Blog Page 17

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : อัปเดตช่องทางตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง และทำไมเราต้องตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 7 กรกฎาคม 2566

อัปเดตช่องทางตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง และทำไมเราต้องตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง

บทความนี้ ผมอยากจะขออัปเดตช่องทางตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง ณ เดือนกรกฎาคม 2566 และที่เราต้องไปตรวจข้อมูลเครดิตของตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอ เราจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ที่ผ่านมา เครดิตบูโรได้ดำเนินการพัฒนาและให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ได้อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตได้อย่างสะดวด รวดเร็ว ดังนี้ครับ

1) โมบายแอปพลิเคชัน เลือกรับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล 

แบบรับรายงานได้ทันที ผ่านแอป “KKP Mobile” (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) หรือโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ  

แบบรับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านแอป “Krungthai NEXT” (ธนาคารกรุงไทย)  หรือแอป “MyMo” ธนาคารออมสิน หรือ “เป๋าตังเปย์” บนแอปเป๋าตัง  หรือแอป “Flash Express” (Flash Money) 

แบบรับรายงานภายใน 3 วันทำการ ผ่านแอป “ttb touch” (ธนาคารทีทีบี)

2) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร แบบรอรับรายงานได้ภายใน 15 นาที ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ดังนี้ 

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. ได้ที่ อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (ใกล้ MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัลพระราม 9)  

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) หรือท่าวังหลัง (บริเวณทางเข้า-ออก ท่าเรือ และใกล้ประตู 8 ของโรงพยาบาลศิริราช) 

วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ Bureau Lab (บูโรแล็บ) BTS หมอชิต (ภายในสถานี) และห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3  

3) แบบส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) กรุงไทย กรุงศรี ธอส. และ ธ.ก.ส. หรือใช้บัตร ATM กรุงไทย ไทยพาณิชย์ หรือผ่านธนาคารออนไลน์ กรุงศรี หรือเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ 

4) ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) รับรายงานทางอีเมล ได้ทันที ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2  หรือ Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต (ภายในสถานี) หรือเครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (ใกล้ BTS อารีย์ ทางออก 1) หรือท่าวังหลัง หรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) และชั้น 4 ศูนย์การค้า ดิ อเวนิว รัชโยธิน กรุงเทพฯ

5) ตรวจข้อมูลเครดิตแบบสรุป (ฟรี) ผ่านแอป ”ทางรัฐ” หรือตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) หรือตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) ทุกแห่ง  และเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ

 การยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด โดยเหตุผลดี ๆ ที่ควรตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีดังนี้ครับ 1) ช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน เช็กว่าเรามี “หนี้งอก” โดยที่เราไม่ได้ก่อหรือไม่ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ 3) เช็กว่าข้อมูลส่วนบุคคลในข้อมูลเครดิตถูกต้องตามความจริงหรือไม่  4) ข้อมูลสินเชื่อของเราถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องสามารถขอแก้ไขได้ 5) เช็กให้ชัวร์ว่าเรามีประวัติค้างชำระหรือไม่ 6) เช็กหลังจากที่จ่ายหนี้หมดแล้ว สถานะข้อมูลเครดิตขึ้นเป็นปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์ถูกต้องหรือไม่ 

ทั้งนี้ เครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องการออม ภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตรวจเครดิตบูโรนิติบุคคล สร้างความแข็งแรงทางการเงินให้ธุรกิจ

ตรวจเครดิตบูโรนิติบุคคล

ทำธุรกิจก็ต้องสร้างความมั่นใจว่าสุขภาพการเงินของบริษัทจะแข็งแรง เพื่อดำเนินธุรกิจได้อย่างสบายใจ น้องบูโรชวนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลตรวจเครดิตบูโรสำหรับนิติบุคคลผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัลพระราม 9) บริการตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น.
โดยยื่นเอกสารการขอตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคลดังนี้

    • แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
    • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
    • บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจตัวจริงและสำเนาบัตร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3m9dFqc

2. ยื่นผ่านทางไปรษณีย์

จ่าหน้าถึง
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ส่วนบริการตรวจเครดิตบูโร (กรณีตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล)
เลขที่ 33/4 อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

โดยยื่นเอกสารการขอตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคลดังนี้

    • แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
    • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3m9dFqc

ตรวจเครดิตบูโรนิติบุคคล


เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

4 วิธีรับมือสเต็ปกลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ช่วงนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหนักมาก น้องบูโรอยากให้ทุกคนรู้เท่าทันภัยการเงินนี้ วันนี้เลยมีคำแนะนำในการรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาฝากกันค่ะ

1. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ก่อนรับสาย

ยิ่งถ้าเป็นเบอร์ที่ไม่คุ้นหรือเป็นเบอร์ที่เราไม่ได้เมมชื่อเอาไว้ ควรมีการตรวจสอบให้แน่ชัด เช่น ค้นหาเบอร์โทรศํพท์ผ่านโซเชียลมีเดีย Facebook, Line, Instagram, LinkedIn หรือ ใช้แอปพลิเคชัน ตรวจสอบก่อนรับสาย Whoscall เป็นต้น

2. ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นเด็ดขาด

หากรับโทรศัพท์เบอร์แปลก แนำนะให้ตั้งสติรับฟัง แต่ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัวกับอีกฝ่ายเด็ดขาด แม้ว่าจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานธนาคาร ไปรษณีย์ เพราะมิจฉาชีพอาจเอาข้อมูลไปแอบอ้างทำอะไรไม่ดีได้

3. ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจอย่าปักใจเชื่อทันที

ซักถามข้อมูลอีกฝ่ายให้ละเอียด เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน และอย่าเพิ่งโอนเงินไปในทันทีให้สอบถามกับทางสถาบันการเงินเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง

4. ติดต่อสถาบันการเงิน อายัดบัตร และขอความช่วยเหลือ

หากสุดท้ายแล้วการคุยกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำให้โดนดูดเงินในบัญชีไปเกลี้ยงให้รีบติดต่อสถาบันการเงินที่เราโอนเงินไปทันทีเพื่อทำการอายัดบัญชี และทำเรื่องแจ้งความโดยเร็วที่สุด

4 ขั้นตอน

ข้อมูลจาก
https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/call-center-gang


เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

สร้างภูมิคุ้มกันก่อนโรคทางการเงินลุกลาม

สร้างภูมิคุ้มกัน

สร้างภูมิคุ้มกันก่อนโรคทางการเงินลุกลาม ตรวจเครดิตบูโรเช็กสุขภาพการเงินของตนเองกันอย่างสม่ำเสมอ

เหตุผลที่ควรตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง

1. ช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน เช็กว่าเรามี “หนี้งอก” โดยที่ไม่ได้ก่อหรือไม่
2. การเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ
3. เช็กว่าข้อมูลส่วนบุคคลในข้อมูลเครดิตถูกต้องตามความจริงหรือไม่
4. ข้อมูลสินเชื่อของเราถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องสามารถขอแก้ไขได้
5. เช็กให้ชัวร์ว่าเรามีประวัติค้างชำระหรือไม่
6. เช็กหลังจากที่จ่ายหนี้หมดแล้ว สถานะข้อมูลเครดิตขึ้นเป็นปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์ถูกต้องหรือไม่

ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการ จะตรวจกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของสถาบันการเงิน เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเอง

▶ โมบายแอป

แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

ได้ทันที

  • โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
    •  ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง     

ภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง

 ภายใน 3 วันทำการ

  • แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต

รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต
ค่าบริการ
  • รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
  • รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท

หมายเหตุ: กรุณาตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง กรุณาแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ

ตรวจเครดิตบูโรช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

3 สูตรการออมเงิน ของคนเริ่มต้นวัยทำงาน

สูตรการออมเงิน

สูตรการออมเงิน ของคนเริ่มต้นวัยทำงาน มีตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ไปจนถึงวางแผนเกษียณ ใครที่กำลังจะสร้างแผนการเงินของตนเองลองนำสูตรเหล่านี้ไปปรับใช้กันค่ะ

สูตรที่ 1  20-30-50

วิธีการออมเงินง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นทำกันได้ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือทักษะทางการเงิน โดยเริ่มต้นบริหารจัดการได้ตามนี้
20% เงินออมสำหรับอนาคต เช่น เงินออมสำรองฉุกเฉิน เงินออมเพื่อการเกษียณ เป็นต้น
30% เงินใช้เพื่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เป็นต้น
50% เงินใช้ที่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าอาหาร ชำระหนี้ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: https://www.ncb.co.th/fin-knowledge/financial-plan-50-30-20

สูตรออมเงิน 1

สูตรที่ 2  ออมเงินอย่างมั่นคงด้วยสูตรการเงิน 6 ส่วน

สูตรนี้เป็นการบริหารการเงินที่จะแบ่งรายจ่ายและเงินออมด้วยกัน 6 ส่วน

กระปุกที่ 1 เงินออมสำหรับชีวิตหลังเกษียณ 15%
เงินออมสำหรับใช้ในช่วงวัยเกษียณในอนาคต หรือจะเป็นเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

