Blog Page 73

รับมือกับความไม่มั่นคงกับเคล็ดลับ 5 รู้ ที่จะเปลี่ยนแผนการเงินให้ปังขึ้นกว่าเดิม

การเงินเริ่มสะดุด แผนชีวิตเริ่มไม่มั่นคง อาจเป็นเพราะเราไม่มีวินัยทางการเงินที่ดีพอ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เรามีวิธีการรับมือกับความไม่มั่นคงทางการเงินง่าย ๆ กับเคล็ดลับ 5 รู้ มาฝากกันค่ะ

1. รู้เก็บไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
จัดสรรรายได้ของตนเอง แบ่งสัดส่วนรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มสังเกตจากการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวันเพื่อให้รับทราบสถานะการเงินของตนเองอยู่ตลอดเวลา

2. รู้ออมเพื่อสำหรับกรณีฉุกเฉิน หรือเหตุไม่คาดฝัน
เหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้สถานะทางการเงินสั่นคลอนจึงควรมีการเก็บออมเพื่อใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน

3. รู้หาการลงทุนเพื่อเงินงอกเงยในอนาคต
มองหาช่องหาทางการลงทุนเพื่อให้เงินของเรางอกเงยเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับชีวิตในระยะยาวไปจนถึงเกษียณอายุ

4. รู้จักตรวจสอบสวัสดิการ และประกันสุขภาพเพิ่มความคุ้มครองชีวิต
หมั่นตรวจสอบ หรือหาสวัสดิการเพื่อมารองรับแผนความมั่นคงในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ

5. รู้จักหาเงินจากแหล่งรายได้เสริม
เมื่อรู้ว่ารายรับสวนทางกับรายจ่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารายได้เสริมเพื่อมารับมือกับสถานะการเงินของตนเอง

 

4 ค่าใช้จ่าย ลดวันละนิด พลิกชีวิต การเงินใหม่

4 ค่าใช้จ่าย ลดวันละนิด พลิกชีวิต การเงินใหม่

ปรับพฤติกรรมลดรายจ่ายไม่จำเป็น ลองลดวันละนิด อาจพลิกชีวิตการเงินใหม่ทันตา

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่คิดหน้าคิดหลัง คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรทำคือ เริ่มปรับพฤติกรรม หรือลดค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อไปนี้ ให้เหลือน้อยลงที่สุด

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/637246

4 ค่าใช้จ่าย ลดวันละนิด พลิกชีวิต การเงินใหม่

1. ค่าลอตเตอรี่
ลอตเตอรี่ลุ้นโชค แค่ถ้าไม่มีโชคลอตเตอรี่ใบนั้นก็สูญเปล่าทันที ลองคำนวณค่าใช้จ่ายกันดูเล่น ๆ เช่น ท่านซื้อลอตเตอรี่จำนวน 10 ใบ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนตกอยู่ที่ 1,600 บาท (เดือนละ 2 งวด)

1 ปีจะเท่ากับ 19,200 บาท ซึ่งถ้าท่านไม่ถูกรางวัลเงินส่วนนี้ก็จะหายไปทันตาทันทีค่ะ

ค่าลอตเตอรี่

2. ค่ากาแฟ/ชานมไข่มุก
ค่ากาแฟ หรือชานมไข่มุกเป็นอีกรายจ่ายหนึ่งที่อาจทำให้ท่านไม่มีเงินออม

โดยปกติค่ากาแฟ หรือชานมไข่มุกที่ดื่มแก้วละประมาณ 50-60 บาท หากดื่มทุกวันวันละแก้ว รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,500-1,800 บาท 1 ปีเท่ากับ 18,000-21,600 บาท

ซึ่งหากลองลดค่าใช้จ่าย โดยการชงกาแฟเอง หรือเปลี่ยนจากทุกวันเป็นสัปดาห์ละครั้ง ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้ค่ะ

ค่ากาแฟ/ชานมไข่มุก

3. ค่าอาหารสุดหรู
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราอยากทานอาหารดี ๆ สักมื้อ แต่หากทานบ่อย ๆ หรือทุกวันคงไม่ดีแน่

มาลองคำนวณรายจ่ายกันดูค่ะ
ค่าอาหารหรู 1 มื้อเฉลี่ยประมาณ 300-500 บาท
หากทานสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ตกประมาณ 900-1,500 บาท
1 เดือนตกประมาณเดือนละ 3.600-6,000 บาท
1 ปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 43,200-72,000 บาท

โดยการลดรายจ่ายส่วนนี้อาจจะเริ่มจากการปรับมาทำอาหารทานเองที่บ้าน เพื่อประหยัดรายจ่าย และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโควิด-19 อีกด้วยค่ะ

