Blog Page 112

ตั้งเป้าหมายการออมเงินแบบสมาร์ท ๆ ฉลาดออม ฉลาดใช้

ตั้งเป้าหมายการออมเงินแบบสมาร์ท ๆ ฉลาดออม ฉลาดใช้

ในการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องมีการวางเป้าหมาย เพราะการวางเป้าหมายเป็นใบเบิกทางหรือวิธีการสำคัญที่จะทำให้เรามุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ ในบทความนี้จะพูดถึงหลักการตั้งเป้าหมายแบบ SMART ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายให้กับธุรกิจ เป้าหมายทางการตลาด หรือแม้แต่การออมเงินก็สามารถนำมาปรับใช้ทำให้เรามีเป้าหมายทางการเงินที่ดีได้เช่นกัน

เริ่มต้น SMART ด้วยการฉลาดตั้งเป้า

ความหมายตรงตัวของคำว่า “SMART” แปลว่า “ฉลาด” ซึ่งการนำเป้าหมายแบบ SMART มาใช้สำหรับการออมเงินนั้น จะช่วยให้สามารถออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสำหรับบางคนที่มีความตั้งใจว่าจะออมเงิน แต่ออมเงินไปแบบไม่มีเป้าหมาย ออมเงินโดยที่ไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่ชัด เหตุนี้ก็อาจจะทำให้การออมเงินของคุณนั้นไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นมาดูกันว่าการออมเงินแบบ SMART จะเป็นอย่างไร และมีความหมายสำคัญอะไรแฝงในแต่ละตัวอักษร เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการออมเงินของเราให้สำเร็จได้ค่ะ

S – Specific (เจาะจง)

มีความชัดเจน กำหนดให้แน่นอนว่าเราจะออมเงิน เพื่ออะไร นำเงินส่วนนี้ไปใช้ทำอะไร เช่น เก็บเงินเพื่อแต่งงาน เก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน เป็นต้น

M – Measurable (วัดผลได้)

เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่ามันจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ หากขาดการวัดผล ดังนั้นเป้าหมายที่ดีควรตั้งให้วัดผลได้ ในเรื่องการออมเงินนั้นเครื่องมือในการวัดผลคือ “ตัวเลขหรือจำนวนเงิน” เช่น จำนวน 100,000 บาท หรือ 20% ของรายได้ทุุกเดือน เป็นต้น

A – Achievable (ทำสำเร็จได้)

เป้าหมายที่ดีควรทำให้สำเร็จได้ และเราต้องรู้วิธีการที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จด้วย เช่น หากเราต้องการเก็บเงินให้ได้ตามเป้า สิ่งที่เราต้องทำคือ การอดออม หรือหารายได้เสริม เป็นต้น

R – Realistic (เป็นไปได้)

มีความเป็นไปได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ล่องลอย สิ่งสำคัญคือ ความสมเหตุสมผลค่ะ

T – Timely (มีเวลาที่แน่นอน)

เราควรกำหนดเวลาให้แน่นอน ควรเร่งมือทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนนั้น ต่อให้เอื้อมมือเท่าไหร่เป้าหมายก็ยังคงมาไม่ถึง

เป้าหมายแบบไหน เรียกว่า “S M A R T”

“ฉันจะเก็บเงินให้ได้ในเดือนนี้” 

เป็นเป้าหมายที่ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถวัดผลได้

“ฉันมีรายได้ 20,000 บาท และปีหน้าฉันจะซื้อรถสปอร์ตคันหรู หลายสิบล้าน”

เป็นเป้าหมายที่มีการกำหนดเวลาแน่ชัด แต่ความเป็นไปได้แทบไม่มี

“ฉันจะเก็บเงิน 10% ของรายได้ทุกเดือน ในระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นเงินออมสำหรับเป็นทุนเรียนต่อ

เป็นเป้าหมายที่มีเป้าหมายชัด กำหนดเวลาชัด วัดผลได้ ที่สำคัญมีความเป็นไปได้

ประโยชน์ของการมีเป้าหมายตั้งเป้าหมายการออมเงินแบบสมาร์ท
– สามารถสร้างขอบเขตและมีความชัดเจนในการออมเงิน
– สามารถวัดผลได้ ว่าออมเงินได้ตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่?
– มีระยะเวลากำหนดชัดเจน สร้างแรงกระตุ้นให้เก็บเงินได้ดีขึ้น

