Blog Page 145

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : ใครจะรอดในคลื่นลมทะเลดิจิทัล : วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

ใครจะรอดในคลื่นลมทะเลดิจิทัล

นสพ.โพสต์ทูเดย์ : วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

อนุสติจากการ เกิดมา ตั้งอยู่ เสื่อมลง ดับไป เกิดใหม่ ต่อสู้ ดิ้นรน ติดกับดักความสำเร็จ เมินเฉยต่อการเปลี่ยนแปลง ที่สุดก็ต้องมากดเข็มไมล์กันใหม่ในท่ามกลางคลื่นลมของกระแสดิจิทัล ผู้เขียนขอนำเสนอบทสนทนากับผู้คนสองคนที่ผมได้รู้จักและเรียนรู้ ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็นำไปคิด แต่งแต้ม เติมต่อให้ครบสมบูรณ์นะครับ
          

คนแรกคือลูกสาวผม เมื่อผมตั้งคำถามถึงคนรุ่นใหม่ สิ่งที่ผมได้จากการสนทนาในสภาพที่เราเท่ากันไม่ใช่พ่อถูกลูกไม่รู้เรื่อง หรือเด็กเกินไปที่จะรู้เรื่อง ลูกที่อายุ 24 ย่างเข้า 25 บอกผมว่า
          (1) คนรุ่นเขาไม่ควรมาทำอะไรเพื่อเติมเต็มความคาดหวังหรือฝันของคนรุ่นก่อนที่ไม่มีโอกาสได้ทำ เขาควรมีสิทธิที่จะทำตามสิ่งที่เขาฝัน เขาเชื่อ
          (2) โอกาสในงานในความสำเร็จของพวกเขามีน้อย แข่งขันสูง และจะพลาดบ่อย ดังนั้น เจ๊งก่อน เจ็บก่อน เป็นเรื่องธรรมดา มันไม่ใช่ตราบาปที่จะทำให้กลัวที่จะเดินต่อไป ถึงอย่างไรเขาก็จะทำต่อ
          (3) สิทธิในความเป็นพลเมืองของเขาในประเทศนี้คือการตั้งคำถามว่า เรื่องนี้ทำไมต้องทำแบบนี้ มีแบบอื่นได้ไหม เขาจะเป็นคนไม่มีศาสนาได้ไหม เพศไม่ได้มีแต่งหญิงหรือชาย ดังนั้นเขาจะต่อต้านความคิดโบราณที่ว่า หญิงเป็นควาย ชายเป็นคน หรือใครเป็นช้างเท้าหน้ากันแน่
          

