Blog Page 107

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “น้ำใสไหลเย็นในระบบนิเวศทางการเงินใหม่” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562

น้ำใสไหลเย็นในระบบนิเวศทางการเงินใหม่

บทความวันนี้ผู้เขียนอยากชวนท่านผู้อ่านมองออกไปในปี​ 2563​ ซึ่งกำลังจะเข้ามาในอีกไม่ช้า​ ในเชิงของการพัฒนาในการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน​ ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร​ ของสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมกับบริษัทเกิดใหม่ที่มีความคิดดีๆ​ (Start up/FinTech) ของสถาบันการเงินที่ทำกับบริษัทเทคโนโลยี​ (TechFin)​ และท้ายสุดคือบริการทางการเงิน​ที่ให้บริการโดยบริษัทเทคโนโลยี​(TechFin)​ ที่ไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องเลย​ เหตุปัจจัยที่ผู้เขียนตั้งเป็นประเด็นนั้นมันมาจากจุดเริ่มต้นดังนี้ครับ

1. ผู้ใช้บริการทางการเงินในยุคหน้าคือคนที่ใจร้อน​ ต้องการรู้​ ต้องการเปรียบเทียบ​ ตัดสินใจเร็ว​ ต้องการที่จะทำธุรกรรมทันทีด้วยตนเอง​ ถ้าไม่รู้วิธีทำก็ต้องมีกระบวนการบอกกล่าว​ที่ทำให้เขาหรือเธอคนนั้นเรียนรู้และทำได้ในเดี๋ยวนั้นด้วยตัวเอง​ อาการต้องทำเดี๋ยวนี้คือสิ่งที่ทำให้สถาบันการเงิน​ในรูปแบบปัจจุบันปวดหัว​ ต้องลงทุนมหาศาล​ และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน​ วัฒนธรรม​องค์กร​ ตลอดจนลดเลิกการมีอยู่ของสาขาลงไปอย่างมีนัยสำคัญ​

2. บริการทางการเงินต้องไปอยู่บนโทรศัพท์มือถือ​ คือไปอยู่บนอวัยวะที่ 33 ของผู้คน​ หรือมันได้กลายเป็นปัจจัยที่​ 3.1 ก่อนยารักษาโรคซึ่งเป็นปัจจัยตัวที่​ 4 ไปแล้วก็ว่าได้​ ดังนั้นการจัดการเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในตัวอุปกรณ์และการรักษาความลับ​ ความปลอดภัยของเนื้อหาข้อมูลในอุปกรณ์​ยิ่งต้องเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมเป็นทวีคูณ​

3. กระเป๋าเงินหรือ​ Wallet​ จะกลายเป็นทุกสรรพสิ่ง​หรือไม่​ การที่ต้องมีบัญชีของธนาคารหลายที่หลายแห่งจะยังคงจำเป็นหรือไม่​ bookbank พี่ที่มักจะหาไม่เจอเวลาที่ต้องการใช้เบิกถอนฝากโอนหรือชำระยังจำเป็นอีกหรือไม่​ ถ้าเรามีกระเป๋าเงินในโทรศัพท์​มือถือ​ มีการเติมเงินเข้ามาจากแหล่งรายได้​ หากตัวเลขติดลบก็สามารถใช้ได้ถ้ามีการเติมเข้ามาให้ใช้ต่อได้ด้วยสินเชื่อ​ ผลประโยชน์จากการมีเงินค้างในกระเป๋าเงินคือดอกเบี้ย​ คูปอง​ ถ้าในอนาคตทางการอนุญาตว่าเงินคงเหลือในกระเป๋าเงินคือเงินฝาก​ ไอ้ความยุ่งยากที่จะต้องผูกบัญชีเงินฝากรายธนาคารกับกระเป๋าเงิน​มันก็หมดความจำเป็น​ จริงแท้แล้วเงินที่หมุนทั้งหลายมันคือตัวเลขที่บันทึกบน​ server computer ที่มีความมั่นคงสูง​ ไม่สามารถเปลี่ยนได้ถ้าไม่มีธุรกรรม​รองรับ​ มีสถาบันดูแล​ และตรวจสอบยืนยันได้​ จริงแท้แล้วมันคือการผูกไว้กับความไว้วางใจ​หรือที่เรียกว่า​ Trust นั่นเอง