กระปุกที่ 2 เงินออมในการลงทุน 10%
เงินเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้งอกเงยขึ้นโดยนำไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เช่น หุ้น กองทุนรวม สลากออมสิน ฝากประจำ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

กระปุกที่ 3 เงินออมเพื่อใช้แสวงหาความรู้ 10%
ลงทุนเพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองเพื่อนำไปปรับใช้ทั้งในการทำงาน หรือในชีวิต เช่น เรียนคอร์สพัฒนาทักษะต่าง ๆ เป็นต้น

กระปุกที่ 4 เงินใช้เพื่อความจำเป็น 55%
เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าของใช้ภายในบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต และหนี้สินต่าง ๆ เป็นต้น

กระปุกที่ 5 เงินเพื่อให้รางวัลแก่ตนเอง 5%
แบ่งเงินจากรายรับมาให้รางวัลตนเองเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อขอบคุณที่ทุ่มเทและพยายามมาในทุก ๆ เดือน

กระปุกที่ 6 เงินเพื่อการบริจาค 5%
แบ่งเงินเพื่อบริจาค หรือทำบุญในทุก ๆ เดือน ซึ่งส่วนนี้จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย
อ่านเพิ่มเติม: https://www.ncb.co.th/fin-knowledge/6-jars-saving-techniques

สูตรการออมเงิน 2

สูตรที่ 3 -> วางแผนระยะยาวจนเกษียณ

การวางแผนเกษียณควรตั้งเป้าหมายทางการเงิน และประเมินรายจ่ายในอนาคตของตนเองคร่าว ๆ ว่า หากเกษียณไปแล้วจะต้องมีเงินเท่าไหร่ และถ้าจะต้องใช้เงินจำนวนเท่านี้ จะต้องออมเงินต่อเดือนเท่าไหร่ โดยจะมีสูตรการคำนวณนิดหน่อย โดยคิดดังนี้ (อายุที่คาดว่าจะมีชีวิต – อายุเกษียณ) x รายจ่ายต่อปี ÷ ระยะเวลาที่เหลือในการหาเงิน = จำนวนเงินที่ต้องเก็บออม

ตัวอย่าง ปัจจุบันอายุ 30 ปี เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุ 85 ปี อายุที่ต้องการเกษียณคืออายุ 60 ปี คาดว่าจะมีรายจ่ายต่อปี 600,000 บาท แสดงว่าเรามีเวลาอีก 30 ปีในการหาเงินทั้งหมด

สูตรการออมเงิน 3

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

เมื่อเงินเดือนออก แต่ก็หมดแบบไม่ทันได้ตั้งตัว

เงินเดือนออก

เงินเดือนออกแต่ยังไม่ทันได้ใช้ก็หมดไปกับการจ่ายหนี้ซะหมดแล้ว ใครที่มีภาระหนี้สินก็อย่าลืมจัดการชำระให้เสร็จสิ้น และชำระหนี้ให้ตรงเวลาที่กำหนดเพื่อรักษาเครดิตและประวัติทางการเงินที่ดีกันด้วยนะคะ
ทริควางแผนการเงินเพื่อใช้จ่ายแต่ละเดือน

  • แบ่งเงินไว้เก็บออม เช่น ออมสำหรับฉุกเฉิน ออมสำหรับนำไปลงทุน เป็นต้น
  • กำหนดค่าใช้จ่ายจำเป็นรายเดือน เช่น ที่พักอาศัย, ค่ารถ ค่าเดินทาง, ค่าอาหาร, ของใช้จำเป็น 
  • ชำระหนี้สินตรงตามเวลาที่กำหนด (ถ้ามี) เช่น หนี้บัตรเครดิต, หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

▶ โมบายแอป

แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

ได้ทันที

  • โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
    •  ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง     

ภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง

 ภายใน 3 วันทำการ

  • แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต

รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  •  แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต
ค่าบริการ
  • รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
  • รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท

การวางแผนเงินเดือน

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

ข่าวเครดิตบูโร 003/2566 : JMT ตอกย้ำผู้นำ AMC ผ่าน Jaii-Dee Application จับมือเครดิตบูโร หนุนลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้กลับคืนสู่ระบบ

ข่าวเครดิตบูโร 003/2566

JMT ตอกย้ำผู้นำ AMC ผ่าน Jaii-Dee Application จับมือเครดิตบูโร หนุนลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้กลับคืนสู่ระบบ

