต่อกัน จะทำให้เรารู้สึกว่าไม่อยากได้ของเหล่านั้น เพราะไม่จำเป็นต่อชีวิตมากนัก

  1. เปลี่ยนจากบัตรมาจ่ายเงินสด

ช้อปเร็ว โอนไว เห็นของอยากได้ รูดบัตรทันที พฤติกรรมเช่นนี้ต้องรีบปรับด่วนโดยใช้ทฤษฎี 21 วัน เข้ามาช่วยค่ะ โดยเริ่มจากลองปรับจากการใช้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือ Mobile Banking มาเป็นการพกเงินสดแทน แต่เงินสดก็ต้องพกจำนวนทีละน้อย ๆ เช่นกันนะคะ

การนำทฤษฎี 21 วัน มาปรับใช้ในเรื่องของการเงินนอกจากจะช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีต่อตัวเองแล้ว ยังข่วยให้เรามีสติ คิดก่อนใช้เงินมากขึ้นด้วย แต่ท้ายที่สุดทฤษฎีก็จะเป็นเพียงแค่คำบอกกล่าวต่อ ๆ ไป หากเราไม่เริ่มสร้างวินัยทางการเงินที่จริงจังต่อตัวเอง

แหล่งอ้างอิง

https://www.freeletics.com/en/blog/posts/is-21-days-all-it-takes/#:~:text=The%20theory,to%20seeing%20their%20new%20face

หนังสือ Psycho-Cybernetics

โสดคูล ๆ การเงินชิค ๆ กับเทคนิคการเงินสไตล์คนโสดที่ต้องรอดถึงเกษียณ

โสดคูล ๆ การเงินชิค ๆ กับเทคนิคการเงินสไตล์คนโสดที่ต้องรอดถึงเกษียณ

เกิดเป็นคนโสดยุคนี้ต้องสตรอง! ทั้งเรื่องการงาน การใช้ชีวิต รวมไปถึงเรื่องการเงินเราต้องดูแลตัวเองให้ไหว แต่ถ้าเรามีการจัดการวางแผนการเงินที่ดี เรื่องความโสดก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราจะสามารถใช้ชีวิตเกษียณได้อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องง้อใคร

แต่จากสถิติและการคำนวณคร่าว ๆ ที่ผ่านมาพบว่า ประชากรคนโสดควรมีเงินเก็บราว ๆ เกือบ 10 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ดูห่างไกลจากความเป็นจริงค่อนข้างมากเลยทีเดียว ฉะนั้นเราจึงควรมีการวางแผนการเงินอย่างจริงจัง ให้เหมาะสม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตของคนโสดแต่ละคน โดยเริ่มจากสำรวจตัวเราเองว่าเป็นคนแบบไหน มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างไร แล้วมาวางแผนการเงินตามเทคนิคการเงินสไตล์คนโสดต่อไปนี้กันค่ะ

– แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน จ่าย เก็บ แอบ

พื้นฐานของการวางแผนการเงินคือการเก็บก่อนใช้แล้วลงทุน ซึ่งวิธีการนี้ก็จะคล้าย ๆ กัน คือ

‘จ่าย’ เท่าที่จำเป็น ที่สุด

‘เก็บ’ ออมให้ได้มากที่สุด

‘แอบ’ หลาย ๆ บัญชีให้เงินเหลือไว้น้อยที่สุด

ซึ่งการแบ่งเงินเป็น 3 ส่วนเช่นนี้ จะช่วยสร้างวินัยทางการเงินของเราไปโดยปริยาย

– เงินฉุกเฉิน เงินสำรองต้องเตรียมพร้อม

สิ่งที่คนโสดหลายคนชะล่าใจคือ ไม่เตรียมพร้อมสำรองเงินสำหรับอนาคต เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจึงต้องพึ่งพาหยิบยืมคนอื่น จนเกิดเป็นหนี้สิน ฉะนั้นเพื่อป้องกันปัญหานี้ เหล่าโสดควรมีเงินสำรอง 3-6 เท่า ของภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน

– พลังของเงินลงทุน เห็นผลหลังเกษียณ

เส้นทางสู่การไปถึงเงินล้านหลังเกษียณคือการลงทุน และลงทุนเท่านั้น เพราะการลงทุนมีผลตอบแทนที่จะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้รวดเร็วขึ้น ยิ่งหากมีผลตอบแทนรายปีที่สูงก็ยิ่งได้เปรียบ เช่น หุ้นต่างประเทศ ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรายปีสูงถึง 10-15% ต่อปี เป็นต้น แต่ทั้งนี้เราจะต้องเลือกการงลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง และสามารถรับความเสี่ยงได้ด้วยเช่นกัน เพราะจากที่เราจะมีความสุขหลังเกษียณ อาจจะต้องมาเครียดเพราะหลังเกษียณไม่มีเงินใช้ก็ได้นะคะ

– จัดการเรื่องที่พักอาศัยให้เรียบร้อยก่อนเกษียณ

เหล่าคนโสดที่กู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือที่พักอาศัยต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเร่งเคลียร์ภาระหนี้สินที่มีให้หมดโดยเร็วที่สุด เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหลังเกษียณให้ได้มากที่สุด หรือลดขนาดที่พักอาศัยของตัวเองลงให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ชีวิตหลังเกษียณ

– ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ       

เพราะไม่มีคนดูแลต้องดูแลตัวเอง การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพเป็นทางเลือกที่จะช่วยคุ้มครองชีวิตของเราได้ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งยามก่อนและหลังเกษียณ เพราะมีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เมื่อเราเข้าโรงพยาบาล และเบี้ยประกันที่จ่ายน้อยหากทำไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

เทคนิคการเงินสไตล์คนโสด อาจไม่ได้มีความแตกต่างจากการวางแผนในรูปแบบอื่น ๆ แต่สิ่งสำคัญของการวางแผนการเงินสำหรับคนโสดนั่นคือ การวางเป้าหมายในอนาคตหลังเกษียณอย่างชัดเจน พร้อมที่เดินหน้าไปคนเดียวอย่างไม่หวาดกลัว และพร้อมที่จะสร้างวินัยทางการเงินก่อนที่จะสายเกินไปนั่นเองค่ะ

ต่างจังหวัด ตรวจเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง?

อยู่ต่างจังหวัด จะตรวจเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง? หรือมีวิธีตรวจอย่างไรได้บ้าง?

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด จังหวัดใดในประเทศไทย ก็สามารถตรวจเครดิตบูโรได้ง่ายๆ ทั่วประเทศ ลองหาช่องทางที่เหมาะ และสะดวกกับคุณ

ช่องทางที่ 1 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Mobile Banking

เพียงคุณมี Application Mobile Banking ในโทรศัพท์มือถือของคุณ แม้จะอยู่ที่ใดในประเทศไทย คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรของคุณได้ด้วยปลายนิ้ว โดยธนาคารจะส่งรายงานเครดิตบูโรให้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านทางไปรษณีย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Mobile Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 2 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Internet Banking

หากคุณใช้ Internet Banking ธนาคารกรุงศรี ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรได้จากทั่วประเทศ

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Internet Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 3 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

คุณสามารถติดต่อรับคำขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น เพื่อรับผลการตรวจเครดิตบูโรเต็มรูปแบบ ค่าบริการ 150 บาท หากต้องการตรวจคำขอแบบสรุปรอรับได้ทันที ฟรี! ค่าบริการ

>>ตรวจสอบสาขาที่ทำการไปรษณีย์ที่ให้บริการตรวจเครดิตบูโรได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 4 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ ธนาคาร สาขาใกล้บ้านคุณทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 5 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านตู้ ATM

