หลายคนที่มีบัตรเครดิต แล้วอยากให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อผ่านไปได้ด้วยดี เราควรเริ่มต้นรักษาวินัยในการใช้บัตรเครดิตเพื่อให้เกิดประวัติการชำระหนี้ที่น่าเชื่อถือ รับรองประวัติดีไม่มีเสียแน่นอนค่ะ
5 วิธี ฉลาดใช้บัตรเครดิต ให้เกิดประโยชน์
มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มีบัตรเครดิตกันทั้งนั้น ที่สำคัญบางคนมีหลายใบซะด้วยค่ะ บัตรเครดิตใช้เป็นก็เกิดประโยชน์ ใช้ไม่รอบคอบก็มีโทษ เราลองมาดู 5 วิธีฉลาดใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์กันค่ะ
1.คิดให้ดีก่อนใช้: เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารวงเงิน จะจ่ายเพิ่มต้องเช็คให้ดีค่ะว่า วงเงินเราเหลือเท่าไหร่ หากเหลือไม่มาก เก็บไว้ใช้ในเรื่องที่จำเป็นดีกว่าค่ะ
2.จำรอบบิลให้แม่น: วันจ่ายรอบบิลต้องจำให้ขึ้นใจ หากชำระช้า ดอกเบี้ยสูง สร้างความลำบากให้เราแน่นอนค่ะ
3.เช็คโปรโมชัน ใช้ให้คุ้ม: โปรโมชันเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรอัปเดต หมั่นหาสิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์กับตัวเราค่ะ
4.อย่ากดเงินสดจากบัตรเครดิต: เป็นเรื่องต้องห้ามเลยค่ะ เพราะการกดเงินสดจากบัตรเครดิตทำให้เกิดดอกเบี้ยสูงมาก
5.เลือกบัตรดี ที่ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ: การไม่เสียค่าธรรมเนียมถือเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้เราประหยัดเงินได้อีกเยอะค่ะ
3 เหตุผลที่ไม่ควรสร้างหนี้หลายก้อน
เป็นหนี้นอกจากจะเป็นทุกข์แล้ว ความสุขของเราคงถูกระงับไปอีกยาว สำหรับคนที่ยังไม่มีภาระตรงนี้ ขอให้ตั้งสติ เตือนตัวเองให้ดีค่ะ แต่สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาอยู่ตอนนี้ ก่อนจะก่อเพิ่มขอให้ตอกย้ำและจำไว้เป็นบทเรียน อีกไม่นานเชื่อว่าจะผ่านมันไปได้ค่ะ
1.ต้องระงับความสุขเพื่อใช้หนี้ ต้องงดค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ออกไป เพื่อนำไปใช้ชำระหนี้แทน
2.ต้องเจอกับดอกเบี้ยมหาศาล มีหนี้หลายก้อน ทำให้มีดอกเบี้ยเยอะขึ้น ทำให้เราต้องเสียเงินชำระมากขึ้น
3.ภาระหนี้สินมากขึ้น เป็นปัจจัยในการขอสินเชื่อของสถาบันการเงิน อาจทำให้เราเสียประวัติทางการเงิน อาจทำให้ขอสินเชื่อยากขึ้น
เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “พยามหายใจเข้าไว้ ในยามที่ทุกอย่างดูจะไม่ง่ายดังใจหวัง” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562
พยามหายใจเข้าไว้ ในยามที่ทุกอย่างดูจะไม่ง่ายดังใจหวัง
ปรากฏการณ์หุ้นตก ตัวเลขเศรษฐกิจแทบทุกค่ายหลายสำนักฯ ต่างออกมาสะท้อนการชะลอตัวลง ค่าเงินบาทแข็ง พิษของสงครามการค้า การกีดกันทางการค้า การเปิดวิวาทะของนักการเมืองรายวัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ยังหาทางลงไม่เจอ และอื่นๆอีกมากมาย ในช่วงเวลาปลายปี ช่วงเวลาของการจัดทำแผนงานสำหรับปี 2563 ซึ่งฝ่ายวางแผนต่างกุมขมับว่ามันจะทำให้ธุรกิจเติบโต ขยายตัวได้อย่างไร
ตัวผู้เขียนได้พบกับผู้นำองค์กรหลายแห่งแต่ประทับใจไม่หายก็มีท่านหนึ่งซึ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจสินเชื่อรายย่อยได้อย่างที่ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องยกนิ้วให้ ท่านบอกผมว่า ในยามนี้สิ่งที่เราทุกคนจะต้องทำคือ
1. ไปออกกำลังกายด้วยการวิ่ง
2. นอนให้หลับ
3. ตื่นให้ได้ทุกเช้าและ
4. พยายามหายใจเข้าไว้
เรื่องอื่นๆไม่ได้มีอะไรสำคัญกว่าชีวิตเราค่อยๆทำไป ทำทีละเรื่อง เดี๋ยวมันก็ผ่านไป….
