Blog Page 178

กฏบัตรการตรวจสอบภายใน

|

กฎบัตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตการปฏิบัติงาน อำนาจ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “บริษัท”) ซึ่งได้รับความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทแล้ว ตามมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 และวันที่ 21 มีนาคม 2559 ตามลำดับ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน

เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เพียงพอ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจของบริษัทแก่สมาชิก คู่ค้า ผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และหน่วยงานราชการ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

2. ขอบเขตของการตรวจสอบภายใน

ให้มีการดำเนินการตรวจสอบโดยรวมถึง

2.1 สอบทานและประเมินความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของบริษัท

2.2 สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงิน วิธีการบันทึกบัญชี และมาตรฐานการบัญชี

2.3 ประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้และความเพียงพอของระบบงานต่างๆ และระบบสารสนเทศรวมถึงความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ให้มีการควบคุมภายในที่รัดกุม เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

2.4 สอบทานความเพียงพอและเหมาะสมของการบันทึก การใช้ และการดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัท

2.5 สอบทานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

2.6 สอบทานและประเมินการควบคุมภายในของระบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในบริษัท ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคุณภาพของการปฏิบัติงานภายในบริษัท

2.7 สังเกตการณ์ ตรวจสอบ สอบทาน หรือสอบสวนงานต่างๆที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้จัดการใหญ่ในการหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน หรือ ประเด็นทุจริตต่างๆ

2.8 ให้คำปรึกษา แนะนำหรือข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวปฏิบัติงานเพื่อให้มีระบบการควบคุมภายในที่รัดกุมและเหมาะสม

3. มาตรฐานการตรวจสอบภายใน

การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพตรวจสอบภายในของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

4. อำนาจในการตรวจสอบภายใน

4.1 ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิที่จะขอเข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สินและกิจกรรมต่างๆของบริษัท รวมทั้งการขอตรวจสอบหนังสือ บัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี จดหมายโต้ตอบ และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของหน่วยงานรับตรวจ

4.2 ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิขอให้ผู้รับตรวจให้ข้อมูล เอกสาร และคำชี้แจงในเรื่องที่ทำการตรวจสอบ โดยผู้บริหารและพนักงานของหน่วยงานรับตรวจจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกต่อการตรวจสอบอย่างเต็มที่

5. ความเป็นอิสระ

5.1 หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ โดยผู้ตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

5.2 กิจกรรมการตรวจสอบต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระ ทั้งในด้านขอบเขตของการตรวจสอบ ขั้นตอน ระยะเวลา เนื้อหาของรายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้

5.3 ผู้ตรวจสอบภายในและหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานอื่นของบริษัทที่มิใช่งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

5.4 ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีขึ้นจากการปฏิบัติงานตรวจสอบต่อหัวหน้าตรวจสอบภายใน

5.5 หากความเป็นอิสระถูกกระทบทั้งโดยข้อเท็จจริง หรือโดยพฤติกรรมที่แสดงให้เห็น ผู้ตรวจสอบภายในต้องเปิดเผยรายละเอียดของผลกระทบต่อหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

ทั้งนี้ ผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารทุกระดับมีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในบรรลุตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และจะต้องไม่สั่งการหรือกระทำการใดๆอันจะเป็นการขัดขวางหรือลดทอนความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน

6. การรายงานผลการตรวจสอบ

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เสนอรายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และส่งสำเนาให้ผู้จัดการใหญ่

7. สายการบังคับบัญชา

7.1 หน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

7.2 คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย เปลี่ยนตำแหน่ง หรือการเลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ

7.3 คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาและอนุมัติในการรับ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของหรือลูกจ้างของฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นผู้ให้ความเห็น และหากคณะกรรมการตรวจสอบอนุมัติแล้วให้นำเสนอผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเพื่อดำเนินการ

8. หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน

8.1 ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน

8.2 จัดทำแผนงานตรวจสอบภายในประจำปี นำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสุดท้ายรอบปีบัญชีของบริษัท

8.3 ตรวจสอบ ประเมินผล และติดตามดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบ คำสั่ง รวมทั้งข้อกำหนดของกฎหมาย

8.4 สอบทานและรายงานความเชื่อถือได้และความครบถ้วนของข้อมูลทางการเงิน และมิใช่ทางการเงิน (Finance and Non Finance) ของบริษัท

8.5 ตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานของแต่ละ หน่วยงาน เพื่อให้มีความมั่นใจว่ามีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม รัดกุม และเพียงพอที่จะบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และเป็นไปตามกระบวนการการกำกับดูแลกิจการที่ดี