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ตู้ ATM ได้ทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้ ATM ได้ที่นี่<<

ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่าน KKP Mobile Application ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (แบบเรียลไทม์)

ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่าน KKP Mobile Application

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (แบบเรียลไทม์)

  • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งได้ง่ายๆ
  • เตรียมความพร้อมก่อนกู้ในยุคดิจิทัล
  • รายงานเป็นความลับ
  • เรียลไทม์ และปลอดภัย

การขอข้อมูลเครดิต

กรณีมีบัญชีเงินฝากกับ KKP และผ่านการยืนยันตัวตน (KYC) ตามระดับที่กำหนดมาแล้ว 

หน้า KKP Mobile Application

ตรวจเครดิตบูโร

เพิ่มคำขอ

เลือกรูปแบบการขอรับข้อมูลเครดิตบูโร

คำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต

ข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ

ยืนยันข้อมูล

ทำรายการสำเร็จ

เพิ่มคำขอ

ยืนยันการตรวจสอบ

เมื่อตรวจสอบรายการแล้ว กดยืนยัน

ใส่รหัส PIN

พร้อมใช้งาน

ตัวอย่างรายงานเครดิตสกอริ่งบนหน้าจอ

 

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “คนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 20 พฤศจิกายน 2563

คนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส

เรื่องของเครดิตบูโรวันนี้ที่ผมอยากนำเสนอแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านให้ได้ทราบ แม้เป็นเรื่องทางเทคนิคไปบ้างแต่ก็เป็นสิ่งที่เราๆ ท่านๆ อาจจะประสบกับตัวเองได้ เพื่อให้ได้เกิดความเข้าใจโดยทั่วกัน เรื่องมีดังนี้คือ

1.  คำถามและข้อเท็จจริงจากตัวเจ้าของข้อมูล : ดิฉันเคยมีหนี้สินเชื่อบัญชีหนึ่งกับธนาคาร ต่อมาหมุนเงินไม่ทันเกิดการค้างชำระขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ไม่มีการติดต่อกับธนาคารใดๆ เลย เรียกว่าไม่จ่ายหนี้ที่มีอยู่ ธนาคารได้ขายหนี้ที่มีบัญชีสินเชื่อรายการนี้ของดิฉันรวมอยู่ด้วยออกไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งหรือที่ธนาคารมักเรียกว่า “ขายหนี้ออกไปให้กับ AMC” นั่นเอง เมื่อดิฉันได้รับการติดต่อจาก AMC ในเรื่องหนี้ที่ค้างอยู่และทำการเจรจาการชำระหนี้ จนที่สุดทาง AMC ก็ลดหนี้ให้ส่วนหนึ่ง ดิฉันพอจะมีเงินรวบรวมมาได้จึงตัดสินใจชำระหนี้กับ AMC ในบัญชีของดิฉันที่เขาได้ซื้อมาจากธนาคารเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดิฉันได้เอกสารการรับชำระและเอกสารการปิดบัญชีจาก AMC และยังเก็บเอกสารการโอนเงินที่ตัวเองโอนให้กับ AMC รายนั้นไว้อยู่จนทุกวันนี้
ต่อมาเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2563 ดิฉันไปขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ผลออกมาว่าปฏิเสธการให้สินเชื่อ และได้รับแจ้งว่าเหตุเพราะในรายงานเครดิตบูโรของดิฉันในบัญชีที่ดิฉันเคยมีกับธนาคารนั้นมีสถานะบัญชี “แสดงรหัสว่า 42 โอนหรือขายหนี้ให้กับนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์” ประกอบกับในประวัติการชำระหนี้ของบัญชีนั้นช่วงเวลาก่อนหน้าเดือนที่มีการโอนขายหนี้นั้นได้แสดงรายการค้างชำระหนี้เกินกว่า 300 วัน ดิฉันต้องทำอย่างไร ต้องชี้แจงกับธนาคารของรัฐนั้นอย่างไร เขาจึงจะเข้าใจเรื่องที่แท้จริงและอยากให้เขาช่วยพิจารณาสินเชื่อบ้านอีกครั้ง อยากให้ธนาคารเข้าใจว่าตัวเองได้กลับเนื้อกลับตัวแล้ว ปัจจุบันมีรายได้ต่อเดือนเกือบ 40,000 บาท ไม่มีหนี้ที่ไหนแล้ว อยากได้โอกาสอีกครั้ง

