Blog Page 116

7 กระปุกสร้างสุข ออมเงินให้เป็นสัดส่วน

7 กระปุกสร้างสุข ออมเงินให้เป็นสัดส่วน

การหยอดกระปุกเป็นวิธีคลาสสิกในการเก็บเงินที่ได้ผลถ้ามีวินัย แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้ามีการแยกกระปุกเก็บเงินไว้เป็นส่วนๆ ชัดเจน เพื่อที่เราจะได้ใช้เงินไม่ปะปนกัน มาแยกกันยังไง มาดูเลย

  1. กระปุกสำหรับค่าครองชีพ วันๆ ถ้าเงินเหลือ ก็มาหยอดในกระปุกนี้ มันจะเป็นทุนรอนชั้นดีเมื่อเข้าสู่กลางเดือนหรือปลายเดือน
  2. เงินสำหรับชอปปิง สำหรับชอปเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอางหรือไว้สนองความสุขที่เรารัก นอกจากจะใช้วิธีกันเงินแยกแล้ว การออมแยกก็ทำได้เช่นกัน แถมประหยัดกว่าด้วยเพราะไม่ได้ชอปบ่อย
  3. เงินเก็บเพื่ออนาคต กระปุกนี้หยอดลืมไปเลยค่ะ สำหรับเป็นทุนรอนตอนเกษียณ หรือสำรองไว้เผื่อตกงาน
  4. กระปุกเพื่อการศึกษา เผื่อว่าจะเรียนต่อ หรือลงคอร์สเสริมต่างๆ รวมไปถึงการซื้อหนังสือตำรับตำรา ก็เอามาจากก้อนนี้เลย
  5. ออมเพื่อเที่ยวพักผ่อน มีสักกระปุกไว้ออมเงินสำหรับเที่ยวโดยเฉพาะ แต่ก่อนเที่ยวควรตั้งเป้าหมายและวางแผนค่าใช้จ่ายด้วยนะ
  6. เก็บเงินเพื่อครอบครัว เมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องมีภาระเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน การดูแลครอบครัว ฯลฯ
  7. ออมเงินเผื่อภาษีสังคม เมื่อโตแล้วก็มีสารพัดงาน ไม่ว่าจะงานวันเกิดใคร เทศกาลต่างๆ วันปีใหม่ งานแต่งงาน ฯลฯ กันเงินส่วนนี้ไว้เลย แยกไว้ต่างหาก รับรองได้ใช้แน่นอนค่ะ

ชีวิตที่เห็นและความจริงที่เป็น คุณเป็นแบบนี้มั้ย

ชีวิตที่เห็นและความจริงที่เป็น คุณเป็นแบบนี้มั้ย

สิ่งที่เห็นและความจริงที่เป็น อาจจะสวนทาง ใครเล่าจะรู้ความจริง ว่าความหรูที่เห็นอาจจะเป็นแค่ความลวง ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ไม่มีหนี้ มีออม มีกิน มีใช้ เท่านี้ก็สบายอยู่ได้ไม่เหนื่อยค่ะ

4 นิสัยการใช้เงินทำนายอนาคต

4 นิสัยการใช้เงินทำนายอนาคต

ลองมาเช็กตัวเองกันดูค่ะว่าคุณมีนิสัยการใช้เงินแบบไหนกัน จะได้รู้ทันการใช้เงินตัวเอง อย่าลืมว่านิสัยการใช้เงินบ่งบอกถึงชีวิตในอนาคตได้นะคะ

หาได้ 100 ใช้ 120 แบบนี้เป็นหนี้แบบไม่ต้องสืบเลย เพราะหาได้น้อยกว่าที่ใช้ไป ใครมีนิสัยการใช้เงินแบบนี้ ปรับเปลี่ยนด่วนเลยค่ะ

หาได้ 100 ใช้ 100 อันนี้เสมอตัว ถึงคุณจะไม่เป็นหนี้เป็นสินก็จริง แต่คุณก็ไม่มีเหลือเก็บนะคะ ลดการใช้เงินอีกนิดจะ perfect เลยค่ะ

หาได้ 100 ใช้ 80 เหลือ 20 ไปเก็บออม แบบนี้ถือว่าชีวิตเริ่มปลอดภัย มีกิน มีใช้ มีเหลือเก็บ ไม่เป็นหนี้แถมมีเงินเหลืออีกต่างหาก

