Blog Page 13

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 15 ธันวาคม 2566

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

บทความวันนี้ ผมขอกล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลเครดิต  โดยเครดิตบูโรจะเปรียบเสมือนเป็น “ถังข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมในเรื่องการก่อหนี้ การชำระหนี้” ที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย หากใครก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกรรมสินเชื่อในระบบ ก็สามารถขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตเหล่านี้ได้จากเครดิตบูโรครับ

เครดิตบูโรนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งสามภาคส่วน ดังนี้ครับ

1.ระบบเศรษฐกิจไทย

 – เป็นสัญญาณเตือนภัยของระบบการเงิน คือ สามารถนำเอาข้อมูลเชิงสถิติมาวิเคราะห์ให้เห็นทิศทางและความเสี่ยงของธุรกรรมสินเชื่อในระบบ 

 – เป็นเครื่องมือในการอ่านสัญญาณเศรษฐกิจของสถาบันต่างๆ เพื่อไปคิดต่อว่าควรต้องออกมาตรการหรือต้องไปทำอะไรในเชิงการบริหารความเสี่ยง

 – เป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” ของระบบการเงิน คือ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของระบบสถาบันการเงินในการนำมาใช้บริหารความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ

“ป้องกันการเกิดความล่มสลายอย่างที่เกิดมาในอดีต หากระบบทุกส่วนตรงนี้ดีมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าระบบการเงินจะไม่มีปัญหารุนแรงถึงขั้นต้องไปยุ่งกับการค้ำประกันเงินฝาก เพราะปัญหาจะถูกจัดการตั้งแต่ต้นมือ อีกทั้งก่อนที่เหตุการณ์ต่างๆ จะไปถึงจุดนั้น ต้องผ่านระบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่เข้มงวดเป็นอย่างมาก”

2.สถาบันการเงินในฐานะผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้

 – มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการให้กู้ยืม ป้องกันการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาความไม่มั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ผ่านการใช้ข้อมูลเครดิตบูโร

  – ตรวจเช็กอาการของลูกหนี้ เพื่อวิเคราะห์หรือทบทวนสินเชื่อ จึงจำเป็นต้องทราบฐานะทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้อย่างเพียงพอ ว่ามีประวัติการชำระหนี้อย่างไร และมีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นมากน้อยเพียงใดในขณะใดขณะหนึ่ง

3.ผู้กู้หรือลูกหนี้

 – ตรวจเช็กข้อมูลเครดิต หรือตรวจเช็คสุขภาพทางการเงินของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมวางแผนก่อนจะไปขอกู้

 – ตรวจเช็กประวัติการชำระทุกข้อมูลบัญชีสินเชื่อ หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ขอแก้ไขได้

 – มีโอกาสที่จะได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้กู้ที่มีประวัติผ่อนชำระดี

ศึกษารายละเอียดหรือข้อมูลเครดิตบูโรได้ที่ www.ncb.co.th

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : รายงานข้อมูลเครดิต คืออะไร : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 24 พฤศจิกายน 2566

รายงานข้อมูลเครดิต คืออะไร

บทความนี้ขอเรียนข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนครับ รายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) คือ รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ขอสินเชื่อ ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)  โดยมีข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่  1) ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็นชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น  2) ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ คือ ประวัติการชำระ ราคาสินค้าหรือบริการหรือสินเชื่อที่มี  รวมทั้งสถานะบัญชี ที่แสดงสถานะของบัญชีสินเชื่อแต่ละบัญชี เช่น สินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น

การรายงานข้อเท็จจริงในการชำระหนี้นั้น สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรจะส่งข้อมูลมาที่เครดิตบูโร โดยเครดิตบูโรจัดเก็บข้อมูลเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงิน  เป็นข้อมูลที่มีการชำระหนี้ปกติและการชำระหนี้ล่าช้า ไม่ใช่ส่งเฉพาะกรณีที่มีการชำระหนี้ล่าช้า ระบุดังเช่น

-ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน สถานะบัญชี 10 คือปกติ 

-ค้างชำระ 31-60 วัน สถานะบัญชี 10 คือปกติ

-ค้างชำระ 61-90 วัน สถานะบัญชี 10 คือปกติ

-ค้างชำระ 91-120 วัน สถานะบัญชี 20 คือหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นต้น

