Blog Page 150

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) จันทร์ ที่ 10 ธ.ค. 2561 วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แจ้งหยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) ในวันจันทร์ ที่ 10 ธันวาคม 2561 เนื่องในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และจะเปิดให้บริการปกติในวันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม 2561 ที่ศูนย์ตรวจดังนี้

  • ธอส. (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ลแบงก์ค็อก ชั้น 3
  • BTS ศาลาแดง

ศูนย์ตรวจที่ให้บริการปกติในวันที่ 10 ธันวาคม 2561

  • BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม

ขออภัยในความไม่สะดวก

ชวนตรวจเครดิตสกอริ่ง (NCB Score)…ฟรี

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

ชวนตรวจเครดิตสกอริ่ง (NCB Score)…ฟรี

นสพ.โพสต์ทูเดย์ : วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) สอดรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศ ไทย (แบงก์ชาติ) ร่วมสนับสนุนบริการ ทางการเงินสำหรับ SMEs มอบสิทธิพิเศษ เมื่อลูกค้ามาตรวจรายงานข้อมูลเครดิต (ค่าบริการ 100 บาท) และต้องการจะได้เครดิตสกอริ่ง (NCB Score) เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการขอสินเชื่อ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง ตั้งแต่วันนี้-28 ก.พ. 2562

สำหรับสิทธิพิเศษในครั้งนี้ เมื่อท่านมาตรวจรายงานข้อมูลเครดิต และต้องการจะได้เครดิตสกอริ่งเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการขอสินเชื่อ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง และบีทีเอส อนุสาวรีย์ชัยฯ

ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้คนที่ เป็นลูกค้าได้รับบริการสินเชื่อ ที่สอดคล้องกับข้อมูล ความสามารถในการชำระหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม มีความรู้ที่จะไม่สร้างความ เสี่ยงทางการเงินให้แก่ตนเองเกินสมควร ตลอดรวมไปถึงการเพิ่มพูนความรู้เรื่องทางการเงิน การบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลของตนเองให้เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในฐานะที่เครดิตบูโรเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินจะมีข้อมูลและเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานสากล

สำหรับข้อมูลเครดิตที่นำมาใช้ในการจัดทำและคำนวณเครดิตสกอริ่ง เป็นข้อมูลเครดิตที่เครดิตบูโรได้รับจากสถาบันการเงินสมาชิกและมีอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโร ณ ขณะเวลาที่เจ้าของข้อมูลร้องขอหรือเปิดเผย โดยอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละช่วงเวลา

ทั้งนี้ เครดิตสกอริ่ง เป็นเพียง ปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัย ซึ่งสถาบัน การเงินใช้ประกอบการพิจารณา วิเคราะห์สินเชื่อ หรือออกบัตรเครดิตเท่านั้น ซึ่งเป็นดุลพินิจของสถาบันการเงิน แต่ละแห่งที่จะพิจารณานำมาใช้หรือไม่ก็ได้ เครดิตบูโรไม่มีอำนาจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดผลของการอนุมัติหรือปฏิเสธสินเชื่อหรือการออกบัตรเครดิต ให้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงิน แต่ประการใดทั้งสิ้น และจะไม่รับผิดชอบในความ เสียหายใดๆ อันเกิดจากผลเครดิตสกอริ่งในรายงานฉบับนี้ในการขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิตหรือการอื่นใดของเจ้าของข้อมูล

ศึกษาข้อมูลเรื่อง “เครดิตสกอริ่ง” ได้ที่ www.ncb.co.th เมนู ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือ www.facebook.com/ilovebureau

ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code

ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code

เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ได้แก่
1) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ 9.00-16.30 น.
2) อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน) ปากซอยสุขุมวิท 25 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.30 น.
3) อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.
4) สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.

5) สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.
6) ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.