4. การพิสูจน์​และยืนยันตัวตนก่อนที่เราจะได้รับบริการและก่อนที่สถาบันคู่กรณีของเราจะให้บริการจะตั้งอยู่บน
(1)​สิ่งที่เรารู้คนเดียว​หรือ​ something you know เช่น​ ค่า​ Pin รหัสลับ
(2)สิ่งที่เรามีหรือ​ something you have เช่น​ email อุปกรณ์​ของเรา​ โทรศัพท์​ของเราเป็นต้น
(3)สิ่งที่เราเป็นหรือ​ something you are เช่นใบหน้าของเรา​ ม่านตาของเรา​ ลายนิ้วมือของเรา​
ทั้งสามสิ่งข้างต้นจะมาตอบคำถามว่าตัวเราคือคนที่เราบอกว่าเป็นตัวเราหรือ​ you are who you say you are มันไม่จำเป็นต้องมาเซ็นชื่อต่อหน้าด้วยปากกาหมึกสีน้ำเงิน​ที่เราเรียกว่าเซ็นสดอีกต่อไป​ เราได้เห็นชาวต่างชาติ​เช่น​ คนจีนใช้เทคโนโลยี​จดจำและเปรียบเทียบใบหน้าก่อนทำธุรกรรม​ทางการเงินจนทึ่ง​ อึ้ง​ เสียว​ ไปแล้วใช่หรือไม่

5. สถาบันการเงินที่ยึดครองตลาดการให้บริการทางการเงินในปัจจุบันอาจมีจำนวนลูกค้าในระบบของตัวเองน้อยกว่าผู้ให้บริการที่เป็น​ TechFin จนต้องยอมร่วมมือกันในการทำธุรกิจ​ ภายใต้สูตร​
“การเข้าถึงที่ตรงใจ​ กว้างขวาง​ ลึกล้ำ​ จำนวนมาก​ ทันสมัยเสมอกับความไว้วางใจ​ของลูกค้า = บริการที่ตอบโจทย์​ = รายได้และความอยู่รอดที่ยั่งยืน” ปี​ 2563​ เราอาจเป็น​ Bank application ไปเป็น​เมนูหนึ่งบน​ Super App​Iication ของ​ TechFin ก็ได้​ ก็เพราะธุรกรรมทางการเงินเป็นเพียงธุรกรรมหนึ่งเท่านั้นในธุรกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันแต่ละเดือนของผู้คน​ บริการทางการเงินต้องมารับใช้ความต้องการของลูกค้า​ ไม่ใช่มาเป็นตัวกำหนดชะตากรรม​ของลูกค้าอีกต่อไป​ “People need banking but Bank is not”

6. คนที่ทำหน้าที่คุมกฎ​ กติกา​ มารยาท​ ในการทำธุรกิจจะมึนๆ​ เพราะกฎหมายบอกให้กำกับดูแลตามประเภทสถาบัน​ มายาวนาน​ หากแต่วันนี้ธุรกรรมที่เหมือนหรือคล้าย​ หรือคล้ายๆว่าจะเหมือน​ หรือเหมือนจนคล้าย​ หรือคล้ายจนแยกไม่ออกว่าเหมือนกันหรือไม่​ มันไปอยู่กับสถาบันที่ตนเองอาจไม่มีอำนาจกำกับ​ มีอำนาจกำกับไม่พอ​ หรือไม่แน่ใจว่ามีอำนาจกำกับหรือไม่​ นั่นยังไม่ยากเท่ากับจะหาเครื่องมืออะไรไปกำกับสถาบันเหล่านั้น​ และถ้าสถาบันเหล่านั้นเขาลุกขึ้นมาสู้เมื่อเวลาที่ลูกค้าเขามีความไว้วางใจหรือ​ Trust เท่าที่ให้กับสถาบันการเงิน​ที่ตนเองกำกับเช่นธนาคารแล้ว​ มันจะเป็นอย่างไร