ข้อมูลตามความจริงในแต่ละบัญชีจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรที่ท่านขอสินเชื่อจะส่งเข้ามาในระบบทุกเดือน เดือนเก่าอยู่ข้างล่าง เดือนใหม่ล่าสุดอยู่ข้างบน เรียงเป็นขนมชั้นรายเดือน เรียงจนครบ 36 ชั้น พอข้อมูลเดือน 37 เข้ามา ก็ให้ลบเดือนที่ 1 ออกไป ใหม่เข้า เก่าออก จนกว่าจะมีการปิดบัญชี เมื่อปิดบัญชี ก็จะไม่มีข้อมูลใหม่เข้ามาเติมข้างบน เดือนที่อยู่ข้างล่างก็จะถูกลบออกไปทีละเดือน ทุกๆเดือน จนกว่าจะไม่มีข้อมูลให้ลบ จากนั้นจึงนำบัญชีทั้งหมดออกจากระบบครับ

ยกตัวอย่างเช่น เดือนมีนาคม 66 มีการค้างชำระ 100 บาท สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลมาว่า บัญชีสินเชื่อนี้ในเดือนมีนาคม 66 ค้างชำระ 31 วัน สถานะบัญชี 10คือปกติ  ซึ่งเป็นไปตามข้อเท็จจริงว่ามีการชำระค้างจริงหรือไม่ ต่อมาเดือนเมษายน 66 ลูกหนี้ไปชำระหนี้ยอดที่ค้างเรียบร้อย เดือนเมษายน 66 ก็จะระบุว่า ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน สถานะบัญชี 10 คือปกติ ดังนั้นในเดือนเมษายน 66 ในรายงานจะมี 2 บรรทัดครับ บรรทัดเดือนมีนาคม 66 มีข้อมูลค้างชำระ 31-60 วัน บรรทัดเดือนเมษายน 66 มีข้อมูลว่าไม่ค้างชำระ ดังที่นำเรียนเป็นไปตามข้อเท็จจริง ถ้าสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรส่งข้อมูลผิด อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th ครับ

4 วิธีหารายได้เสริมช่วงวันลอยกระทง

น้องบูโรขอแชร์ไอเดียหารายได้เสริมช่วงเทศกาลลอยกระทง ใครกำลังมองหาช่องทางเพิ่มรายได้ลองนำ 4 วิธีนี้ไปใช้กันค่ะ

1. เปิดแผงขายอาหารไทย

ช่วงเทศกาลใหญ่ ๆ คนจะคึกคักเป็นพิเศษ และการหารายได้เสริมอย่างการขายอาหารก็มีแนวทางที่ดี ซึ่งอาจจะขายอาหารที่สามารถทานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เช่น น้ำ ลูกชิ้นปิ้ง ข้าวกล้อง เป็นต้น

2. ขายดอกไม้ ธูป เทียน

เทศกาลกับดอกไม้ ธูป เทียน ถือเป็นเรื่องคู่กัน ยิ่งหากตั้งร้านอยู่บริเวณวัด ก็จะสามารถทำเป็นชุดธูปเทียนขายได้

3. ขายเสื้อผัา ของเล่น เครื่องประดับ

งานเทศกาลจะเป็นช่วงเวลาที่หลาย ๆ ครอบครัวได้ออกมาเปิดหูเปิดตาใช้เวลาอยู่ร่วมกัน และในช่วงวันลอยกระทงถือเป็นอีกเทศกาลที่มีเด็กอยู่จำนวนมาก เราอาจจะหาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กมาวางขายในราคาที่ไม่แพง เช่น ตุ๊กตา, ชุดของเล่น รถบังคับ เป็นต้น

4. กระทงน้ำแข็ง หรืออุปกรณ์ทำกระทงที่ย่อยสลายได้

จัดชุดเซตกระทงแบบที่รักษ์โลก เช่น กระทงน้ำแข็ง หรือการจัดทำกระทงในลักษณะที่สามารถย่อยสลายได้ ในราคาที่ไม่แพง เข้าถึงได้

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

ลอยกระทงปีนี้ ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแอป

กระทงลอยเป็นคู่ แต่ถ้าเช็กสุขภาพการเงินไม่ต้องรอมีคู่ก็ทำด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ สุขสันต์เทศกาลลอยกระทง ตรวจเครดิตบูโรทางโมบายแอปได้เลยค่า

▶ โมบายแอป

แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

ได้ทันที

  •  โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
         

ภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
         

ภายใน 3 วันทำการ

  • แอป ttb touch ธนาคารทีที

 รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
ค่าบริการ
– รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
– รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท
.
หมายเหตุ: กรุณาตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง กรุณาแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ
.