โดยยื่นตรวจเครดิตบูโรพร้อมบัตรประชาชนของตนเอง และสามารถรอรับผลได้ทันที

พิเศษสุด ตลอดปี 2561
เมื่อชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code
รับส่วนลดทันที 10 บาท เหลือเพียง 90 บาท (จากปกติ 100 บาท)
เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มายื่นตรวจด้วยตนเองเท่านั้น

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) วันพุธที่ 5 ธันวาคม 2561 เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ : ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) 

วันพุธที่ 5 ธันวาคม 2561 เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

โปรโมชั่นเดือนธันวาคม 61 “พ่อลูก…รักการออม”  คุณพ่อคุณลูก…จูงมือกันมา…ตรวจเครดิตบูโร   รับฟรี..กระปุกออมเงิน “ออมก่อน รวยกว่า” วันที่ 4-5 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 6 แห่ง

โปรโมชั่นประจำเดือนธันวาคม 2561

“พ่อลูก…รักการออม”  คุณพ่อคุณลูก…จูงมือกันมา…ตรวจเครดิตบูโร  

รับฟรี..กระปุกออมเงิน “ออมก่อน รวยกว่า”

วันที่ 4-5 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 6 แห่ง*

 

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ที่ร่วมโปรโมชั่น ให้บริการตามวัน-เวลา ดังนี้

วันที่ 4 ธันวาคม 2561

  1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
  2. ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
  3. อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
  4. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
  5. สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00 – 18.00 น.
  6. ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00 – 18.00 น.

 

วันที่ 5 ธันวาคม 2561

  1. สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00 – 18.00 น.
  2. ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00 – 18.00 น.

 

หมายเหตุ : กระปุกออมเงินมีจำนวนจำกัด แจกให้สำหรับท่านที่ตรวจเครดิตบูโรเท่านั้น  (1 คู่ต่อกระปุกออมเงิน 1 ชิ้น)

สัมภาษณ์สดทางวิทยุ “คัดข่าวมาคุย” ช่วง “หัวใจเศรษฐี” วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.15 – 10.30 น. คลื่น FM 105 Smile Thailand หรือออนไลน์ www.105smilethailand.com

สัมภาษณ์สดทางวิทยุ “คัดข่าวมาคุย” ช่วง “หัวใจเศรษฐี”

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.15 – 10.30 น. (ทุกวันอังคารเว้นอังคารของเดือน)
– ทางคลื่น FM 105 Smile Thailand
– หรือออนไลน์ www.105smilethailand.com

ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ผู้ดำเนินรายการ : คุณศลิลนา ภู่เอี่ยม

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : “การจัดการสินเชื่อ SMEs น่าจะเป็นเรื่องต่อไป” : วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

“การจัดการสินเชื่อ SMEs น่าจะเป็นเรื่องต่อไป”

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2561

บทความข้อเขียนของผมวันนี้คิดขึ้นมาจากการมองเห็นพัฒนาการของเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมา นับแต่เริ่มจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี  2554 จนมาถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะนำไปสู่สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดกับสินเชื่อ SMEs ในระยะต่อไปผิดถูกก็ลองคิดกันนะครับ

1.หลังน้ำท่วมใหญ่เราก็มีการเร่งกู้เพื่อนำเงินมาซ่อมสร้างสิ่งที่เสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในประเทศเรา จากที่บอกว่าเอาอยู่ ท่วม กทม.30 เซนติเมตร คงท่วมไม่เกิน 3 วัน ก็กลายเป็นเดือนและท่วมถึงคอหอย

2.เรามีโครงการรถคันแรก  บ้านหลังแรก มีการยื่นขอกู้เพื่อซื้อรถยนต์กันแบบว่าในช่วงเวลาของโครงการจำนวนบัญชีที่เปิดใหม่เกิน 3 ล้านบัญชี เรียกว่าคนขับรถไม่เป็นก็ยังมีหนี้รถคันแรก

3.จากนั้นเราก็มาพบว่า อ้าว … หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงขึ้น สูงขึ้น จนจะใกล้ 85% ของ GDP ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปจะย่ำแย่ในระยะยาว หันกลับมาอีกทีอ้าวหนี้ที่คนไปกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ทะลุไปกว่า 1.7 ล้านล้านบาท ย้ำว่าล้านล้านบาทนะครับ อาชีพที่ไปกู้มากคือคุณครู แล้วคุณครูยังมีอีกก้อนที่ธนาคารของรัฐ จนถึงปี พ.ศ.นี้ เวลานี้ก็กำลังชำระสะสางกันไม่สะเด็ดน้ำ

