Blog Page 80

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

เรื่องของหนี้เป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร แม้ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากคู่สมรส หรือคนในครอบครัวก็ตาม แล้วคำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ หนี้แบบไหนที่คู่สมรสต้องร่วมกันรับผิดชอบ และหนี้แบบไหนที่ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ มาหาคำตอบกันค่ะ

หนี้แบบไหนที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน

1. หนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป
หนี้ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่ากิน ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม เช่น หนี้ค่าต่อเติมบ้าน หนี้จากการกู้ยืมเพื่อซื้อที่ดินเป็นสินสมรส เป็นต้น ซึ่งหนี้ประเภทนี้ถือเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน

3. หนี้จากการทำธุรกิจร่วมกัน
เช่น การเปิดร้านอาหาร กิจการการค้าขายร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายภายในร้านถือเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน แม้ว่าจะเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปกู้ยืมมาก็ตาม หากเกิดการผิดชำระหนี้เราก็ต้องเป็นผู้ชำระหนี้แทนค่ะ

4. หนี้จากการสัตยาบันจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้กู้เงินด้วยตนเองก็ตาม แต่หากได้มีการสตยาบันหรือทำนิติกรรมให้กับอีกฝ่าย ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมเช่นกันตามกฎหมาย

หนี้แบบไหนที่คู่สมรสไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

1. หนี้สินก่อนสมรส
เพราะถือเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ดังนั้นคู่สมรสจึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนนี้ให้

2. หนี้จากการพนัน
หนี้ที่กู้มาใช้เพื่อการพนัน ไม่ถือเป็นหนี้ร่วมกันเพราะไม่ได้กู้มาเพื่อนำมาใช้จ่ายครอบครัว ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้แทน

3. หนี้จากบัตรเครดิต
ภาระหนี้ที่เกิดจากบัตรเครดิตส่วนตัว ที่นำไปใช้จ่ายเพื่อการส่วนตัว เช่น ซื้อของใช้ส่วนตัว ชำระค่าบริการที่เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ครัวเรือน ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องจ่าย หรือชำระร่วมกัน

4. หนี้จากสัญญาค้ำประกัน
เพราะถือมีสถานะเป็นเพียงผู้กู้ ไม่ได้มีสถานะเเป็นลูกหนี้ร่วม จึงไม่มีความจำเป็นต้องชำระหนี้ร่วมกัน

5. หนี้ที่กู้มาเพื่อมอบให้กับบุคคลที่สาม
ซึ่งบุคคลที่สามในที่นี้คือ บุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เช่น ชู้ เพื่อน เป็นต้น หากคู่สมรสเกิดค้างชำระหนี้ก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบร่วมกัน

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคล ขั้นตอนง่าย ขอได้ไม่ยุ่งยาก

ตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคล ขั้นตอนง่าย ขอได้ไม่ยุ่งยาก

นิติบุคคลอยากตรวจเครดิตบูโร สามารถยื่นคำร้องได้กี่วิธี ?

สำหรับท่านที่เปิดบริษัทเป็นของตนเองและอยากทราบข้อมูลเครดิตของทางบริษัท สามารถยื่นคำร้องขอตรวจเครดิตแบบนิติบุคคล ได้ 2 วิธี คือยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ณ อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 โซนพลาซา (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม9 และอยู่ด้านหลังเซ็นทรัลพระราม9) และยื่นผ่านทางไปรษณีย์ค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/corporate-check-credit-bureau-at-postoffice/

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

ตัวเลขพวกนี้ หลุดปุ๊บ งานเข้าปั๊บ!

ภัยการเงินเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ใครชอบซื้อของออนไลน์ นอกจากข้อมูลส่วนตัวที่ควรพึงระวังแล้ว “รหัส” ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากข้อมูลเกิดรั่วไหลไปอาจส่งให้ท่านเป็นหนี้แบบไม่รู้ตัวได้เลยล่ะค่ะ

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

รายจ่ายแบบนี้ต้องรีบเท ถ้าไม่อยากหนี้ท่วมหัวววววว!