หาได้ 100 ใช้ 50 เหลือ 25 ไปออม และอีก 25 ไปลงทุน อันนี้เป็นการจัดสรรการเงินที่ดีมาก นอกจากมีพอใช้ มีเหลือเก็บแล้ว ยังมีมูลค่าเพิ่มด้วย แบบนี้เยี่ยมมากค่ะ

5 วิธีปลอดหนี้อย่างไว ปลดหนี้ก่อนไม่รอละนะ

5 วิธีปลอดหนี้อย่างไว ปลดหนี้ก่อนไม่รอละนะ

เมื่อกำลังเป็นหนี้จะรู้สึกว่ามันมีภาระที่ผูกติดอยู่กับเราเสมอ แต่เราสามารถเอาหนี้เหล่านั้นออกจากชีวิตของเราได้ ถ้ามีการจัดการการเงินที่ดี ที่สำคัญต้องรีบปลดหนี้ให้ไวที่สุด จะได้มีอิสระภาพทางการเงิน

• วางแผนการชำระหนี้และจัดการเงิน
วางแผนเพื่อการใช้หนี้ก่อนเลย จัดสรรเงินในแต่ละเดือนให้ดี

• คำนวณว่ามีหนี้เท่าไหร่ มีระยะเวลาชำระหนี้นานเท่าไหร่
สำรวจดูยอดหนี้และระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อที่จะได้วางแผนจ่ายหนี้ได้โดยไม่ล่าช้า

• ขายทรัพย์สินที่มีมูลค่าแต่ไม่จำเป็น
การที่จะได้เงินมาใช้หนี้ได้เร็วที่สุดคือการขายสมบัติหรือทรัพย์สินที่มีมาปิดหนี้

• หารายได้เพิ่ม เพื่อนำเงินไปชำระหนี้
หารายได้ช่องทางอื่นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน จะได้มีเงินใช้หนี้ด้วยค่ะ

• เริ่มจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน
ถ้าเรามีหนี้หลายรายการ แนะนำให้ชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยขึ้นทุกวัน ทบนานไปอาจจะสูงกว่าเงินต้นก็ได้

5 บัญชีที่ควรแยกไว้สำหรับคนมีครอบครัว

5 บัญชีที่ควรแยกไว้สำหรับคนมีครอบครัว

เมื่อตกลงแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ก็ต้องมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายให้ลงตัว และถ้ายิ่งมีลูกหรือคิดว่าจะมีลูกด้วยแล้ว การแบ่งสรรค่าใช้จ่ายสำหรับลูกก็เป็นเรื่องที่จำเป็น เรามาดูกันว่าคนมีคู่แล้วควรแยกบัญชีอย่างไรบ้าง

  1. บัญชีกองกลาง เป็นบัญชีสำหรับใช้จ่ายในครอบครัว เช่น ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ค่าใช้จ่ายพื้นฐานในครอบครัว เป็นต้น

  2. บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน คิดง่ายๆ คือควรมีเงินออมจากค่าใช้จ่ายพื้นฐานอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งจะสำรองจ่ายยามฉุกเฉิน เช่น ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

  3. บัญชีเงินลงทุน คือบัญชีสำหรับการสร้างรายได้ ซึ่งควรแยกเป็นอีกบัญชีต่างหาก สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหรือตราสารทุนต่างๆ

  4. บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว ควรแยกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้เด็ดขาดระหว่างสามี ภรรยา เพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรเงิน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เช่น ค่าอาหาร ค่าครองชีพในชีวิตประจำวัน ชอปปิง เป็นต้น

  5. บัญชีสำหรับบุตร เป็นบัญชีที่เก็บเงินสำหรับลูกตั้งแต่ยังแบเบาะจนถึงวัยเรียน เช่น ค่าวัคซีน ค่าอาหารลูก ค่าเล่าเรียนลูก เป็นต้น

Blacklist ความเข้าใจผิด…ที่ควรทราบ

Blacklist ความเข้าใจผิด…ที่ควรทราบ

หลายท่านคิดว่า สาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะเครดิตบูโรขึ้นบัญชีดำ หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “ติด Blacklist”

ความจริง! เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
เพราะเครดิตบูโร จะทำหน้าที่จัดเก็บรักษา รวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น มิได้มีหน้าที่ “ขึ้นบัญชีดำ”หรือ“Blacklist” อย่างที่เข้าใจกัน