เมื่อเอาข้อคิดที่ว่านี้มาเทียบเข้ากับภาพที่ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ฉายมาให้เห็นถึงความเสี่ยงจากการที่ดอกเบี้ยถูกกดดันให้ต่ำเตี้ยมาเป็นระยะเวลานานๆแล้ว มันได้สร้างความกดดันไปยังคนที่ควรจะออมก็ไม่อยากออม คนที่ต้องการผลตอบแทนก็วิ่งไปหาสิ่งที่เป็นความเสี่ยง สิ่งที่หลอกลวง ด้วยการหลอกตัวเองว่า ยังไงฉันก็ไม่เสี่ยง ฉันจะหนีออกมาได้ทัน
ความเสี่ยงของสภาพการณ์และสิ่งที่เกิดในระบบการเงินโลก มีการออกมาระบุถึงมาตรการดูแลเสถียรภาพสำหรับตลาดพันธบัตร ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่อยู่ๆผู้กำกับดูแลก็ออกมาพูดถึงเรื่อง ตราสารหนี้/หุ้นกู้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ได้ออกมาขายให้กับนักลงทุน (ซึ่งมีความเสี่ยงสูง บ้านเราก็มีเรื่องแล้ว เช่น ตั๋วแลกเงินไม่มี Rating หุ้นกู้ไม่มี Rating แต่มีนักลงทุนก็เข้ามาลงทุน เหตุผลเพราะว่าต้องการผลตอบแทนเพิ่ม)
ในประเด็นนี้ผู้เขียนมีความคิดอย่างนี้นะครับว่า ประสบการณ์ “โลภบวกโง่” และแสวงหาผลตอบแทนโดยละเลยความเสี่ยงวันนี้มันจะได้กลายเป็นความปกติใหม่สำหรับบุคคลและองค์กรไปแล้วหรือไม่ มันเป็นระเบิดเวลาที่รอจังหวะหรือไม่..ขอทุกท่านกลับมาที่หลักการนี้นะครับ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ”
ในเรื่องหนี้ครัวเรือนก็เหมือนกัน เพราะมันคือ
(1)ภาพสะท้อนฐานะความมั่นคงด้านการเงินของครัวเรือน
(2)และในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันที่เรียกว่า Income shock เช่น เกิดการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาสงครามทางการค้า หรือเศรษฐกิจโลกชะลอ เกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงจนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องแล้วละก็ เหตุพวกนี้จะนำไปสู่ผลกระทบอีกมากมาย ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ภาวะหนี้เสียและความมั่นคงในระบบสถาบันการเงิน
(3) โจทย์สำคัญคือเราจะทำอย่างไรให้การแก้ไขปัญหาหนี้ที่มีอยู่จำนวนมากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือน หรือหนี้ของภาคธุรกิจ มีโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสอดคล้องกับตัวลูกหนี้เอง
ท่านผู้ว่าการ ยังได้กล่าวถึงความท้าทายสำหรับผู้ทำนโยบายและผู้กำกับดูแลทั้งโลก ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือที่หลากหลายเป็นกลไกกำกับ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินหรือแม็คโครพรูเด็นเชียลที่มีบทบาทมากขึ้น แต่มีแรงต่อต้านกลับค่อนข้างแรง (อันนี้ผู้เขียนเห็นภาพการที่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบพยายาม “วิ่งสู้ฟัด” ทุกเวที มีการนำเสนอความเห็น ข้อมูลผ่านสื่อแบบเปิดหน้ากันเลย บางเวทีวิทยากรจากธนาคารกลางเจอกับวิทยากรจากภาคธุรกิจก็สู้กันด้วยตัวเลข ข้อมูล ความคิดความเห็นอย่างเผ็ดมัน ผู้เขียนขอสารภาพว่าเมื่อมีคำเชิญมาให้ขึ้นเวที ไม่ว่างานไหนก็ไม่เอาอีกแล้ว เปลืองตัว เปลืองหัวใจ เข้าใจคนออกนโยบาย เห็นใจคนทำธุรกิจ ทุกข์ใจแทนคนฟัง) เช่น ทุกวันนี้จะเห็นผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งออกมาเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกเลิกมาตรการเกี่ยวกับมาตรการกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) โดยไม่ได้กลับไปดูสาเหตุของการออกมาตรการและลืมเรื่องสินเชื่อเงินทอนไปแล้วด้วยซ้ำ”
