Blog Page 117

ค้างชำระค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ มีประวัติค้างชำระมั้ยนะ?

ค้างชำระค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ มีประวัติค้างชำระมั้ยนะ?

ค้างชำระค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ จะมีประวัติค้างชำระบันทึกในเครดิตบูโรของเราหรือเปล่า?

ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ได้กำหนดให้องค์กรหรือนิติบุคคลใดต้องนำส่งข้อมูลประวัติการชำระค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าน้ำ-ค่าไฟ รวมทั้งค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้บริษัทข้อมูลเครดิต

เพราะฉะนั้นตอนนี้บริษัทข้อมูลเครดิตจะไม่มีข้อมูลการชำระค่าสาธารณูปโภคทั้งหลายนะคะ

ใช้เงินช่วงสงกรานต์อย่างปลอดภัย ยังไงก็มีเหลือ

ใช้เงินช่วงสงกรานต์อย่างปลอดภัย ยังไงก็มีเหลือ

สุขสันต์วันสงกรานต์ ๒๕๖๒ เทศกาลแห่งความอบอุ่นและความสนุกสนาน
สนุกจังตังค์เหลือ สุขให้สุดกันในเทศกาล ไม่ต้องพะวงหลังว่าจะมีเงินเหลือมั้ย แค่แพลนให้ดี ชีวิตช่วงเทศกาลดีแน่นอน

หยอดเหรียญวันละ 18 บาท ใน 1 ปี ออมได้หลายพัน

หยอดเหรียญวันละ 18 บาท ใน 1 ปี ออมได้หลายพัน

อย่าหมิ่นเงินน้อย ใช้สอยต้องมีเก็บ เก็บเล็กผสมน้อย ได้หลายร้อยหลายพัน แค่หยอดกระปุกวันละ 18 บาท สิ้นปีได้ถึง 6,570 บาทเลยทีเดียว

5 นิสัยทำเจ็บเก็บเงินไม่ได้

5 นิสัยทำเจ็บเก็บเงินไม่ได้

สงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมเราถึงเก็บเงินไม่ได้สักที ทั้งที่เงินเดือนก็ไม่น้อย รายรับก็พออยู่ได้ แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บ หลายคนอาจจะมีภาระมากมายจนเป็นอุปสรรคที่จะทำให้ไม่มีเงินออมเงินเก็บ บ้างก็ว่าค่าครองชีพในเมืองหลวงมันสูงเหลือเกิน หาได้เท่าไหร่ก็พอใช้แค่นั้น แต่ในความเป็นจริงไม่ว่าจะมีรายรับเท่าไหร่ก็สามารถมีเงินเก็บได้ เราลองมาพิจารณากันดูว่ามีนิสัยเหล่านี้หรือไม่ ถ้าเรายังมีนิสัยนี้อยู่ก็ลด ละ เลิก เพื่อจะได้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น

  1. “ของมันต้องมี” วลีพาการเงินพัง
    ทำให้หลายคนต้องหมดเปลืองไปกับสิ่งของเหล่านี้ ระวังด้วยนะคะ จ่ายไปจ่ายมา จะกลายเป็นจ่ายเงินก้อนโตไปแบบงงๆ

  2. ไม่แยกเงินออมกับเงินที่ต้องใช้จ่ายออกจากกัน
    เมื่อเงินเดือนเข้าก็ใช้จ่ายจนไม่ได้เก็บ ทางที่ดีรีบเก็บก่อนที่จะใช้ดีกว่าค่ะ รีบออมไว้ก่อน แยกบัญชีเงินออมเด็ดขาดไปเลย

  3. ไม่พอใช้ก็รูดปื๊ด
    นี่เป็นสาเหตุที่เก็บเงินไม่ได้ แถมเป็นหนทางที่ก่อให้เกิดหนี้อีก ถ้าเงินไม่พอก็ไม่ต้องซื้อค่ะ ถ้าอยากได้ก็เก็บเงินซื้อเอานะคะ

