วันที่ 8 มกราคม 2564
ตอน การเตรียมความพร้อมปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
วันที่ 8 มกราคม 2564
ตอน การเตรียมความพร้อมปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
วันที่ 1 มกราคม 2564
ตอน เราต้องเผชิญหน้าเหตุการณ์วันนี้ ด้วยสติ วินัย และไอเดีย
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
ระยะเวลาและรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในเครดิตบูโร
ในบทความนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลแก่ท่านเรื่อง ระยะเวลาและรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในเครดิตบูโร ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของท่านที่มีบัญชีสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เพราะมีความเข้าใจผิดเป็นอย่างมากในหลายเรื่องดังต่อไปนี้
ความเชื่อที่ผิด : หากเมื่อไหร่ที่ผิดนัดชำระหนี้แล้วชื่อของเราจะเข้าไปอยู่ในเครดิตบูโร
สิ่งที่ถูกต้อง : ไม่ว่าจะเป็นการชำระตรงตามเวลา หรือมีการผิดนัดชำระ สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลตามจริงที่เกิดขึ้นเข้ามาให้กับเครดิตบูโร การส่งข้อมูลตามจริงของสมาชิกจะเป็นการส่งข้อมูลรายเดือน ส่งข้อมูลเดือนละหนึ่งครั้ง
ความเชื่อที่ผิด : ข้อมูลเดือนใหม่ล่าสุดจะเข้าไปทับข้อมูลเดือนที่ผ่านมาก่อนหน้า เช่น ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะไปทับข้อมูลเดือนมกราคม 2564 ดังนั้นถ้าเราค้างชำระเดือนมกราคม 2564 หากไปจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ข้อมูลจะไปทับของเดิม จะไม่มีใครเห็นข้อมูลเดือนมกราคม 2564 อีกต่อไป
สิ่งที่ถูกต้อง : ข้อมูลเดือนใหม่ล่าสุดจะไม่เข้าไปทับข้อมูลเดือนที่ผ่านมาก่อนหน้า เช่น ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะไม่ไปทับข้อมูลเดือนมกราคม 2564 ดังนั้น ถ้าเราค้างชำระเดือนมกราคม 2564 หากไปจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ข้อมูลจะมีสองบรรทัด คือ บรรทัดที่อยู่ด้านล่างหรือบรรทัดที่หนึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนมกราคม 2564 ที่มีข้อมูลปรากฏว่า ค้างชำระ ข้อมูลบรรทัดบนหรือบรรทัดที่สองจะเป็นข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีข้อมูลปรากฏว่า ไม่ค้างชำระ คนที่ทำหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อจะเห็นข้อมูลเป็นประวัติคือเห็นทั้งสองบรรทัด สองเดือนทั้งที่ค้างชำระและไม่ค้างชำระ เขาจะอ่านข้อมูลได้ว่าเจ้าของข้อมูลรายนี้ค้างชำระเดือนมกราคม 2564 ต่อมาได้มาจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เขาจะถามต่อว่าเหตุที่ทำให้ค้างในเดือนมกราคม 2564 นั้นคืออะไร มาจากสาเหตุอะไร
ตามกฎหมายกำหนดว่า ระยะเวลาจัดเก็บไม่เกิน 3 ปีนับแต่ข้อมูลนั้นสมาชิกได้ส่งเข้ามาให้กับเครดิตบูโร เช่น สถาบันการเงินส่งข้อมูลเข้ามา 30 มกราคม 2564 ข้อมูลบรรทัดนี้จะออกจากฐานในวันที่ 30 มกราคม 2567 เป็นต้น