ค่าอาหารสุดหรู

4. ค่าบริการจากชอปปิงออนไลน์
แม้ว่าการชอปปิงออนไลน์จะสะดวกรวดเร็ว แต่สิ่งที่ตามมาคือค่าบริการการจัดส่งจากชอปปิงออนไลน์นั่นเองค่ะ ยิ่งเป็นการจัดส่งจากต่างประเทศจะต้องมีการเสียภาษีนำเข้าเพิ่มอีกด้วย ซึ่งก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว

ค่าบริการจากชอปปิงออนไลน์

เร็วยิ่งกว่าฟาสต์ ตรวจเครดิตสกอริ่ง Real Time ผ่านแอป KKP e-Banking เร็ว ทันใจ ไม่ต้องรอ

เร็วยิ่งกว่าฟาสต์ ตรวจเครดิตสกอริ่ง Real Time ผ่านแอป KKP e-Banking เร็ว ทันใจ ไม่ต้องรอ

รู้ยัง ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งรู้ผลได้ทันที ผ่านออนไลน์ได้แล้วนะ

มิติใหม่ของการตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ให้คุณรู้ผลกันแบบเรียลไทม์ ผ่านแอป KKP e-Banking จากธนาคารเกียรตินาคินภัทร ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลเครดิตที่ง่าย ปลอดภัย สะดวกรวดเร็ว เตรียมพร้อมก่อนการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

– ตรวจเครดิตสกอริ่งได้ทันที
– ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง รับรายงาน (e-Credit report) ทางอีเมลได้ทันที

ขั้นตอนการตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
– เปิด KKP e- Banking
– กดปุ่มบริการ
– เลือก “บริการอื่น ๆ” กด ตรวจสอบเครดิตบูโร
– เลือกรูปแบบในการตรวจข้อมูล (รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต หรือรายงานข้อมูลเครดิต)
– กด “ยอมรับคำขอตรวจสอบคะแนนเครดิต”
– กด “ยืนยันตัวตน KKP NDID Services
– ดูรายงานฉบับย่อจากแอป และรายงานฉบับเต็มทางอีเมล

รับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งแบบติดสปีดได้แล้ววันนี้ผ่านแอป KKP e-Banking

✔ ตรวจสอบข้อมูลเครดิตได้ง่าย ๆ
✔ เตรียมความพร้อมก่อนกู้ในโลกดิจิทัล
✔ รายงานเป็นความลับ
✔ เรียลไทม์ และปลอดภัย
✔ มั่นใจด้วยการยืนยันตัวตนผ่าน NDID

คำเตือน กรณีชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ

เร็วยิ่งกว่าฟาสต์ ตรวจเครดิตสกอริ่ง Real Time ผ่านแอป KKP e-Banking เร็ว ทันใจ ไม่ต้องรอ

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : เช็กเครดิตบูโรผ่านออนไลน์ ด้วยตนเองง่าย ๆ รู้ผลได้ทันที ลดการสัมผัส ไร้โควิด-19 : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 8 มกราคม 2564

เช็กเครดิตบูโรผ่านออนไลน์ ด้วยตนเองง่าย ๆ รู้ผลได้ทันที ลดการสัมผัส ไร้โควิด-19

บทความในวันนี้ ขอสวัสดีปีใหม่ 2564 ทุกๆท่าน ปีที่เรายังต้องฝ่าฟันไปเพื่อให้รอดพ้นในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ ด้วยการป้องกันดี มีวินัย ปลอดภัยทุกคน ให้อยู่ห่าง ๆ กัน ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ใส่หน้ากากป้องกันนะครับ หากท่านอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ แล้ว แต่อยากเช็กเครดิตบูโรด้วยตนเองก็ทำได้ง่าย ๆ ผ่านออนไลน์ รู้ผลได้ทันที ผ่านด้วยช่องทางหลากหลาย ได้ดังนี้

1.โมบายแอปพลิเคชันธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP e-banking) สามารถตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง สามารถรับรายงาน (e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที

2.โมบายแอปพลิเคชันธนาคารทีเอ็มบี (TMB TOUCH) ตรวจข้อมูลเครดิตรับรายงาน e-Credit Report ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ หรือเลือกรับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

3.โมบายแอปพลิเคชันธนาคารกรุงไทย (Krungthai Next) ตรวจข้อมูลเครดิตรับรายงาน e-Credit Report ทางอีเมล ภายใน 1 วัน โดยมีเงื่อนไขว่าท่านจะได้รับรายงานภายใน 24  ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด หรือรับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ

4.ธนาคารออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย สามารถรับรายงานแบบไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

ทั้งนี้ขอย้ำเตือนว่า กรณีชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้องก่อนใช้บริการนะครับ