คนที่สองคือท่านอาจารย์ ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้อบรมโครงการ Digital CEO รุ่นที่ 2 ของ DEPA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้สรุปบทเรียนวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า บรรดาผู้คนที่เป็นผู้บริหาร CEO ที่กำลังหาทางออกและทางรอดจากการถูก Disrupt ของคู่แข่งที่ไม่เคยพบเจอนั้นควรตั้งคำถามกับตนเองว่า
          (1) “ขณะนี้องค์กรที่เราดูแลกำลังอยู่ในภาวะผ่อนคลายหรือกำลังจะฉิบหาย” ต้องขออภัยที่อาจใช้คำไม่สุภาพ แต่เพื่อให้เห็นภาพ
          (2) เงินที่เราอนุมัติใช้จ่ายออกไปที่บอกว่าเพื่อองค์กรนั้น เช่น งบการสื่อสาร PR ถ้าเกิดมันเป็นเงินส่วนตัวของเราแล้ว เราจะใช้แบบนี้ ด้วยเหตุผลนี้อีกหรือไม่
          (3) ความสำเร็จของ Digital Marketing ไม่ใช่ยอดวิว/Engage/Like/Share อย่างที่เราเข้าใจใช่ไหม แต่มันคือการจะเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นมาเป็นบริการหรือสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าของเราได้อย่างไรต่างหาก
          (4) มันเป็นจริงหรือไม่ที่ตัวเรามักจะเอา My Insight มาบอกลูกน้องว่ามันคือ Customer Insight ทั้งๆ ที่ตัวเราเข้าใจลูกค้าผิดๆ เรามองลูกค้าว่าผิดปกติ สิ่งที่เราคิดคือปกติ แต่จริงแท้แล้วเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเรานั่นแหละผิดปกติเพราะหลงยุคไปแล้ว ติดกับดักความสำเร็จในอดีตแล้วพยายามเอาสิ่งที่เคยทำสำเร็จในอดีตมายัดใส่กิจกรรมการแข่งขันในวันนี้ โดยคิดเองว่ามันจะยังคงชนะได้เช่นเดิม
          (5) การเปลี่ยนแปลงของ Customer ยุคนี้คือการที่พวกเขาเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น บางทีมากกว่าเรา เช่น จะซื้อของก็ทำรีวิวมาแล้ว โครงสร้างสังคมแบบใหม่ ที่มีระบบการจัดการความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการคบคนที่ไม่รู้จักก็ได้ แถมเชื่อคนที่ไม่รู้จักได้ด้วย ประการต่อมาคือ ทุกคนสามารถเป็นสื่อ มีเนื้อหาสาระ และสื่อสารได้เอง แทบไม่ต้องการคนตัวกลางที่เรียกว่าสื่อมวลชน เช่น ในอดีตองค์กรจะสื่อสารถึงใครต้องทำผ่านสื่อ และใช้เงินซื้อเวลา ซึ่งองค์กรต้องมีเงิน แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว เนื้อหาสาระหรือ Content ที่องค์กรทำเพื่อการตลาด อาจถูกผลักออกไปนอกความสนใจ เพราะ Content มันเยอะมาก ล้นหลาม แต่ลูกค้ามีเวลาและขีดความสามารถที่จะเสพจะดูได้จำกัดแค่ 24 ชม. ผลคือลูกค้าจะคัดเลือก จะดูเฉพาะสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้อง สนใจ ใคร่จะเผือกเท่านั้น (ภาษาวัยรุ่นนะครับ)
          Customer สามารถรีวิวสินค้าได้เอง และแชร์ประสบการณ์มุมมอง ความคิด ความเห็นของตนเองออกไปได้ บางครั้งลูกค้า รู้ทุกอย่างในสิ่งที่เป็นเป้าหมายก่อนมารับบริการ กล่าวโดยสรุปลูกค้ามีความคาดหวัง ความต้องการ สูงขึ้น จนเป็นสิ่งที่ปกติไปแล้ว
          (6) การเอา Technology มา Empower 4Ps ของกระบวนการทั้งหมดของการตลาดตั้งแต่ Products/Price/การสื่อสาร/ช่องทางการสร้างเพื่อ เป้าหมาย สุดท้ายคือสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดที่ลูกค้าต้องการ (ไม่ใช่อะไรที่เราคิดไปเองว่าลูกค้าน่าจะต้องการแบบนี้) แก่ลูกค้า เข้าถึงง่าย เร็ว ได้เมื่อต้องการเป็นที่เชื่อถือ มีข้อมูลที่ผู้บริโภคเลือกเมื่อต้องการค้นหาเชื่อมต่อ ลูกค้าตลอดเวลา ต่อเนื่องออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคลได้ สร้างประสบการณ์สำหรับคนที่ต้องการอะไรที่แตกต่างจากชาวบ้าน… ซึ่งมันยากมากๆ ในเวลานี้
          (7) หลายธุรกิจที่ยังอยู่ได้เวลานี้เพราะลูกค้าไม่มีทางเลือก ไม่รู้ว่ามีทางเลือก ไม่มีข้อมูลว่ามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า วันใดเขารู้ หายนะก็มาเยือน เช่นคนไม่ได้ต้องการโรงแรม คนต้องการที่พัก
          เช่น คนต้องการทำธุรกรรมการเงิน แต่คนไม่ต้องการธนาคาร
          เป็นเพราะเทคโนโลยีโตเร็วมาก และ Rebuild อะไรบางอย่าง และโตขึ้นอย่างไม่หยุด
          เช่น Netflix คือตัวอย่างของสิ่งที่เป็น Content แล้วคนยอมซื้อ ลบความเชื่อว่าคนไทยไม่จ่ายเงินซื้อหนังทีวีมาดู
          

สุดท้ายนะครับ หากเราทำงานเพื่อให้พวกเราในฐานะคนขายของ ขายบริการสบายแต่ลูกค้าลำบาก เราจบแน่ในไม่ช้า
          

เป็นการง่าย ยิ้มได้ ไม่ต้องฝืน เมื่อชีพชื่น เหมือนบรรเลง เพลงสวรรค์ แต่คนที่ ควรชม นิยมกันต้องใจมั่น ยิ้มได้ เมื่อภัยมา
          

เป็นกำลังใจให้โพสต์ทูเดย์ครับ…สู้ๆ

ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร ผ่าน QR Code…รับส่วนลด 10 บาท…วันนี้ ถึง 30 มิ.ย.62 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง : เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดายื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น

ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร ผ่าน QR Code

รับส่วนลด 10 บาท วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2562

ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง

1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.30 น.
2. อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.
3. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.
4. สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี)
ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.
5. ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.

เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดายื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : งาน “บสย. รักพี่วิน” วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9.00-12.00 น. สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ใต้สะพานลอยแยกเอกมัย)

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : งาน “บสย. รักพี่วิน”
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9.00-12.00 น.
สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ใต้สะพานลอยแยกเอกมัย)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : แสงสว่างปลายอุโมงค์ ของคนติดกับดักหนี้สิน : วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

แสงสว่างปลายอุโมงค์ ของคนติดกับดักหนี้สิน

นสพ.โพสต์ทูเดย์ : วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

การเป็นผู้คนในสังคมไทยในช่วงเวลาที่กำลังมีการหาเสียงเลือกตั้ง ต้องบอกตรงๆ ว่าทำตัวได้ยากมากๆ เช่น เวลาพบกับผู้คนทั้งไทยและต่างชาติแล้วมีกิริยาโต้ตอบจะถูกตีความว่า ถ้ายิ้มก็หาว่า… ไม่มีจุดยืน, ไม่รู้เรื่อง ถ้าเฉยๆ ก็หาว่า… ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าหัวเราะก็หาว่า… กลบเกลื่อนความไม่รู้ ถ้าพยักหน้าก็หาว่า… รู้แต่รับคำไม่รับทำ ถ้าส่งสติ๊กเกอร์… ต้องการจบการสนทนา ถ้าส่ง 555…คืออะไรก็ได้ เอาไว้ต่อท้าย

กลับมาที่คนติดกับดักหนี้ มันเริ่มจากหลังทำงานหลังจบการศึกษา ก็ต้องมีบัตรเครดิตเอาไว้ใช้จ่าย ผมจึงเห็นตัวเลขว่าบัตรที่เปิดใหม่ส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นคนเจนวาย วงเงินประมาณ 5 หมื่น-1 แสนบาท จากนั้นมาดูหนี้บ้านก็พบว่าคนเจนวายเป็นผู้ได้สินเชื่อบ้านที่หมายถึงคอนโดเป็นจำนวนมาก รถยนต์ก็เช่นกัน อาการเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้มาก หนี้ไม่ลดตามเวลา และเริ่มจ่ายไม่ได้เป็นหนี้เสีย เป็น NPL ตอนอายุไม่มากแบบว่า 30 ต้นๆ ก็ใช้หนี้คืนไม่ได้เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลที่ผมมีพบว่าคนที่มีอายุ 31 ปี จากคนที่เป็นหนี้ในระบบเครดิตบูโรจำนวน 100 คน มีอย่างน้อย 21 คน ที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้จนเป็น NPL อย่างน้อย 1 บัญชี เป็นต้น ภาพแบบนี้มันคือความเสี่ยงที่สะสมไปในอนาคตถ้าไม่มีการแก้ไข ป้องกัน เยียวยา ประคับประคองที่เหมาะสมนะครับ เพราะคนเป็นหนี้จนจ่ายไม่ได้จะไม่มีสมาธิในการทำงาน คือมันเลวร้ายไปทุกอย่าง ถ้ามีครอบครัวแล้วท้ายสุดมันจะไปลงที่เด็กที่ลูก… มันคือปัญหาสังคมที่เราไม่อยากเจอ

ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมี นโยบายช่วยเหลือประชาชนรายย่อยในการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างเบ็ดเสร็จและมีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า โครงการคลินิกแก้หนี้ โดยความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เครื่องมือของโครงการนี้คือ SAM หรือบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท เพื่อให้ประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายให้ได้ข้อยุติในคราวเดียว (One Time One Stop Service) และบริหารจัดการชำระหนี้ของตนเองได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถที่แท้จริง (Control Ability to Pay) ควบคู่กับการเสริมสร้างวินัยทางการเงินที่ดี (ใช้ครบ ใช้ตรง สัญญาต้องเป็นสัญญา)

