Blog Page 106

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน
ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ของขวัญที่ดีที่สุดที่พ่อแม่จะมอบให้ลูกได้ คือ “วินัยทางการเงิน” เพื่อให้ลูกโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้เงินอย่างชาญฉลาด

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

สอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน
มอบหมายงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกได้รับผิดชอบ แล้วให้ค่าตอบแทนเมื่อลูกทำงานสำเร็จ เพื่อให้ลูกได้รู้จักคุณค่าของเงิน และคุณค่าของการทำงาน

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

ใช้กระปุกออมสินเก๋ๆ ดึงดูด
เริ่มจากวิธีง่ายๆ หากระปุกออมสินน่ารัก เหมือนกับของเล่น หรือตุ๊กตาที่ลูกชอบ ให้ลูกได้ลองหยอดเงินใส่กระปุก เหมือนกับการเล่นของเล่น สร้างนิสัยการออม โดยที่ลูกรู้สึกสนุกไปด้วย

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

สร้างเป้าหมาย ให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ
ตั้งเป้าหมายในการออมง่ายๆ ให้กับลูก หากลูกทำได้สำเร็จ ก็ให้รางวัลเป็นการตอบแทน เช่น หยอดกระปุกทุกวัน 1 สัปดาห์ติดต่อกัน จะพาลูกออกไปเที่ยวเป็นต้น

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคาร
เมื่อลูกหยอดกระปุกออมสินได้ระดับหนึ่งแล้ว ควรพาลูกไปเปิดบัญชีธนาคาร อธิบายว่าการฝากเงินที่ธนาคาร เพื่อให้ได้ดอกเบี้ย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสอนลูกเรื่องการลงทุน

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

เล่นบอร์ดเกมบริหารเงิน
บอร์ดเกมบริหารเงินมีให้เลือกมากมาย ร่วมกันเล่นกับลูก นอกจากจะได้ความสนุกแล้วยังได้ความรู้ในการบริหาร การลงทุน แถมยังได้ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวอีกด้วย

5 วิธีฝึกลูกให้เป็นเด็กยุคใหม่ ที่มีวินัยทางการเงิน

ไม่ต้องเข้าเมือง ก็ตรวจเครดิตบูโรได้! ที่ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

ไม่ต้องเข้าเมือง ก็ตรวจเครดิตบูโรได้! ที่ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

จะอยู่ที่ไหน? จะใกล้หรือไกล? ไม่สะดวกเดินทางเข้าเมือง ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรได้ที่ ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศกว่า 291 แห่ง เพียงแค่ยืนบัตรประชาชนของตนเอง พร้อมกับชำระเงิน 150 บาท แล้วรอรับผลทางไปรษณีได้เลย ภายใน 7 วันเท่านั้น

ไม่ต้องเข้าเมือง ก็ตรวจเครดิตบูโรได้! ที่ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี แล้วอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี แล้วอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี แล้วอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?
มาดูคำตอบกันเลยค่ะ

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี?
: เครดิตบูโรจัดเก็บข้อมูลไม่เกิน 3 ปี เช่น ถ้าเจ้าของข้อมูลมีบัตรเครดิตที่ค้างชำระในเดือนสิงหาคมและต่อมาได้จ่ายหนี้และปิดบัญชีในเดือนกันยายนจะแสดงยอดหนี้เป็น 0 มีสถานะบัญชีเป็น “ปิดบัญชี” และแสดงข้อมูลอยู่ในเครดิตบูโรอีกไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับรายงานข้อมูลการปิดบัญชีจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก หลังจากนั้นเมื่อครบกำหนด 3 ปี บัญชีบัตรเครดิตดังกล่าวก็จะถูกลบออกไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโรโดยอัตโนมัติ เครดิตบูโรไม่สามารถลบข้อมูลบัญชีบัตรเครดิตได้ในทันที ชำระหนี้เสร็จสิ้นจึงจะปิดบัญชีตามที่เข้าใจ

การอัปเดตข้อมูลในรายงานเครดิต
: สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะนำส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรตามรอบการรายงานและจัดส่งข้อมูล ซึ่งเป็นการรายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบรายเดือน (Monthly Basis) มิใช่รายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบทันที (Real Time) เช่น ข้อมูลการชำระปิดบัญชีของเดือนมีนาคม 2562 ท่านสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี แล้วอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “เริ่มต้นปีใหม่… จะอย่างไรก็จะต้องการกู้เงิน” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2563