การตั้งเป้าหมายที่ฉลาดนั้น ควรมีครบทุกหลัก SMART ที่กล่าวไปข้างต้น อ่านครบจบแล้ว อย่าลืมหยิบปากกาขึ้นมาเขียน หรือมือถือขึ้นมาโน๊ตไว้ว่า เป้าหมายการออมเงินแสนสมาร์ทของคุณเป็นแบบไหน? และควรรักษาวินัยในการออมเงิน ควบคุมให้ดีหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้สิน แค่นี้ก็สามารถออมเงินให้ประสบความสำเร็จได้แล้วค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.1213.or.th/Documents/booklet/FCCBooklet03.pdf

จับมือคนรัก..มาออมบัญชีคู่ อ่านเคล็ดลับเสริมความมั่งคั่งให้กับความรักกันเถอะ!

จับมือคนรัก..มาออมบัญชีคู่ อ่านเคล็ดลับเสริมความมั่งคั่งให้กับความรักกันเถอะ!

จับมือคนรัก..มาออมบัญชีคู่ อ่านเคล็ดลับเสริมความมั่งคั่งให้กับความรักกันเถอะ!

แม้แต่ความรักก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เงิน บางคู่ต้องการเก็บเงินไปเที่ยวด้วยกัน บางคู่ต้องการเก็บเงินเพื่อแต่งงาน สร้างครอบครัว มีอนาคตที่ดีร่วมกัน เมื่อตกลงวางแผนในการใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว การเปิดบัญชีคู่ก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะนำเงินมาใช้เพื่อความสุขและความมั่นคงให้กับชีวิตของเราสองคน

ยังไม่แต่งงานกัน ทำบัญชีคู่ได้ไหม?

สำหรับการทำบัญชีคู่นั้น ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ก็สามารถสร้างบัญชีร่วมกันได้ ในความเป็นจริงแล้วจะเป็นใครก็ได้ เพศใดก็ได้ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อน ขอแค่เป็นคนที่เราไว้ใจและมีจุดประสงค์ในการวางแผนการใช้เงินร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีคู่ในการทำธุรกิจขายของออนไลน์ร่วมกับเพื่อน หรือแม้แต่การเปิดบัญชีเพื่อออมเงินไปท่องเที่ยวร่วมกันก็สามารถทำได้

บัญชีคู่ 2 แบบหลัก ที่คู่รักควรทำความเข้าใจ

บัญชีคู่ที่ใช้ “และ” ตัวอย่างเช่น “นายมี และ นางสาวออม” เป็นบัญชีที่ค่อนข้างมีกฎเคร่งครัด ในกรณีที่จะทำการถอน เปิด-ปิดบัญชี ต้องได้รับการรับรู้และมีลายเซ็นยินยอมจากทั้งคู่ผู้เปิดบัญชี จะเห็นได้ว่าบัญชีเปิดไว้สำหรับใช้ร่วมกันจริง ๆ ยกเว้นแต่การฝากเงิน สามารถใช้ลายเซ็นของคนใดคนหนึ่งได้ค่ะ

บัญชีคู่ที่ใช้ “หรือ” ตัวอย่างเช่น “นายมี หรือ นางสาวออม” เป็นบัญชีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ลายเซ็นของผู้ร่วมเปิดบัญชีคนใดคนหนึ่ง และสามารถทำการถอนเงินได้ทันที ยกเว้นแต่การเปิด-ปิดบัญชี จำเป็นจะต้องใช้ลายเซ็นของทั้งคู่ร่วมกัน ที่สำคัญบัญชีคู่ที่ใช้ “หรือ” นั้น ต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในการนำเงินไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นจริง ๆ  ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เราซึ่งเป็นผู้ร่วมเปิดบัญชีคู่ค่ะ

4 เคล็ดลับเพิ่มเติม เพื่อเสริมความมั่งคั่งทางความรัก

ในกรณีที่ตัดสินใจทำบัญชีคู่ร่วมกันแล้ว เราลองมาดูเคล็ดลับที่สามารถเสริมความมั่งคั่งทางความรักให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นกันค่ะ