8.6 ตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเป็นการตรวจสอบการควบคุมทั่วไปของระบบ (IT General Controls) และตรวจสอบการควบคุมเฉพาะระบบงาน (IT Application Controls)

8.7 ให้คำปรึกษา คำแนะนำ สอบทาน และ เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการที่ดี แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานรับตรวจ

8.8 รายงานข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ตรวจพบอย่างครบถ้วน แก่คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้จัดการใหญ่

8.9 ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามข้อแนะนำจากการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการที่กำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้นำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล

8.10 จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อฝ่ายจัดการเพื่อพิจารณาภายใน 30 วัน นับจากวันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ และสรุปเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทราบเป็นประจำทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ

8.11 ในกรณีที่ผลการตรวจสอบพบว่ามีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในต้องรายงานผลการตรวจสอบให้ผู้จัดการใหญ่และคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาโดยพลัน

8.12 ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการอื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรายงานสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการไปให้ผู้จัดการใหญ่ทราบ

8.13 ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน

8.14 หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

8.15 ปฏิบัติงานตรวจสอบอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทหรือผู้จัดการใหญ่

8.16 กำหนดและทบทวนนโยบาย วิธีการ และกระบวนการตรวจสอบการปฎิบัติงานเกี่ยวกับ การจัดทำและเปิดเผยคะแนนเครดิต และคู่มือการปฏิบัติงานฝ่ายตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติ

9. การพัฒนาคุณภาพบุคลากร

9.1 ผู้ตรวจสอบภายในควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากองค์กรให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถ โดยการให้เข้าร่วมในการพัฒนาและอบรมทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

9.2 หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบ โดยมีแบบสอบถามให้หน่วยงานรับตรวจแสดงความเห็นหลังจากปิดการตรวจสอบทุกครั้ง

10. จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน

ผู้ตรวจสอบภายในพึงยึดถือปฏิบัติและดำรงไว้ซึ่งหลักจรรยาบรรณ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของผู้ตรวจสอบภายในและสาขาวิชาชีพของตน ดังต่อไปนี้

10.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร

10.2 มีความเที่ยงธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ

10.3 มีสำนึกรับผิดชอบ เอาใจใส่ มุ่งมั่นและทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ

10.4 เก็บรักษาความลับของข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือรายงานผลการตรวจสอบแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลภายในบริษัทที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานที่ตรวจสอบ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากกรรมการตรวจสอบ และไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือขัดต่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

10.5 ไม่รับสิ่งของหรือผลตอบแทนใดๆ และไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระหรือไม่เที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่

10.6 ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง

10.7 ไม่กระทำการใดๆ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ต่อตนเองหรือบริษัท

10.8 พึงเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

10.9 มีความภักดีต่อบริษัท และให้ความร่วมมือในกิจกรรมทั้งปวงของบริษัท

10.10 ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่พนักงานของหน่วยงานอื่นๆ ในการถือปฏิบัติโดยเคร่ง ครัดตามกฎระเบียบของบริษัท ตลอดจนหลักจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายในที่กำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทยซึ่งให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎบัตรนี้

ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎบัตรเป็นประจำทุกปี หากเห็นสมควรเปลี่ยนแปลง ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา กฎบัตรนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป โดยการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
ประธานกรรมการบริษัท

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยม – Vision/Mission/Value

วิสัยทัศน์

เป็นบริษัทข้อมูลเครดิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และเป็นองค์กรหลักในการทำให้บริการข้อมูลเครดิต ที่มีคุณภาพสำหรับสถาบันการเงิน และส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยทางการเงิน เพื่อสร้างเสริมเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ

พันธกิจ

  1. คุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูล และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงิน
  2. พัฒนาระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
  3. รักษามาตรฐานคุณภาพข้อมูลเครดิตให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย
  4. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเครดิตที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
  5. มีการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง
  6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต

ค่านิยม

  1. เป็นที่ปรึกษาด้านข้อมูลเครดิตให้แก่ประชาชน
  2. มีประสิทธิภาพ และจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ
  3. รักษาความลับและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ซื่อตรง โปร่งใส และเคร่งครัดในกฎระเบียบ
  5. มีระบบข้อมูลเครดิตที่มาตรฐาน และกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  6. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และทันสมัย
  7. ทำงานเป็นทีม
  8. พัฒนาพนักงานให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า

พรบ.ข้อมูลเครดิต

พระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต

เวอร์ชั่นภาษาไทย

(ฉบับที่ ๖) พระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๕)

English Version

(5 editions combined) Credit Information Business Act (B.E 2549)

ตรวจเครดิตบูโรผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

คุณสามารถยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารทั่วประเทศได้ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารกรุงศรี
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โดยธนาคารจะทำหน้าที่เป็นตัวแทน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในการรับคำขอตรวจสอบ และรับชำระค่าตรวจสอบ ซึ่งจะให้บริการเฉพาะเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดา และต้องมายื่นขอตรวจสอบด้วยตนเองเท่านั้น โดยบริษัทจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูล และจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้แก่ท่าน ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ท่านได้ยื่นคำขอที่ธนาคาร

ขั้นตอนการขอยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่เคาน์เตอร์ธนาคาร

  1. เจ้าของข้อมูลบุคคลธรรมดา กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคาร หรือขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่ท่านติดต่อ และลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน พร้อมแนบหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    กรณีบุคคลสัญชาติไทย
    บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ที่แสดงเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
    กรณีบุคคลต่างด้าว
    หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตัวจริง)
  2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
  3. ธนาคาร จะออกหลักฐานการรับชำระเงินค่าธรรมเนียม และค่าจัดส่งเอกสาร ให้แก่ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  4. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่ท่านภายใน 7 วันทำการนับจากวันที่ยื่นคำขอ ที่ธนาคาร

หมายเหตุ : ในแบบฟอร์มการขอตรวจสอบ กรุณาระบุที่อยู่ของท่านที่จะให้บริษัทจัดส่งรายงานให้ครบถ้วน และชัดเจน รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ของท่านในกรณีที่บริษัทต้องการสอบถามเพิ่มเติม

ตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้เบิกเงินสด (ATM)

คุณสามารถตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้ ATM ของธนาคาร โดยสามารถใช้บริการได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารที่เจ้าของข้อมูลถือบัตร

บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตร ATM และบัตรเดบิต

บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตร ATM, บัตรเดบิต และบัตรเครดิต (ที่ใช้เป็นบัตรเอทีเอ็ม)

โดยท่านจะได้รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 1 สัปดาห์


ขั้นตอนการใช้บริการผ่านตู้ ATM ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
(คลิกที่รูปเพื่อดูขั้นตอนการใช้บริการ)

ขั้นตอนการใช้บริการผ่านตู้ ATM ของ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์
(คลิกที่รูปเพื่อดูขั้นตอนการใช้บริการ)

รวมศูนย์ตรวจเครดิตบูโร

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ดังนี้

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา)


วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
 

* บุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) / นิติบุคคล / นิติบุคคล (มอบอำนาจ) / ชาวต่างชาติ
**นิติบุคคลยังใช้บริการผ่านไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ด้วย

 

เครดิตบูโรคาเฟ่ – อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อกชั้น 3 (โซนธนาคาร) (BTS อารีย์ ทางออก 1)


วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
 

*บริการตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) เท่านั้น

(ให้บริการวันที่ 31 ก.ค. 68 เป็นวันสุดท้าย)

 

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) 


วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์ 


*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบ อำนาจ เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

 

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจเวนิว (นวนคร) ชั้น 1 


วันจันทร์ –  อาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น. 

 *เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

 


ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโร

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

ณ ที่ทำการบริษัท (ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร) มีขั้นตอนดังนี้

1. เจ้าของข้อมูลมาติดต่อด้วยตนเอง แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง

กรณีนิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงนำมาแสดง
  • ตราประทับของนิติบุคคล (ถ้ามี) เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต

2. เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

  • หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง

กรณีนิติบุคคล

  • หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม้เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตราของนิติบุคคล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง

*** ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท
*** เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ฉบับละ 20 บาท)

บริการตรวจข้อมูลเครดิต สำหรับนิติบุคคล

การให้บริการนิติบุคคล ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง  (เฉพาะนิติบุคคล) ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร

1. ยื่นคำขอตรวจด้วยตนเอง ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310   เตรียมเอกสารหลักฐานประกอบ ดังนี้

  • นิติบุคคลกรอกรายละเอียด แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล (แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตนิติบุคคล) (ดาวน์โหลดที่เมนู ดาวน์โหลดเอกสารคำขอ) พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) 
  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
2. กรณีมอบอำนาจ ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 เตรียมเอกสารหลักฐานประกอบ ดังนี้
  • กรอกรายละเอียด แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล (แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตนิติบุคคล)(ดาวน์โหลดที่เมนู ดาวน์โหลดเอกสารคำขอ) พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) 
  • กรอกรายละเอียด หนังสือมอบอำนาจตรวจสอบข้อมูลเครดิต-นิติบุคคล (ดาวน์โหลดที่เมนู ดาวน์โหลดเอกสารคำขอ) พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) 
  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