พยามหายใจเข้าไว้ ในยามที่ทุกอย่างดูจะไม่ง่ายดั่งใจหวัง เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเรายังหายใจอยู่ ก็ให้กลับไปใส่ใจงานของตนเอง สนใจเรื่องของคนอื่น งานของคนอื่นน้อยลงไปบ้าง ชีวิตคงจะสามารถก้าวเดินต่อไปได้ครับ
รู้ไว้เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจข้อมูลบัตรเครดิต
ความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องไปตรวจเครดิตบูโรแค่เฉพาะตอนที่จะเตรียมตัวไปขอสินเชื่อเท่านั้นนะคะ แต่เราสามารถตรวจเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ เพื่อให้เราทราบข้อมูลเครดิตของตนเอง หากมีปัญหาส่วนไหนจะได้รีบแก้ไขให้ทันค่ะ
5 เทคนิคซื้อของออนไลน์ให้ได้ของดี ในราคาที่ประหยัด!!
สมัยนี้ไม่ต้องออกจากบ้านก็เสียเงินได้ แถมยังเสียเงินง่าย เพราะสามารถปัดหน้าจอซื้อของได้ทันที แต่ในข้อดีก็มีข้อเสียค่ะ เราได้ของรวดเร็วทันใจ แต่หากไม่ฉุกคิดเบรคมือไม่อยู่ เสียเงินบานปลายแน่นอนค่ะ เราต้องหาเทคนิคดี ๆ ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ แค่นี้เราก็ได้ของดีที่สามารถประหยัดเงินได้ด้วยค่ะ
ตอนไหน? ที่ไม่ควรใช้บัตรเครดิต
บัตรเครดิต ถ้าคิดให้ดีก่อนใช้ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตัวเราได้ แต่การใช้จ่ายโดยไม่รอบคอบก็คงจะสร้างปัญหาหรือภาระหนี้สินให้กับเราแบบเลี่ยงไม่ได้
ถ้าหากเราคิดรอบคอบแล้วรู้จักวิธีป้องกันการเกิดหนี้จากบัตรเครดิต เท่านี้เราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลแล้วค่ะ
เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “ได้คืบก็มักจะเอาเพิ่มเป็นศอก” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562
ได้คืบก็มักจะเอาเพิ่มเป็นศอก
บทความของผมวันนี้เขียนขึ้นมาเพราะนึกถึงสำนวนไทยที่บอกว่า ยามใครต่อใครเดือดร้อน หลวงท่านก็จะยื่นมือออกมาช่วยเหลือ แต่พอได้รับความช่วยเหลือแล้วก็มักจะรุกคืบขอเพิ่ม ทั้งที่จริงแล้วความเดือดร้อนที่ว่ามันอาจเกิดจากการวางแผนผิด การบริหารความเสี่ยงน้อยไป การมีแผนฉุกเฉินรองรับสถานการณ์ที่ตนเองไม่ชอบน้อยไป หรือแม้แต่การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเก็งกำไรในธุรกิจที่ตนทำอยู่ สำนวนที่ว่าคือ “พอได้คืบ ก็มักจะเอาศอก”
เมื่อภาครัฐได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือสนับสนุนให้คนที่ประสงค์อยากจะได้บ้านหลังแรกตามกำลังรายได้ของตนโดยกำหนดว่าบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลงมา พร้อมๆกับที่สถาบันการเงินของรัฐได้ออกโครงการให้กู้แบบผ่อนยาวๆ ดอกเบี้ยถูก มาช่วยคนที่อยากได้บ้าน ข่าวสารความเห็นที่ตามมาดูจะเข้ากับสำนวนไทยอย่างยิ่ง ความมีดังนี้ครับ
