โค้งสุดท้ายปี 64 เตรียมพร้อมลดหย่อนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน

โค้งสุดท้ายปี 64 เตรียมพร้อมลดหย่อนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน

เข้าสู่ช่วงปลายปี สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนต้องเริ่มเตรียมตัวให้พร้อม คือการวางแผนลดหย่อนภาษี เพื่อที่จะยื่นภาษีในช่วงต้นปีหน้า ทั้งเป็นการเช็กลิสต์ไปในตัวด้วยว่าในปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เราสามารถนำมายื่นลดหย่อนภาษีได้

สำหรับมนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการยื่นภาษีต้องทำอย่างไร และทำผ่านช่องทางไหนได้บ้าง ซึ่งการยื่นภาษีทุก ๆ  ปี สามารถทำได้ 2 ช่องทาง

– สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

– เว็บไซต์ www.rd.go.th

– แอปพลิเคชัน RD Smart Tax

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด91 โดยจะมีเอกสารในการยื่นภาษี ดังนี้

– หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)

– รายการลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

– เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ

เมื่อเตรียมเอกสารพร้อม ต่อมาเราต้องมาวางแผนภาษีเพื่อเป็นตัวช่วยในการประหยัดเงินในกระเป๋าเราอีกช่องทางหนึ่งในช่วงปลายปี แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นวางแผนอย่างจริงจัง เรามารู้จักค่าลดหย่อนภาษีแต่ละประเภท เพื่อที่จะสามารถวางแผนภาษีกันได้อย่างถูกต้อง

  1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

– ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท

– ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท ต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้

– ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (บิดามารดาต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี) โดยสามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท และไม่สามารถลดหย่อนซ้ำกับพี่น้องในครอบครัวได้

– ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล

กรณีที่ภรรยาไม่มีรายได้ สามีสามารถยื่นลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้ โดยต้องยื่นใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลเพื่อลดหย่อนภาษี

– ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท

โดยเราจะสามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีบุตรได้ มีแต่ละกรณีดังนี้

– บุตรจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย และมีอายุไม่เกิน 20 ปี อายุไม่เกิน 25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่

– มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

– กรณีที่มีบุตร 2 คนขึ้นไป สามารถลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท โดยที่บุตรจะต้องเกิดในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

– หากมีบุตรบุญธรรม สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 3 คน คนละ 30,000 บาท แต่ในกรณีที่มีบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม จะให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน หากบุตรบุญธรมอยู่ในลำดับ 1-3 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรบุญธรรมได้ แต่หากเป็นลำดับที่ 4 ถัดจากบุตรที่เห็นชอบด้วยกฎหมายจะไม่สามารถใช้สิทธิได้

– ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

 

  1. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน

กลุ่มประกัน    

– ประกันสังคม โดยค่าลดหย่อนภาษีในรูปแบบนี้สามารถแยกออกด้วยกันตามแต่ละมาตรา

– มาตรา 33 สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท (จากปกติ 9,000 บาท)

– มาตรา 39 สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 3,003 บาท (เนื่องจากการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม)

– มาตรา 40 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 700-3,000 บาท ตามที่จ่ายจริง

*เนื่องจากในปี 2564 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง

– ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป  แต่หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

– ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

– ประกันสุขภาพของบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 200,00 บาท

 

กลุ่มกองทุน

– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

 

  1. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

– ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

 

  1. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

– ค่าลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

– ค่าลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่า แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

– ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง สามารถนำมาลดหย่อยได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

– กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้พิการ และมีบัตรประจำตัวคนพิการ ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น

– กรณีเป็นผู้สูงอายุ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น

– กรณีมีเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น สามารถใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล

 

การวางแผนภาษี เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ ทั้งยังเป็นการวางแผนชีวิตในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง ยิ่งเรามีการวางแผนลดหย่อนภาษีมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเรามากเท่านั้น ดังนั้นการศึกษาเรื่องการวางแผนภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรมองข้ามเช่นกัน