เมื่อท่านขอกู้เงินแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

  • รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนด

  • ข้อมูลที่ปรากฎในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้

ซึ่งอาจเป็นผลมาจากท่านมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือ ผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินอื่น

*เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร หากบุคคลใดกล่าวอ้างกับท่าน แจ้งเรื่องได้ที่ consumer@ncb.co.th

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย : สิงหาคม 2559

 

5 คำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนตัดสินใจซื้อ

5 คำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนตัดสินใจซื้อ
  1. ถ้าไม่มีป้าย Sale ฉันจะยังอยากได้ไหม?
    ก่อนจะจ่าย ถามตัวเองดูสักนิดว่าถ้าชิ้นนั้นไม่ลดราคา คุณจะยังอยากได้มันไหม

  2. ถ้าตัดป้ายยี่ห้อออก ฉันจะยังยอมจ่ายราคานี้รึเปล่า?
    หลายครั้งที่เราเผลอซื้อของราคาสูงลิบเกินตัว เพียงเพราะเห็นแก่ชื่อยี่ห้อ ทั้งที่ประโยชน์ใช้สอย ไม่คุ้มค่าคุ้มราคาเลย

  3. ฉันจะได้ใช้มันจริงๆ หรือเปล่า?
    บางครั้งเราคิดเอาเองว่า “ซื้อๆ ไปก่อน เดี๋ยวก็ได้ใช้” แล้วก็ลงเอยโดยการที่ของชิ้นนั้นไม่ได้ใช้งาน

  4. ราคานี้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของฉันกันนะ?
    เพื่อป้องกันสภาวะถังแตก คุณควรคำนวณก่อนคร่าวๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าราคาของสิ่งนั้นคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้

  5. ถ้าฉันไม่ซื้อ เงินจำนวนนี้จะเอาไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็นได้มากแค่ไหน?
    หากคุณเก็บเงินจำนวนนั้นเอาไว้ จะเอาไปจ่ายซื้อของจำเป็นได้มากน้อยแค่ไหน

เพียงท่อง 5 ข้อนี้ไว้ในใจ แล้วหาคำตอบให้ตัวเองให้ได้ก่อนจะจ่ายเงิน คุณก็สามารถเป็นนักชอปรุ่นใหม่ที่ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดได้ รู้ทันตัวเองไว้ ไม่ตกหลุมพรางนักการตลาดอย่างแน่นอน

อยากรู้จัง ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

อยากรู้จัง ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

อยากรู้จังทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน เคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้กันมั้ยคะ ?
– ให้ข้อมูลครบหมดแล้ว
– ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่ขอสินเชื่อไม่ผ่าน
อาจเกิดจากเหตุผลอื่นๆ มีได้หลายประการค่ะ

เหตุผลไหนบ้างที่ทำให้ยื่นขอไม่ผ่าน เรามาดูกันเลย

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

หากประวัติเครดิตไม่ดี ควรทำอย่างไร

หากประวัติเครดิตไม่ดี ควรทำอย่างไร

เครดิตดีๆ ไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างด้วยตัวเอง

สำหรับท่านที่มีความกังวลเรื่องประวัติเครดิตในอดีต ท่านสามารถสร้างประวัติเครดิตที่ดีได้ตั้งแต่วันนี้

เริ่มตั้งแต่ติดต่อสถาบันการเงินที่เคยเป็นหนี้เพื่อชำระหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดหนี้ และเจรจาปรับโครงสร้างหนี้

ต่อมาต้องสร้างวินัยในตัวเอง ชำระหนี้เก่าให้เสร็จสิ้น ชำระหนี้ใหม่ให้ตรงเวลา หมั่นตรวจเครดิตบูโรเพื่อติดตามดูสถานการณ์หนี้สินของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด

เพียงเท่านี้ก็สามารถเป็นเจ้าของประวัติเครดิตดีๆ ได้แล้วค่ะ

*เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร หากบุคคลใดกล่าวอ้างกับท่าน แจ้งเรื่องได้ที่ consumer@ncb.co.th

ไม่เชื่อเข้ามาดูได้ที่นี่เลย http://bit.ly/2UXb5Td

เรื่องน่าอ่าน