7 ข้ออันตรายที่บอกว่าคุณควบคุมเงินในกระเป๋าไม่อยู่!

 

เคยไหมที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ใช้เงินเดือนชนเดือน

เคยไหมที่ต้องหยิบยืมเงินคนอื่นมาหมุนใช้ก่อน

เคยไหมที่ตอนเช้าเงินเข้าบัญชี แต่ตกเย็นปุ๊บเงินหายไปกว่าครึ่ง!

 

หากในแต่ละเดือนคุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายทางการเงินที่บอกได้ว่าคุณนั้นควบคุมเงินในกระเป๋าไม่อยู่แล้วล่ะ แต่หลายคนก็ไม่ทันได้ฉุกคิดเวลาที่ตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ บ้างก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งในสัญญาณอันตรายทางการเงิน ที่อาจทำให้เกิดความไม่มั่นคงชีวิตได้ในอนาคต

ดังนั้นเพื่อที่จะควบคุมเงินในกระเป๋า และให้สถานการณ์การเงินของตนเองดีขึ้น เรามาเช็กลิสต์สัญญาณอันตรายทางการเงินทั้ง 7 ข้อกันก่อนว่า เราเป็นหนึ่งในนั้นอยู่หรือเปล่า?

  1. ใช้เงินเกินรายได้ของตนเอง — รายได้มีเท่าไหร่ก็ใช้จ่ายจนหมดไม่เท่านั้นยังมีหยิบยืมเงินจากคนรอบข้างมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย
  2. ไม่เคยบริหารการเงิน — ไม่วางแผนจัดการรายรับ-รายจ่าย ไม่รู้ว่าแต่ละวัน แต่ละเดือนมีเงินเข้าเงินออกเท่าไหร่
  3. ติดกับดักสินค้าตามกระแส — ช่วงนี้สินค้าใหม่ไหนมา ของอะไรที่กำลังเป็นกระแสน่าสนใจก็ต้องรีบพุ่งตัวเข้าไปหาทันที
  4. เสพติดการชอปปิงก่อนแล้วจ่ายทีหลัง — เลือกโปรโมชันชอปก่อนจ่ายทีหลัง หรือแบ่งจ่ายได้เป็นงวด ๆ แทนการจ่ายเต็ม โดยลืมมองดอกเบี้ยที่จะตามมา
  5. รูดบัตรเต็มวงเงินมากกว่า 1 ใบ — มีบัตรเครดิตกี่ใบก็รูดจ่ายให้เต็มวงเงินจนหมด ไม่พอยังจ่ายแค่ขั้นต่ำของบัตรแต่ละใบในทุกเดือน
  6. มีบิลค้างชำระหนี้เต็มไปหมด — มีใบแจ้งหนี้ค้างชำระกองโตที่จัดการให้เสร็จสิ้น บางทีก็มีค้างชำระหนี้บ้างในบางเดือน
  7. ดึงเงินเก็บมาหมุนใช้แล้วสุดท้ายก็ไม่เคยคืน — ใช้จ่ายจนเพลิน สิ้นเดือนเงินไม่พอใช้ต้องหยิบยืมเงินตนเองมาใช้ก่อน แต่พอถึงเวลาก็ไม่เคยคืนกลับไปในบัญชี

 

ลองเช็กกันดูว่าทั้ง 7 ข้อ เป็นเราไปแล้วกี่ข้อกัน หากมีสัญญาณเหล่านี้ครบทั้ง 7 ข้อ นั่นหมายความว่าเราอยู่ในเขตอันตรายขั้นสุด ควบคุมการเงินไม่ไหวต้องรีบหาวิธีแก้ไขปัญหาการเงินอย่างเร่งด่วน!

 

ทริคควบคุมการเงินในกระเป๋าไม่ให้รั่วไหลได้อย่างอยู่หมัด

  1. ติดตามรายรับ-รายจ่ายของตนเองเสมอ

การจัดการการเงินด้วยการเช็กลิสต์ผ่านการทำรายรับ-รายจ่าย วิธีนี้ช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้กับเรา และสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในเดือนถัดไปออกไปได้

ตัวอย่างเช่น

 

 

  1. เคลียร์บัตรเครดิตและขจัดทิ้งออกไป

การมีหนี้เหมือนเป็นการขุดหลุมการเงินของตัวเราให้ไปติดกับดักวงจรหนี้วนไปวนมา และส่งผลต่อเครดิตการเงินของเรา แต่ถ้าหากเราจัดการเคลียร์หนี้ให้หมดไป ไม่รูดจ่ายไปก่อน สิ่งนี้ก็จะช่วยให้เราตระหนักเรื่องการใช้จ่าย ไม่จ่ายใช้ฟุ่มเฟือยไปได้

 

  1. หันมาจัดระเบียบทางการเงิน

วิธีการจัดระเบียบทางการเงินง่าย ๆ เริ่มต้นได้จากมีปฏิทินสักเล่มเพื่อบันทึกรายจ่ายต่าง ๆ ในแต่ละวันลงไป ว่าวันนี้ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าความบันเทิง เป็นต้น รวมไปถึงเก็บใบเสร็จทุกครั้งที่ได้รับเวลาไปใช้จ่ายตามร้านค้า สังเกตราคาสินค้าทุกครั้งก่อนใช้จ่ายด้วยเพื่อป้องกันความผิดพลาดเรื่องการคำนวณราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

  1. แบ่งสัดส่วนรายรับ-รายจ่ายให้เพียงพอในแต่ละเดือน

การแบ่งสัดส่วนการเงินเริ่มต้นง่าย ๆ ค่าใช้กฎ 50-30-20 โดย 50% แบ่งสำหรับรายจ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าอาหาร 30% รายจ่ายสำหรับสร้างความสุข เช่น ชอปปิง สังสรรค์ 20% รายจ่ายสำหรับอนาคต เช่น ออมเงิน หรือลงทุน

 

สัญญาณอันตรายการเงินที่เกิดขึ้น ถือเป็นสิ่งที่จะเตือนให้เราได้รู้ตัว และหาทางแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ซึ่งถ้าหากเรามีวิธีป้องกันรับมือที่ดีก็จะสามารถผ่านเขตอันตรายนี้ไปได้อย่างปลอดภัย