Blog Page 125

จัดงานแต่งเยี่ยงไร มิให้เป็นหนี้ มีเงินเหลือมากโข

จัดงานแต่งเยี่ยงไร มิให้เป็นหนี้ มีเงินเหลือมากโข

เป็นคู่หมายกันมานานปี ครั้นจักออกเรือนสักที จัดงานเยี่ยงไรดีถ้ามิอยากให้เปลืองเบี้ยอัฐ ไม่เกิดหนี้สินมากมายอึดตะปือนัง ตามมาดูกันเถิดออเจ้า!

• จัดที่เรือนตัวเองแทนโรงแรมหรู ไม่มีค่าสถานที่ ได้บรรยากาศอบอุ่น
• เลือกจัดตอนเช้าหรือกลางวัน ประหยัดกว่างานกลางคืน
• เลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์หรือค็อกเทลแทนโต๊ะจีน

• ประเมินจำนวนแขกให้ดี เน้นเชิญญาติและเพื่อนสนิท
• แต่งหน้าทำผมเอง หรือให้เพื่อนช่วยทำให้
• ใช้การเช่าชุดแทนสั่งตัด

• ตกแต่งงานด้วยดอกไม้ตามฤดูกาล
• ลดการพิมพ์การ์ด เชิญแขกผ่าน Facebook Event
• ทำของชำร่วยเอง สร้างสรรค์ไม่ซ้ำใคร

• ใช้ภาพสวย ๆ ที่ถ่ายกันเอง แทนการถ่าย Pre Wedding
• ทำ Video Presentation เอง
• เปิดเพลงแทนการจ้างวงดนตรี

เงินไม่พอจ่ายหนี้บัตรเครดิต ทำยังไงดี!?

เงินไม่พอจ่ายหนี้บัตรเครดิต ทำยังไงดี!?

ไม่แฟนแค่อยู่ลำพัง แต่ไม่มีตังค์นี่อยู่ลำบาก!!
เคยเป็นเหมือนกันไหม รูดเพลินไปนิด ช้อปเพลินไปหน่อย รู้ตัวอีกทีเงินไม่พอจ่ายหนี้บัตรซะงั้น! 

• หยุดก่อหนี้เพิ่ม : เลิกรูด เลิกยืม เลิกเอาหนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่า
• ตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น : อะไรไม่จำเป็นก็เบรกไว้ก่อนนะ อย่าเพิ่งซื้อ
• หารายได้เสริม : หาลู่ทางเพิ่มรายได้เพื่อปลดหนี้ให้ไว
• อย่าหนีหาย อย่าตัดการติดต่อ : อย่าหนีปัญหา เพราะหนี้ไม่ได้หายไปไหน
• เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้เพื่อขอลดหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้

เงินไม่พอจ่ายบัตร ทำไงดี

6 สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณมีหนี้มากเกินไป

6 สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณมีหนี้มากเกินไป

รูดบัตรเครดิตไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้ารูดเยอะเกินตัวย่อมไม่ใช่เรื่องดี มาดูกันว่าอาการแบบไหน ที่เข้าข่าย “หนี้ท่วม” รู้ไว้…ไหวตัวยังทันนะ!

รวมแอปพลิเคชัน “ผู้ช่วยเรื่องการเงิน” ที่ควรมีติดมือถือ

รวมแอปพลิเคชัน "ผู้ช่วยเรื่องการเงิน" ที่ควรมีติดมือถือ

ใครว่าเรื่องเงินเรื่องยาก? ให้แอปพลิเคชันเหล่านี้ช่วยคุณวางแผนการเงินกันดีกว่า!! มีครบทั้งจัดการบัญชีบัตรเครดิต บริหารเงินออม บันทึกรายรับรายจ่าย ทำธุรกรรม ฯลฯ

app ช่วยเรื่องการเงิน

Piggipo
• เพื่อจัดระเบียบการใช้บัตรเครดิตโดยเฉพาะ
• แยกหมวดหมู่สำหรับบัตรหลายใบได้
• ตั้งงบประมาณการรูดได้
• มีแจ้งเตือนเมื่อใช้เกินงบ หรือใกล้กำหนดชำระ

– ใช้ได้ทั้งบน Android และ iOS
– มีเมนูภาษาไทย

แอปพลิเคชั่น การเงิน

Wally
• บันทึกรายรับรายจ่าย ได้ทั้งแบบคนเดียวและแบบครัวเรือน
• ตั้งเป้าหมายและวางแผนการออมได้
• สรุปผลเป็นกราฟเข้าใจง่าย
• มีแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระค่าใช้จ่าย

– ใช้ได้ทั้งบน Android และ iOS
– มีเมนูภาษาไทย

แอปพลิเคชั่น การเงิน

คิดดีมีตังค์
• เพียงกำหนดเป้าหมายการออมเงิน แอปจะช่วยแนะนำว่าควรเริ่มอย่างไร ออมวันละกี่บาท ใช้เวลาเท่าไร
• ทำปฏิทินการออม
• เก็บเงินให้สนุกด้วยเกมภารกิจประจำวัน
• รวมสาระความรู้และข้อคิดดี ๆ สำหรับนักออม

– ใช้ได้ทั้งบน Android และ iOS
– มีเมนูภาษาไทย

กยศ.ชำระหนี้ คำนวณยอดหนี้ กยศ.
• คำนวณยอดหนี้ กยศ. ง่าย ๆ
• วางแผนการชำระหนี้ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด
• แสดงยอดที่ต้องชำระในแต่ละปี