คำถามคือ ทำไมต้องเก็บข้อมูลเป็นรายเดือน ไม่ทับกัน เก็บต่อเนื่องเป็นขนมชั้น 36 ชั้นหรือ 36 เดือน หรือ 3 ปี เหตุผลที่เก็บเพื่อให้คนที่วิเคราะห์สินเชื่อเห็นข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่เกิน 3 ปี เขาก็จะวิเคราะห์ได้ว่าคนนี้มีพฤติกรรม นิสัยใจคอ ในการชำระหนี้อย่างไร จ่ายครบจ่ายตรงใช่ไหม มีการค้างชำระหรือไม่เดือนไหน เกิดการค้างชำระนานแล้วหรือเพิ่งเกิดขึ้น เกิดบ่อยหรือไม่หรือเกิดเพียงครั้งเดียว พอมีการค้างชำระแล้วเดือนต่อมามีการนำเงินมาจ่ายจนทำให้เป็นปกติหรือไม่ ท้ายสุดคือ เพื่อตั้งคำถามกับเจ้าของข้อมูลว่าเพราะอะไรถึงได้เกิดการค้างชำระ จุดนี้เขาเรียกว่า การวิเคราะห์ความตั้งใจในการชำระหนี้หรือ willingness to pay analysis นั่นเอง ข้อวิเคราะห์นี้จะนำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้หรือ Ability to pay analysis และข้อมูลเรื่องหลักประกัน
สำหรับมาตรฐานสากลในการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโรนั้นคือเครดิตบูโรเก็บข้อมูลที่ได้รับจากสมาชิกสถาบันการเงิน 3 ปีขึ้นไปหรือขั้นต่ำควรเก็บข้อมูลไว้ 3 ปี ธนาคารโลกจะมีการสำรวจและจัดทำเป็นรายงานเผยแพร่ทั่วโลกว่าในจำนวน 189 ประเทศมีประเทศใดเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาเท่าใด….เอธิโอเปียประเทศที่ยากจน ด้อยพัฒนาเขาเก็บข้อมูล 3 ปี ประเทศไทยเราได้ตัดสินใจในอดีตแล้วว่าเก็บไม่เกิน 3 ปี … ขอบคุณครับ
เอาตัวรอดให้พ้นวิกฤติด้วยแผนการออมเงินสุดชิคไม่เหมือนใคร
วิกฤติครั้งนี้หนักยิ่งนัก รายรับที่มีก็เริ่มหดหาย รายจ่ายก็ผุดเพิ่มขึ้นมาตลอดเวลา หากใครที่ไม่มีเงินออมสำรองฉุกเฉินถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ได้เลยล่ะค่ะ แต่สำหรับใครที่กำลังคิดจะเริ่มต้นวางแผนการออมก็สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้นะคะ ด้วยแผนการออมเงินจากทั้ง 4 แผนนี้ค่ะ
แผนที่ 0
แผนแรกสำหรับมือใหม่หัดออมคือการศึกษาเรื่องของการวางแผนรายจ่าย และการลงทุนให้พร้อม เพื่อสร้างคลังความรู้ทางการเงินของเรา หรือแบบที่เรียกเข้าใจง่าย ๆ คือการเรียนรู้ทฤษฎี ก่อนจะเริ่มต้นวางแผนการเงินไม่ให้เกิดสะดุด หรือผิดพลาดนั่นเองค่ะ
แผนเริ่มต้น
เมื่อศึกษาวิธีการออมเงิน หรือการวางแผนการเงินมาในระดับหนึ่ง ก็ถึงขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ แน่นอนว่าช่วงเริ่มต้น เราไม่ควรวางแผนการเงินที่ฟุ้งมากจนเกินไป ควรเริ่มจากการวางแผนการเงินในระยะสั้น ๆ ภายใน 1 ปี เช่น ต้องการออมเงิน 1 แสนบาทภายใน 1 ปี หรือต้องการออมเงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ 1 ครั้งต่อปี
แผนระยะกลาง
เวลาผ่านไปการวางแผนการเงินของเราจะเริ่มชำนาญมากยิ่งขึ้น จากที่วางแผนระยะสั้น ก็เพิ่มระดับด้วยการวางแผนระยะกลาง เช่น วางแผนการเงินในช่วง 10 ปีข้างหน้าว่ามีเป้าหมายทางการเงินในเรื่องใด เช่น ต้องการซื้อบ้าน ซื้อรถ ทำธุรกิจ เพื่อที่จะทำให้แผนการเงินที่วางไว้ไปถึงเป้าหมายอย่างราบรื่น
แผนระยะยาว
ช่วงชีวิตของทุกคนจะต้องมีวันเกษียณ แม้ว่าจะเป็นมือใหม่หัดออม แต่ภาพในวัยหลังเกษียณก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เราควรมองหาการออม การลงทุนระยะยาวเพื่อใช้ในยามหลังเกษียณ เช่น กองทุน หุ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว
สุดท้ายนี้ทุกการวางแผนการออมเงินสิ่งสำคัญคือการสร้างวินัยทางการเงินขึ้นมาด้วยตนเอง สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นวางแผนการเงิน ขอให้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นการออมเงินที่ดีนะคะ
โสดอย่างมีสไตล์ วิธีวางแผนการเงินคนโสดแบบปัง ๆ ไม่ง้อคู่
ยุคนี้ใคร ๆ ก็เริ่มครองตัวเป็นโสดกันเยอะมากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากสถิติคนโสดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มากมายที่อาจทำให้ใครหลาย ๆ คน เลือกที่จะอยู่ตัวคนเดียวมากกว่าการสร้างครอบครัว หรือชีวิตคู่ แน่นอนว่าข้อดีของการเป็นโสดมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิต หน้าที่การเงิน รวมไปถึงเรื่องการเงินที่ไม่ต้องห่วงหน้าห่วงหลัง
ฉะนั้น เพื่อให้เราได้ใช้ใช้ชีวิตโสดอย่างมีความสุข และมีสไตล์ ต้องมีวิธีการวางแผนการเงินแบบปัง ๆ ที่มีเพียงแค่คนโสดเท่านั้นจะทำได้กันค่ะ
แม้ว่าจะไม่มีภาระเรื่องอื่น ๆ ติดตัว แต่เราก็ยังคงมีภาระรายจ่ายส่วนตัวที่ต้องจ่ายอยู่ ฉะนั้นทุกครั้งที่จะมีการใช้จ่ายอะไรออกไป ควรมีการเช็กลิสต์รายจ่ายเหล่านั้นให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำมาจัดเรียง วางแผนรายรับ รายจ่ายในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
หากคิดจะเป็นโสดไปตลอดชีวิต คุณควรที่จะมีการวางแผนชีวิต และเป้าหมายการเงินในระยะยาวให้ชัดเจน มองระยะยาวไปจนถึงหลังเกษียณ โดยนำภาพรวมรายจ่ายประจำวันของเรามาเป็นตัวตั้งเพื่อวางแผนการใช้จ่ายในอนาคต ประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจะต้องใช้ และค้นหาทางที่จะเก็บออมเงินเพื่อไปต่อยอดลงทุนให้เงินงอกเงยต่อไป
ในยุคนี้การปล่อยให้เงินนอนนิ่งเฉย ๆ ในบัญชีเงินฝาก ไม่ช่วยให้เงินของเรางอกเงยเพิ่มขึ้นนะคะ ยิ่งคนโสดอย่างเราด้วยแล้ว ควรจะต้องมองหาการลงทุนเพื่อช่วยให้เงินก้อนของเราสร้างผลตอบแทน หรือกำไรให้ได้กลับมาอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น กองทุน หุ้น ทองคำ เป็นต้น
เพื่อสำรวจภาระค่าใช้จ่ายว่าเรามีค่าใช้จ่ายไหนที่ค้างคาอยู่บ้าง เพื่อจัดการชำระให้เสร็จสิ้น หรือเพื่อจัดลำดับความสำคัญของภาระค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างอิสระทางการเงินสำหรับคนโสด
เพราะคนโสดคือการยืนหนึ่งตัวคนเดียว หากเกิดปัญหา หรือเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินด่วน เราก็จะสามารถนำเงินในส่วนนี้มาใช้จ่ายได้ก่อน โดยไม่ต้องเดือดร้อน หรือเป็นภาระทางการเงินในส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่ะ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางการวางแผนการเงินเพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งคนโสดสามารถนำไปปรับให้แผนการเงินมีความเหมาะสมกับตัวเองได้ หากเรามีการจัดการวางแผนการเงินที่ดี ก็รับรองได้ว่าคุณจะเป็นคนโสดอย่างมีสไตล์ที่สุดแน่นอนค่ะ
การเงินต้องรอด วางแผนการเงินให้อยู่หมัดพ้นวิกฤติแต่ละเดือน
วิกฤติหนักแค่ไหน แต่การเงินปีนี้ต้องรอด!