การให้บริการนิติบุคคล ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองทางไปรษณีย์ (เฉพาะนิติบุคคล)

เพื่อเพิ่มช่องทางให้ท่านเจ้าของข้อมูลประเภทนิติบุคคลได้รับทราบข้อมูลเครดิตของท่านเอง บริษัท มีความยินดีที่จะให้เจ้าของข้อมูลเฉพาะที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น สามารถยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต ได้ทางไปรษณีย์ โดยบริษัท จะจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตของท่านให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของท่านเท่านั้น

ขั้นตอนในการยื่นคำขอตรวจข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ มีดังนี้

1. นิติบุคคลกรอกรายละเอียด แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล (แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตนิติบุคคล) พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
2. ชำระค่าบริการตรวจข้อมูลเครดิต เป็นแคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque) สั่งจ่าย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ตามอัตราค่าบริการที่ท่านได้เลือกในแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต ดังนี้
  • แบบที่ 1 รายงานข้อมูลเครดิต 1 ฉบับ ครั้งเดียว อัตราค่าบริการ 220 บาท ***รวมค่าจัดส่งไปรษณีย์จำนวน 20 บาทแล้ว***
  • แบบที่ 2 รายงานข้อมูลเครดิต 2 ฉบับ รายครึ่งปี อัตราค่าบริการ 400 บาท ฟรีค่าจัดส่งไปรษณีย์
  • แบบที่ 3 รายงานข้อมูลเครดิต 4 ฉบับ รายไตรมาส อัตราค่าบริการ 700 บาท ฟรีค่าจัดส่งไปรษณีย์
  • แบบที่ 4 รายงานข้อมูลเครดิต 6 ฉบับ ราย 2 เดือน อัตราค่าบริการ 950 บาท ฟรีค่าจัดส่งไปรษณีย์
3. จัดส่งเอกสารหลักฐานตามข้อ 1-2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จ่าหน้าถึง

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ส่วนบริการตรวจเครดิตบูโร (กรณีตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล)  เลขที่ 33/4 อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

 

4. บริษัท จะส่งรายงานข้อมูลเครดิต ให้กรรมการผู้จัดการ ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของนิติบุคคลเท่านั้น

หมายเหตุ

  • โปรดระบุชื่อผู้ติดต่อ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ลงในแบบคำขอ เพื่อใช้ในกรณีที่บริษัท ต้องการสอบถามเพิ่มเติม
  • กรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน บริษัท ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิต และจะส่งเอกสาร พร้อม Cashier Cheque คืนให้แก่ผู้ขอ
  • กรณียื่นขอตรวจสอบเนื่องจากได้รับการปฏิเสธการให้สินเชื่อ หรือได้รับการขึ้นค่าบริการจากสถาบันการเงิน ท่านต้องมีหนังสือแจ้งปฏิเสธการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยมีข้อความว่าเป็นผลจากการตรวจสอบข้อมูล เครดิตจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด แนบมาพร้อมกับแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตเป็นหลักฐาน โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ในหนังสือแจ้งจะได้รับการยกเว้นค่าบริการในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต
  • กรณีที่ท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนบริการเจ้าของข้อมูล อีเมล consumer@ncb.co.th

Bureau Academy ก้าวสู่โลกเสมือนจริง…ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับเครดิตบูโร

เปิดมิติใหม่การเรียนรู้เครดิตบูโร

ก้าวสู่โลกเสมือนจริง…เรียนรู้แบบใหม่  ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับเครดิตบูโร

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เมือง Bureau Academy

www.bureauacademy.in.th

 

เมือง Bureau Academy มีข้อมูลเครดิตบูโร…อะไรบ้าง

  • ตึกตรวจข้อมูลเครดิต (แบบสรุป)…ฟรี ได้ทางไหนบ้าง
  • ตึกตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ แบบสะดวก รวดเร็ว     
  • ตึกศูนย์ตรวจเครดิตบูโร เหมือนมายืนอยู่จริงๆ แบบวิว 360องศา
  • ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง หรือตู้คีออส
  • ตึก BureauVerse Bank รายงานข้อมูลเครดิตแบบส่งทางไปรษณีย์ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารออนไลน์
  • ตึก Post Office รายงานข้อมูลเครดิตแบบส่งทางไปรษณีย์ผ่านไปรษณีย์ไทย       
  • ตึกBook & Galley ห้องสมุดสำหรับติดตามความรู้เครดิตบูโร                 
  • ตึก Cinema  แวะชมคลิปวิดีโอความรู้เครดิตบูโร
  • ตึก Whiteboard Community อยากฝากบอกอะไรถึงเราได้ที่นี่

เรื่องน่าอ่าน