Blog Page 115

ส่องนิสัยออมเงินต่างชาติ 5 ประเทศ

ส่องนิสัยออมเงินต่างชาติ 5 ประเทศ

ต่างประเทศ ก็ต่างคน เรื่องการออมเงินก็คงต้องแตกต่างกัน มาดูกันค่ะ ว่าแต่ละประเทศจะมีวิธีคิด หรือนิสัยการออมเงินอย่างไรบ้าง? แตกต่างกับเรา หรือเหมือนกันกับเรา วิธีไหนที่เราจะนำมาปรับใช้กับตัวเราได้บ้างนะ

ส่องนิสัยออมเงินต่างชาติ 5 ประเทศ

แค่มี 3 รู้นี้ก็มีอนาคตทางการเงินที่สดใส

แค่มี 3 รู้นี้ก็มีอนาคตทางการเงินที่สดใส

รู้หาเงิน ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต ด้วยสติปัญญาและความขยันหมั่นเพียร

รู้เก็บเงิน จากการวางแผนทางการเงินที่ดี โดยไม่ลืมหลักสำคัญที่ว่าให้ออมก่อนใช้เสมอ

รู้ใช้เงิน โดยใคร่ครวญให้ดีทุกครั้งที่คุณคิดจะใช้เงิน ว่าสิ่งนั้นจำเป็นไหม รอได้หรือเปล่า และเหมาะสมกับกำลังทรัพย์ที่มีหรือไม่

3 รู้สู่อนาคตทางการเงินที่สดใส

9 เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

9 เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

เมื่อชีวิตเรามีความมั่นคงทางการเงิน เราก็สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย ขอให้ทุกคนมีวินัย มีความมั่นคงทางการเงินนะคะ ชีวิตจะดีแน่นอน

9 เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

วางแผนให้ดี เที่ยวยังไงไม่เป็นหนี้

วางแผนให้ดี เที่ยวยังไงไม่เป็นหนี้

การท่องเที่ยวน่าจะเป็นกิจกรรมที่หลายคนทำแล้วมีความสุข แต่ก็ต้องแลกกับการใช้เงินมากมายเลยทีเดียว หลายคนเที่ยวจนเป็นหนี้เพราะใช้จ่ายไปเยอะ แบบนี้ก็ต้องวางแผนให้ดีก่อนเที่ยวเพื่อจะได้เที่ยวอย่างสนุก ที่สำคัญต้องเที่ยวให้เหมาะกับตัวเอง ไม่รบกวนเงินในกระเป๋า แบ่งเงินจากที่ออมแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าหนี้สินจะรุงรัง 

วางแผนให้ดี เที่ยวยังไงไม่เป็นหนี้

5 ไอเดียเพิ่มรายได้ สำหรับคนทำงานประจำ

5 ไอเดียเพิ่มรายได้ สำหรับคนทำงานประจำ

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มี Second Job เพราะถึงมีเงินเดือนประจำ แต่ก็ไม่ได้มีเงินเหลือเก็บ เรามีไอเดียการหารายได้เพิ่ม ที่สามารถทำคู่ไปกับงานประจำได้มาแนะนำ ใครมีไอเดียหารายได้เพิ่ม คอมเมนต์มาบอกกันนะคะ

5 ไอเดียเพิ่มรายได้ สำหรับคนทำงานประจำ

ทำไมเคลียร์หนี้แล้วยังมีประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร?

ทำไมเคลียร์หนี้แล้วยังมีประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร?

มีคนชอบพูดเสมอว่า เครดิตบูโรเก็บข้อมูล “แบล็กลิสต์”(Blacklist) หรืออ้างว่า “ติด Blacklist ติดเครดิตบูโร” แล้วกู้ไม่ผ่าน ขนาดเคลียร์แล้วยังติด Blacklist เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงเลย การเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้เป็นแบล็กลิสต์ (Blacklist) หรือบัญชีดำ เครดิตบูโรไม่เคยจัดทำและขึ้นบัญชี แบล็กลิสต์ (Blacklist) กับใครไว้ในฐานข้อมูลเลย และในรายงานข้อมูลเครดิตบูโรก็ไม่มีคำว่า แบล็กลิสต์ เครดิตบูโรจัดเก็บ รักษา รวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น หากจ่ายแล้วก็บอกว่า ปกติหรือไม่ค้างชำระ แต่ถ้ายังไม่จ่าย ก็บอกว่า ค้างชำระ ไม่ว่าจะชำระตรงกำหนดหรือไม่ก็ตาม ถ้าเคลียร์หรือปิดบัญชีแล้ว ก็จะบอกตามนั้น เพียงแต่ข้อมูลจะยังไม่ถูกลบออกไปจนกว่าจะถึงกำหนดที่กฎหมายให้เก็บ

ทำไมเคลียร์หนี้แล้วยังมีประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร?