1.ต้องมีบัญชีรายรับ – รายจ่าย 

: ควรสร้างวินัยทางการเงินด้วยการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเริ่มต้นจากการสร้างวินัยทางการเงินด้วยการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายของตัวเองก่อน และหลังจากนั้นเริ่มบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่ายของครอบครัว

2.ออมเงินให้สม่ำเสมอ

: การออมเงินนั้นมีหลากหลายวิธี ทั้งฝากประจำ กองทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย ตัวอย่างข้างต้นก็เป็นการสร้างวินัยการออมเงินที่ดี ที่เราสามารถเลือกการออมเงินได้ตามความเหมาะสมของ หากได้ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ความมั่งคั่งมั่นคงก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วค่ะ

3.กำหนดเป้าหมาย วางความฝันในชีวิตร่วมกัน

: ควรคิดวางแผนอนาคตไว้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตคู่ให้อยู่กันอย่างยั่งยืน ควรคิดวางแผนไว้ก่อนเลยว่า หลังจากแต่งงาน จะมีลูกหรือไม่มีลูก คิดคำนวณค่าใช้จ่ายในการมีลูก จะเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ มีการวางแผนไปเที่ยวจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ คิดวางแผนทั้งหมดให้ครบจนกระทั่งเกษียณอายุ ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้มั่นคงและยั่งยืนนั้นจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบค่ะ

4.ที่สำคัญ อย่าลืมเปิดใจคุยกันเรื่องเงิน

: เรื่องเงินทองก็เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตคู่ ควรมีการปรึกษากันในทุก ๆ เรื่อง และกำหนดข้อตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ทั้งคู่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมไปถึงการแบ่งหน้าที่ในการตัดสินใจในเรื่องการใช้เงิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

เชื่อว่า..เมื่อคู่กันแล้ว ย่อมไม่แคล้วกัน เมื่อตกลงปลงใจจะบริหารจัดการวางแผนชีวิตคู่ร่วมกัน สามารถนำข้อมูลในบทความนี้ไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเลือกบัญชีคู่ เพิ่มช่องทางหารายได้ และสร้างความมั่นคงร่วมกัน อย่าลืมจับมือคนรักแล้วไปทำบัญชีร่วมกันนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.gsb.or.th/Blogs/Lifestyle/wedding.aspx?lang=en-US
https://moneyhub.in.th/article/saving-as-a-couple/

3 สิ่งควรรู้ เรื่องข้อมูลเครดิตที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา

3 สิ่งควรรู้ เรื่องข้อมูลเครดิตที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา

สรุปความสำคัญของข้อมูลเครดิตให้เข้าใจง่าย ๆ เพียง 3 ข้อ ใครยังไม่รู้หรือยังไม่เข้าใจ ว่าข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร มาอ่านกันเลยค่ะ

3 สิ่งควรรู้ เรื่องข้อมูลเครดิตที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “คนที่กลับไม่ได้แต่ก็ไปไม่ถึง เวลานี้จะมีอะไรช่วยเขาได้บ้าง” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562