2.   ผมวิเคราะห์ได้เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
2.1    ลักษณะที่เกิดเรียกว่า เป็นคนเคยค้าง มีประวัติค้างชำระหนี้ และได้ผ่านการเป็นลูกหนี้ NPL เพราะค้างเกิน 3 งวดติดกัน
2.2    บัญชีสินเชื่อนี้ถูกขายออกจากธนาคารไป AMC เรียกว่า ขายหนี้เสียให้กับ AMC ไปบริหาร
2.3    ตอนขายออกไป ยอดหนี้ในบัญชีจะแสดงตัวเลขเป็นศูนย์ เหมือนกับว่า AMC ได้มาจ่ายหนี้ให้แทน ซึ่งในความเป็นจริงหนี้ที่มีอยู่ 100 บาท AMC อาจซื้อไป 50 บาท ก็ได้ แต่สุดท้ายคือหนี้ที่มีอยู่เป็นศูนย์
2.4    ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีสินเชื่อนี้ในเดือนที่ขายออกไปโดยมีสถานะบัญชี “แสดงรหัสว่า 42 โอนหรือขายหนี้ให้กับนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นไปตามข้อเท็จจริง
2.5    ธนาคารของรัฐที่ไปยื่นขอสินเชื่อเขาเข้ามาดูข้อมูลเห็นว่าคุณผู้หญิงเคยเป็นหนี้เสียแล้วถูกขายออกไป ไม่รู้ว่าชำระแล้วหรือยัง เขาก็อาจกลัวว่าจะเอาเงินกู้จากธนาคารของรัฐที่ยื่นขอไปชำระหนี้ให้กับ AMC ก็ได้เพราะตัวธนาคารไม่รู้ว่ามีรายการเจรจาชำระหนี้กันกับ AMC นั้นอย่างไร เขาไม่เห็นเอกสารใดๆ ประกอบเลยจากฝั่งของคนที่ยื่นขอกู้

3.       สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อขอให้ธนาคารของรัฐพิจารณาเพิ่มเติม คือ
3.1    คุณผู้หญิงมายื่นคำขอตรวจข้อมูลเครดิตบูโรของตนเองเพื่อให้เห็นจะๆ ว่าประวัติที่แสดงเป็นอย่างไร
3.2    เอาเอกสารการชำระหนี้กับ AMC ไปแสดงประกอบว่าบัญชีที่เคยมีกับธนาคารและได้มีการขายออกไปนั้นจบแล้ว เคลียร์แล้ว ปิดบัญชีหมดแล้ว ไม่มีประเด็นค้างใดๆ อีกแล้ว
3.3    อธิบายและเล่าให้เขาฟังอย่างตรงไปตรงมาว่า ที่ไปค้างชำระในอดีตนั้นเป็นเพราะอะไร อันนี้สำคัญอย่าโกหกเด็ดขาด
3.4    แสดงรายได้ แสดงเงินฝาก ให้เห็นว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีฐานะความมั่นคงแล้ว
เมื่อได้ดำเนินการอย่างนี้ไปทั้งหมดแล้วครบถ้วน ที่เหลือก็เป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาเงินกู้ครับ

เราไปแก้ไขข้อมูลข้อเท็จจริงในอดีตที่อาจจะพลาดหลงให้ผิดไปจากความจริงที่ว่า เราเป็นคนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส ขอให้พิจารณา และลึกๆ ผมก็เข้าใจว่าเมื่อไปเป็นหนี้ใคร ก็ต้องใช้หนี้ ไม่มีใครมีความสุขหากยังมีหนี้คาใจดังข้างต้น….สัญญาต้องเป็นสัญญาครับ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน… : วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน…