ผู้ค้ำประกันมีข้อมูลในเครดิตบูโรหรือเปล่า?

ผู้ค้ำประกันมีข้อมูลในเครดิตบูโรหรือเปล่า?

เครดิตบูโรไม่ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ค้ำประกัน เพราะผู้ค้ำประกันไม่ใช่คนขอกู้เงินหรือคนที่ขอสินเชื่อ แต่ถ้าผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วม ก็ถือว่าเป็นลูกค้าผู้ขอกู้เงินหรือขอสินเชื่อด้วย ดังนั้น เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลในฐานะที่เขาเป็นผู้กู้ร่วม ไม่ใช่ในฐานะผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันมีข้อมูลในเครดิตบูโรหรือเปล่า?

ข้อมูลเครดิตสำคัญยังไง ทำไมต้องตรวจ

ข้อมูลเครดิตสำคัญยังไง ทำไมต้องตรวจ

รู้ประวัติการเงินของตัวเอง จะทำอะไรก็ง่ายไปหมด รู้ทัน แก้ทัน ทำประวัติดีแน่นอน

ประวัติการชำระหนี้ที่สะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล รวมถึงแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือด้วย ดังนั้นทุกคนควรไปตรวจเครดิตบูโรอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ทางการเงินของคุณ หากมีข้อผิดพลาดจะได้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

ข้อมูลเครดิตสำคัญยังไง ทำไมต้องตรวจ

ทำยังไงดีเมื่อมาตรวจเครดิตบูโรแล้วพบข้อมูลไม่ถูกต้อง?

ทำยังไงดีเมื่อมาตรวจเครดิตบูโรแล้วพบข้อมูลไม่ถูกต้อง?

ถ้าไปตรวจเครดิตบูโรแล้วพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่อัปเดตทำไงดี ไม่ต้องกังวลใจ ทำตามนี้ได้เลยค่ะ

  1. ติดต่อศูนย์ตรวจเครดิตบูโร โดยกรอกแบบคำขอแก้ไขข้อมูล พร้อมยื่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนารายงาน เครดิตบูโรที่ต้องการแก้ไขและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เครดิตบูโรจะแจ้งธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ส่งข้อมูลนั้น ให้ตรวจสอบความถูกต้อง และจะแจ้งให้คุณทราบผลภายใน 30 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอ ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องจริงและสถาบันการเงินได้แก้ไขแล้ว เครดิตบูโรจะส่งรายงานข้อมูลเครดิตฉบับที่แก้ไขแล้วให้คุณ แต่หากสถาบันการเงินยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ไม่สามารถแก้ไขตามที่ขอได้ และคุณไม่พอใจกับคำตอบที่ได้รับ คุณมีสิทธิขอให้เครดิตบูโรบันทึกข้อโต้แย้งไว้ในระบบข้อมูลเครดิต และสามารถยื่นอุทธรณ์ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตเพื่อพิจารณาได้

กรณีคุณไม่สะดวกมายื่นคำขอด้วยตนเอง สามารถ Download แบบคำขอได้ที่ www.ncb.co.th และส่งเอกสารคำขอพร้อมหลักฐาน มาทางไปรษณีย์จ่าหน้าถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ส่วนบริการตรวจเครดิตบูโร (กรณีตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล)  เลขที่ 33/4 อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  1. ติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัญชี (ผู้ส่งข้อมูล) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องจริง ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะแจ้งให้เครดิตบูโรแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และแจ้งผลให้คุณทราบภายใน 30 วัน หากสถาบันการเงินยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ไม่สามารถแก้ไขตามที่ขอได้ และคุณไม่พอใจกับคำตอบที่ได้รับ คุณมีสิทธิขอให้เครดิตบูโรบันทึกข้อโต้แย้งไว้ในระบบข้อมูลเครดิต และสามารถยื่นอุทธรณ์ข้อโต้แย้งไว้ในระบบข้อมูลเครดิต และสามารถยื่นอุทธรณ์ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตเพื่อพิจารณาได้

ทำยังไงดีเมื่อตรวจเครดิตบูโรแล้วพบข้อมูลไม่ถูกต้อง?

เรื่องน่าอ่าน