Blog Page 180

สายเปย์ไม่โอเค… ควบคุมการใช้จ่าย ก่อนหมดตัวนะคะซิส!

สายเปย์ คำฮิตยุค 4.0 ไม่ว่าจะไปทางไหนเป็นต้องได้ยินคำนี้เสมอ สงสัยกันไหม คำว่า สายเปย์ ที่จริงแล้วคืออะไร พฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่าย มนุษย์สายเปย์ และใครที่กำลังกลายเป็นมนุษย์สายเปย์ “ไม่” ควบคุมการใช้จ่าย แบบไม่รู้ตัว จนเงินหด หนี้เพิ่ม ไม่เหลือเก็บ กลายเป็นเศรษฐีต้นเดือน ยาจกสิ้นเดือน กันบ้าง

การทำตัวเป็นมนุษย์สายเปย์ถือเป็นเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนไม่มีเงินเก็บเหลือ หรือเงินไม่พอใช้เป็นต้องเดือนชนเดือนอยู่เสมอ มนุษย์สายเปย์เหล่านี้ มักมีนิสัยและพฤติกรรม หน้าใหญ่ ใจใหญ่  หรือเลี้ยงคนอื่นแบบจัดหนักจัดเต็ม รวมไปถึงการใช้เงินแบบจัดหนักจัดเต็มกับตัวเองด้วย

ยกตัวอย่างกันให้เห็นชัดๆ ก็คือ การทำตัวเป็นพ่อบุญทุ่มควักกระเป๋า ซื้อของราคาแพง ที่เกินความจำเป็นให้กับใครก็ตามหรือแม้แต่ให้ตัวเอง เช่นเลี้ยงข้าว เลี้ยงกาแฟเพื่อน ซื้อของแบรนด์เนมให้แฟน ซื้อรองเท้าแบรนด์เนมราคาแพงให้ตัวเอง ทั้งๆที่มีอยู่หลายคู่และไม่ค่อยจะได้ใช้เสียด้วย

พฤติกรรมควักกระเป๋า เปย์เพื่อน เปย์แฟน เปย์ตัวเองแบบไม่คิดหน้าคิดหลังในช่วงเงินเดือนออกนี่แหละเป็นตัวการสำคัญทำให้หลายคนกลายเป็นยาจกช่วงปลายเดือน นั่งเครียด นั่งกุมขยับกันเป็นแถบเพราะกังวลว่าจะไม่มีเงินใช้จนกว่าจะถึงวันเงินเดือนออก และเมื่อเงินไม่พอใช้ก็ไม่มีเงินเหลือให้เก็บแน่นอน ดังนั้น เรามายื่นใบลาออกจากการเป็นมนุษย์สายเปย์ กับยุทธการ ลด ละ เลิก แบบง่ายๆ กันดีกว่า

สายเปย์ ควบคุมการใช้จ่าย

4 วิธี ควบคุมการใช้จ่าย เพื่อลาออกจากมนุษย์สายเปย์

หน้าใหญ่ ใจใหญ่ ทำกระเป๋าพัง

บางครั้ง เราจำเป็นต้องลดนิสัย ใจอ่อน เจอลูกอ้อนขอให้เลี้ยงข้าว เลี้ยงกาแฟ ซื้อแบรนด์เนมลงบ้าง เพราะนิสัยหน้าใหญ่ ใจใหญ่ ปฎิเสธคนไม่เป็น เสียเงินเท่าไหร่ไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้ นี่แหละตัวการอันดับ 1 ที่ทำให้คนกระเป๋าฉีกมานักต่อนัก ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องเกินจำเป็น ปฎิเสธได้ก็ควรปฎิเสธ หรือถ้ากลัวแพ้ลูกอ้อนก็ลองเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ คือ เลิกงานแล้วก็กลับบ้านซะเลย