รู้ไหมว่ารายจ่ายบางอย่าง เมื่อจ่ายนาน ๆ ไป อาจก่อให้เกิดเป็นหนี้สินได้โดยไม่รู้ตัว
ถ้าไม่อยากให้รายจ่ายไม่จำเป็นก่อตัวเป็นหนี้สิน เราจึงต้องรีบเทรายจ่ายไม่จำเป็นนี้ทิ้ง เพื่อการเงินที่ดีในอนาคตกันค่ะรายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

1. รายจ่ายที่เกิดจากค่าบริการส่วนเกิน
เช่น ค่าธรรมเนียมบัตรกดเงินสด , ค่า SMS รายเดือนที่ไม่จำเป็น , ค่าปรับหรือดอกเบี้ยจากบัตรเครดิต แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อย แต่ถ้าหากนำมารวมกันก็ถือเป็นเงินใหญ่ได้เหมือนกัน รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

2. สังสรรรค์บ่อยจนเป็นเหตุ
รายจ่ายที่เกิดจากการไปปาร์ตี้ทุกสุดสัปดาห์ ทำให้รายจ่ายไม่พอใช้ในแต่ละเดือน และอาจต้องหมุนเงินในภายหลัง รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

3. เห็นของ Sale ต้องรีบพุ่งเข้าหา
รายจ่ายที่เกิดจากสินค้าลดราคาหรือโปรโมชั่น เพราะคิดว่าถูกและคุ้ม แต่อีกมุมก็คือการนำเงินออกจากกระเป๋าดี ๆ นี่เอง รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

4. ซื้อของตามกระแสนิยม
ช่วงนี้กำลังอินเทรนด์อะไร สินค้าไหนกำลังมา ไหนจะคนรอบข้างยุยงให้ซื้อ ถ้าหากไม่มีสติ หรือมีความยับยั้งชั่งใจมากพออาจสูญเสียกันไปไม่น้อยเลยล่ะค่ะ รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

5. สมัครสมาชิกสารพัด แต่ไม่ได้ใช้บริการ
ค่าบริการบางอย่างที่ตั้งใจว่าจะใช้บริการแต่กลับไม่ได้ใช้ แนะนำว่าควรยกเลิกไปก่อน เพื่อป้องกันการสูญเสียรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

ทุกวันนี้เราใส่มาสก์เพื่อป้องกันไม่ให้การ์ดตกอย่างไร การออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ไม่ควรให้การ์ดตกเช่นกันนะคะ…

ท่านใดที่รู้สึกว่าการ์ดกำลัง ‘ตก’ ลองนำวิธีเก็บ-เพิ่ม-กั๊ก ไปใช้กันดูค่ะ รับรองว่าการ์ดจะไม่ตกอีกต่อไป

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

วางแผนการเงินตาม Gen ใครก็ทำง่าย ได้ความมั่นคงชัวร์

วางแผนการเงินตาม Gen ใครก็ทำง่าย ได้ความมั่นคงชัวร์

“เพราะช่วงชีวิตและเวลาที่ต่างกัน ความต้องการในแต่ละช่วงวัยจึงต่างตาม”

หากบอกว่าอนาคตเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป้าหมายชีวิตและการวางแผนการเงินของคนแต่ละวัยก็เปลี่ยนได้เช่นกัน ในช่วงวัยเด็กเราอาจจะมีเป้าหมายว่าอยากเก็บเงินเยอะ ๆ ไปซื้อของกิน ของเล่น แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงานความคิดนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีวางแผนชีวิตและการเงินอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น อยากสร้างครอบครัว ทำธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นต้น และเมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่วัยเกษียณเป้าหมายในชีวิตของเราอาจจะมีเพียงแค่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่เจ็บป่วยก็ได้

และเมื่อระยะเวลาทำให้ความคิดเราเปลี่ยน เราจึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการวางแผนชีวิตและแผนการเงินที่เหมาะสม ตามฉบับของคนแต่ละช่วงวัยค่ะ…