เริ่มต้นปีใหม่… จะอย่างไรก็จะต้องการกู้เงิน

บทความของผู้เขียนวันนี้ขอเริ่มจากมีผู้คนส่วนหนึ่งได้โพสต์​ข้อความเพื่อขอความเห็น​ คำแนะนำ​ หรือคำชี้แนะจากเพื่อนๆในสื่อสังคมออนไลน์​ ข้อความที่ถามในช่วงเวลาเริ่มต้นปีใหม่ชุดนี้มีความน่าสนใจในหลายประเด็น​ เหมาะควรกับการนำมาเสนอ​ข้อคิดเห็น​ แต่อย่าถือเป็นข้อแนะนำเลยนะครับ​ เผื่อว่าใครบางคนที่กำลังเจอเรื่องราว​ที่ใกล้เคียง​กันจะได้นำไป​ใช้ประโยชน์​กันต่อไป

คำถามที่เป็นกระทู้เริ่มต้นว่า

… เนื่องจากผมวางแผนจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อไปซื้อบ้าน พอได้ไปเช็กเครดิตบูโรมาด้วยตัวเองจากศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่บีทีเอสอนุสาวรีย์​ชัยสมรภูมิ​ พบข้อมูลในรายงานเครดิตบูโรว่า
1.ยังมีภาระผ่อนบ้าน เดือนละ​3,000 กว่าบาท และ
2.มีข้อมูลรายงานการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ของธนาคารอีกแห่งหนึ่งแต่ก็ได้ผ่อนชำระตามสัญญาปรับโครงสร้าง​หนี้​ดังกล่าวตรงกำหนดมาตั้งแต่ปี 2560
3.ส่วนสินเชื่อบ้านตามข้อ​ 1. ตอนนี้ได้ไปปิดยอดหนี้แบบปิดบัญชีแล้วมาเมื่อวานนี้ และ
4.กำลังจะรวมเงินอีกก้อนไปปิดยอดปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตตามข้อ​ 2.ให้หมดเรื่องหมดราว

คำถามคือ ไม่ทราบว่าพอที่จะมีธนาคาร ใดรับเงื่อนไขคนยื่นขอกู้ที่มีประวัติการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตแต่ว่าได้ปิดบัญชีแล้วอยู่บ้างไหมครับ และคำถามที่อยากรู้มากคือหลังจากปิดบัญชีปรับโครงสร้างหนี้แล้วต้องรอระยะเวลานานแค่ไหน​ มีคนบอกว่าระยะเวลาดูใจอาจจะนานเป็นปีเลยอ่ะครับ ผมทำงานบริษัทครับ เงินเดือนรวมพิเศษก็ได้เดือนละ​ 60,000 บาท​ รบกวนใครพอจะมีคำแนะนำด้วยนะครับ… โพสต์เมื่อ​ 4 มกราคม​ 2563​