หารได้ไม่น่าเกลียด

ไม่ว่าจะนัดทานข้าว ดื่มกาแฟ หรือปาร์ตี้แบบจัดหนัก ระลึกไว้เสมอว่า “เดี๋ยวเลี้ยงเอง” คำนี้คือคำต้องห้าม อย่าได้เอ่ยมันออกมาและอย่าอายที่จะเอ่ยปากแชร์ๆกันแบบแฟร์ๆ  รับรองไม่มีใครว่าคุณไม่มีใครว่าคุณแน่นอน

เก็บให้เก่งกว่าใช้

Back to basic วนลูปกลับมาที่เดิม เงินเดือนเมื่อไหร่ หักลบกลบหนี้เสร็จแล้ว ก็ดึงเงินออกมาสำหรับเก็บหรือโอนเข้าบัญชีฝากประจำปิดล็อกไปเลย เหลือเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น หรือตั้งงบประมาณเป็นกองๆไปเลยว่า กองนี้ใช้สำหรับการเดินทาง กองนี้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และกองนี้สำหรับใช้จ่ายจิปาถะหรือฟุ่มเฟือยกับของที่อยากได้

ใช้บัตรเครดิตให้เป็น Point ช่วยได้

ใครที่มีบัตรเครดิตอยู่กับตัว ถ้าใช้ดีดี ใช้ให้เป็นก็จะมีประโยชน์มาก เพราะแบรนด์แต่แบรนด์ รวมไปถึงร้านอาหารต่างๆมักมีโปรโมชั่น ลดราคา หรือแลก Point สะสมแต้มกับบัตรเครดิตอยู่แล้ว  ดังนั้นคราวหน้าเมื่อไปชอปปิงหรือทานข้าวนอกบ้านหรือดื่มกาแฟเจ้าดังอย่าลืมสังเกตโปรโมชั่นและส่วนลดกับบัตรเครดิตดู รับรองช่วยเชฟเงินในกระเป๋าได้เยอะ แต่อย่าเผลอรูดเพลินกับของที่อยากได้ จนยอดหนี้พุ่งไปเสียก่อน

เห็นไหมว่า มนุษย์สายเปย์ เป็นพฤติกรรมเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในเมื่องดเปย์ไม่ได้ เราก็มาลดเปย์แบบมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย เพื่อเป้าหมายสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงเวอร์กันดีกว่า

5 คำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนตัดสินใจซื้อ

เมื่อคุณคิดจะซื้อของสักชิ้น ย่อมต้องใช้เวลาในการพิจารณาก่อนตัดสินใจ หากของชิ้นนั้นเป็นของจำเป็น ราคาไม่สูง หรือเป็นยี่ห้อที่คุณคุ้นเคย ก็อาจจะหยิบลงตะกร้าได้โดยไม่คิดอะไรมาก แต่หากของชิ้นนั้นราคาแพง แถมไม่ได้จำเป็นกับชีวิตสักเท่าไร คุณคงต้องคิดกลับไปกลับมาหลายตลบ ว่าจะคุ้มค่าไหมถ้าจะจ่ายเพื่อสนอง “ความอยาก” นั้น วันนี้เราจะพาคุณมาชอปปิ้งอย่างมีสติ เซฟสตางค์ ด้วย 5 คำถามง่ายๆ ควบคุมการใช้จ่าย ที่ควรถามตัวเองให้ดีก่อนตัดสินใจควักกระเป๋า

5 คำถามง่ายๆ ควบคุมการใช้จ่าย ก่อนควักกระเป๋าเพื่อช้อปปิ้ง

1. “ถ้าไม่มีป้าย Sale ฉันจะยังอยากได้ไหม?”