โดยที่ผ่านมา เครดิตบูโรดำเนินการพัฒนาและให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง โดยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตได้อย่างรวดเร็ว หลากหลายช่องทาง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อต่าง ๆ จากสถาบันการเงินคือรู้จักตัวเราเองก่อนไปคุยกันในรายละเอียดกับคนให้กู้ รู้ตัวเองว่าประวัติการก่อหนี้  อีกทั้งช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเอง และเพื่อป้องกันภัยการเงินในยุคปัจจุบัน รวมทั้งการรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : โรคห่ากินปอดมันไปตามคน​ เราควรจัดการรายคนดีกว่าปิดสถานเพื่อยังทำมาหากินได้ : วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564

โรคห่ากินปอดมันไปตามคน​ เราควรจัดการรายคนดีกว่าปิดสถานเพื่อยังทำมาหากินได้

ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านข้อคิดข้อเขียนของท่านอาจารย์หมอ​ ที่ให้ข้อคิดน่าน่าสนใจมาก ๆ ว่าสนใจการแยกแยะว่าบุคคลท่านใดมีความเสี่ยงเพื่อดำเนินการออกจากคนหมู่มากที่ยังไม่มีประเด็นเพื่อให้การทำมาหาเลี้ยงชีพเดินหน้าปะทะปะทังไปได้ดีกว่าหรือไม่​

ท่านอาจารย์​หมอ​ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ว่า ปิดสถานที่ ปิดเมือง ปิดจังหวัด ปิดประเทศ ทำง่าย แต่ธุรกิจพินาศ ทางเลือก ปิดเป็นคน ๆ ที่ติดเชื้อไม่ดีกว่าหรือ ยังไม่ถึงเวลาปิดประเทศ

มาตรการ 5 วันตรวจเลือด 2 ครั้ง นี่คือปิดเป็นคน ๆ ไม่ใช่ปิดจังหวัด​ ปิดพื้นที่ ปิดประเทศ หากเรายอมใช้มาตรการเชิงรุกโดยภาครัฐดำเนินการอย่างเต็มที่​ เชื่อว่าการปิดแบบสร้างผลกระทบรุนแรงคงไม่เกิดขึ้นแน่นอน​ ผมอ่านแล้วมีความเห็นด้วย​ และขอนำข้อมูล​มาถ่ายทอดต่อ​ เพื่อให้ท่านผู้อ่านลองคิดต่อ​ ยามนี้เราต้องช่วย ๆ กัน​ มาตรการที่อาจารย์​หมอกล่าวถึงมีดังนี้ครับ

1.กลุ่มคนเสี่ยง เช่น แรงงานต่างชาติไม่ว่าจังหวัดใดก็ตาม ต้องแยกห่างจากกันเป็นรายบุคคล ​(ย้ำว่ารายบุคคล)​

2.การจัดการให้มีการแยกตัวจากกันนั้นยังคงต้องกระทำจนกระทั่งแน่ใจแล้วว่า คนนั้นไม่มีการติดเชื้อแพร่เชื้อจริง (ไม่ให้สร้างเรื่องขึ้นมาอีก)

3.เริ่มกระบวนการคัดกรองแบบใหม่ (ผู้เขียน​ขอย้ำว่าคิดใหม่​ ทำใหม่)​ หมด เจาะเลือดปลายนิ้ว 2 ครั้ง ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก​ 5 วัน แต่ในระหว่างนั้นยังคงต้องแยกตัวระยะห่าง ถ้าผลเลือดเป็นลบในครั้งที่สอง โอกาสที่จะติดเชื้อน้อยลง จนอาจไม่มี (ผู้เขียน​ การแยกปลาออกจากน้ำคัดกรองแบบชัดเจน)​

4.ในกรณีที่ผลเลือดเป็นลบเพื่อสร้างความมั่นใจสูงสุดกันไม่ให้เชื้อออกจากตัวให้บังคับใส่หน้ากาก​ มีการกำชับระยะห่างและต้องล้างมือต่อเนื่องต่ออีกจนครบ 14 วันแต่ไม่ถูกกักเดี่ยว (มาตรการบังคับขั้นพื้นฐาน)​

5.ในกรณีที่ผลเลือดเป็นบวก ให้เข้ากระบวนการแยงจมูกตรวจละเอียด 14 วัน 3 ครั้งคือ วันที่ 1 7 และ 14 จนกระทั่งแน่ใจว่าไม่พบเชื้ออย่าหมดจด

6.มีการแยกตัวออกจากคนอื่น ไม่ต้องแยงจมูกหาเชื้อใด ๆ ทั้งสิ้น มีคนส่งน้ำส่งข้าวให้ สังเกตอาการหากมีอาการต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล (เฝ้าระวังใกล้ชิด)​