4.สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของแบงก์ชาติเราทำการศึกษาหนี้ครัวเรือนไทยก็พบว่า  คนหนุ่มสาวเราเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ อาการต่อมาคือเป็นหนี้นาน ยอดหนี้ไม่ลดลงตามระยะเวลา แบบว่าอายุ 55 ปีแล้วยังมีหนี้ก้อนใหญ่ คำว่าแก่ก่อนรวย เกษียณแล้วมีหนี้ติดปลายนวมแล้วจะอยู่กันอย่างไรขณะที่คนให้กู้ก็มีโปรโมชั่น0% กู้ง่ายได้ไว เที่ยวก่อนผ่อนทีหลัง รูดปรื๊ดๆ  จะซื้อสุนัขฝรั่งมาเลี้ยงก็ยังมีผ่อน0%หกงวดแถมอาหารเม็ดอีก6 กระสอบ เป็นต้น ตัวเลขเวลานั้นคือคนเป็นหนี้ 100 คน มีอยู่ 16 คน ที่มีอย่างน้อยหนึ่งบัญชีที่ค้างเกิน 90 วัน และได้รับเกียรติเป็นNPL

5.ไตรมาสสามปี 2560 มีการออกมาตรการจัดการกับการก่อหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล โดยอิงกับรายได้ ใครมีรายได้ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดจะได้บัตรได้ไม่เกินกี่ใบ มีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลได้เพียง 1.5 เท่าของรายได้ และจำกัดจำนวนบัญชีสินเชื่อ พร้อมกับขอร้องแบบเสียงคำรามการโฆษณากระตุ้นการก่อหนี้ให้เพลาๆ ลงมา

6.พ้นจาก 5 ปี หลังการก่อหนี้รถยนต์คันแรก หนี้ครัวเรือนก็เติบโตชะลอลงมาวิ่งช้าลงตัวเลขGDPเพิ่มมากขึ้นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ก็ลดระดับลงมาต่ำกว่า 80% แต่ผู้คนก็บ่นกันว่าสภาพคล่องไม่ดีเพราะรายได้พอได้รับมาแล้วก็ต้องจ่ายหนี้ที่มารอหน้าบ้านทุกเดือน อาการเศรษฐีเงินแว็บตอนต้นเดือนเป็นกันทุกที่ไม่เชื่อก็ถามคนแถวสีลม สาทร อโศก พระรามสาม พระรามสี่ พระรามเก้า

7.และแล้วที่กลัวกันก็มาถึงคือสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวพื้นราบ  คอนโดแนวสูง แนวรถไฟฟ้า สร้างกันเยอะ สร้างกันแม้ในต่างจังหวัด กำไรของธุรกิจอสังหาฯ ในตลาดหลักทรัพย์ออกมาสวยสดงดงาม นานๆ ไปคนก็เริ่มสงสัยว่าจะหาใครมาอยู่กัน ดอกเบี้ยเงินฝากก็ต่ำ  มีคนย้ายเงินฝากมาซื้อคอนโดปล่อยเช่า กะเอาค่าเช่าจ่ายค่าผ่อน แรกๆ ก็ดีตอนหลังหาคนมาเช่าได้หรือไม่ก็ไม่รู้ การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ไม่รู้อ่านกันซึมเข้าไปในรอยหยักของสมองไหม แต่กัดฟันทำไปเพราะดอกเบี้ยเงินฝากมันต่ำจริงๆ จนทนไม่ได้  ทีนี้เรื่องเงินทอนจากการให้กู้ กู้เกิน 100% LTV สารพัดกลเกมส์ที่งัดมาก็ปะทุ โฆษณาลง FB โชว์เช็ค โชว์เงินว่าทอนจริง คนของแบงก์ชาติคงจะมาเห็นด้วยแหละครับ งานก็เข้าสิ ทั้งวิจัย ทั้งหาข้อมูล big data and big story ก็มากันจนต้องออกมาเป็นมาตรการคุมการให้กู้บ้านหลังที่สอง หลังที่สาม หุ้นกลุ่มอสังหาฯ ก็ตกลงมา จะยังไงต่อก็รอชมกันต่อไป