ในความเห็นของผมขอตอบดังนี้นะครับ
1.ถ้าปิดบัญชีสินเชื่อบ้านที่มีอยู่แล้ว​ การยื่นขอสินเชื่อไปซื้อบ้านหรือคอนโดอีกครั้ง​ ควรต้องสอบถามเงื่อนไขให้ชัดเกี่ยวกับการวางเงินดาวน์​นะครับว่าจะโดน​ 5%หรือ​ 20%ตามมาตรการป้องกัน​การเก็งกำไรของทางการหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ามาตรการ​ LTV
2. จากนั้นให้ถามต่อว่าบ้านหรือคอนโดที่เราอยากได้นั้นจะต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่​ เพื่อเอามาเปรียบเทียบกับรายได้(ซึ่งอาจจะถูกหักรายการที่ไม่แน่นอนออกไป)​ เราลองเทียบดูว่า​ ยอดผ่อนต่อเดือนเทียบกับรายได้มันคิดเป็นกี่​ % ถ้ามันเกิน​ 50%แล้วหล่ะก็​ ก็ต้องคิดว่ามันจะต้องบริหารอย่างเข้มงวด​เพราะมันยังอาจจะมีหนี้อย่างอื่นในอนาคตที่จะต้องผ่อนรายเดือนเช่นหนี้บัตรเครดิต(อีกครั้ง)​หรือหนี้ผ่อนของจากสินเชื่อส่วนบุคคล และถ้ามันเกิน​ 70%ของรายได้​ คงต้องบอกว่ายากที่จะได้รับอนุมัติในเวลานี้​
3. คนที่มีบัญชีปรับโครงสร้าง​หนี้​ในประวัติของตนเองนั้น​
3.1 หากปิดบัญชีแล้วรหัสสถานะบัญชี​จะเปลี่ยนเป็น​ ปิดบัญชี​ และข้อมูลที่ระบุวันที่ปรับโครงสร้างหนี้​ หรือ​ TDR date ก็จะหายไป​ อันนี้จะเหมือนกับปิดบัญชีปกติ
3.2 แต่ถ้าหัวบัญชีนั้นชื่อ​ บัญชีปรับ​โครงสร้างหนี้แล้วล่ะก็​ แม้ว่าจะปิดไปแล้ว​ ก็ต้องเตรียมตอบคำถามนะครับว่าเหตุใดจึงต้องไปปรับโครงสร้างหนี้
3.3​ แต่ถ้ายังไม่มีการปิดบัญชีปรับ​โครงสร้าง​หนี้​ แม้ว่าผ่อนได้ดีไม่มีผิดนัดชำระ​ คนให้กู้จะดูว่า​ บัญชีนี้เปิดมานานหรือยัง​ เทียบเวลาตั้งแต่วันที่เริ่มสัญญา​ปรับโครงสร้าง​หนี้จนถึงปัจจุบัน​นี้เกินกว่า​ 12เดือนหรือ​ 24เดือนแล้วหรือยัง​ ยิ่งถ้ายังไม่เกิน​ 6เดือนเทียบกับปัจจุบัน​ก็ต้องเรียนว่าค่อนข้างยากนะครับในการได้รับอนุมัติ​ จะยกเว้นเรื่องเวลาดูใจพวกนี้ก็ต้องพึ่งธนาคารของรัฐที่เรียกว่าสถาบันการเงินเฉพาะ​กิจนะครับ​ เงื่อนไขจะผ่อนปรนกว่า​ แต่จะใช้เวลานานนิดนึงนะครับ
4.สุดท้ายครับ​ คิดภาระที่ต้องผ่อนทุกสิ่งอย่าง​ ย้ำนะครับว่าอย่าหลอกตัวเอง​ เอายอดหนี้ครับเทียบกับรายได้​ คำน​วณ​ออกมาเป็น%ครับว่าเกิน​ 70%ของรายได้ไหม ถ้าเกินก็เหนื่อยครับ​
5.สุดท้ายของสุดท้ายเอายอดผ่อนทั้งปวงลบออกจากรายได้​ ซึ่งจะได้เป็นเงินเหลือในการใช้จ่ายรายเดือน​ เอาตัวเลข​ 30วันไปหารดูครับ​ นั่นแหละ​ครับคือเงินรายได้สุทธิจากหนี้ทั้งปวงที่เราจะใช้ยังชีพ​ กินอยู่ต่อวัน​ ถ้าตัวเลขมันคือ​ 300บาทต่อวัน​ ชีวิตเราก็จะเท่ากับ​ “ทำงานหาเงินเป็นมนุษ​ย์ออฟฟิศ​หากแต่ใช้ชีวิตดั่งกรรมกรรายวัน”
เป็นข้อมู​ลเอาไปลองคิดต่อนะครับ
ขอบคุณครับที่ติดตาม

ตรวจเครดิตบูโรฟรี! ถูกปฏิเสธสินเชื่อ และถูกอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร

ตรวจเครดิตบูโรฟรี! ถูกปฏิเสธสินเชื่อ และถูกอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร

มาตรวจเครดิตบูโรได้ฟรี! เมื่อท่านถูกปฏิเสธสินเชื่อ โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร กฎหมายที่คุ้มครองดูแลท่าน คือ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล (ซึ่งก็คือตัวท่าน)

เพียงแค่นำหนังสือปฏิเสธสินเชื่อ และบัตรประชาชนตัวจริงของตนเอง

ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร  ฟรี ไม่มีค่าบริการ

 

ตรวจเครดิตบูโรฟรี! ถูกปฏิเสธสินเชื่อ และถูกอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มไม่แน่นอน เรื่องเหล่านี้ไม่ควรทำ!

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มไม่แน่นอน เรื่องเหล่านี้ไม่ควรทำ!

ปัญหาทางเศรษฐกิจเริ่มไม่แน่นอน บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความเป็นจริงมันสามารถส่งผลกระทบได้กับทุกคนนะคะ เพราะฉะนั้นควรเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เราคาดไม่ถึงค่ะ

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มไม่แน่นอน เรื่องเหล่านี้ไม่ควรทำ!

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “เครดิตบูโร!! คืออะไร?…ในประเทศไทย” : นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2563