3 กรกฏาคม 2566 : นับเป็นการก้าวไปอีกขั้นสำหรับ บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) และ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด (JAM) ผู้นำด้านการบริหารหนี้รายใหญ่ของประเทศ เดินหน้าจับมือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ช่วยเหลือสังคม ให้ลูกค้าของ JMT และ JAM สามารถปรับโครงสร้างหนี้ แก้เครดิตเสีย ให้กลับมาดีอีกครั้ง ผ่าน Jaii-Dee Application แพลตฟอร์มที่ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) เป็นผู้พัฒนา และสนับสนุน Ecosystem ในการบริหารหนี้ของกลุ่มบริษัทให้ครบวงจรสอดรับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล

นายสุทธิรักษ์  ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMT กล่าวอีกว่า Jaii-Dee (จ่ายดี) แพลตฟอร์ม กลุ่มบริษัทพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าในเรื่องการจัดการหนี้ มุ่งเน้นการให้บริการ Jaii-Dee (จ่ายดี) แก่ลูกค้าที่เป็นเสมือนคนสำคัญในครอบครัว โดยลูกค้าสามารถชำระหนี้และกลับคืนสู่ระบบได้ง่าย ด้วยฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับทางเครดิตบูโร เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการใช้งาน  “จ่ายดี สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา” หวังเพื่อให้การแก้ไขหนี้ทำได้อย่างยั่งยืน และเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจและประเทศ

ด้าน นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) กล่าวว่า เราเดินหน้ามอบโซลูชั่นทางการเงินบนช่องทางดิจิทัลอย่างครบถ้วนทุกมิติ ในยุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคของ Customer Centric หรือยุคที่มีลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง จึงนำเทคโนโลยีบล็อกเชน และ E-Payment เข้ามาสนับสนุนไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ โดยแอปพลิเคชัน Jaii-dee พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถทำรายการธุรกรรมได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนสุขภาพทางการเงิน และการจ่ายคืนชำระอย่างเป็นระบบ ด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบวงจร ตั้งแต่การปรึกษาปัญหาหนี้ และตรวจสุขภาพหนี้ บริการชำระเงิน สินเชื่อส่วนบุคคล และประกัน รวมทั้ง การเชื่อมต่อกับ JFIN และ J POINT ระบบสะสมคะแนนจากทุกการจ่ายแลกรับสิทธิประโยชน์ และเป็นช่องทางที่จะสามารถต่อยอดบริการใหม่ๆ ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ต่อจิ๊กซอว์เพื่อสนับสนุนลูกค้าเพิ่มเติมในอนาคต  

 นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า “สำหรับความร่วมมือกับ JMT ในครั้งนี้นับว่าเป็นอีกก้าวของการขยายการให้บริการด้านข้อมูลเครดิตให้สอดคล้องไปกับธุรกรรมทางการเงินในยุคสังคมดิจิทัล  เป็นการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของข้อมูลที่ชำระหนี้กับ JMT เสร็จสิ้น สามารถมอบอำนาจให้ JMT ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชีต่อเครดิตบูโรผ่านแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน Jaii-Dee โดยผ่านการยืนยันตัวตนความเป็นเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานการทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นคง ปลอดภัย ทั้งนี้ ตัวลูกหนี้ต้องตระหนักว่า​ มีปัญหาต้องเร่งแก้ไข​ เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ​ เครดิตบูโรส่งเสริมให้ตระหนักเรื่องการออม ภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

****************************************************************

(ในภาพ) นายปิยะ พงษ์อัชฌา (ที่2 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) และ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด (JAM) พร้อมด้วย นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) ร่วมลงนามในสัญญากับ นายสุรพล โอภาสเสถียร (ที่2 จากขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ในโอกาสที่ทางเครดิตบูโร กับ JMT และ JAM ทำบันทึกข้อตกลงให้บริการกับลูกค้า ในการยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชีจากลูกค้าผ่าน Jaii-Dee Application  เริ่มเปิดใช้งาน วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป

FAQ เคลียร์ 7 ข้อสงสัย เกี่ยวกับเครดิตบูโร

FAQ คำถามไหนที่พบบ่อย น้องบูโรขอมาตอบให้หายสงสัยในทุกเรื่องเกี่ยวกับเครดิตบูโร

คำถามที่ 1 -> เครดิตบูโรคืออะไร และทำหน้าที่อะไร

หน้าที่หลักของเครดิตบูโรคือการจัดเก็บข้อมูลและประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ ที่สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรได้ส่งข้อมูลมาให้ โดยการพิจารณาสินเชื่อขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ หรือนโยบายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินที่อาจแตกต่างกันไป ข้อมูลเครดิตเป็นเพียงส่วนประกอบที่นำไปใช้พิจารณาสินเชื่อเท่านั้น นอกเหนือจากข้อมูลส่วนอื่นที่สถาบันการเงินใช้พิจารณา เช่น รายได้ รายจ่าย อาชีพ ประวัติการออม อายุงาน หรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น เครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือตัดสินใจในการอนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด หากพบบุคคลใดแอบอ้าง สามารถแจ้งเรื่องได้ที่ consumer@ncb.co.th