ผู้เขียนขอยกคำพุทธศาสนา​มาเป็นบทจบดังนี้​ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเหตุเพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง​ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนดีทั้งสิ้น​ ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น​ ตั้งอยู่​ เสื่อมลง​ ดับไป​ อำนาจนั้นไม่มีอยู่จริง​ ตำแหน่งแห่งที่เป็นเพียงหัวโขน​ การยึดมั่นถือมั่นว่าฉันถือกฎหมายฉันถูกเสมอคือมายาคติ​

ถ้าจะมีอะไรที่ผู้เขียนขอได้ในปีใหม่ผู้เขียนก็อยากจะขอคนในระบบนิเวศน์ทางการเงินยุคหน้าให้ปรับใจไหลไปตามเหตุปัจจัยดังเช่นน้ำไหลไปยังดินแดนที่แห้งแล้ง​ เพื่อคนที่หิวกระหายได้ดื่มกิน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือน้ำที่ไหลต้องไม่เป็นเพียงน้ำใสไหลเย็น (แต่ปนเปื้อนสารที่อันตรายซึ่งไร้สีไร้กลิ่น)​ แต่ต้องเป็นน้ำที่สะอาดกลั่นมาจากความบริสุทธิ์​ใจที่มองเอาผลประโยชน์​ของแผ่นดินถิ่นเกิดเป็นที่ตั้งมากกว่าความกลัวที่จะกลั่นผิดสูตรการทำน้ำสะอาดที่ชาวตะวันตกบอกให้เราเชื่อจนไม่อาจกลั่นน้ำสะอาดจากใจมาให้คนได้ดื่มกินยามหิวโหย
ขอบคุณครับ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “เบี้ยปรับการชำระล่าช้าของสินเชื่อ… ถึงเวลาที่ต้องยกมาคุยกันไหม” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2562

เบี้ยปรับการชำระล่าช้าของสินเชื่อ… ถึงเวลาที่ต้องยกมาคุยกันไหม

นอกจากการยกระดับความเข้มข้นในการเรื่องการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของลูกค้าผู้ยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ในเวลานี้ถือได้ว่ามีความเข้มงวด​ ตรวจเข้มในเรื่องที่มาของรายได้​ ความแน่นอนของรายได้​ ความเพียงพอของรายได้ต่อการชำระหนี้เก่า​ และหนี้ใหม่ที่กำลังพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติที่เราเรียกรวมกันว่าความสามารถในการชำระหนี้(ability to pay) รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงความตั้งใจในการชำระหนี้(willingness to pay) ที่ดูจากประวัติการก่อหนี้​ ประวัติการชำระหนี้​ ที่มีการจัดเก็บไว้ในระบบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น​ ข้อมูลในเครดิตบูโร​ แล้วนั้น​ ได้เป็นเงื่อนไขในการร้องเรียนจากทั้งตัวลูกค้าผู้ยื่นขอสินเชื่อแต่ไม่ผ่านการอนุมัติ​ ตลอดจนเจ้าของธุรกิจ​ กิจการห้างร้านที่ขายของมูลค่าสูงให้กับลูกค้าเช่น​ ธุรกิจขายบ้าน​ ขายคอนโด​ ขายรถยนต์​ที่ตัวคนซื้อจะต้องไปกู้เงินจากสถาบันการเงินมาซื้อสิ่งเหล่านั้น​ พอการอนุมัติทำได้ยาก​ ของที่จะขายมันก็จะยากตามๆกันไปด้วย

แต่ในวันนี้ผมจะไม่พูดในประเด็นนี้นะครับ​ สิ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอคือ​ เมื่อเวลาที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเงินกู้เพื่อไปซื้อบ้าน​ ซื้อคอนโด​ ซื้อรถยนต์​แล้ว​ มีการผ่อนชำระเป็นงวดๆรายเดือนที่เรียกว่า​ ยอดผ่อนต่อเดือน​ เงินงวดต่อเดือน​ ยอดส่งหนี้ต่อเดือน​ ซึ่งถ้าผ่อนได้ตามปกติมันก็ไม่มีประเด็นอะไร​ เรื่องหนี้ก็เดินกันไปตามตารางที่ตกลงกันตามปกติ​