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

เช็กให้ชัดเครดิตทางการเงินเป็นยังไง ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านแอป “เป๋าตังเปย์”

ตรวจเครดิตบูโร เช็กสุขภาพการเงินผ่าน “เป๋าตังเปย์”
ดูกันให้ชัดว่าเครดิตทางการเงินของเราเป็นยังไงบ้าง?

ขั้นตอนตรวจเครดิตบูโร

1. ไปที่แอป “เป๋าตัง”
2. เลือก “เป๋าตังเปย์ “
3. เลือกบริการ ‘ตรวจเครดิตบูโร’
4. เลือกประเภทรายงานที่ต้องการ
5. เลือกช่องทางการรับรายงาน
6. ตรวจสอบยอมรับเงื่อนไขและยืนยันข้อมูล
7. ยืนยันการชำระเงิน ถือว่าทำรายการสำเร็จ

 

☆ บริการตรวจเครดิตบูโรผ่าน “เป๋าตังเปย์”

  • รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)
  • รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

☆ เลือกประเภทรายงานได้ 2 แบบ

  • รายงานข้อมูลเครดิต
  • รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง

☆ ค่าบริการ

  • รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
  • รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท

หมายเหตุ : กรณีชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

วันออมเงินแห่งชาติ สร้างกฎการเงิน 60/20/20 ฉบับมือใหม่หัดออม

มือใหม่หัดเริ่มต้นออมเงิน ไม่รู้จะเริ่มยังไง ลองใช้ทริคการออมและจัดการการเงินง่าย ๆ ทำแล้วได้ผลกันดูค่ะ

20% การออมเพื่ออนาคต

สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญคือเรื่องของการออมเงินสำหรับการสร้างเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน เช่น การออมเงิน การลงทุน เป็นต้น

20% รายจ่ายในชีวิตประจำวันตามความเหมาะสม

ส่วนนี้เราจะแบ่งไว้สำหรับเรื่องอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ค่าพัฒนาความรู้ ค่าเดินทาง เป็นต้น

60% รายจ่ายสำหรับสิ่งจำเป็น

เราควรมีแนวทางจัดการการเงินด้วยการแบ่งเงินไว้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นต่อในชีวิตประจำวันของเรา เช่น ค่าครองชีพ ค่าที่พักอาศัย ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
.
การออมเงินแบบ 60-20-20 เป็นแนวทางการเริ่มต้นเก็บเงินง่าย ๆ ที่สามารถจัดสรรจากเงินเดือนหรือรายรับของเราได้เลย และเป็นแนวทางที่ไม่บีบบังคับหรือรัดเข็มขัดการเงินเราไปด้วย ใครที่เป็นมือใหม่หัดออมลองนำกฎการเงินวิธีนี้ไปใช้กันได้นะคะ

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

ระวังเป็นหนี้หมดตัว! เซ็นค้ำประกัน กู้ร่วม กู้แทนเพื่อน เก็บประวัติในเครดิตบูโรไหม?

เซ็นค้ำประกัน กู้เงินแทนเพื่อนจะมีการเก็บข้อมูลในรายงานเครดิตบูโรไหม? ใครเผลอหลวมตัวเข้าไปเหตุการณ์นี้ น้องบูโรมาตอบให้แล้วค่ะ

เครดิตบูโรไม่ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ค้ำประกัน เพราะผู้ค้ำประกันไม่ใช่คนขอกู้เงินหรือคนที่ขอสินเชื่อ แต่ถ้าผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วมก็ถือว่าเป็นลูกค้าผู้ขอเงินหรือขอสินเชื่อด้วย เครดิตบูโรจึงจะจัดเก็บข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้กู้ร่วม ไม่ใช่ในฐานะผู้ค้ำประกัน

ดังนั้น น้องบูโรขอแนะนำให้ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเพื่อตรวจความถูกต้องของบัญชีสินเชื่อกันอย่างสม่ำเสมอนะคะ

▶ โมบายแอป

แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

ได้ทันที

  •  โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง

ภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง

ภายใน 3 วันทำการ

  • แอป ttb touch ธนาคารทีที

รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
ค่าบริการ
– รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
– รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท
….
หมายเหตุ: กรุณาตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง กรุณาแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ
….