เครดิตบูโร!! คืออะไร?…ในประเทศไทย

ขอบคุณ มากครับที่ติดตาม
บทความเริ่มต้นในการทำความรู้จักและเข้าใจว่า องค์กรที่มีชื่อติดปากว่า “เครดิตบูโร ” นั้นแท้จริงแล้ว คือ…องค์กร อะไร  มี หน้าที่อะไร เกี่ยวอะไรกับสถาบันการเงิน และเกี่ยวอะไรกับการดำเนินชีวิตหรือเกี่ยวอะไรกับประชาชนคนยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน…แล้วอะไร? คือสิ่งที่ถูกต้องที่ควรเข้าใจ จดจำ และนำไปบอกเล่ากันต่อไปในวงกว้าง
1. เครดิตบูโร หรือชื่อทางการ…คือ บริษัท ข้อมูลเครดิต แห่งชาติจำกัด เป็นองค์กร ที่อยู่ในรูปของบริษัทหรือนิติบุคคลหรือองค์กรภาครัฐในโลกนี้กว่า 190 ประเทศต่างมีการตั้งเครดิตบูโร ซึ่งของไทยมีการจัดตั้งขึ้นมาหลังวิกฤติ การเงิน ปี  40
2. เครดิตบูโร มีหน้าที่หลัก…คือ รับข้อมูลเครดิตจากสมาชิก ประมวลผลข้อมูล รักษาความลับของข้อมูล และเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิก หลังจากที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลได้เช่น ธนาคารเอ ส่งข้อมูลให้เครดิตบูโร ว่า นายเอ มีบัญชีหนี้สินเป็นสินเชื่อบ้าน และในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา นายเอ มีการชำระหนี้ดี ตรงเวลาไม่ค้างชำระ แต่พอ นายเอ ไปยื่นขอกู้ที่ ธนาคารบี เพื่อทำบัตรเครดิต ธนาคารบี ขอให้ นายเอ  ลงนามในหนังสือให้ความยินยอม ให้เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูล ว่า นายเอ  มีหนี้กี่บัญชี สถานะในเดือนปัจจุบัน ค้างหรือไม่ค้าง  และมีประวัติย้อนหลังเป็นรายเดือนว่า เดือน มิ.ย.-ก.ย. ที่ผ่านมา นายเอ ได้ทำอะไรลงไปกับบัญชีสินเชื่อที่ตนเองมีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
ตรงนี้แหละครับ!!! คือ ข้อมูลแสดงพฤติกรรมของตัวคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลว่า …เมื่อมีหนี้แล้วประพฤติปฏิบัติอย่างไรรับ ผิดชอบหรือ ไม่ ชำระครบ ชำระตรงเวลาหรือไม่ สิ่งนี้…เรียกว่า นิสัยความตั้งใจในการชำระหนี้ของเจ้าของข้อมูล
3. หน้าที่ของเครดิตบูโร…คือ เป็นถังข้อมูลที่เก็บข้อมูลคนเป็นหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่เป็นสมาชิก ของเครดิตบูโร เพื่อให้สมาชิกได้ใช้ข้อมูลนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ ว่า จะให้กู้หรือไม่ให้กู้  นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ อาชีพ สถานะทางสังคม แผนธุรกิจและหลักประกัน เครดิตบูโร คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล ข้อมูลที่จะทำให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ไม่เสี่ยง ไม่เกิดหนี้เสียเพราะไม่รู้ข้อมูลคนขอกู้อย่างเพียงพอ
“เราต้องไม่ลืมว่า เงินที่เอามาปล่อยกู้คือเงินจากผู้ฝากเงินถ้าปล่อยกู้หาประโยชน์ ไม่เสี่ยงเกินไป ความเสียหายที่จะเกิดกับเงินฝากก็จะน้อยลงไปตามกัน”
ท่านผู้อ่านลองคิดตาม…เวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปี 8 เทอม การศึกษา สำนักทะเบียนบอกว่า ได้เกรดเอ จำนวน 20 วิชาที่เรียนแต่ได้ เกรดซี จำนวน 1 วิชาที่เรียน ในช่วงปี 3 เทอม 2 ซึ่งเกรดที่ได้จะมาจากอาจารย์ ที่ไปเรียนวิชานั้น ๆ ทีนี้เวลาไปสมัครงาน จะกังวลหรือไม่หากคนสัมภาษณ์จะถามว่า ทำไมปี 3 เทอม 2 ได้เกรดซีมาหนึ่งตัว..
การที่จะผ่านเกณฑ์ การประเมินแล้วถูกรับเข้าทำงาน!! หรือได้รับสินเชื่อ!! เป็นผลมาจากตัวเรา เอง จากวินัยทางการเงิน หรือมาจากอาจารย์ มาจากสถาบันการเงิน หรือเพราะสำนักทะเบียน ที่ไปเก็บข้อมูลทั้งดีและไม่ดีของเรากันแน่ล่ะ?
‘เครดิตดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเองเป็นหนี้ต้องใช้หนี้สัญญา ต้องเป็นสัญ ญาชำระหนี้ต้องชำระให้ครบตรง นิสัยในการชำระหนี้คือข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดในการประเมินความตั้งใจในการชำระหนี้และในปีล่าสุด.เครดิตบูโรในประเทศไทยได้รับคะแนน การประเมินจากธนาคารโลกที่ 7 คะแนนจากคะแนนเต็ม 8  ครับผม”.

เรื่องน่าอ่าน