7.นี่คือมาตรการเชิงรุกจริง ๆ การตรวจปลายนิ้วน่าจะมีต้นทุนครั้งละ 100 บาท ต้องเป็นมาตรการเชิงรุก ขยายทั่วประเทศ รวมคนไทยและไม่ได้จำกัดเฉพาะคนที่ไปสมุทรสาคร​ แต่ไปให้ครอบคลุมมากที่สุด

8.​เงินที่จะเอามาสนับสนุนการตรวจเชิงรุก หากใครมีกำลังทรัพย์ออกเอง เช่น​ โรงงาน กิจการห้างร้าน​ ถ้าไม่มีเราต้องช่วยกันสมทบทุนอาจใช้เงินผ่านมูลนิธิ โดยอาจไม่ต้องเบียดงบกลางของประเทศ

อาจารย์​หมอสรุปไว้ตอนท้ายน่าสนใจว่า… ที่กล่าวมานี้แน่นอนไม่ใช่ 100% รับประกัน แต่แน่นอนว่าไม่ถึงต้องปิดประเทศ และถ้าเรามีวินัยร่วมด้วย

ในฐานะคนที่นำมาถ่ายทอดต่อต้องขอบอกว่า​ คิดใหม่​ ทำเร็ว​ มีวินัย​ ใจมั่นคง​ ยืนให้ตรงกับความเป็นไป​ ไทยชนะแน่นอนครับ

4 วิธีบริหารหนี้ให้เป็น เงินออมงอกเงย เห็นผลได้ทันตา

4 วิธีบริหารหนี้ให้เป็น เงินออมงอกเงย เห็นผลได้ทันตา

เงินเดือนออกต้องไปจ่ายหนี้หมด ต้องมาใช้เดือนชนเดือน ไม่มีเงินเหลือเก็บ ถ้าทุกเดือนเกิดเหตุการณ์แบบนี้ อาจเป็นเพราะไม่รู้จักวิธีบริหารหนี้ให้เป็นนั่นเองค่ะ

ฉะนั้นเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินในแต่ละเดือนให้อย่างมีความสุข ไม่ทุกข์กับหนี้ที่มี

1. ตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้คืน
ก่อนคิดจะมีหนี้ ควรตรวจสอบความสามารถในการชำระก่อน โดยภาระหนี้ที่ท่านควรมีไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายรับทั้งหมด

2. มีความสม่ำเสมอ และตรงต่อเวลาในการชำระหนี้
การตรงต่อเวลาเป็นสิ่งที่ดี รวมไปถึงการตรงต่อเวลาในการชำระหนี้ เพราะจะช่วยสร้างเครดิตการเงินที่ดีให้กับท่านในการยื่นขอสินเชื่อครั้งต่อไปนั่นเองค่ะ


3. ชำระหนี้ให้มากกว่าเงินขั้นต่ำ
การชำระหนี้ขั้นต่ำโดยมียอดค้างชำระคงเหลืออยู่ จะถูกนำไปคิดเป็นอัตราดอกเบี้นสะสม ซึ่งหากถูกสะสมในระยะยาว อาจกลายมาเป็นหนี้ก้อนโตโดยไม่รู้ตัวได้


4. รู้จักสิ่งที่เรียกว่า Refinance (รีไฟแนนซ์)
การรีไฟแนนซ์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนเป็นหนี้ควรรู้ เพราะจะช่วยลดภาระในการจ่ายดอกเบี้ยไปได้อีกทางหนึ่ง แต่จะต้องรู้จักวิธีรีไฟแนนซ์อย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นจาดจะลดหนี้จะกลายเป็นสร้างหนี้ซ้ำซ้อนไปได้

สร้างพอร์ตการเงิน ฉบับ First Jobber พร้อมรับปี 64

สร้างพอร์ตการเงิน ฉบับ First Jobber พร้อมรับปี 64

จบใหม่ การเงินสบาย ถ้ารู้จักสร้างพอร์ตวงล้อการเงิน เริ่มวางแผนการเงินที่ดี พร้อมรับปี 64

สำหรับเด็กจบใหม่ หรือบุคคลที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงานไม่นาน อาจคิดว่ารายได้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการเก็บออม ซึ่งความเป็นจริงแล้วท่านสร้างเลือกรูปแบบวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับตัวท่านเองได้ ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ค่ะ

พอร์ตวงล้อการเงิน
40% – ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าเดินทาง เป็นต้น
40% – ค่าที่พักอาศัย และค่าน้ำ ค่าไฟ
10% – ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง เช่น ดูหนัง เที่ยว บุฟเฟต์ เป็นต้น
5% – เงินออมเพื่อลงทุน
5% – เงินออมเพื่อยามฉุกเฉิน

แหล่งอ้างอิง
https://www.set.or.th/set/education/html.do?name=preretire_isp_preretire-12&innerMenuId=48

สร้างพอร์ตการเงิน ฉบับ First Jobber พร้อมรับปี 64

เรื่องน่าอ่าน