  1. วัยเรียน (อายุ 0-22 ปี)

– ช่วงระหว่างกำลังศึกษาเป็นช่วงที่ยังไม่มีรายได้หลักเป็นของตนเอง ทั้งยังไม่มีภาระหนี้สิน เป้าหมายหลักจึงจะเป็นการออมเงินเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว เที่ยวเล่นกับเพื่อนซะเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้มีการวางแผนการเงินอย่างเป็นจริงเป็นจังนัก

– วัยนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เพราะหากในอนาคตหากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะสามารถวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้โดยง่าย

– แนวทางการเริ่มออมเงินและการลงทุนสำหรับคนวัยนี้อาจเริ่มจากการออมทีละเล็ก ๆ เน้นการฝากเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การฝากอออมทรัพย์ หรือฝากประจำ เป็นต้น เพื่อสะสมเงินไว้ลงทุนในอนาคต

  1. วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 23-30 ปี)

– ช่วงเวลาที่หางานที่ใช่สำหรับใครหลาย ๆ คน มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เนื่องจากสามารถหาเงินด้วยตนเองได้

– เป้าหมายของคนวัยนี้จะเริ่มจริงจังมากขึ้น ต้องการที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว เปิดประสบการณ์ในชีวิต ทั้งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาข้อมูล ความรู้การลงทุนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการเงินและการลงทุนที่ดี

– แนวทางการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคนในช่วงวัยนี้ เช่น การฝากประจำ ตราสารหนี้ เป็นต้น เพราะมีความเสี่ยงต่ำเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุน

  1. วัยสร้างฐานะและครอบครัว (อายุ 31-40 ปี)

– ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่หน้าที่การงานเริ่มมีความมั่นคงและก้าวหน้าขึ้น หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

– เป้าหมายของกลุ่มคนวัยนี้ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มุ่งไปที่สร้างฐานะให้มั่นคงในอนาคต สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์

– การวางแผนการเงินจึงไม่ได้มีแค่การฝากเงินหรือลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่จะเลือกการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนั่นก็จะมีความเสี่ยงสูงตามมา เช่น หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

  1. วัยรักษาความมั่นคงและสุขภาพ (อายุ 41-50 ปี)

– ในวัยเลข 4 หน้าที่การงานและฐานะของคนวัยนี้จะเริ่มมีความมั่นคง และอยู่ตัวแล้ว

– เป้าหมายหลักส่วนใหญ่จึงไม่ใช่การเที่ยวเล่นเหมือนเช่นวัยเรียน หรือมุ่งสร้างชีวิตเหมือนช่วงเริ่มต้นทำงาน แต่เป็นการหันมาใส่ใจในเรื่องของชีวิตหลังเกษียณมากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของปัญหาสุขภาพ

– แนวทางการวางแผนการเงินและการลงทุนของคนวัยนี้ จึงควรเน้นไปที่การลงทุนกับประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และวางแผนชีวิตเกษียณอย่างเป็นระบบมากขึ้นนั่นเอง

  1. วัยก่อนเกษียณ (อายุ 51-55 ปี)

– ช่วงก่อนเข้าวัยเกษียณอย่างเต็มรูปแบบ หลายคนเริ่มเตรียมแผนการเงินและเกษียณกันมาเป็นอย่างดี เป็นช่วงเวลาที่เงินที่นำไปลงทุนได้งอกเงยขึ้นจนกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ หากใครที่มีการออมเงินหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีไว้ใช้จ่ายยามหลังเกษียณอย่างแน่นอน หรือสำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนได้ไม่นานก็ยังสามารถลงทุนในช่วงนี้ได้เช่นกัน

– การวางแผนและการลงทุนในช่วงวัยนี้ มักจะเลือกแนวทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับกลาง แต่ให้ผลตอบแทนได้สูง เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ตราสารทุน เป็นต้น