ป้าย Sale กับนักชอปเป็นของที่อยู่คู่กันมาช้านาน แต่ก่อนจะจ่าย ลองถามตัวเองดูสักนิดว่าถ้าไม่ใช่เพราะของชิ้นนั้นลดราคา คุณจะยังอยากได้มันไหม เช่น กระเป๋าสะพายที่ติดป้าย Sale จากราคา 1,000 บาท เหลือ 800 บาท ลองตอบตัวเองดูว่าถ้ากระเป๋าใบนั้นขายราคา 800 ตั้งแต่แรก จะนับว่าราคาคุ้มค่าไหม คุณจะยังอยากซื้อรึเปล่า

2. “ถ้าตัดป้ายยี่ห้อออก ฉันจะยังยอมจ่ายราคานี้รึเปล่า?”

หลายครั้งที่เราเผลอซื้อของราคาสูงลิบเกินตัว เพียงเพราะเห็นแก่ชื่อยี่ห้อ ทั้งที่ประโยชน์ใช้สอย ไม่คุ้มค่าคุ้มราคาเลย แต่เราก็ยังปลอบใจตัวเองว่าสมเหตุสมผลเพราะเป็นของแบรนด์เนม พฤติกรรมแบบนี้ค่อนข้างน่าห่วง สุ่มเสี่ยงสภาพการเงินในระยะยาวอย่างยิ่ง ก่อนซื้อลองหยุดถามตัวเองก่อน ว่าคุณอยากได้ของชิ้นนั้นจริง ๆ หรือแค่อยากได้โลโก้ของมันมาประดับตัวกันแน่

3. “ฉันจะได้ใช้มันจริง ๆ รึเปล่า?”

บางครั้งเราซื้อของไม่จำเป็นมากองไว้ที่บ้าน โดยคิดเอาเองว่า “ซื้อ ๆ ไปก่อน เดี๋ยวก็ได้ใช้” แล้วก็ลงเอยโดยการที่ของชิ้นนั้นนอนตายอยู่มุมตู้โดยแทบไม่ได้แตะเลย เงินก็เท่ากับละลายน้ำไปเปล่า ฉะนั้นก่อนซื้อ ตอบตัวเองให้ดีก่อนว่าคุณจะมีโอกาสได้ใช้มันมากแค่ไหน จะเอาไปใช้ในโอกาสอะไรได้บ้าง แล้วนอกจากคุณคนอื่นจะใช้มันได้รึเปล่า

4. “ราคานี้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของฉันกันนะ?”

ถ้าคุณซื้อของเพียงเพราะความอยาก โดยลืมคิดไปว่ามันเหมาะสมกับรายได้ของตัวเองแค่ไหน พอถึงปลายเดือนก็อาจต้องเสียใจทีหลัง เพื่อป้องกันสภาวะถังแตก คุณควรคำนวณก่อนคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าราคาของสิ่งนั้นคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนหรือรายได้ของคุณ เช่น ถ้าคุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท คิดจะซื้อครีมทาผิวราคา 5,000 บาท คิดดูแล้วก็เท่ากับ 25% ของรายได้ หรือเท่ากับค่าแรง 1 สัปดาห์เต็ม ๆ รู้แบบนี้แล้วยังจะอยากได้อยู่รึเปล่า

5. “ถ้าฉันไม่ซื้อ เงินจำนวนนี้จะเอาไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็นได้มากแค่ไหน?”

ก่อนควักเงินซื้อของฟุ่มเฟือย ลองหันกลับมาดูของที่จำเป็นกับชีวิตของคุณก่อน ว่าหากคุณเก็บเงินจำนวนนั้นเอาไว้ จะเอาไปจ่ายซื้อของจำเป็นได้มากน้อยแค่ไหน เช่นถ้าคุณคิดจะซื้อกางเกงยีนส์ตัวละ 3,000 บาท ลองคำนวณดูว่าเงิน 3,000 บาท หากนำไปจ่ายค่าบริการโทรศัพท์เดือนละ 299 บาท ก็สามารถจ่ายได้ถึง 10 เดือน จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เงินน้อย ๆ เลย แล้วแบบนี้จะยังอยากซื้ออยู่ไหม