คนที่กลับไม่ได้แต่ก็ไปไม่ถึง​ เวลานี้จะมีอะไรช่วยเขาได้บ้าง

บทความวันนี้เกิดจากการได้สนทนากับผู้คนที่มีปัญหาการชำระหนี้เพราะก่อหนี้มาเป็นจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอสมควรแล้วก็พอกพูน​ เพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ​ แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะมีความรู้เรื่องทางการเงินระดับหนึ่ง​ ไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่องเลย​ เข้าใจเหตุและผลของการก่อหนี้​ แต่จะด้วยอะไรก็ไม่รู้ได้ดลบันดาลใจให้ท่านเหล่านั้นก่อหนี้​ และก่อหนี้อย่างต่อเนื่อง​ บางคนที่ผมคุยด้วยมีหนี้ที่ต้องชำระเดือนละสี่หมื่นบาททั้งค่าผ่อนบ้าน​ ผ่อนรถยนต์​ ผ่อนเฟอร์นิเจอร์​ ผ่อนเครื่องใช้​ไฟฟ้า​ ผ่อนโทรศัพท์​เคลื่อนที่​ คือลิสต์​รายการออกมาแล้วต้องตอบว่า​ “แม่เจ้า… ผ่อนทุกสิ่งอย่าง” แล้วยังต้องมีค่าใช้จ่าย​ในการยังชีพอีกเดือนละอย่างน้อยสองหมื่น​ ในขณะที่เรากำลังคุยเรื่องจะจัดการกับกระแส​เงินสด​รับจ่ายอย่างไรให้สมดุล​ก็พบว่าบทสนทนาคืออยากไปดูใบไม้เปลี่ยนสี​ที่ญี่ปุ่น​ ผมก็ได้แต่คิดในใจว่าดูใบหน้าที่เปลี่ยนสีจากสดใสเป็นหมองคล้ำดูจะเหมาะมากกว่า​ ผมถามน้องคนนั้นว่า​ รู้ไหมว่าก่อนการก่อหนี้มันมีสูตรคิดนะ​ เขาก็เอาสิ่งที่เราๆท่านๆพยายามจะใส่เข้าไปในนิสัยมาเล่าให้ผมฟังอย่างภาคภูมิใจว่า

…. ก่อนเป็นหนี้ คิดดีแล้วหรือยัง?
การเป็นหนี้ต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ ตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้ได้ก่อนที่จะเริ่มเป็นหนี้อีกครั้ง

1.การกู้ครั้งนี้ เป็นความอยากหรือจำเป็น?
ถ้าเป็นแค่ความอยาก กรุณาคิดพิจารณาให้ดีก่อนอาจสร้างความเดือดร้อน เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

2.หนี้เดิมที่มีอยู่จะชำระคืนอย่างไร?
คิดพิจารณาให้ดีว่ามีแผนจะชำระหนี้อย่างไร ได้มีการวางแผนไว้หรือเปล่า?

3.หนี้ใหม่ที่ก่อ จะเอาเงินจากไหนมาชำระ?
กู้เงินมาแล้ว มีแผนที่จะหาเงินจากทางไหน หรือนำเงินส่วนไหนมาชำระ

4.หนี้ใหม่ + หนี้เก่า เกิน 70% ของรายได้ไหม?
คิดคำนวณยอดผ่อนที่จะต้องผ่อนในแต่ละเดือน ต้องใช้เงินส่วนไหนมาชำระ ถ้าจำเป็นต้องในเงินในกรณีฉุกเฉินเรามีเงินเหลือพอที่จะใช้ไหม?

5.ก่อนการก่อหนี้สิน​เราต้องสะสมเงินออม​ให้มากพอจำนวนหนึ่งเป็นกันชนชีวิตยามฉุกเฉิน​ ตัวเลขที่ต้องทำให้​ได้คือ​ ออมเงินสดให้ได้หกเท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน​ ถ้าเรามีค่าใช้จ่าย​เดือนละสองหมื่น​ เราก็ควรมีเงินออมกันชน​ แสนสองหมื่นบาททุกขณะ
(ขอบคุณข้อมูลจาก Wealth Me Up ที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้)​

คำถามคือ​ คนที่รู้ทั้งรู้ว่าอะไรต้องทำ​ อะไรควรทำ​ อะไรที่ต้องไม่ทำ​ แต่ทำไมยังทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ​ เมื่อทำแล้วก็เกิดทุกข์​ แม้รู้สาเหตุแห่งทุกข์​ รู้หนทางการดับทุกข์​ แต่ก็ยังพยายามสร้างสุข(วันนี้​เวลานี้)​บนความทุกข์(วันหน้าในอนาคต)​ทำไมยังพยายามทำกันเช่น​ ไปดูใบไม้เปลี่ยนสีด้วยเงินกู้ศูนย์​เปอร์เซ็นต์​ผ่อนหกงวด​ คือเที่ยวไปก่อนผ่อนทีหลัง​ ถ่ายรูปมาเป็นพันรูป​ แต่ต้องมานั่งคุยเรื่องยอดผ่อนทุกสิ่งอย่าง​ โดยยังหาทางออกไม่พบ​ และก็สรุปง่ายๆว่า​ เดี๋ยวมันก็มีทางไปของมัน​ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป​ ทุกข์​ไปก็เท่านั้นเอง​