  1. วัยหลังเกษียณ (ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป)

– ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ใครหลาย ๆ คนเริ่มปลดเกษียณกันแล้ว เป้าหมายของคนวัยนี้มักจะเป็นการวางแผนชีวิตให้มีความสุข ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมากกว่าวางแผนการเงินเพราะมองว่าเลยช่วงเวลานั้นมาแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วชีวิตหลังเกษียณก็ลงทุนได้

– แนวทางการลงทุนหลังเกษียณคือ เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือเป็นแหล่งพักเงินที่ได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนกลับมา เช่น ฝากประจำ ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่ออย่างน้อย ๆ ผลตอบแทนเล็ก ๆ เหล่านั้นเราสามารถนำมาใช้จ่ายยามฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น

สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินรูปแบบไหน และในช่วงวัยใด สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างวินัยการเงินที่ดีค่ะ หากเรามีวินัยที่ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ เป้าหมายที่เราวางไว้ในแต่ละช่วงวัยก็จะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ

5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน จัดการให้ไว ก่อนเงินไม่เหลือเก็บ

5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน จัดการให้ไว ก่อนเงินไม่เหลือเก็บ

“เก็บเงินมาตั้งนาน แต่ทำไมเงินที่เก็บไม่เพิ่มขึ้นสักทีนะ”

ปัญหาใหญ่สำหรับการออมเงินนั่นก็คือ กิเลส หรือความต้องการที่มากจนเกินความจำเป็น ทำให้บางครั้งเราสูญเสียเงินที่เก็บมาไปกับสิ่งของเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลายมาเป็นศัตรูตัวร้ายที่มาคอยขัดขวางการออมเงินของเรา ฉะนั้นเพื่อให้เงินที่เก็บมาไม่สูญไป เราต้องมารู้จักกับ 5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน พร้อมกับวิธีกำจัดกันค่ะ

ศัตรูตัวที่ 1 เงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถกำจัดได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้ค่าของเงินลดลง เช่น ปัจจุบันค่าข้าวแกงจานละ 45 บาท เมื่อผ่านไป 10 ปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3% เราจะซื้อข้าวแกงได้ในราคา 46.14 บาท ซึ่งภาวะเช่นนี้หากเรามีรายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายสูงขึ้น ก็อาจทำให้เราไม่มีเงินเหลือเก็บได้

วิธีแก้ไขสำหรับศัตรูตัวนี้คือ นำเงินออมของเราไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง ทั้งนี้ก่อนการลงทุนอย่าลืมศึกษารายละเอียด และเตรียมพร้อมที่จะรับความเสี่ยงในการลงทุนให้ดีก่อนลงทุนด้วยนะคะ

ศัตรูตัวที่ 2 เหตุการณ์ไม่คาดฝัน

เหตุไม่คาดฝันถือเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ลาออกจากงาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในการวางแผนการเงิน หรือไม่ก็เกินขีดที่เราวางแผนไว้

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ  ลงทุนกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในชีวิตที่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝัน และใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาทเพื่อป้องกันศัตรูตัวนี้ค่ะ

ศัตรูตัวที่ 3 ขาดวินัยในการออมเงิน

ใช้เงินฟุ่มเฟือย ไม่วางแผนการเงิน หรือออมเงินไม่สม่ำเสมอ ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจที่แฝงมาอยู่ในนิสัยการใช้เงินของเราโดยไม่รู้ตัว บางคนก็ไม่รู้ว่าแต่ละเดือนรายจ่ายที่เสียไปหมดไปกับอะไร ซึ่งล้วนแต่มีสาเหตุที่เกิดจากตนเองทั้งสิ้น

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ ต้องเริ่มจากตัวเราเองค่ะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินใหม่ สร้างวินัยการออมเงินด้วยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ มองว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำทุกวันเหมือนกับการอาบน้ำ แปรงฟัน แล้วศัตรูตัวร้ายนี้จะหายไปแน่นอนค่ะ