คำถามคือทำไมต้องมีรูปแบบโครงการอย่างนี้ เหตุผลก็เพราะว่าการช่วยเหลือประชาชนรายย่อยที่มีเจ้าหนี้หลายราย จะมีโอกาสปลดภาระหนี้บนเงื่อนไข
          1.มีหน่วยงานกลางระหว่างลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้
          2.เจ้าหนี้ทุกรายได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน อันนี้ทำได้ยาก แต่ภายใต้กติกาที่รัฐเข้ามาช่วยจะมีการเกรงใจในการทำงานร่วมกัน
          3.ส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดี โดยการให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกหนี้ อันนี้ในความจริงจะมาทีหลัง เพราะตัวลูกหนี้ต้องเอาตัวรอดจากหนี้ที่กดทับอยู่ก่อน
          4.ลูกหนี้สมัครใจเข้าโครงการ เพราะในสถานการณ์นั้นเขาจะกลัวตกงาน กลัวถูกฟ้อง เจ้านายรู้ เป็นคนล้มเหลว
          5.ลูกหนี้ไม่ก่อหนี้ใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนดคือประมาณ 5 ปี
          6.อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระเอื้อต่อการแก้ไขหนี้จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนเป็นหนี้ผ่อนไหว

ในเวลานี้เมื่อเดินโครงการมาถึงระดับหนึ่ง พบว่ามีคนสนใจ 3-4 หมื่นคน แต่ผ่านการลงนามในสัญญาแค่หลักพันคน ประเด็นที่พบคือคนเป็นหนี้นั้นมีหนี้เสียในส่วนของนันแบงก์มากพอสมควรเป็นหลักหลายหมื่น ดังนั้นการดึงเจ้าหนี้กลุ่มนี้เข้ามาร่วม คือการปิดจุดท้าทายความสำเร็จของโครงการ เพราะความเป็นจริงของการจ่ายหนี้ทุกบัญชีมันก็มาจากรายได้ (Pay From One Income to Many Debts) ผมยกตัวอย่าง ถ้าเราจ่ายได้ที่ 1,000 บาท/เดือน/หนี้ 1 แสนบาท เจ้าหนี้ของหนี้ 1 แสนบาท ก็จะได้รับเงินเฉลี่ยคืนจากลูกหนี้ 1,000 บาท/เดือนแล้วไปแบ่งกันเอง โดย SAM เป็นตัวกลาง ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถแย่งกันบี้ลูกหนี้เอาเงินคืน

ตัวอย่างในพันทิปที่สะท้อนการแก้ไขหนี้คำถาม : เคยปรับโครงสร้างหนี้ทำบัตรกดเงินสดบัตรเครดิตได้ไหม บัตรเครดิต ธนาคาร การเงิน บัตรกดเงินสด รายงานเครดิตบูโร ระบุว่า เคยปรับโครงสร้างหนี้เมื่อหลายเดือนก่อน ตอนนี้ชำระได้ปกติแล้ว สถานะในเครดิตบูโรล่าสุดเป็น 10 จะยื่นทำบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิตผ่านไหมครับ

ส่วนที่ปรับโครงสร้างหนี้ คือเราได้ไปกู้เงินธนาคารมาให้แม่กับน้องชาย แล้วเขา 2 คน เป็นคนส่ง แต่ใช้ชื่อเราเป็นคนกู้ ส่วนของเรามีบัตรเครดิต 1 ใบ กับสินเชื่อรถยนต์ ส่งดีมาตลอดไม่เคยเกินกำหนดหรือขาดส่ง แค่ตอนนี้อยากทำบัตรเพิ่มเฉยๆ ครับ

คำตอบ : ไม่ผ่านครับ หนี้เก่ายังไม่หมดจะก่อหนี้ใหม่ทำไม ผมสะท้อนเรื่องของโครงการแก้หนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้แบบรวมหนี้หลายที่ตามแนวคิดทางการ หากแต่พฤติกรรมจริงคือคนเป็นหนี้ก็ยังต้องการก่อหนี้เพิ่มหลังก่อหนี้แทนจนเป็นปัญหา ผมอ่านกระทู้นี้แล้วแต่ไม่กล้ายิ้ม ประเดี๋ยวจะถูกหาว่ายิ้มเพราะไม่รู้เรื่อง ไม่มีจุดยืน

“คนเจนวายเป็นผู้ได้สินเชื่อบ้านที่หมายถึงคอนโดเป็นจำนวนมาก รถยนต์ก็เช่นกัน อาการเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้มาก หนี้ไม่ลดตามเวลา และเริ่มจ่ายไม่ได้เป็นหนี้เสีย เป็น NPL”