8.จากนิยามใหม่ของ  SMEs เราพบว่ามีอยู่ประมาณ 2.5 ล้านราย เป็น Micro SMEs คนตัวจิ๋วที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี เขาเหล่านั้นกู้เงินยาก หลักประกันไม่มี ขายของดีไหม ที่ขายดีก็หนีการจัดเก็บภาษีหรือไม่ พ่อค้าแม่ค้าใน FB.ในอินสตาแกรม จะทำอย่างไร ทางแบงก์ชาติก็มีแนวทางผลักดัน การให้กู้โดยอิงข้อมูลหรือ Information based lending แต่บรรดากฎหมายไทยก็ไม่เคยรู้จักคำว่าดิจิทัล เออะเอาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน Statement หรือบุ๊กแบงก์ถ่ายสำเนารับรองสำเนา eKYC ไม่รู้จัก ไม่มีในระเบียบ คืออาการแบบว่า ทำเอกสารท่องเที่ยวจะไปดวงจันทร์  แต่ในมือคือตั๋วรถ บขส.ไปบางแสน นักรบ Powerpoint เพียบไปหมด คนไม่เคยรบออกมาพูด ไอ้คนที่รู้จริงก็เงียบเพราะเบื่อ

กลับมาที่ SMEs ผมเองเชื่อว่าอีกไม่นานเราๆ ท่านๆ น่าจะได้เห็นของขวัญในด้านการส่งเสริม สนับสนุน ลด ละ เลิก กฎกติกาที่คิดกันมาตั้งแต่ปี 2540 ที่กลัวความเสี่ยงสุดขอบฟ้า เพราะถ้าไม่ทำ แล้ว Platform หรือ Tech.Fin จากปักกิ่ง หางโจว เซี่ยงไฮ้ หรือจากสิงคโปร์ คงพาเหรดเข้ามากวาดเรียบ  วันนี้หน้าตา SMEs เรามีตั้งแต่บ้านๆ ในเมือง ใน กทม. ในโลกดิจิทัล Start Up ข้างถนน ร้านเล็กร้านน้อย พวกเขาคือไทยทั้งสิ้น จะปรับตัวทันไม่ทันกับโครงสร้างการค้าขายที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ต้องลงมา ช่วยเขา เพราะเขาแบกหนี้ แบกคนงาน ไว้มากมาย ประเทศชาติจะอยู่กันไม่เกิน สิบยี่สิบตระกูลที่ทำหมดตั้งแต่รถไฟความ เร็วสูงจนถึงอาหารตามสั่งหรืออย่างไร

ทั้งหมดคือที่เห็นจากเลนส์แว่นตาผู้เขียนครับ

ข่าวเครดิตบูโร 007/2561 : “ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร” BTS ศาลาแดง โฉมใหม่ บริการรวดเร็ว สะดวกกว่าเดิม ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ รับฟรี…สมุดโชดดีมีชัย วันนี้ – 23 พ.ย. 61

ข่าวเครดิตบูโร 007/2561

“ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร” BTS ศาลาแดง โฉมใหม่ บริการรวดเร็ว สะดวกกว่าเดิม ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ รับฟรี…สมุดโชดดีมีชัย  วันนี้ – 23 พ.ย. 61

19 พฤศจิกายน 2561 : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ปรับโฉมศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ภายในสถานี BTS ศาลาแดง มุ่งให้ภาพลักษณ์การบริการที่ทันสมัย โปร่งใส พร้อมอำนวยความสะดวกให้บริการที่รวดเร็วกว่าเดิม  ในเขตศูนย์กลางย่านธุรกิจและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของสังคมเมืองในปัจจุบัน ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า ” เครดิตบูโรได้ปรับโฉม “ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร” ภายในสถานี BTS ศาลาแดง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกการให้บริการตรวจเครดิตบูโร ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงรายงานข้อมูลเครดิตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  โดยคำนึงการออกแบบให้เอื้อต่อการเข้ารับบริการ โดยแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน เพิ่มความสะดวกสบาย และให้บริการที่รวดเร็วกว่าเดิม และสามารถรอรับรายงานได้ทันที   ซึ่งในบริเวณสีลมนี้นับว่าเป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจ การเดินทางและรวมไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของสังคมเมืองในปัจจุบัน เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. เพียงแค่ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ค่าบริการ 100 บาท เฉพาะรายการบุคคลธรรมดายื่นตรวจของตนเองหรือมอบอำนาจ และชาวต่างชาติ        (ใช้หนังสือเดินทางของตนเอง)”