แต่วิธีที่จะทำให้การเงินรอดวิกฤตินอกจากจะต้องประหยัดแล้ว ต้องวางแผนการเงินด้วยค่ะ
ในช่วงนี้ถ้าหากพูดถึงเรื่องการเงิน คงจะมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ ที่หัวใจกันอยู่ไม่มากก็น้อย เพราะแค่เริ่มต้นปีมาได้ไม่นาน รายรับที่ได้มากลับร่อยหรอ เหลือใช้น้อยลงในทุกวัน แต่อย่าเพิ่งหมดกำลังในการออมเงินไปค่ะ เพราะยังมีเวลาอีกหลายเดือนที่จะช่วยให้คุณจัดการวางแผนการเงินจนได้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
ลองเริ่มเช็กลิสต์เป้าหมายของตัวเองกันตั้งแต่วันนี้ แล้วสำรวจความต้องการในอันใกล้ของตัวเองว่าต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องใดมากที่สุด จากนั้นมาเริ่มวางแผนการเงินให้อยู่หมัดตามแต่ละไตรมาสกันค่ะ
ไตรมาสที่ 1 – มกราคม – มีนาคม
สำรวจภาระหนี้สิน และวางแผนการยื่นภาษีประจำปี
ในช่วง 3 เดือนแรกของปีควรเป็นการวางเป้าหมายการเงินของแต่ละปี และจัดสรรการเงินที่มีของตัวเองให้เข้าที่เข้าทาง เช็กลิสต์ภาระหนี้สินว่าตลอดทั้งปีจะมีรายจ่ายอะไรบ้าง และนอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาของการเตรียมพร้อมยื่นภาษีประจำปีอีกด้วย อย่าลืมเช็กตัวเองกันนะคะว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษี หรือจ่ายภาษีกันหรือเปล่า
ไตรมาสที่ 2 – เมษายน – มิถุนายน
วางแผนเงินออม สำรองรายจ่ายฉุกเฉิน
เมื่อเริ่มเข้าสู่ในช่วงเดือนที่ 4 หรือไตรมาสที่ 2 ควรเริ่มออมเงินสำหรับเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เท่าของรายจ่าย เพื่อใช้ในยามคับขัน หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยอาจจะนำไปเปิดเป็นบัญชีเงินฝากแยกเงินในส่วนนี้โดยเฉพาะ หรือนำไปเพิ่มมูลค่าเพื่อให้เงินเติบโตขึ้น
ไตรมาสที่ 3 – กรกฎาคม – กันยายน
วางแผนการลงทุน และเกษียณในระยะยาว
แม้ว่าช่วงอายุสำหรับบางคนอาจจะยังดูห่างไกลเกินกว่าคำว่าเกษียณอายุ แต่เราก็ไม่ควรละเลยในเรื่องนี้ไปค่ะ เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากวางแผนเงินสำรองฉุกเฉินเป็นที่เรียบร้อยก็เป็นเวลาของการวางแผนการลงทุน และเกษียณอย่างจริงจังกันบ้าง นำเงินออมที่มีมาลงทุนเพื่อให้งอกเงยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลงทุนรูปแบบประกันชีวิต กองทุนรวม หุ้น ซึ่งการลงทุนทั้งหมดที่กล่าวมาควรมีการศึกษาให้ละเอียดชัดเจนก่อนการลงทุนด้วยนะคะ
ไตรมาสที่ 4 – ตุลาคม – ธันวาคม
วางแผนการลดหย่อนภาษี และสรุปการเงินภาพรวมของชีวิต
3 เดือนสุดท้ายก่อนหมดปี ควรเป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมดของรายรับ-รายจ่ายที่เข้าออกตลอดในแต่ละปี และเป็นการตรวจสอบ วางแผนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมก่อนนำไปยื่นในรอบปีถัดไป แต่ถ้าสำหรับใครที่มั่นใจว่าตัวเองไม่ต้องยื่นภาษีอย่างแน่นอน ให้ถือว่าช่วงนี้เป็นอีกช่วงในการวางแผนการลงทุนต่อไปได้ด้วยเช่นกันค่ะ
เมื่อได้ลองเริ่มจัดการวางแผนการเงินแล้ว ประการต่อมาถือการลงมือทำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ไปสู่เป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ในแต่ละปี จะเป็นเป้าหมายเล็ก หรือใหญ่ แต่ถ้าหากมีการเริ่มลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ ขอให้มั่นใจได้ว่าความสำเร็จรออยู่ไม่ไกลค่ะ
วางแผนการเงินฉบับฟรีแลนซ์ ให้ใช้ชีวิตแบบมีวินัยทางการเงิน
เมื่อเอ่ยถึงฟรีแลนซ์ ภาพที่หลาย ๆ คนคิดคงมีแต่ภาพความอิสระ ความฟรีสไตล์ในการใช้ชีวิต แต่ถ้ามองในอีกมุม สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต่างจากพนักงานบริษัทคือความสม่ำเสมอของรายได้ ที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าในแต่ละเดือนจะมีรายรับเข้ามาจำนวนเท่าไหร่ ฉะนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่คาดฝัน เงินเก็บสำรองไม่มี มาลองจัดสรรการเงินฟรีแลนซ์ อย่างมีสไตล์ง่าย ๆ แค่ 4 ข้อนี้กันค่ะ
หากใครทำฟรีแลนซ์จะเข้าใจในเรื่องของรายรับ-รายจ่าย ที่ไม่แน่นอนเป็นอย่างดี ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การติดอาวุธ สร้างวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ยิ่งหากเราให้ตนเองมีวินัยมากเท่าไหร่ ก็ช่วยให้เราสามารถจัดสรรการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ
ฟรีแลนซ์มีความอิสระในการทำงานสูงก็จริง แต่อย่าลืมว่าการทำงานฟรีแลนซ์ก็มีความไม่มั่นคงอยู่เช่นกัน ฉะนั้นเพื่อให้ชีวิตฟรีแลนซ์ได้อย่างฟรีสไตล์ เมื่อมีรายรับเข้ามาควรสร้างบัญชีสำรองฉุกเฉิน จัดสรรการเงินของตนเองให้เป็นสัดส่วน เผื่อการเกิดเหตุไม่คาดฝันในอนาคต
หลายคนอาจมองว่าฟรีแลนซ์ไม่มีความมั่นคงแต่จริง ๆ แล้วความมั่นคงสร้างได้ถ้ามีพอร์ตการลงทุนที่ดีค่ะ ยิ่งอาชีพฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่เงินมาไวไปไว เราจึงจำเป็นที่จะต้องจัดพอร์ตการลงทุนสร้างความมั่นคงกับชีวิตโดยเร็วที่สุด ด้วยการศึกษาข้อมูลการลงทุน เลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับอาชีพฟรีแลนซ์ เพื่อสร้างผลตอบแทน และกำไรไว้ใช้ในอนาคตค่ะ
เพราะฟรีแลนซ์ไม่มีหลักประกันที่มั่นคงแน่นอน ไม่มีสวัสดิการจากบริษัทเหมือนกับพนักงานประจำ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างหลักประกัน ความมั่นคงในชีวิต อาจจะเป็นการซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อมาลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตค่ะ
สุดท้ายนี้เรื่องของการวางแผน หรือการจัดสรรทางการเงินเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ควรทำ เพราะถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางการเงิน เพียงแค่ต้องรู้จักวิธี และการจัดสรรที่ดีอย่างเป็นระบบ
สร้างวินัยทางการเงินแต่ละช่วงวัยให้ปัง ครบ จบ ใน 1 เดียว
เรื่องของการเงินเป็นเรื่องที่คนในแต่ละช่วงวัยจะต้องเจออยู่แล้วตลอดเวลา เพียงแค่ว่าในช่วงวัยนั้น ๆ เราจะให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด มีวิธีการรับมือทางการเงินได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากเรามีการสร้างวินัยทางการเงินที่ดีไว้ในแต่ละช่วงวัยตั้งแต่เนิ่น ๆ ในภายภาคหน้าอนาคตเราก็จะมีวิธีรับมือกับเหตุไม่คาดฝันได้ค่ะ
ดังนั้นเพื่อเตรียมรับมือ สร้างวินัยทางการเงินในแต่ละวัยได้อย่างแข็งแกร่งควรมีแนวทาง วิธีการสร้างวินัยแต่ละช่วงวัยดังนี้ค่ะ
วัยเด็ก
ถือว่าเป็นช่วงวัยเริ่มต้นของการได้รับเงินจากพ่อแม่ แต่จะเป็นเงินจำนวนน้อย ๆ ฉะนั้นวิธีการสร้างวินัยทางการเงินของช่วงวัยนี้คือหมั่นสร้างนิสัยการออมโดยให้เริ่มหยอดกระปุกวันละ 5 บาท หรือ 10 บาท และควรให้ทำเป็นประจำทุกวันเพื่อให้เด็ก ๆ ซึมซับพฤติกรรมการออมไปในอนาคตค่ะ
วัยนักเรียน
ขยับขึ้นมาอีกระดับ วัยนักเรียนถือเป็นช่วงที่ได้ค่าขนมจากพ่อแม่เพิ่มขึ้น ทำให้เราสามารถมีวิธีการจัดสรร การออมเงินได้เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งวิธีในการสร้างวินัยทางการเงินของช่วงวัยนี้ที่แนะนำคือการเริ่มต้นออม 1 ใน 3 ของรายรับที่พ่อแม่ให้ เพื่อสร้างความกระตุ้นในการสร้างวินัยทางการเงินของตนเองค่ะ
วัยจบใหม่
จบใหม่ให้ไม่เจ็บ คือต้องมองภาพรวมของทางการเงินให้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้นค่ะ เพราะช่วงวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเริ่มต้นทำงาน เมื่อได้เงินเดือนมาก็ทำให้อยากใช้จ่าย จนบางครั้งก็หมดไปกับเรื่องที่ไม่จำเป็น การสร้างวินัยทางการเงินในช่วงวัยนี้ควรเน้นหลักไปที่การคิด คำนวณเรื่องของการใช้จ่ายให้ดีค่ะ มองภาพรวมให้ละเอียดว่าสิ่งที่เรากำลังจะซื้อนั่นเป็นสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นสิ่งของตามเทรนด์ ตามกระแสเพียงเท่านั้น หากตัดหรือลดความต้องการลงได้ เราจะมีเงินเก็บอย่างแน่นอน
วัยทำงาน
พอถึงจุดที่เริ่มต้นทำงานมาได้ระยะหนึ่ง การเงินของคนในวัยนี้คือการสร้างความมั่นคงของตนเองในชีวิต อยากได้หลักประกันที่มั่นคง ฉะนั้นการสร้างวินัยทางการเงินสำหรับคนในวัยนี้คือการสร้างพอร์ตการลงทุนของตนเอง เริ่มนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย และได้ผลตอบแทนกลับมาเพื่อวางแผนชีวิตอนาคตต่อไป
วัยเกษียณ
วินัยทางการเงินของคนในช่วงวัยนี้ คือประเมินรายรับ-รายจ่ายทั้งหมดที่ตนเองมี เพื่อนำมาจัดสรรได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเรา แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมว่าช่วงวัยเกษียณ เราไม่มีรายรับเข้ามามากเมื่อเทียบกับวัยทำงาน ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะต้องมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง วางแผนจัดสรรการเงินให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้