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) :: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 เนื่องในวันมาฆบูชา : ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว)

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 เนื่องในวันมาฆบูชา

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

ข่าวเครดิตบูโร 002/2562 : เครดิตบูโรมอบสิทธิพิเศษ  ฟรี…ค่าบริการตรวจรายงาน “เครดิตสกอริ่ง”  เหลือเวลาเพียง 2 สัปดาห์สุดท้าย ถึงสิ้นเดือน ก.พ. 62  ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง สอดรับนโยบายแบงก์ชาติ ร่วมสนับสนุนบริการทางการเงินสำหรับ SMEs และประชาชนทั่วไป

ข่าวเครดิตบูโร 002/2562

ข่าวประชาสัมพันธ์

เครดิตบูโรมอบสิทธิพิเศษ  ฟรี…ค่าบริการตรวจรายงาน “เครดิตสกอริ่ง”  เหลือเวลาเพียง 2 สัปดาห์สุดท้าย ถึงสิ้นเดือน ก.พ. 62  ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง สอดรับนโยบายแบงก์ชาติ ร่วมสนับสนุนบริการทางการเงินสำหรับ SMEs และประชาชนทั่วไป

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 : เครดิตบูโรสอดรับนโยบายแบงก์ชาติ ร่วมสนับสนุนบริการทางการเงินสำหรับ SMEs และประชาชนทั่วไป มอบสิทธิพิเศษสำหรับบุคคลธรรมดาที่มาตรวจรายงานข้อมูลเครดิตด้วยตนเอง และมีความประสงค์จะได้รายงานเครดิต    สกอริ่ง (คะแนนเครดิต) เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะไม่เสียค่าบริการในส่วนนี้ สิทธิพิเศษนี้เหลือเวลาเพียง  2 สัปดาห์สุดท้าย จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เท่านั้น

 นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า “เครดิตบูโรได้พัฒนาระบบการประมวลผลข้อมูลให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยจัดให้มีบริการรายงาน “เครดิตสกอริ่ง” หรือคะแนนเครดิตของลูกค้าสถาบันการเงินรายใดรายหนึ่งว่า ปัจจุบันมีเครดิตทางการเงินเป็นอย่างไรทำให้สามารถคาดการณ์การชำระคืนสินเชื่อในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยื่นขอสินเชื่อ เมื่อท่านมาตรวจรายงานข้อมูลเครดิต (ค่าบริการ 100 บาท) และมีความประสงค์จะได้รายงานเครดิตสกอริ่ง เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการยื่นขอสินเชื่อ ท่านไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2, สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดงและ BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) สำหรับสิทธิพิเศษในครั้งนี้เหลือเวลาเพียง 2 สัปดาห์สุดท้าย จนถึงวันที่  28 กุมภาพันธ์  2562 เท่านั้น เพียงยื่นบัตรประชาชนของตนเอง และรอรับผลได้ทันที เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดายื่นขอตรวจด้วยตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจจากบุคคลอื่น)”

ผู้จัดการใหญ่กล่าวเพิ่มเติมว่า “ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้เครดิตบูโรจัดทำและให้บริการเครดิตสกอริ่งครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา และได้ให้บริการเครดิตสกอริ่ง ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2559 การให้บริการดังกล่าวได้มีผลต่อการจัดอันดับความยากง่ายการประกอบทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก (World Bank) และเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 รวมทั้งจากการปฏิรูปกฎเกณฑ์กำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มุ่งจะช่วยให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินคล่องตัวในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการ โดยสนับสนุนให้ SMEsและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลความน่าเชื่อถือด้านเครดิตจากแหล่งอื่นๆ ประกอบการยื่นขอสินเชื่อได้ โดยเฉพาะเครดิตสกอริ่งจากเครดิตบูโร”