COVID-19 ยังคงฉุดรั้งการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากของคนชั้นล่าง สร้างปัญหาให้คนชั้นกลางส่วนบนต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ คนชั้นกลางตรงกลางที่เป็นมนุษย์เงินเดือน รับจ้างทำงานอิสระประสบปัญหา income shock รายได้หายจากการถูกบังคับด้วยกติกาของความปลอดภัยด้านสุขภาพ คนชั้นล่าง คนที่มีรายได้น้อย พึ่งพารายได้รายวัน รายสัปดาห์ ต่างถูกลดชั่วโมงการทำงาน

ในประเทศของเราเองตามตัวเลขสถิติ เรามีคนว่างงานอยู่แล้ว เห็นๆ กันเกือบแปดแสนคน ตามด้วยคนที่ทำงานน้อยกว่าสี่สิบชั่วโมงต่อสัปดาห์กว่าอีกสองล้านคน รวมๆ กันคือคนที่จะมีรายได้น้อยลงหรือไม่มีงานไม่มีรายได้กว่าสามล้านคน คนวัยหนุ่มสาวที่กำลังทยอยจบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานต่างเจอภาวะไปต่อได้ยาก ถึงยากมาก ธุรกิจประเทศเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว

เรามีนักท่องเที่ยวปี 2562 เกือบสี่สิบล้านคน พอปี 2563 เราน่าจะได้นักท่องเที่ยวเกือบหกล้านคน ปีหน้า 2564 เราประมาณกันว่าจะได้นักท่องเที่ยว?แปดล้านคน มันคือ 20% ของที่เราเคยได้ แม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมีการใช้จ่ายมาก แต่มันมาชดเชยไม่ได้ คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีรายได้จากทางไหน จะหมุนจะหนีออกไปได้อย่างไร กล่องดวงใจของประเทศคือการท่องเที่ยว การส่งออก มันถูกกระแทกเต็มแรง อาจไม่เจ็บร้ายแรงเพราะเรามีหมอที่ดีมากๆ แต่อาการจุกที่นาน นานจนหายใจได้ยากลำบาก

ขณะเดียวกันคนที่เจ็บและจุกหายใจลำบากกลับพบว่าหลังของเค้าเหล่านั้นต้องแบกกระสอบหนี้ ซึ่งหนักเบาก็ต่างกันไป ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหนี้ครัวเรือนไทยมีสูงถึง 13.5 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 27% เป็นหนี้เพื่อการบริโภคคือกู้มากินใช้หมดไปซึ่งสูงมากๆ

ในช่วงแรกของการเกิดผลกระทบทุกประเทศทุกรัฐบาลต่างทำสิ่งที่เหมือนๆกันคือ

(1) สั่งให้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผู้คนต้องมาเจอหน้ากันสัมผัสกัน

(2) กู้เงินมาแจกจ่ายคนที่ช่วยเหลือตนเองได้ยาก คนชั้นล่าง คนมีรายได้น้อย มากน้อยต่างๆ กันไป

(3) สั่งให้มีโครงการชะลอการชำระหนี้ได้แต่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระมีทั้งเลื่อนการชำระหนี้ ลดยอดการชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เรียกว่ามหกรรมการปรับโครงสร้างหนี้กันเลยแหละ