ปัญหามันเกิดตอนที่ลูกค้าที่กู้เงินหรือลูกหนี้สินเชื่อเกิดมีอาการสะดุด​ ช็อตเงิน​ ทำให้ไปจ่ายเงินงวดไม่ทัน​ หรือส่งยอดชำระหนี้ในเดือนนั้นๆไม่ทัน​ สิ่งที่จะตามมาคือ​ เจ้าหนี้ก็จะใช้เงื่อนไขในสัญญามาบังคับ​ ซึ่งเงื่อนไขในสัญญาก็มักจะบอกว่า
1.การผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งก็ถือว่าหนี้คงค้างทั้งหมดก็ผิดนัดชำระไปด้วย
2.อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระล่าช้าก็จะเปลี่ยนอัตราจากอัตราปกติที่กู้ยืมมาเป็นอัตราผิดนัดชำระ​ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่คิดจะสูงมากเช่น​ 18% เป็นต้น
3.ยอดที่จะเอามาคำนวณตัวเงินที่ต้องชำระเบี้ยปรับล่าช้า​ บางสัญญาจะเอายอดหนี้คงเหลือที่ยังไม่ได้ชำระทั้งหมดมาคำนวณซึ่งจะเป็นอัตราหรือจำนวนเงินที่สูงมาก

คำถามคือ​ ถ้ายอดชำระต่อเดือนมันคือ​ 20,000 บาท​ และมียอดหนี้คงเหลือ​ 800,000 บาท​ เวลาผิดนัดชำระเงินงวด​ มันคือการผิดนัดชำระเงิน​ 20,000 บาทที่ไม่มาตามนัดใช่หรือไม่​ เหตุใดจึงไปคิดเบี้ยปรับล่าช้าเอากับยอดหนี้คงเหลือ​ 800,000 บาทด้วย​ คำตอบที่ได้รับมาจะมีดังนี้คือ
1.มันเป็นไปตามข้อสัญญา​ ตอนทำสัญญาไม่ได้บังคับให้ลูกค้ายอม เมื่อตกลงเซ็นแล้วก็ต้องตามนั้น
2.มันก็ถือปฏิบัติกันมาอย่างนี้ตั้งแต่ในอดีต​ จะมาสงสัยอะไรเวลานี้
3.คนที่เป็นลูกหนี้จะได้ไม่กล้าผิดนัดชำระเพราะถ้าผิดนัดก็จะเจอผลกระทบที่สูงมาก​ ไม่คุ้มที่จะเสี่ยงไม่ชำระหนี้

คนที่เป็นลูกหนี้ก็จะเถียงในใจมาตลอดว่าไม่แฟร์​ ไม่เป็นธรรม​ แต่ต้องยอม​ เพราะไม่ยอมก็ไม่ได้เบิกเงินกู้​ ตัวผู้เขียนก็ยอมรับหลักการที่ว่า​ สัญญาต้องเป็นสัญญา​ ลูกหนี้มีเสรีภาพในการเข้าทำสัญญา​ เมื่อไม่ถูกบังคับให้ทำสัญญา​ และสัญญาทางแพ่งนี้ไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย​ กำหนดไว้อย่างไรก็ต้องอย่างนั้น​

ประเด็นลึกๆก็คือ​
ที่เหมาะที่ควร​ มันอยู่ตรงไหน
ที่เป็นธรรม​ ยอมรับกันได้
ไม่เอาเปรียบกันจนเกินส่วน​
คนที่ผิดพลาดไปควรได้รับการลงโทษพอสมควร​ ไม่ใช่เอาแบบสาแก่ใจ
นานาประเทศอื่นเขาทำกันอย่างไร​
มันควรถึงเวลาที่ผู้กำกับดูแลจะลงมาดูและจัดการให้เป็นไปตามทำนองครองธรรมหรือไม่​ อย่าเพิ่งเอาคำว่าก็มันทำกันมาตั้งแต่อดีตนานแล้ว​ จะมาร้องหาอะไรกันเวลานี้​ งานฉันก็มีอยู่เยอะแยะ​ ร้องกันอยู่ได้….