วินัยทางการเงินไม่ได้ถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หรือไกลเกินเอื้อมในช่วงชีวิตของคนแต่ละวัย หากเพียงแต่เราควรจะต้องหมั่นฝึกฝน หมั่นออมเงิน เพื่อสร้างวินัยทางการเงินอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอนั่นเองค่ะ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-advertisement | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Advertisement" category. |
cookielawinfo-checkbox-analytics | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Analytics" category. |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Necessary" category. |
cookielawinfo-checkbox-others | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie stores user consent for cookies in the category "Others". |
CookieLawInfoConsent | 1 year | CookieYes sets this cookie to record the default button state of the corresponding category and the status of CCPA. It works only in coordination with the primary cookie. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
_clck | 1 year | Microsoft Clarity sets this cookie to retain the browser's Clarity User ID and settings exclusive to that website. This guarantees that actions taken during subsequent visits to the same website will be linked to the same user ID. |
_clsk | 1 day | Microsoft Clarity sets this cookie to store and consolidate a user's pageviews into a single session recording. |
_fbp | 3 months | Facebook sets this cookie to display advertisements when either on Facebook or on a digital platform powered by Facebook advertising after visiting the website. |
_ga | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to calculate visitor, session and campaign data and track site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognise unique visitors. |
_ga_* | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to store and count page views. |
CLID | 1 year | Microsoft Clarity set this cookie to store information about how visitors interact with the website. The cookie helps to provide an analysis report. The data collection includes the number of visitors, where they visit the website, and the pages visited. |
CONSENT | 2 years | YouTube sets this cookie via embedded YouTube videos and registers anonymous statistical data. |
MR | 7 days | This cookie, set by Bing, is used to collect user information for analytics purposes. |
SM | session | Microsoft Clarity cookie set this cookie for synchronizing the MUID across Microsoft domains. |
SRM_B | 1 year 24 days | Used by Microsoft Advertising as a unique ID for visitors. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
ANONCHK | 10 minutes | The ANONCHK cookie, set by Bing, is used to store a user's session ID and verify ads' clicks on the Bing search engine. The cookie helps in reporting and personalization as well. |
MUID | 1 year 24 days | Bing sets this cookie to recognise unique web browsers visiting Microsoft sites. This cookie is used for advertising, site analytics, and other operations. |
VISITOR_INFO1_LIVE | 5 months 27 days | YouTube sets this cookie to measure bandwidth, determining whether the user gets the new or old player interface. |
YSC | session | Youtube sets this cookie to track the views of embedded videos on Youtube pages. |
yt-remote-connected-devices | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt-remote-device-id | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt.innertube::nextId | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
yt.innertube::requests | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
VISITOR_PRIVACY_METADATA | 5 months 27 days | Website privacy floating bar. |
wpsp_cookie_0cc33907ad | session | Website popup banner. |