ศัตรูตัวที่ 4  ความโลภบังตา

ความโลภในที่นี้คือ ความโลภที่เกิดจากความต้องการผลตอบแทนสูงจากการลงทุน บางคนต้องการไปถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยเร็วก็ทุ่มเงินที่มีลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อหวังจะได้ผลตอบแทนสูง ๆ กลับมา ซึ่งการทำเช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนเป็นอย่างมาก

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ ต้องลงทุนอย่างมีสติ ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนให้อย่างละเอียด ประเมินความพร้อมและการรับมือกับความเสี่ยงในการลงทุนของเราว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อรักษาเงินออมของคุณให้ปลอดภัยและงอกเงยในระยะยาวนั่นเองค่ะ

ศัตรูตัวที่ 5 เลือกซื้อของตามกระแสนิยม

ปัจจุบันสินค้าหลากหลายประเภทมักเลือกผลิตตามกระแสนิยม หรือความชอบของคนในสังคม เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคอย่างเราเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ บางคนเห็นว่าสินค้ากำลังเป็นที่นิยมก็เลือกซื้อโดยลืมคำนึงถึงเรื่องของรายจ่ายที่ตามมา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่จะมาขัดขวางการออมเงินของเราได้ค่ะ

วิธีป้องกันศัตรูตัวร้ายนี้คือ ต้องพยายามหยุดพฤติกรรมการซื้อของตามกระแสนิยม ไม่อ่อนไหวไปกับสินค้าตามเทรนด์ในช่วงนั้น ๆ เลือกซื้อของที่คิดว่าจำเป็นและเหมาะสมกับตนเองดีกว่า

ศัตรูตัวร้ายบางตัวสามารถป้องกันได้ หากรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินของตนเอง มีสติก่อนการใช้จ่ายอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถมีเงินเก็บได้แล้วค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_1.pdf

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นหนี้แล้วไม่ชำระตรงเวลาถือว่าพลาด เสียเครดิตทางการเงินไปเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงินไป ควรรู้จักวิธีจัดการหนี้ที่อย่างถูกต้องกันค่ะ

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

1. หยุดก่อหนี้(เสีย)เพิ่ม
ต้องแจกแจงหนี้ให้ได้ว่าอะไรที่เป็นหนี้ดี-หนี้เสีย และอย่าสร้างหนี้ใหม่เพื่อไปโปะหนี้เก่า เพราะจะเป็นการผูกปมสร้างหนี้ต่อไปเรื่อย ๆ วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

2. สำรวจหนี้สินที่มี และเช็กความสามารถในการชำระหนี้
ควรตรวจสอบภาระหนี้สินทุกอย่างที่ตนเองมี เพื่อให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน และสามารถนำมาจัดการบริหารรายจ่ายและหนี้สินได้อย่างเหมาะสม วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

3. วางแผนการเงิน และจัดสรรค่าใช้จ่ายใหม่
ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง แล้วนำเงินส่วนนั้นเปลี่ยนมาเป็นเงินออม และหากต้องการเพิ่มความมั่นคงในชีวิตก็สามารถปรับสัดส่วนการออมเงินให้เพิ่มขึ้นได้ วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

4. หาช่องทางในการเพิ่มรายได้
หารายได้นอกเหนือจากรายได้หลักหรืองานประจำ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการเงินของตนเอง วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

แนะนำวิธีการประคองธุรกิจ SME ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้ เมื่อประสบกับปัญหาหลัก

มาฟัง “คุณสุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร แนะนำวิธีการประคองธุรกิจ SME ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้ เมื่อประสบกับปัญหาหลัก อาทิ
– ขายของไม่ดี
– ไม่มีกำไร
– ใช้หนี้ไม่ทัน
ผู้ประกอบการ SME ต้องปลี่ยนวิธีคิด ลดต้นทุน เปลี่ยนวิธีการค้าขาย สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมค่าใช้จ่าย และถ้ามีหนี้ก็ต้องปรับโครงสร้างหนี้

เรื่องน่าอ่าน