เพียงท่อง 5 ข้อนี้ไว้ในใจ แล้วหาคำตอบให้ตัวเองให้ได้ก่อนจะจ่ายเงิน คุณก็สามารถเป็นนักชอปรุ่นใหม่ที่ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดได้ รู้ทันตัวเองไว้ ไม่ตกหลุมพรางนักการตลาดอย่างแน่นอน

ADBI ผนึก เครดิตบูโร จัดสัมมนา มาตรการที่ช่วยทำให้ SME ในภูมิภาคเอเชียเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ADBI ผนึก เครดิตบูโร จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องมาตรการที่ช่วยทำให้ SME ในภูมิภาคเอเชียเข้าถึงแหล่งเงินทุน

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า Asian Development Bank Institute (ADBI) ร่วมกับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) จัดงานสัมมนาเรื่อง Empowering SMEs through Improved Financial Access : Role of SME Data, Credit Rating and Start-up Finance ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2560 ณ ห้องรอยัล มณียา เอ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในระดับภูมิภาคผ่านการระดมความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ เครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ และโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินที่จำเป็นต่อการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SME ในภูมิภาคเอเชีย เช่น ระบบข้อมูลและระบบการค้ำประกันสินเชื่อ Credit Rating/ Credit Scoring Hometown Investment Trust Fund เป็นต้น ภายในงานสัมมนาครั้งนี้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐ ธนาคารกลางและเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SME ในภูมิภาคเอเชียกว่า 10 ประเทศ

รู้รอบด้าน การวางแผนการเงิน โดยคุณวิสิฐ ตันติสุนทร

การวางแผนการเงิน

รู้รอบด้าน การวางแผนการเงิน โดย : วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.

การมีชีวิตที่สุขสบาย และมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “การวางแผนการเงินที่ดี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเปลี่ยนแปลงในสภาวะเศษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งทำให้การวางแผนการเงินเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้

หนังสือเล่มนี้จะเป็นเสมือนแผนที่ทางการเงิน ที่จะช่วยให้เราเริ่มวางแผนทางการเงินได้ตลอดทุกช่วงของชีวิต ตั้งแต่วัยเริ่มทำงานไปจนถึงวัยเกษียณ เริ่มจากการวางแผนการออมเงินในครอบครัว การมีบ้าน การทำประกันชีวิต การลงทุน รวมทั้งการวางแผนประหยัดภาษี และวางแผนระยะยาวเพื่อการเกษียณ …

ท่านสามารถ Download บทความทั้งหมดได้ดังนี้

การวางแผนการเงิน หนังสือ “คู่มือการลงทุน” โดย สัมมา คีตสินการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายในอนาคตว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้เงิน เพื่อวัตถุประสงค์ใด จำนวนประมาณเท่าไร เมื่อไรในอนาคต เช่น

  • วาง แผนจะซื้อบ้านอยู่อาศัยมูลค่า 5 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
  • วางแผนส่งลูกเรียนปริญญาโทต่างประเทศอีก 2-3 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายสองปี ๆละ 400,000 บาท
  • วางแผนว่าจะเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้าและเมื่อถึงเวลานั้นต้องการมีเงินเหลือให้ใช้จ่ายได้ปีละประมาณ 30,000 บาทไปอีกเป็นเวลาประมาณ 20 ปี

เมื่อได้กำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องมีการกำหนดยุทธวิธีว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินจนสามารถได้เงินจำนวนดังกล่าวมา ณ เวลาที่ต้องการ โดยเบื้องต้นจะต้องมีการกันเงินส่วนหนึ่งจากรายได้หรือเงินคงเหลือที่เก็บออมมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอาจมีรายได้ที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งอาจมาจากเงินเดือน กำไรจากการค้าขาย หรือมรดก จำนวนเงินที่ได้มาในปัจจุบันและอนาคตนั้น จะต้องถูกนำไปก่อดอกออกผลให้ได้เงินเพียงพอสำหรับความจำเป็นในอนาคต การวางแผนทางการเงินที่ดีได้จะต้องทราบว่า ณ ปัจจุบันสถานะทางการเงินของตนเป็นอย่างไร ต้องสามารถหามูลค่าทรัพย์สินสุทธิและสภาพคล่องของตนได้