ทั้งนี้ ประโยชน์ของเครดิตสกอริ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เพิ่มโอกาสให้คนที่เป็นลูกค้าได้รับบริการสินเชื่อ ที่สอดคล้องกับข้อมูลความสามารถในการชำระหนี้และพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม มีความรู้ที่จะไม่สร้างความเสี่ยงทางการเงินให้แก่ตนเองเกินสมควร ตลอดรวมไปถึงการเพิ่มพูนความรู้เรื่องทางการเงิน การบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลของตนเองให้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินและเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในฐานะที่เครดิตบูโรเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินจะมีข้อมูลและเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สำหรับข้อมูลเครดิตที่นำมาใช้ในการจัดทำและคำนวณเครดิตสกอริ่งเป็นข้อมูลเครดิตที่เครดิตบูโรได้รับจากสถาบันการเงินสมาชิกและมีอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโร ณ ขณะเวลาที่เจ้าของข้อมูลร้องขอหรือเปิดเผย เครดิตสกอริ่ง โดยอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ เครดิตสกอริ่ง เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยซึ่งสถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณา วิเคราะห์สินเชื่อ หรือออกบัตรเครดิตเท่านั้น ซึ่งเป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่จะพิจารณานำมาใช้หรือไม่ก็ได้ เครดิตบูโรไม่มีอำนาจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดผลของการอนุมัติหรือปฏิเสธสินเชื่อหรือการออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงินแต่ประการใดทั้งสิ้น และจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากผลเครดิตสกอริ่งในรายงานฉบับนี้ในการขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิตหรือการอื่นใดของเจ้าของข้อมูล

สิทธิพิเศษนี้เหลือเวลาเพียง 2 สัปดาห์สุดท้าย จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562  ผู้มาตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและมีความประสงค์จะได้รายงานเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการขอสินเชื่อ ท่านไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 3 แห่ง  ได้แก่ 1) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ 9.00-16.30 น. 2) สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.และ 3) สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น. เพียงยื่นบัตรประชาชนของตนเอง และรอรับผลได้ทันที เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดายื่นขอตรวจด้วยตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจจากบุคคลอื่น)”

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง “เครดิตสกอริ่ง” ได้ที่ www.ncb.co.th เมนู ตรวจสอบเครดิตบูโรหรือ www.facebook.com/ilovebureau

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร 02 095 5867

E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

โปรโมชั่นเดือนกุมภาพันธ์ 2562..ตรวจเครดิตบูโรเป็นคู่ มา 2…จ่าย 1 : วันที 14-15 ก.พ. 62 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 6 แห่ง

โปรโมชั่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562

“เครดิตดี มาแพคคู่ มา2 จ่าย1”

จะคู่ไหน… คู่หู คู่ฮา คู่รัก คู่กัด ก็อยากให้มา

เมื่อมาตรวจเครดิตบูโรเป็นคู่ มา 2…จ่าย 1

วันที 14-15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 6 แห่ง

(เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นตรวจของตนเองเท่านั้น ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : สิ่งที่ต้องคิดต่อจากการสื่อสารของธนาคารกลาง : วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

สิ่งที่ต้องคิดต่อจากการสื่อสารของธนาคารกลาง

นสพ.โพสต์ทูเดย์  วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562

โดยส่วนตัวผมชอบอ่านบทความของ ผู้คนที่อยู่ในองค์กรกำหนดนโยบายและโดยเฉพาะการแถลงข่าวของ คณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพราะชอบแกะข้อคิดจากภาษาไทยที่แถลง ซึ่งภาษาไทยนี้มันดิ้นได้ จะซ้ายจะขวา จะหนักจะเบาบางทีมันต้องคิดต่อหรือคิดเองแบบต้องใช้จินตนาการพอสมควร

ถ้อยแถลงจากการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 ที่ผ่านมา ซึ่ง มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% นั้นข้อความที่ผมอ่านแล้วสะดุดใจคือ ตรงที่มีการระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงในเรื่องศักยภาพระบบการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะในส่วนของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากไตรมาส 2 ของปี 2561 อยู่ที่ 77.7% ไตรมาส 3 ของปี 2561 ที่อยู่ที่ 77.8% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 4 ปี 2561 อีกด้วย

“หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาจาก สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน และอื่นๆ ทำให้ตัวเลขสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หลายตัวเริ่มปรับตัวสูงขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการและนโยบายในการบริหารจัดการอยู่แล้ว แต่หากเพิ่มขึ้นมากเกินก็จะเข้าไปดูแลในส่วนนี้ โดยจะต้องไปดูไส้ในว่า หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาจากอะไร เพิ่มขึ้นเพราะเหตุใด เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ต่อไป”