1

คำถามที่ 2 -> ทำไมเครดิตบูโรต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ 3 ปี

เหตุผลที่เครดิตบูโรทำการจัดเก็บข้อมูลไว้ 3 ปี มีเหตุผลด้วยกัน 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ

  1. เพื่อให้สถาบันการเงินมีระยะเวลาเพียงพอในการวิเคราะห์พฤติกรรมการชำระหนี้ของเจ้าของข้อมูลว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เช่น ชำระปกติ ค้างชำระเป็นเวลานาน เป็นต้น

  2. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เป็นผู้ที่กำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลเครดิต (3 ปี) ซึ่งธนาคารโลก ได้วางหลักการให้การเก็บข้อมูลขั้นต่ำคือประมาณ 3 ปี *ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.creditinfocommittee.or.th

  3. ระยะเวลาการเก็บข้อมูลเครดิต (ธนาคารโลกได้วางหลักการให้คะแนนประเมินว่าในกว่า 190 ประเทศ การเก็บข้อมูลขั้นต่ำประมาณ 3 ปี)

  4. ข้อมูลประวัติการชำระหนี้จากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร จะอัปเดตข้อมูลทุกเดือนเรื่อย ๆ เรียงทับกันเหมือนกับขนมชั้น เมื่อมีข้อมูลใหม่มาข้อมูลเก่าเมื่อในเดือนที่แล้วก็จะหายไป ครบ 3 ปี (36 เดือน)

2

คำถามที่ 3 -> สถานะ Blacklist มีอยู่ในข้อมูลเครดิตจริงไหม?

สถานะ Blacklist หรือบัญชีดำ ไม่มีอยู่จริงในรายงานข้อมูลเครดิตค่ะ เพราะเครดิตบูโร ทำหน้าที่จัดเก็บรักษา รวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น มิได้มีหน้าที่ “ขึ้นบัญชีดำ” หรือ “Blacklist” อย่างที่เข้าใจกัน

3

คำถามที่ 4 -> กู้ไม่ผ่านเป็นเพราะเครดิตบูโรเป็นจริงหรือไม่

ตอบได้เลยว่าไม่จริงค่ะ เครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนร่วมในการอนุมัติหรือตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร โดยเหตุผลในการกู้ไม่ผ่านอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินแต่ละแห่งแตกต่างกัน ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้ โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย ภาระหนี้ที่มีอยู่และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ประกัน / ผู้ค้ำประกัน

4

คำถามที่ 5 -> ค้างค่าโทรศัพท์มือถือเป็นปี จะมีข้อมูลในระบบไหม

ข้อมูลในรายงานเครดิตบูโร จะจัดเก็บข้อมูลสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ยังไม่ได้มีการจัดเก็บประวัติการชำระค่าโทรศัพท์ หรือแม้แต่ค่าน้ำ ค่าไฟ กยศ. ลงในข้อมูลเครดิต แต่อย่างไรก็ตามก็ควรชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลาเพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดี

5

คำถามที่ 6 -> ข้อมูลในรายงานเครดิตบูโร อัปเดตทุกกี่เดือน

ในการอัปเดตรายงานข้อมูลเครดิต จะขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกนำส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรตามรอบการรายงานและจัดส่งข้อมูล ซึ่งเป็นรายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบรายเดือน (Monthly Basis) ไม่ใช่รายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบทันที (Real Time)

ยกตัวอย่าง
ข้อมูลการชำระหนี้ หรือปิดบัญชีของเดือน มิถุนายน 2566 จะสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป

6

คำถามที่ 7 -> ตรวจเครดิตบูโร ทำได้ผ่านกี่ช่องทาง

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

หยุดวงจรชีวิตเดือนชนเดือน แค่ปรับพฤติกรรมตามนี้

หยุดวงจร

แก้ไขปัญหาการใช้เงินเดือนชนเดือนต้องทำยังไง เมื่อไหร่จะหลุดพ้นวงจรนี้ น้องบูโรแนะนำแนวทางง่าย ๆ เพียงปรับพฤติกรรมการเงิน เมื่อได้รายรับมาในแต่ละเดือนให้เก็บออมเงินก่อนเป็นลำดับแรก และบริหารจัดการรายจ่ายประจำในแต่ละเดือน และแยกย่อยในแต่ละวัน เพื่อให้ใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบ

เดือนชนเดือน

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

เรื่องน่าอ่าน