  4. ติดการเสพไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว ชอป ชิคๆ คูลๆ ทั้งที่ไม่ได้มีเหลือใช้
    การใช้เงินซื้อความสุขและให้รางวัลแก่ชีวิตไม่ผิดหรอกค่ะ แต่ก็ต้องประเมินตนเองและยับยั้งช่างใจอย่าให้มากเกินพอดีค่ะ

  5. นิสัยป๋าชอบให้เพื่อนยืมเงิน
    ไม่ได้หมายความว่าห้ามให้เพื่อนยืมนะคะ เพื่อนก็ย่อมช่วยเพื่อนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือกำลังของตัวเองค่ะ ถ้าให้ยืมแล้วเราต้องไม่เดือดร้อน

แบงก์ 20 แบงก์ 50 สร้างมูลค่า ออมวันละใบ ครบปีมีเงินหมื่น

แบงก์ 20 แบงก์ 50 สร้างมูลค่า ออมวันละใบ ครบปีมีเงินหมื่น

เก็บเหรียญไปแล้วมาเก็บแบงก์กันบ้าง ถ้าวันหนึ่งเก็บอย่างละใบ เดือนหนึ่งก็ได้เป็นพัน ปีหนึ่งก็ได้เป็นหมื่นเลยนะคะ ไม่เชื่อลองออมดูสิคะ

5 สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีหนี้ท่วมหัว

5 สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีหนี้ท่วมหัว

5 ข้อนี้ตรงกับชีวิตคุณมากน้อยแค่ไหน ถ้าใช่ก็ห้ามนิ่งนอนใจ ถึงเวลาต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติการบริหารเงินของตัวเองซะใหม่ ก่อนที่หนี้สินจะรัดตัวซะจนหายใจไม่ออกนะคะ

  1. มากกว่า 45% ของรายได้ต้องเอาไปให้เจ้าหนี้ รายได้เกือบครึ่งต้องจ่ายเจ้าหนี้หมด สุขภาพทางการเงินของคุณจะเป็นยังไงในระยะยาว

  2. คุณจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าคุณมีหนี้อยู่ทั้งหมดเท่าไร ส่อว่าหนี้ที่คุณมีมันเยอะเกินกว่าที่คุณจะรับผิดชอบได้แล้ว ยิ่งก่อหนี้มาพอกพูนขึ้นไปอีก

  3. เริ่มกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้หนี้ เป็นแค่การหนีปัญหาเฉพาะหน้า หากเป็นแบบนี้หลายงวดเข้า บัญชีหนี้สินของคุณก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย

  4. คุณเริ่มกังวลว่าคนที่บ้านจะเห็นใบแจ้งหนี้ของคุณ เพราะลึกๆ แล้วแม้แต่ตัวคุณเองยังรู้เลยว่าหนี้สินขนาดนี้นับว่าไม่น้อยแล้ว

  5. เวลามีเบอร์ไม่รู้จักโทรเข้ามา คุณจะวิตกก่อนเลยว่าเป็นการทวงหนี้ แปลว่าเจ้าหนี้ได้ประเมินสถานการณ์ว่ามีโอกาสสูงที่จะจ่ายคืนไม่ไหว จึงต้องเข้ามาวนเวียนในชีวิตคุณ

รู้ทัน “หนี้” ก่อนตัดสินใจกู้

รู้ทัน "หนี้" ก่อนตัดสินใจกู้

เมื่อได้ชื่อว่าเป็นหนี้ ก็จะก่อให้เกิดความประหวั่นพรั่นพรึงวิตกกังวลและพาให้ชีวิตไม่สดใส แต่อย่าลืมว่าทุกสิ่งมี 2 ด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ถึงแม้ว่าจะเป็นหนี้มีความทุกข์ใจ แต่ถ้ารู้จักเลือกมุมมองและสร้างพลังบวกให้กับตัวเองว่าการเป็นหนี้ก็มีพลังในด้านบวกเช่นกัน ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้เรามุมานะทำงานปลดหนี้ได้สำเร็จในเวลาอันใกล้ค่ะ

การเป็นหนี้ไม่ได้เป็นสิ่งน่ากลัวตัวร้ายเสมอไป เพราะมันจะมีหนี้บางประเภท ที่ก่อประโยชน์ให้กับลูกหนี้ได้ค่ะ