กลยุทธการบริหารเงิน 3 ประการ

  1. ปกป้องเงินรายได้ที่มี หมายถึง ทำอย่างไรรายได้ที่หามาได้จึงจะไม่ลดค่าลงไปตามกาลเวลาในอนาคต เงินหนึ่งร้อยบาทที่มีในวันนี้ในอีกสิบปีข้างหน้าอาจมีมูลค่าลดลงเหลือครึ่งเดียวหากภาวะเงินเฟ้อยังเป็นเช่นปัจจุบัน ทำอย่างไรจึงจะรักษาค่าเงินให้คงคุณค่าไม่ให้หดหายลงไปดังกล่าว
  2. ใช้รายได้ที่มีให้เกิดดอกผลมากที่สุด หมายถึง การนำรายได้ที่มีไปก่อดอกออกผลซึ่งจะไม่ได้มาโดยการเก็บรักษาไว้ในบ้าน หรือโดยการออมในลักษณะที่ได้ดอกเบี้ยหรือดอกผลต่ำเกินไป แต่อาจได้มาโดยวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาด เหมาะกับสถานการณ์
  3. เพิ่มรายได้รวมให้มากขึ้น หมายถึง รายได้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้วนั้นอาจมีทางทำให้ได้เข้ามามากขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่ต้องไปหางานทำเพิ่ม แต่อาจได้มาโดยปรับปรุงช่องทางเดินของกระแสเงิน เช่น การรับเงินเดือนโดยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารโดยตรงทำให้ได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หรือทำอย่างไร จึงจะเสียภาษีรายได้ประจำปีให้น้อยลงโดยไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดจริยธรรม เป็นต้น

วิธีการออมแบบไม่สลับซับซ้อนอาจเป็นการฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย แต่ในหลาย ๆสภาวะการฝากเงินกับธนาคารนั้นแม้จะเป็นการออมแต่ก็อาจไม่ใช่การลงทุนที่ถูกต้อง เพราะแทนที่จะเกิดดอกออกผลอาจกลายเป็นว่าเงินที่ฝากด้อยค่าลง เช่น หากภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายจนอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากเงินธนาคารและหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝากแล้วยังต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อจะหมายความว่าเม็ดเงินโตไม่ทันระดับราคาสินค้าและบริการหากไม่ใช่การออมในลักษณะง่าย ๆ ดังกล่าว การบรรลุแผนทางการเงินอย่างชาญฉลาดอาจต้องให้การลงทุนในรูปแบบอื่นต่าง ๆ เพื่อให้ได้ดอกผลมากกว่าการออมตามปกติ

SME Development Bank จับมือ เครดิตบูโร อำนวยความสะดวกนิติบุคคล

SME Development Bank จับมือ เครดิตบูโร อำนวยความสะดวกนิติบุคคล ยื่นคำขอตรวจข้อมูลทางการเงินผ่าน 4 สาขาหลักธนาคาร เชียงใหม่ ขอนแก่น พิษณุโลก และสุราษฎร์ธานี

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) ร่วมกับ นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เพิ่มการให้บริการยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรแก่กลุ่มนิติบุคคล ต่อยอดจากเดิมที่ให้บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลธรรมดา ผ่านที่ทำการสาขาของธนาคาร ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น พิษณุโลก และสุราษฏร์ธานี เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลบัญชีสินเชื่อ ของผู้ประกอบการที่มีการจัดเก็บในเครดิตบูโรแก่เจ้าของข้อมูลให้มากขึ้น เมื่อเร็วๆนี้

เรื่องน่าอ่าน