1.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองว่าการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้มีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม 2 มาตรการจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยหนุนตลาดในช่วงที่เหลือของปีต่อเนื่องไปยังปี 2563
แต่ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและกำลังซื้อที่ประสบปัญหาจากหนี้ครัวเรือน ดังนั้นจึงคาดได้ว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2562 นี้เพิ่มจาก 121,730 หน่วย (ม.ค.- ส.ค. 62) จะไปแต่ตัวเลขที่เคยได้ประมาณการไว้เมื่อกลางปีที่ 177,000 หน่วย หรือหดตัวลง 10% จากปี 2561
2.ฝั่งผู้ประกอบการก็ออกมาให้ข้อมูลต่อมาว่ามาตรการนี้มันก็ช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะคนที่ซื้อบ้านเกิน 3 ล้านบาทมีส่วนหนึ่งเท่านั้น หลวงท่านควรทำมาตรการออกมาแบบไม่กำหนดราคาบ้านจะดีกว่า (คำขอเพิ่มส่วนที่ 1) และหาผ่อนคลายเรื่องมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ออกมาเรื่อง LTV ก็จะช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากมาตรการนี้ทำให้ลูกค้าส่วนหนึ่งกู้ไม่ผ่านหรือกู้ได้ยากขึ้น (คำขอเพิ่มส่วนที่ 2)
3.ในส่วนของศูนย์ข้อมูลก็ออกมาผสมโรงเป็นข้อเสนอที่งดงามเสียกระไรนี่ ชนิดที่บทบาทหน้าที่ตนเองควรจะเป็น “ระบบส่งเสียงเตือนความเสี่ยง” กลับจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มหรือไม่ กล่าวคือ มีข้อแนะนำไปยังคนให้กู้ที่ต้องนำเอาเงินฝากจากประชาชนมาปล่อยกู้ให้กับคนขอกู้ว่า ประวัติการก่อหนี้และการชำระหนี้นั้นตามที่มาตรฐานสากลทั่วโลกเขาระบุว่าให้แสดงกับสถาบันคนให้กู้ 3 ปี ย้อนหลังจากปัจจุบันนั้น สถาบันคนให้กู้ควรจะดูเพียง 1ปี ย้อนหลัง หรือดูการชำระหนี้ย้อนหลัง 12 เดือน หรือ 12 งวดก็พอในสินเชื่อต่างๆที่คนขอกู้มีอยู่เช่น
ดูประวัติการผ่อนรถ 12 เดือนย้อนหลังก็พอ
ดูประวัติการผ่อนสินเชื่อบุคคล 12 เดือนย้อนหลังก็พอ
ดูประวัติการชำระหนี้บัตรเครดิตย้อนหลัง 12 เดือนย้อนหลังก็พอ เป็นต้น คำถามมันมีอยู่ว่า สินเชื่อบ้านเวลาผ่อนมันยาวเป็น 5ปี 10ปี 15ปี เราจะดูพฤติกรรมความตั้งใจในการชำระหนี้เพียง 12 งวดย้อนหลัง มันจะเพียงพอเหมาะสมหรือไม่ เราควรปล่อยให้สถาบันเขาบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของเขาดีกว่าหรือไม่ เพราะผู้บริหารสถาบันคนปล่อยกู�
ผู้เขียนเป็นคนทำข้อมูล ทำสมุดพกให้สถาบันคนให้กู้ดู ยืนยันว่า ข้อมูลมีเท่าใด ยาวนานเท่าใด คนวิเคราะห์สินเชื่อต้องดูให้ครบถ้วน แต่การตัดสินใจต้องเป็นไปตามนโยบายการบริหารความเสี่ยง การกู้ได้ยากแต่มีคุณภาพมากขึ้น กับธุรกิจที่อาจลดลง และอาจไม่สร้างปัญหาความเสี่ยงในระยะยาวบนความมั่นคงของสถาบันคนให้กู้นั้นมันอยู่ที่จุดไหนก็ขึ้นอยู่กับระบบนิเวศของเรื่องนั้น ในฐานะคนทำข้อมูล ทำสมุดพก ก็ได้แต่บอกว่า การให้กู้กับใครนั้น มีความเสี่ยงเสมอ คนตัดสินใจให้กู้ต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมดเท่าที่มี(มิใช่บางส่วน) ก่อนการตัดสินใจให้กู้หรือไม่ให้กู้
เอวังก็มีด้วยประการทั้งปวงดังที่เรียนมาข้างต้น กระทบกระเทือนไปบ้างต้องขออภัยนะครับ ผมเพียงใช้สิทธิ์ที่ถูกพาดพิงครับ