มาถึงเวลานี้ เวลาที่มาตรการจะหมด การช่วยเหลือแบบปูพรมทุกคนได้ก็หมดไป หลวงท่านคงช่วยได้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะเรื่อง กระตุ้นแบบรัฐร่วมจ่ายเวลาจะซื้อหาอะไรบางสิ่งอย่างเช่นจะไปเที่ยว จะไปกินไปใช้ กิจกรรมแบบ co-payment คงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงเงินในกระเป๋าคนที่มีออกมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจจะได้คึกคัก หากแต่ว่าเรื่องใหญ่สุดมันยังไม่จบครับ โรคระบาดยังคงมีอยู่ และประเทศเราจะปิดสนิทแบบไม่ยอมให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อก็ไม่ได้ การแพร่ระบาดรอบสองมีโอกาสเกิดเยอะ แต่ตั้งจัดการให้ได้ที่เราเรียกว่า “สถานการณ์ที่ต้องอยู่กับมัน” คือความจริงของชีวิต ขอเพียงอย่าล้นทะลุขีดความสามารถทางสาธารณสุขของเราเป็นใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพที่ผู้เขียนนำมาแสดงจาก FB.SiamtownUS ที่เขียนเตือนคนไทยในสหรัฐอเมริกาว่ากำลังจะเจอกับอะไร อยากให้ท่านลองอ่านแล้วคิดตามว่าถ้าเป็นเราและเกิดกับเมืองเราในปลายปีนี้ต่อปีหน้า จะคิดหาหนทางกันอย่างไรกันครับ มาตรการทางการปรับโครงสร้างหนี้จะทำกันอย่างไร จะมากพอหรือไม่ จะเร็วพอหรือไม่ จะทันกับชีพจรธุรกิจที่แผ่วลงหรือไม่

เตือนใจคนไทยในสหรัฐอเมริกา อย่าการ์ดตก สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในช่วงที่น่ากังวลใจที่สุด โดยเฉพาะช่วง Dark Winter เข้าเทศกาลต่างๆ ปลายปีนี้ ไล่ตั้งแต่ Thanksgiving วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส วันส่งท้ายปีเก่าและฉลองปีใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปมาหาสู่ หรือพบญาติกันตัวเลขล่าสุด สหรัฐอเมริกามียอดคนติดเชื้อเกินแสนคน มาตลอดหลายวัน ส่วน รัฐเท็กซัสมีคนติดเชื้อสะสมแล้ว 1 ล้านคน ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังจะตามมา ส่วนรัฐในตอนกลางของอเมริกา ก็มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ

คำสั่งจากหลายๆ เมืองล่าสุดมีดังนี้

นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งห้ามนั่งทานอาหารในร้าน

เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ แนะนำให้ประชาชนอยู่บ้าน ให้ออกนอกบ้านไปทำงาน โรงเรียน หรือธุระสำคัญ และห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน เริ่ม 16 พฤศจิกายน 2563 นี้

ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน เซ็นคำสั่งให้อยู่บ้านให้ได้มากที่สุด งดรวมกลุ่มยกเว้นครอบครัวเดียวกันในบ้าน

ศาลเมือง El Paso รัฐเท็กซัส ขยายคำสั่งให้อยู่บ้านไปจนถึง 1 ธันวาคม 2563 หลังรัฐเท็กซัสยอดพุ่งไม่หยุด

และเชื่อว่าอีกหลายเมืองหรือหลายรัฐจะมีคำสั่งตามมาเรื่อยๆ หลังจากวันนี้ไป

เมืองหนาวจะหนักเพราะอากาศเอื้อต่อการแพร่ระบาด เมืองร้อนอาจได้เปรียบแต่มันแค่ลดความเสี่ยง การใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ กินร้อน ช้อนกลางแบบของใครของมันหรือตักแยกมาทานแต่นั่งร่วมกัน และอะไรต่อมิอะไรยังต้องต่อเนื่อง สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร งานหนักยังไม่มา อย่าร้องหาแต่ความช่วยเหลือเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ การ์ดอย่าตกครับ และเรา ท่าน จะผ่านเจ้าเชื้อนี้ได้

สุดท้ายของท้ายสุด ไม่มีใครรู้ว่าจบจาก COVID-19 แล้วเราจะเจอกับ COVID-24 COVID-25 อีกหรือไม่…