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

4 วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างทวงหนี้บัตรเครดิต

แก๊งต้มตุ๋นหาสารพัดมุกมาหลอกลวงได้ไม่เว้นแต่ละวัน น้องบูโรเลยจะแนะนำให้เช็กสุขภาพการเงิน ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินจากกลุ่มมิจฉาชีพไม่เสี่ยงโดนหลอกกันค่ะ

ทำไมต้องตรวจเครดิตบูโร
+ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน มี “หนี้งอก” โดยที่เราไม่ได้ก่อหรือไม่
+ เตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ
+ ข้อมูลส่วนบุคคลในข้อมูลเครดิตถูกต้องตามความจริงหรือไม่
+ ข้อมูลสินเชื่อถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง สามารถขอแก้ไขได้
+ มีประวัติค้างชำระหนี้หรือไม่
+ หลังจากจ่ายหนี้หมดแล้ว สถานะขึ้นเป็นปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์ถูกต้องหรือไม่

▶ โมบายแอป

แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

ได้ทันที

  •  โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
         

ภายใน 24 ชม. (*เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
         

ภายใน 3 วันทำการ

  • แอป ttb touch ธนาคารทีที

 รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

  • แอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • แอป MyMoธนาคารออมสิน
    • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
  • แอป ttb touch ธนาคารทีทีบี
    • ตรวจข้อมูลเครดิต
  • โมบายแอป Flash Express
    • ตรวจข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง
ค่าบริการ
– รายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท
– รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกองริ่ง 200 บาท
หมายเหตุ: กรุณาตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง กรุณาแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

4 คาถาปราบผีร้ายด้านการเงินให้อยู่หมัด

ผีกุ๊กกู๋อาจจะมองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้ แต่ผีร้ายทางการเงินซ่อนตัวอยู่กับเราทุกที่ หากใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง เงินในกระเป๋าหมดทันที เพราะฉะนั้นน้องบูโรจึงมี 4 คาถาที่จะมาช่วยทุกคนปราบผีกันค่ะ

1. โอม… ใช้จ่ายอย่างมีสติ คิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนจ่ายทุกครั้ง
ตั้งสติก่อนใช้สตางค์ คาถาคลาสสิกที่ช่วยปราบผีการเงินได้ดีที่สุด ช่วยให้เรายับยั้งชั่งใจก่อนใช้จ่ายเสมอ

2. นะโม… ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เมื่อตั้งสติก่อนใช้จ่ายได้แล้ว
เราจะรู้ได้ว่ารายจ่ายไหนไม่จำเป็นก็คือต้องลิสต์รายการที่ใช้ไปในแต่ละวันและนำมาประเมินรายจ่ายในครั้งถัดไปทุกครั้ง
3. พุทโธ… จดรายการของก่อนซื้อทุกครั้ง
การมีเช็กลิสต์ก่อนออกไปใช้จ่ายจะช่วยให้เราตั้งงบประมาณหรือจำกัดวงเงินที่เราจะใช้ในแต่ละครั้งได้ด้วย

4. เสกเงินเพิ่ม… ออมเงินและหารายได้เสริมตามความเหมาะสมของตนเอง
เริ่มต้นจากการเก็บออมเงินให้ได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน แต่หากรายรับของเราไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ให้ลองหารายได้เสริม เช่น ขายของออนไลน์ เขียนบทความ เป็นต้น
สุดท้ายคาถาที่ได้ผลที่สุดคือการวางแผนการใช้เงินอย่างมีสติและรอบคอบ ไม่โอนเอนหรือตามเทรนด์โดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากที่จะทำให้เราไม่มีเงินเก็บหอมรอบริบแล้ว อาจสุ่มเสี่ยงทำให้เรามีหนี้ได้ในอนาคต

เช็กช่องทางการเครดิตบูโรเพิ่มเติม >>> http://bit.ly/2D5eZW3

ข้อมูลเพิ่มเติม
#เครดิตบูโร
คลิก ▶️ https://linktr.ee/ilovebureau

เรื่องน่าอ่าน