ตัวผู้เขียนคิดว่า​ การ​ Disrupt กฎกติกาที่ไม่มองในจุดที่ควรมองมานานมากแล้ว​ บัดนี้สมควรแก่เวลาที่จะเริ่มได้แล้วหรือไม่ครับ

เรามีการ​ Disrupt การค้ำประกันแล้ว
เรามีการ​ Disrupt การติดตามหนี้แล้ว
เรามีการ​ Disrupt การเสนอขายของแล้ว
เรามีการ​ Disrupt การคุ้มครองข้อมูลแล้ว
เรามีการ​ Disrupt การ…. มากมายแล้ว
เราจะยกเรื่องการ​ Disrupt กติกาการคิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระหนี้กันให้เหมาะให้ควร​ สมเหตุสมผล​ สมกับความผิดพลาดคลาดเคลื่อน​ อย่างเป็นสัดส่วน (Proportional response) อีกสักเรื่องดีไหมครับ… ไหนๆก็ไหนๆแล้ว​ เพราะเวลานี้คนเป็นหนี้​ อยู่กันไม่เป็น(สุข)​แล้วครับ
ขอบคุณครับ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “เมื่อทางการหันหน้ามามองคนไม่เคยค้างแต่จ่ายขั้นต่ำและกำลังจะหมดแรง… มาตรการจะมาทันไหม” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562

เมื่อทางการหันหน้ามามองคนไม่เคยค้างแต่จ่ายขั้นต่ำและกำลังจะหมดแรง… มาตรการจะมาทันไหม

เมื่อวันเสาร์​ที่ผ่านมานอกจากกรุงเทพมหานครจะเจอกับลมหนาวแบบอุณหภูมิ​ตอนกลางคืนต่ำกว่า​ 20 องศา​ นอนหลับ​แบบไม่ต้องเปิดแอร์​ และเมื่อเห็นข่าวออนไลน์​ผ่านโทรศัพท์​เคลื่อน​ที่ยามกำลังดื่มกาแฟดำ​ ก็เป็นต้องประหลาดใจกับหัวข่าวเศรษฐกิจ​การเงิน​การธนาคาร​ว่า​ ทางการของเรากำลังปั้น โครงการ “รีไฟแนนซ์” หนี้บัตรเครดิต-บัตรกดเงินสด ลูกหนี้ที่มีการชำระดี ไม่มีประวัติผิดนัดชำระ แต่มีอาการจ่ายได้แต่ขั้นต่ำ​ เลี้ยงงวดกันไปเดือนต่อเดือน​ ไม่สามารถชำระยอดเต็มได้​ โดยการย้ายเจ้าหนี้บัตรทั้งสองประเภทดังกล่าวมาเป็นเงินกู้แบบมีระยะเวลาแน่นอน​ มีการผ่อนชำระรายเดือนเป็นงวดๆแน่นอน​และไม่มีการคิดดอกเบี้ยทบต้น​กับเจ้าหนี้รายใหม่ ที่สำคัญมากคืออัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าต้องจ่ายนั้นมันจะลดลงจาก​ 18%ในกรณีบัตรเครดิต​ และ​ 28%ในกรณีของบัตรกดเงินสด​ คิดดอกเบี้ยต่ำ 7-12% ช่วยลดภาระการเงินที่ต้องชำระรายเดือน ในช่วงเศรษฐกิจมีการชะลอตัว​ เป็นมาตรการเชิงรุกในการป้องปัญหาเสียแต่ต้นมือ​ แบบจับควันให้ไว​ ดับไฟอย่าให้ลาม​ เพราะอาการน่าจะบอกได้ว่าอีกอึดใจเดียวก็จะกลายเป็นหนี้ค้างชำระ​ และเป็นหนี้เสียต่อไป ตามข่าวระบุว่ามีลูกหนี้ที่เข้าข่ายกว่า 4.7 ล้านบัญชีซึ่งไม่น้อยนะครับ