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน… : วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน…

COVID-19 ยังคงฉุดรั้งการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากของคนชั้นล่าง สร้างปัญหาให้คนชั้นกลางส่วนบนต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ คนชั้นกลางตรงกลางที่เป็นมนุษย์เงินเดือน รับจ้างทำงานอิสระประสบปัญหา income shock รายได้หายจากการถูกบังคับด้วยกติกาของความปลอดภัยด้านสุขภาพ คนชั้นล่าง คนที่มีรายได้น้อย พึ่งพารายได้รายวัน รายสัปดาห์ ต่างถูกลดชั่วโมงการทำงาน

ในประเทศของเราเองตามตัวเลขสถิติ เรามีคนว่างงานอยู่แล้ว เห็นๆ กันเกือบแปดแสนคน ตามด้วยคนที่ทำงานน้อยกว่าสี่สิบชั่วโมงต่อสัปดาห์กว่าอีกสองล้านคน รวมๆ กันคือคนที่จะมีรายได้น้อยลงหรือไม่มีงานไม่มีรายได้กว่าสามล้านคน คนวัยหนุ่มสาวที่กำลังทยอยจบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานต่างเจอภาวะไปต่อได้ยาก ถึงยากมาก ธุรกิจประเทศเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว

เรามีนักท่องเที่ยวปี 2562 เกือบสี่สิบล้านคน พอปี 2563 เราน่าจะได้นักท่องเที่ยวเกือบหกล้านคน ปีหน้า 2564 เราประมาณกันว่าจะได้นักท่องเที่ยว?แปดล้านคน มันคือ 20% ของที่เราเคยได้ แม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมีการใช้จ่ายมาก แต่มันมาชดเชยไม่ได้ คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีรายได้จากทางไหน จะหมุนจะหนีออกไปได้อย่างไร กล่องดวงใจของประเทศคือการท่องเที่ยว การส่งออก มันถูกกระแทกเต็มแรง อาจไม่เจ็บร้ายแรงเพราะเรามีหมอที่ดีมากๆ แต่อาการจุกที่นาน นานจนหายใจได้ยากลำบาก

ขณะเดียวกันคนที่เจ็บและจุกหายใจลำบากกลับพบว่าหลังของเค้าเหล่านั้นต้องแบกกระสอบหนี้ ซึ่งหนักเบาก็ต่างกันไป ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหนี้ครัวเรือนไทยมีสูงถึง 13.5 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 27% เป็นหนี้เพื่อการบริโภคคือกู้มากินใช้หมดไปซึ่งสูงมากๆ

ในช่วงแรกของการเกิดผลกระทบทุกประเทศทุกรัฐบาลต่างทำสิ่งที่เหมือนๆกันคือ

(1) สั่งให้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผู้คนต้องมาเจอหน้ากันสัมผัสกัน

(2) กู้เงินมาแจกจ่ายคนที่ช่วยเหลือตนเองได้ยาก คนชั้นล่าง คนมีรายได้น้อย มากน้อยต่างๆ กันไป

(3) สั่งให้มีโครงการชะลอการชำระหนี้ได้แต่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระมีทั้งเลื่อนการชำระหนี้ ลดยอดการชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เรียกว่ามหกรรมการปรับโครงสร้างหนี้กันเลยแหละ