ทั้งนี้ เครดิตบูโรได้ดำเนินการพัฒนาด้านระบบการบริหารจัดการข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของประชาชน โดยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตด้วยตนเอง ให้มีความง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทราบประวัติทางการเงินของตนเองในฐานะที่เป็นเจ้าของข้อมูล อันจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อต่างๆ และช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองว่าถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ โดยที่ผ่านมาได้เลือกเปิด “ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร” บนสถานี BTS ศาลาแดงซึ่งถือเป็นแห่งแรก สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่จับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตอยู่เป็นประจำ แต่ยังไม่ค่อยได้เห็นข้อมูลประวัติสินเชื่อของตนเองผ่านรายงานข้อมูลเครดิต

พิเศษสุด! ฉลองการปรับโฉมใหม่…เมื่อตรวจเครดิตบูโร ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ภายในสถานี BTS ศาลาแดง ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 พฤศจิกายน 2561 รับฟรี…สมุดโชคดีมีชัย (100 ท่านแรกของแต่ละวัน) เพื่อบันทึการออม ค่าใช้จ่าย หนี้สิน ตามการรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออม ก่อน กู้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยการเงินในการออมและการใช้จ่าย เพียงแค่ใช้บัตรประชาชนของตนเอง  (เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มายื่นตรวจด้วยตนเองเท่านั้น)  

นอกจากนี้ เครดิตบูโรยังมีช่องทางที่หลากหลายในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล แบบรอรับได้เลย ได้แก่ 1) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ 9.00-16.30น. 2) อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน)  ปากซอยสุขุมวิท 25 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.30น. 3) อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-     18.00น. 4) สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00น. 5) ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00น. 6) CITI สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน, ศูนย์การค้าเมกา บางนา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00น. 7) UOB สาขาเซ็นทรัล เวสต์เกต บางใหญ่, เดอะมอลล์ ท่าพระ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00น. หรือในเขตต่างจังหวัด สามารถยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรและรอรับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ 1) เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรี, กรุงไทย, ธนชาต, ธอส., แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ทุกสาขาทั่วประเทศ   2) ผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์  3) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ลูกค้าของธนาคารกรุงศรี และกรุงไทย 4) ผ่านโมบาย แบงก์กิ้ง ในแอปพลิเคชันของธนาคารกรุงไทยและธนชาต  5) ที่ทำการไปรษณีย์ เฉพาะสาขาที่ให้บริการ  291 แห่งทั่วประเทศ

 

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : ‘ฟังจนได้ยิน’ ยุคใหม่การทำนโยบาย : วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

‘ฟังจนได้ยิน’ ยุคใหม่การทำนโยบาย

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561

 

สิ่งที่ผมใคร่สื่อสารเพื่อเชื้อเชิญให้ท่านผู้อ่านช่วยกันคิดช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ ช่วยกันออกความเห็นในเรื่องที่ทางการได้ตัดสินใจออกมาตรการมาบังคับใช้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องและอยู่ในระบบของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินผู้ให้กู้เงินแก่ลูกค้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย (หรือเพื่อการลงทุน)แล้วแต่กรณีนั้น

เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วที่ทางการโดยธนาคารกลางได้ออกมาให้ข้อมูลผ่านงานวิจัย ผ่านการสื่อสารทางนโยบาย  การให้ข้อมูลด้วยความเป็นห่วงเรื่องของหนี้เสีย หนี้ที่มีปัญหา และการก่อหนี้ที่อาจจะมองได้ว่าเกินตัว เกินกำลัง ผิดวัตถุประสงค์  และสถาบันการเงินให้เงินกู้แบบบิดเบี้ยวไปจากความมุ่งหมาย จากนั้นก็เข้าสู่การปรึกษาหารือ ฟังเหตุและผล แยกแยะข้ออ้างกับความเป็นจริงมีการถามไถ่คนในแวดวงธุรกิจสุดท้ายก็ตัดสินใจออกมาตรการบังคับใช้แน่นอนว่าไม่มีใครได้หมดหรือเสียไปทั้งหมดหากแต่มันจะเดินไปได้ผลของการฟังกันจึงออกมาเป็นดังนี้