ในวันเสาร์​อีกเช่นกันผมได้พูดคุยกับน้องคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่การงานดี​ มีรายได้เดือนละเกือบหกหมื่นบาทแต่ที่ผมงงมากตอนคุยกันคือน้องเขาบอกผมว่า​ เขาจะผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวแล้ว​ พอสืบสาวราวเรื่องเลยแจกแจงออกมาได้ดังนี้

1.มีหนี้บัตรเครดิต​ 5ใบเต็มวงเงินจ่ายขั้นต่ำ​ 10%มาโดยตลอดตั้งแต่ปลายปี​ 2561
2.มีหนี้เงินผ่อนเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า​ เพื่อใส่บ้านใหม่ที่มีอายุไม่ถึงปี
3.มีหนี้บ้านราคา​ 7ล้านบาทยอดผ่อนต่อเดือนสองหมื่นนิดๆ​ ผ่อนนาน​ 30ปี​ ดอกเบี้ยถูก​ 4ปี​
4.รวมยอดผ่อนทุกรายการข้างต้นตกประมาณ​ 55,000บาทต่อเดือน
5.ตอนนี้ต้องหุงข้าว​ ทำกับข้าวกินที่บ้านและเอามาที่ทำงานด้วย​
6.เครียด​เรื่องหนี้ มีเรื่องทะเลาะกับแม่พ่อที่มาอยู่ด้วยตลอด​ พูดผิดหูไม่ได้เลย​ เห็นเพื่อนๆเดินทางไปดูใบไม้เปลี่ยนสีแล้วก็เจ็บใจที่ตัวเองติดกับดักหนี้​ ไปไหนไม่ได้
7.ไม่ต้องการเป็นคนมีประวัติค้างชำระ​ อยากเป็นคนชำระครบชำระตรง​ เพราะรู้ว่าถ้ามีประวัติค้างชำระแล้วละก็​ ต้องทำดีมาชดเชยประวัติที่ค้างแบบว่าเจ้าหนี้เก่าเจ้าหนี้ใหม่ต้องดูใจอย่างน้อยๆก็อีก​ 24เดือนข้างหน้าถึงจะคิดกู้ใหม่ได้
8.​ไปพบบ้านใหม่ถูกใจในราคา​ 4ล้านบาทจึงคิดวางแผนขายบ้านเก่าแล้วมากู้บ้านใหม่​ โชคร้ายที่ตอนนี้มาตรการเข้มงวดในการให้สินเชื่อบ้านกำลังเป็นประเด็นพอดี​ โอกาสจะได้สินเชื่อคือ​ 50:50​ และเงื่อนไขสำคัญคือต้องขายบ้านขายแบบบ้านมือสอง(ไม่ถึงปี)​ให้ได้ก่อน​ เขาพูดกับผมตอนปรึกษาว่า​ “… ผมไม่อยากมีประวัติเสียในบูโรครับ​ เพราะผมวางแผนไว้ว่าถ้าขายบ้านหลังนี้ได้​ ก็จะไปซื้อบ้านที่ถูกกว่านี้อยู่ ความรู้สึกผมตอนนี้ที่มีหนี้แบบนี้​ ผ่อนได้แค่นี้​ ทั้งที่ทำงานเต็มที่แล้ว​ ตอนใช้บัตร​ กู้บ้านก็คิดว่าไหว​ สู้ไหว​ คิดทุกวัน​ คิดแล้วมันเหมือน
เหล็กที่ทิ่มแทงใจ สาบานกับตัวเองแล้วว่าเข็ดและจะพอแค่นี้ ที่ทำให้ตัวเองและคนอื่นต้องเดือดร้อนจากการไม่ประมาณตัวว่าเราไหวแค่ไหน​ เกินกำลังไปเยอะ​ ถลำตัวไปมากจริงๆ… ”