หนี้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ คือหนี้ที่ก่อให้เกิดมูลค่าและเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ หรือสร้างรายได้ให้กับลูกหนี้นั่นเองค่ะ

หนี้ที่สามารถก่อมูลค่าให้กับผู้กู้ได้ เช่น หนี้เพื่อการศึกษา หนี้เพื่อการลงทุนทำธุรกิจ หนี้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย เป็นต้น

บริหารเงินให้เป็น รู้จักเลือกใช้ วางแผนการเงินดีๆ ไม่ต้องกลัวการเป็นหนี้เลยค่ะ

หนี้ที่ก่อให้เกิดโทษเป็นอย่างไร

หนี้ที่ก่อให้เกิดโทษ คือหนี้ที่ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายโดยใม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในอนาคต เป็นหนี้ที่กู้ยืมเพื่อการบริโภคต่างๆ เพื่อความสบายเป็นหลัก โดยไม่ทำให้เกิดรายได้ เช่น หนี้บัตรเครดิต การกู้เงินนอกระบบ กู้เงินเพื่อเดินทางท่องเที่ยวหรือซื้อของแบรนด์เนมต่างๆ

เข้าสู่เดือนมีนาทั้งที่ ก็ต้องตรวจสุขภาพการเงินกันหน่อย

เข้าสู่เดือนมีนาทั้งที่ ก็ต้องตรวจสุขภาพการเงินกันหน่อย

มาอัพเดทสุขภาพทางการเงินกันหน่อย
รู้มั้ยว่าสามารถตรวจเครดิตบูโรได้ทั่วประเทศไทยผ่านบริการของที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นได้เลย
แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำขอตรวจเครดิตบูโร พร้อมยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง และชำระค่าบริการ 150 บาท เรียบร้อยก็รอรับผลที่บ้านได้เลย ภายใน 7 วันทำการ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมและค้นหาสาขาที่ทำการไปรษณีย์ได้ที่นี่เลย http://bit.ly/2GAcBIu

Check list 6 ค่าใช้จ่าย ที่ไม่ควรจ่าย

Check list 6 ค่าใช้จ่าย ที่ไม่ควรจ่าย

ลองตัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออกไป แล้วเรามาดูกันว่าจะได้เหลือเงินเพิ่มขึ้นเท่าไร!

• ซื้ออาหารมาตุน แต่กินไม่ทัน บางทีเกิดซื้อมาตุนเยอะเกินไปจนกินไม่ทันเงินกลายเป็นอาหารหมดอายุไปเสียอย่างนั้น ยิ่งเปลืองหนักเขาไปใหญ่

• ซื้อของลดราคา แต่ไม่เคยได้ใช้ สุดท้ายของชิ้นนั้นก็นอนเหงาอยู่มุมตู้ น่าเสียดายเงินอยู่นะ

• ซื้อเสื้อผ้า แต่ใส่ไม่ได้ แค่เห็นเสื้อผ้าสวยถูกใจก็รีบคว้าไว้ แต่ลืมลองก่อนซื้อ สุดท้ายก็ต้องส่งต่อให้คนอื่น

• สมัครสมาชิกฟิตเนส แต่ไม่ได้เล่น ลงทุนสมัครสมาชิกฟิตเนสราคาหลักหมื่น แต่เอาเข้าจริงเกิดไม่มีเวลาว่าง ขาดความเอาจริงเอาจัง จนล้มเลิกความตั้งใจ

• ให้เงินคนอื่นยืม แต่ไม่ได้คืน บางคนอาจจะลืมเรื่องหนี้สินที่เคยยืมคุณ ครั้นจะทวงก็เกรงจะผิดใจกัน ถ้าไม่ทวงก็ง่ายๆ คือกลายเป็นหนี้สูญโดยสมบูรณ์

• จ่ายเซอร์วิสชาร์จ แต่ไม่ได้รับบริการ เพราะบางร้านพนักงานก็บริการได้ไม่ต่างจากร้านอาหารทั่วไป

เรื่องน่าอ่าน