มีการปรับเกณฑ์คุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สรุปดังนี้
          1. เลื่อนบังคับใช้เป็นวันที่ 1 เม.ย. 2562 และยกเว้นกรณีที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือผ่อนดาวน์ก่อนวันที่ 15 ต.ค. 2561
          2.ปรับเกณฑ์การวางดาวน์ขั้นต่ำ2.1 กำหนดเป็น 10% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาน้อยกว่า 10 ล้านบาท และเป็นสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนสัญญาแรกเกิน 3 ปีขึ้นไป
          2.2 กำหนดเป็น  20% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาน้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาที่ 2 และผ่อนสัญญาแรกไม่ถึง 3 ปี หรือที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 10 ล้านบาท ที่เป็นสัญญาที่ 1 และ 2
          2.3 ปรับการวางเงินดาวน์ เป็น 30% สำหรับที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 3 ขึ้นไปทุกระดับราคา
          เมื่อเทียบกับร่างเกณฑ์ที่จะประกาศก่อนหน้านี้ ซึ่งมีการปรึกษาหารือกันพบว่ามีประเด็นที่เป็นบวกมากขึ้นคือ
          (+) ยกเว้นกรณีที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือผ่อนดาวน์ก่อนวันที่ 15 ต.ค. 2561 เพราะว่าจะไม่กระทบกับส่วนที่ขายไปแล้ว (หรือ Backlog ของ Developer) ตามที่อ้างและขอกันมาโดยตลอด
          (+) ประเด็นการเรียกเก็บเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% สำหรับราคาที่อยู่อาศัยน้อยกว่า 10 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ที่ผ่อนสัญญาแรก 3 ปีขึ้นไป (จากก่อนหน้านี้ที่ 20%) ถือว่าเป็นทางออกที่สวย

ส่วนประเด็นลบที่ผิดไปจากเดิมและผิดคาดกับที่ใครๆ คาดไว้ก็คือ
          (-) การเลื่อนบังคับใช้จากเดิมไปเพียง 3 เดือน จากที่ต้องการว่าจะเป็นไตรมาส 2 ของปีหน้ามาเป็นเดือน เม.ย.ของปีหน้าแทนตลาด คือ เร็วกว่าที่คิดกัน ต่อรองกัน อีกเรื่องที่เป็นมุมทางด้านลบ คือ
          (-) สัญญาที่ 3 ให้เรียกเก็บดาวน์ขั้นต่ำถึง 30% อันนี้ชัดเจนว่าป้องกันการเก็งกำไรแน่นอน

สรุปได้ว่า การออกมาตรการที่จะส่งผลลบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ในวงกว้างก็จริงอยู่ แต่ก็ได้ผ่อนคลายลงจากที่ร่างประกาศและปรึกษากันไว้ก่อนหน้านี้

สิ่งที่น่าจะเกิด คือ ในช่วงที่เหลือของปี 2561 นี้ คาดว่าจะเห็นการเร่งขายและเร่งโอนของผู้ประกอบการก่อนการบังคับใช้อย่างแน่นอน

ขณะที่ปี 2562 คาดได้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบในทางลบในเรื่องของการระบายสต๊อกบ้านและคอนโดที่ช้าลง และยอด Presales ที่อาจจะลดลง

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Developer ที่มีสต๊อกเยอะ และเน้นธุรกิจในด้านคอนโดมิเนียมส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบจำกัดจะเป็น Developer ที่เน้นธุรกิจที่อยู่อาศัยแนวราบ และเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงที่เรียกว่า Real Demand

ยุคใหม่ของการทำนโยบาย ฟังจนได้ยินแล้วจึงตัดสินใจ ไม่มีใครได้หมด  หรือเสียไปหมด คงพอรับกันได้แล้วนะครับ  เรื่องที่จะแซะกันก็เก็บไว้ใช้กับมาตรการครั้งต่อไปดีกว่านะครับผม… ขอบคุณครับ

เรื่องน่าอ่าน