ตามข่าวของโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ดีที่น่าสนใจคือเงื่อนไข​ ห้ามก่อหนี้ใหม่เด็ดขาด​ กล่าวคือโครงการนี้ให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ดังนั้นผู้ที่เข้าโครงการจะต้องยกเลิกวงเงินเดิม เพื่อไม่ทำให้ภาระหนี้โดยรวมสูงขึ้น และลูกหนี้ที่เข้าโครงการจะต้องยินยอมให้ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ส่งรายงานตรวจสอบสถานะความเป็นหนี้ในที่ต่างๆและการชำระหนี้ในทุกบัญชีให้กับเจ้าหนี้ที่รับรีไฟแนนซ์​ได้ทุกเดือน​ เงื่อนไขนี้ออกไปในแนวดัดนิสัยนิดๆ​ ที่สำคัญมากคือบัตรเครดิต​ บัตรกดเงินสดทุกใบต้องปิดบัญชี​ ไม่อย่างนั้นคนที่มี​ 3 บัตรจะเอมาเข้าโครงการ​ 2 บัตร​ เก็บเอาไว้ใช้ต่ออีกใบ​ และแน่นอนว่าจะหาทางเปิดบัตรใหม่อย่างแน่นอน​ ถ้าไม่ล็อกไว้ก็จะเป็นประเด็นได้​ และในกรณีที่เข้าโครงการแล้วผิดสัญญา​ อัตราดอกเบี้ยที่คิดก็จะเด้งกลับไปที่อัตราผิดนัด​ หรืออัตราสูงสุดที่​ 18%หรือ​ 28%แล้วแต่กรณี

เรามาลุ้นกันครับว่ามาตรการนี้จะออกมาได้หรือไม่​ เพราะคนที่เจ็บตัว​ และขาดรายได้ไปมากคือเจ้าหนี้สถาบันการเงิน​ ไม่แน่ใจว่าราคาหุ้นจะไหลลงมาไหมถ้ามาตรการนี้ออกมาจริงดังข่าว
ขอบคุณครับ

อยู่บ้าน ประหยัดกว่า 5 ข้อดีของการพักผ่อนอยู่บ้านในวันหยุด

อยู่บ้าน ประหยัดกว่า 5 ข้อดีของการพักผ่อนอยู่บ้านในวันหยุด

ในช่วงสิ้นปีนี้มีวันหยุดหลายวัน หลาย ๆ คน เลือกพักผ่อนด้วยการไปเที่ยวนอกบ้าน แต่การไปเที่ยวหนึ่งครั้งต้องเสียค่าใช้มากมาย สำหรับคนที่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเยอะ การหยุดอยู่บ้านก็ถือเป็นทางเลือกในการพักผ่อนแบบหนึ่งที่ประหยัด เลือกทำกิจกรรมภายในบ้านแทน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะด้วยค่ะ

สำหรับใครที่อยากประหยัดวันหยุดนี้พักผ่อนอยู่บ้านกันนะคะ

อยู่บ้าน ประหยัดกว่า 5 ข้อดีของการพักผ่อนอยู่บ้านในวันหยุด

ปาร์ตี้ปีใหม่ ควบคุมเรื่องกิน ก็ประหยัดได้ 5 วิธีปาร์ตี้อย่างฉลาดและประหยัด

ปาร์ตี้ปีใหม่ ควบคุมเรื่องกิน ก็ประหยัดได้ 5 วิธีปาร์ตี้อย่างฉลาดและประหยัด

ใกล้ถึงเวลาเทศกาลสำคัญอย่างปีใหม่แล้ว เรื่องการจัดปาร์ตี้ จัดเตรียมอาหารการกินถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการสังสรรค์อย่างมากค่ะ ยิ่งคนเยอะยิ่งสูญเสียเงินเยอะ เรามาเรียนรู้วิธีกินอยู่อย่างฉลาดเพื่อต้อนรับการเฉลิมฉลองกัน แค่นี้ก็สามารถประหยัดได้เยอะเลยทีเดียวค่ะ