สุดท้ายเราก็จากกันด้วยบทสนทนาที่ว่า​ สุดท้ายถ้าจ่ายไม่ได้​ ต้องเป็นหนี้เสีย​ ก็คงต้องไปเข้าโครงการคลินิคแก้หนี้​ ผมได้แต่คิดในใจว่า​ ตอนนี้น้องเขาอยู่ในโรงพยาบาลแล้วเพียงแต่เชื้อโรคหนี้ร้ายในร่างกายมันรอเวลาปะทุออกมาเท่านั้น​

… ใบไม้เปลี่ยนสี​ เสื้อผ้าสวยงาม​ รองเท้าที่มันต้องมี​ รูปถ่ายเป็นพัน​ Update​ เฟซบุ๊กนิ้วไถไปบนมือถือ​ ยิ้มกับตัวเอง​ ชีวิตมันต้อง​ worklife balance แต่ตอนกลืนน้ำลายระหว่างจิบกาแฟคาปูชิโน่ร้านดังแก้วละ​ 115บาท​ ทำไมน้ำตามันรื้นขึ้นมา​ เดือนนี้จะเอาตรงไหนไปผ่อนสี่หมื่นอ่ะ….

11 ทิป ต้อนรับ 11.11 ชอปออนไลน์ให้คุ้มค่า ได้ราคาประหยัด!

11 ทิป ต้อนรับ 11.11 ชอปออนไลน์ให้คุ้มค่า ได้ราคาประหยัด!

11.11 มหกรรมลดกระหน่ำสินค้าอุปโภคบริโภค กำลังจะมาถึงแล้ว ใครที่กำลังจะจัดหนักจัดเต็มในวันนั้น ขอให้มีสติในการชอปปิง และซื้อสินค้าตามงบประมาณที่กำหนดไว้ด้วยนะคะ

11 ทิป ต้อนรับ 11.11 ชอปออนไลน์ให้คุ้มค่า ได้ราคาประหยัด!

ตอบให้ได้ 4 คำถาม ถามตัวเองก่อนเป็นหนี้

ตอบให้ได้ 4 คำถาม ถามตัวเองก่อนเป็นหนี้

ก่อนเป็นหนี้ คิดดีแล้วหรือยัง?
การเป็นหนี้ต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ ตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้ได้ก่อนที่จะเริ่มเป็นหนี้อีกครั้ง

1.การกู้ครั้งนี้ เป็นความอยากหรือจำเป็น?
ถ้าเป็นแค่ความอยาก กรุณาคิดพิจารณาให้ดีก่อนอาจสร้างความเดือดร้อน เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

2.หนี้เดิมที่มีอยู่จะชำระคืนอย่างไร?
คิดพิจารณาให้ดีว่ามีแผนจะชำระหนี้อย่างไร ได้มีการวางแผนไว้หรือเปล่า?

3.หนี้ใหม่ที่ก่อ จะเอาเงินจากไหนมาชำระ?
กู้เงินมาแล้ว มีแผนที่จะหาเงินจากทางไหน หรือนำเงินส่วนไหนมาชำระ

4.หนี้ใหม่ + หนี้เก่า เกิน 70% ของรายได้ไหม?
คิดคำนวณยอดผ่อนที่จะต้องผ่อนในแต่ละเดือน ต้องใช้เงินส่วนไหนมาชำระ ถ้าจำเป็นต้องในเงินในกรณีฉุกเฉินเรามีเงินเหลือพอที่จะใช้ไหม?

ตอบให้ได้ 4 คำถาม ถามตัวเองก่อนเป็นหนี้

Line info 2: ถามอะไร “บูโร แชทบอท” ได้บ้าง?

Line info 2: ถามอะไร “บูโร แชทบอท” ได้บ้าง?

“บูโร แชทบอท” ถามทันที ตอบทันใจ ได้ทุกที่ทุกเวลาสามารถถามคำถามเรื่องเครดิตบูโร ผ่านแอปพลิเคชัน Line ได้แล้ววันนี้ เพียงแอด Line @ilovebureau หรือสแกน QR Code พร้อมแล้ว แอดเลย!!

Line info 2: ถามอะไร “บูโร แชทบอท” ได้บ้าง?

เรื่องน่าอ่าน