– ใช้ได้บน Android
– มีเมนูภาษาไทย

แอปพลิเคชั่น การเงิน

KTB Netbank
• ทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารกรุงไทยได้ทุกที่ ทุกเวลา
• สามารถ Video Call ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้
• ยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรผ่านแอปได้เลย

– ใช้ได้บน Android และ iOS
– มีเมนูภาษาไทย

แอปพลิเคชั่น การเงิน

Thanachart Connect
• ทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารธนชาตได้ทุกที่ ทุกเวลา
• จัดการได้ครบถ้วนทั้งบัญชีเงินฝาก บัญชีสินเชื่อ และบัญชีบัตรเครดิต
• ยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรผ่านแอปได้เลย

– ใช้ได้บน Android และ iOS
– มีเมนูภาษาไทย

แอปพลิเคชั่น การเงิน

พิเศษ! สำหรับลูกค้าธนาคารกรุงไทย & ธนชาต
ยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น พร้อมบริการ 24 ชม.
– ลูกค้าธนาคารกรุงไทย: แอปพลิเคชั่น KTB Netbank
– ลูกค้าธนาคารธนชาต: แอปพลิเคชั่น Thanachart Connect

ค่าบริการ 150 บาท รอรับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนใน 7 วันทำการ

แอปพลิเคชั่น การเงิน

“ข้อมูลเครดิต” สำคัญอย่างไร?

"ข้อมูลเครดิต" สำคัญอย่างไร?

“ข้อมูลเครดิต” หรือ “เครดิตบูโร” มีความสำคัญอย่างไร ไปดูกันเลย

ค่าใช้จ่ายในการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน มีอะไรบ้าง?

ค่าใช้จ่ายในการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน มีอะไรบ้าง?

รู้หรือไม่ว่า ในการกู้เงิน นอกจากเงินต้นและดอกเบี้ยแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอะไรตามมาได้อีกบ้าง ก่อนตัดสินใจกู้ อย่าลืมพิจารณาค่าใช้จ่ายเหล่านี้ร่วมด้วยนะคะ

  • ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้เงิน
  • ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน
  • ค่าธรรมเนียมจดจำนองของสำนักงานที่ดิน
  • ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด (คิดกับผู้กู้ในกรณีที่มีการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองหมดภายในระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด)
  • ค่าประกันชีวิต (ธนาคารบางแห่งกำหนดให้ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตเพื่อที่อยู่อาศัย)
  • ค่าประกันอัคคีภัย (ธนาคารทุกแห่งได้บังคับให้ผู้กู้เงินทำประกันอัคคีภัยโดยปริยาย)

ชำระหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมรายงานข้อมูลเครดิต ยังปรากฏข้อมูลค้างชำระอยู่?

ชำระหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมรายงานข้อมูลเครดิต ยังปรากฏข้อมูลค้างชำระอยู่?

จ่ายหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมเมื่อไปตรวจเครดิตบูโร ข้อมูลเครดิตของเราถึงยังมีประวัติค้างชำระอยู่

รายงานข้อมูล เปรียบเสมือน “สมุดพกด้านสินเชื่อ” โดยจะเก็บข้อมูลประวัติการชำระเงินตามข้อเท็จจริงทั้ง ในกรณี “ค้างชำระ” และ “ไม่ค้างชำระ” โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้เครดิตบูโรเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือ 36 เดือน โดยข้อมูลจะทยอยเลื่อนออกจากฐานข้อมูลเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ครบ และทำการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร มีหน้าที่นำส่งข้อมูลการปิดบัญชีมายังเครดิตบูโรในเดือนถัดไป โดยเครดิตบูโรจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 30 วันเพื่ออัพเดตข้อมูล ซึ่งในช่วงระหว่างนี้ถ้าเรารักษาวินัยทางการเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก ก็จะสามารถมีประวัติเครดิตที่ดีได้อีก 

ชำระหนี้แล้ว ประวัติยังอยู่

กรณีที่ใช้บัตรเครดิตที่เป็นบัตรเสริมของผู้อื่น จะมีข้อมูลอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตของเราหรือไม่?

กรณีที่ใช้บัตรเครดิตที่เป็นบัตรเสริมของผู้อื่น จะมีข้อมูลอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตของเราหรือไม่?

ถ้าเราใช้บัตรเครดิตที่เป็นบัตรเสริมของคนอื่น จะมีประวัติบันทึกอยู่ในข้อมูลเครดิตของเราเองไหมนะ

คำตอบ : ไม่มีค่ะ เพราะสถาบันการเงินที่ให้บริการบัตรเครดิตทุกแห่งจะนำส่งข้อมูลบัตรเสริมในนามเจ้าของบัตรหลักเหมือนกันทุกแห่ง ไม่มีการนำส่งข้อมูลบัตรเสริม ในนามผู้ถือบัตรเสริม ฉะนั้นหากบัตรเสริมมีการค้างชำระ ประวัติจะถูกบันทึกอยู่ในข้อมูลเครดิตของผู้ถือบัตรหลักนั่นเองค่ะ 

รายได้-เงินออม = เงินสำหรับใช้จ่าย

รายได้-เงินออม = เงินสำหรับใช้จ่าย

“เงินออม” ใคร ๆ ก็ออมได้ วางแผนการออมให้เหมาะสมกับตัวเอง แค่ลองออมก่อนใช้ดูบ้างดีไหม รับรองว่าไม่มีขัดสนแน่นอนค่ะ

เรื่องน่าอ่าน