ปาร์ตี้ปีใหม่ ควบคุมเรื่องกิน ก็ประหยัดได้ 5 วิธีปาร์ตี้อย่างฉลาดและประหยัด

รายจ่ายฟุ่มเฟือยที่ต้องฉุกคิด! ส่งท้ายปี บริหารให้ดี ก่อนเสียไป

รายจ่ายฟุ่มเฟือยที่ต้องฉุกคิด! ส่งท้ายปี บริหารให้ดี ก่อนเสียไป

มาจัดการค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยส่งท้ายปีกันค่ะ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ ควรคิดพิจารณา บริหารจัดการให้ดี ต้อนรับปีใหม่ ก่อนที่จะเสียเงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นนะคะ

รายจ่ายฟุ่มเฟือยที่ต้องฉุกคิด! ส่งท้ายปี บริหารให้ดี ก่อนเสียไป

แก้อาการ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” จัดการสุขภาพการเงินให้ดี ต้อนรับปี 63

แก้อาการ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” จัดการสุขภาพการเงินให้ดี ต้อนรับปี 63

วางแผนการใช้เงินให้ดีสำหรับปี 63 มาแก้นิสัย “ยังไม่ถึงสิ้นเดือน แต่เงินไม่พอใช้” ซึ่งเหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับ ๆ ทุกคนค่ะ หากมีการจัดการเงินที่ดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดไป

เรามาแก้อาการนี้ต้อนรับปีใหม่กันค่ะ

1.วางแผนใช้เงินแบบรายวัน
: กำหนดค่าใช้จ่ายรายวัน ให้ชัดเจน ต้องนำไปใช้กับอะไรบ้าง ที่สำคัญอย่าลืมแบ่งสัดส่วน ค่าใช้จ่ายกับเงินออมด้วยนะคะ

2.ออมเงินไว้กับคนรู้ใจ
: ถ้าปัญหาอยู่ที่ตนเองเก็บเงินไม่อยู่ มีเท่าไหร่ก็ใช้หมด แนะนำให้ลองหันไปออมเงินเก็บกับคนที่เราไว้ใจ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีค่ะ

3.ออมเงินแบบตัดบัญชีอัตโนมัติ
: เลือกโอนเงินจากบัญชีเงินเดือน เข้าไปในบัญชีออมเงินแบบอัตโนมัติ สามารถป้องกันการลืม และการใช้เงินเกินกำหนดที่จะไปกระทบเงินออมได้ดีค่ะ

4.ต้องประหยัด ตัดของที่ไม่จำเป็น
: วิธีนี้ขึ้นอยู่กับตนเองล้วน ๆ เลยค่ะ ควรมีสติในการใช้เงิน ประหยัด งดซื้อ ตัดของที่ไม่จำเป็นออกไปค่ะ

อย่าลืมใช้ 4 วิธีนี้ควบคู่กันไป สุขภาพทางการเงินที่ดีก็สามารถกลับมาได้แน่นอนค่ะ

แก้อาการ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” จัดการสุขภาพการเงินให้ดี ต้อนรับปี 63

เลิกอย่างไร? นิสัยติดชอป ปีใหม่นี้ มีเงินเหลือเพียบ!

เลิกอย่างไร? นิสัยติดชอป ปีใหม่นี้ มีเงินเหลือเพียบ!

สูญเสียไปกันเท่าไหร่แล้วกับการชอปปิง นิสัยติดชอปถือเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพการเงินมากเลยทีเดียวค่ะ ถ้าตั้งสติแล้วลด ละ เลิกได้ ก็ทำให้ปีใหม่นี้มีเงินเหลือ สามารถเก็บออมเงิน สะสมไว้ เพื่อความฝัน และเรื่องที่จำเป็นได้อีกเยอะเลยค่ะ

เลิกอย่างไร? นิสัยติดชอป ปีใหม่นี้ มีเงินเหลือเพียบ!

เรื่องน่าอ่าน