มาถึงเวลานี้ เวลาที่มาตรการจะหมด การช่วยเหลือแบบปูพรมทุกคนได้ก็หมดไป หลวงท่านคงช่วยได้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะเรื่อง กระตุ้นแบบรัฐร่วมจ่ายเวลาจะซื้อหาอะไรบางสิ่งอย่างเช่นจะไปเที่ยว จะไปกินไปใช้ กิจกรรมแบบ co-payment คงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงเงินในกระเป๋าคนที่มีออกมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจจะได้คึกคัก หากแต่ว่าเรื่องใหญ่สุดมันยังไม่จบครับ โรคระบาดยังคงมีอยู่ และประเทศเราจะปิดสนิทแบบไม่ยอมให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อก็ไม่ได้ การแพร่ระบาดรอบสองมีโอกาสเกิดเยอะ แต่ตั้งจัดการให้ได้ที่เราเรียกว่า “สถานการณ์ที่ต้องอยู่กับมัน” คือความจริงของชีวิต ขอเพียงอย่าล้นทะลุขีดความสามารถทางสาธารณสุขของเราเป็นใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพที่ผู้เขียนนำมาแสดงจาก FB.SiamtownUS ที่เขียนเตือนคนไทยในสหรัฐอเมริกาว่ากำลังจะเจอกับอะไร อยากให้ท่านลองอ่านแล้วคิดตามว่าถ้าเป็นเราและเกิดกับเมืองเราในปลายปีนี้ต่อปีหน้า จะคิดหาหนทางกันอย่างไรกันครับ มาตรการทางการปรับโครงสร้างหนี้จะทำกันอย่างไร จะมากพอหรือไม่ จะเร็วพอหรือไม่ จะทันกับชีพจรธุรกิจที่แผ่วลงหรือไม่

เตือนใจคนไทยในสหรัฐอเมริกา อย่าการ์ดตก สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในช่วงที่น่ากังวลใจที่สุด โดยเฉพาะช่วง Dark Winter เข้าเทศกาลต่างๆ ปลายปีนี้ ไล่ตั้งแต่ Thanksgiving วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส วันส่งท้ายปีเก่าและฉลองปีใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปมาหาสู่ หรือพบญาติกันตัวเลขล่าสุด สหรัฐอเมริกามียอดคนติดเชื้อเกินแสนคน มาตลอดหลายวัน ส่วน รัฐเท็กซัสมีคนติดเชื้อสะสมแล้ว 1 ล้านคน ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังจะตามมา ส่วนรัฐในตอนกลางของอเมริกา ก็มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ

คำสั่งจากหลายๆ เมืองล่าสุดมีดังนี้

– นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งห้ามนั่งทานอาหารในร้าน

– เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ แนะนำให้ประชาชนอยู่บ้าน ให้ออกนอกบ้านไปทำงาน โรงเรียน หรือธุระสำคัญ และห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน เริ่ม 16 พฤศจิกายน 2563 นี้

– ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน เซ็นคำสั่งให้อยู่บ้านให้ได้มากที่สุด งดรวมกลุ่มยกเว้นครอบครัวเดียวกันในบ้าน

– ศาลเมือง El Paso รัฐเท็กซัส ขยายคำสั่งให้อยู่บ้านไปจนถึง 1 ธันวาคม 2563 หลังรัฐเท็กซัสยอดพุ่งไม่หยุด

และเชื่อว่าอีกหลายเมืองหรือหลายรัฐจะมีคำสั่งตามมาเรื่อยๆ หลังจากวันนี้ไป

เมืองหนาวจะหนักเพราะอากาศเอื้อต่อการแพร่ระบาด เมืองร้อนอาจได้เปรียบแต่มันแค่ลดความเสี่ยง การใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ กินร้อน ช้อนกลางแบบของใครของมันหรือตักแยกมาทานแต่นั่งร่วมกัน และอะไรต่อมิอะไรยังต้องต่อเนื่อง สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร งานหนักยังไม่มา อย่าร้องหาแต่ความช่วยเหลือเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ การ์ดอย่าตกครับ และเรา ท่าน จะผ่านเจ้าเชื้อนี้ได้

สุดท้ายของท้ายสุด ไม่มีใครรู้ว่าจบจาก COVID-19 แล้วเราจะเจอกับ COVID-24 COVID-25 อีกหรือไม่…

เรื่องน่าอ่าน