ถ้าท่านผู้อ่านจำได้  มีการออก มาตรการมาอย่างต่อเนื่องคือปลายปี 2560 ออกมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล แบบเข้มข้นก็ว่าได้ ปลายปี 2561 ออกมาตรการ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย  ซึ่งจะมีผลจริง ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2562 ต้นปี 2562 ออกหมัดใส่สินเชื่อจำนำทะเบียนพวก  Car for cash อันนี้ได้เสียงเชียร์จากชาวบ้านชาวช่องคลินิกแก้หนี้ ตัวเลขช่วยคนเป็นหนี้ที่ชำระไม่ได้จะดีหรือไม่

ที่น่าสนใจคือการออกมาพูดถึงมาตรฐานการคำนวณรายได้ของผู้ยื่น ขอสินเชื่อ เพื่อให้ไปถึงมาตรฐานอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้หรือ Debt Service Ratio อย่างในหลายประเทศ

แต่ผมสะดุดใจมากตรงที่พูดถึง ไอ้เจ้าสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งเติบโตดี หลังหมดโครงการรถคันแรกซึ่งยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาสำหรับสินเชื่อนี้ในเวลานี้ อันนี้ต้องเอาไปคิดต่อว่า ท่านกำลังคิดจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรสำหรับสินเชื่อประเภทนี้

ฟากฝั่งธนาคารพาณิชย์ก็มีบางแห่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นแล้ว คนเป็นลูกหนี้ต้องแบกรับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือยอดผ่อนต่องวดเพิ่มอย่างแน่นอน

และจากบทความของ คุณสุพริศร์ สุวรรณิก เศรษฐกรอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคนหนุ่มหัวก้าวหน้าที่ “เก่งและดี” ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์หนุ่มคนนี้ คำตอบคือปัจจุบันระบบการเงินไทย โดยรวมมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง และมีเกราะป้องกันแรงกระทบจากภายนอกคือ เสถียรภาพด้านต่างประเทศที่เข้มแข็ง สะท้อนจากภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง ทำให้สามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลกได้ดี

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงบางจุด (Pocket of Risks) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมา อาทิ

(1) ฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนที่ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่เริ่มเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2561 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องจาก จุดสูงสุดในไตรมาส 4 ปี 2558

(2) ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเพื่อ ที่อยู่อาศัย โดยยอมรับความเสี่ยงที่ สูงขึ้น ส่งผลให้มาตรฐานการปล่อย สินเชื่อ (Credit Standard) ลดลง หากเกิดปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ (Economic Shock) อาจทำให้ผู้ที่กู้เงินจนเกินตัวหรือ อยู่ปริ่มน้ำไม่สามารถชำระหนี้ได้ และลุกลามไปสู่ฐานะทางการเงินของครัวเรือนข้างต้น นอกจากนี้ ยังเอื้อต่อการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ และสร้างอุปสงค์เทียม ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง และทำให้ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจริงต้องรับภาระในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาสูงเกินจริง

(3) พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for Yield)อาจนำมาสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริง (Underpricing of Risks) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครัวเรือนที่บางส่วนกู้ยืมเกินตัว สหกรณ์ออมทรัพย์ที่กู้เพื่อไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้และจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ นอกจากธุรกิจหลักดั้งเดิม

มาตรการต่างๆ ที่ออกมาของ ธนาคารกลางคงมุ่งหมายที่จะจัดการประเด็นต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพราะการสะสมปัญหา หรือสิ่งที่คิดว่าจะเป็นปัญหานั้นมันมีความเชื่อมโยงกันไปหมด  ไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้อีกต่อไปแล้ว

ส่วนที่ผมอ่านแล้วชอบที่สุดของบทความนี้คือ เสถียรภาพระบบการเงิน ไทยในระยะต่อไป ระบบการเงินไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบสูง จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังในการจับสัญญาณความเสี่ยงต่างๆ ให้เร็วและทันการณ์ และเตรียมพร้อมรับมือ โดยใช้มาตรการดูแลในเชิงป้องกันควบคู่กับการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีประสิทธิผลในวงกว้างในเวลาที่เหมาะสม เพราะหากไม่ได้มองภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินเป็นองค์รวม เปรียบเสมือนมองไม่เห็นทั้งป่า และไม่รู้ว่าเริ่มมีควันไฟอยู่ในบางจุดที่อาจลามไปทั่วป่าได้แล้ว ความเสียหายอาจเกิดตามมาได้เกินประมาณ

คำถามสุดท้ายของผมต่อผู้เขียนบทความคือ  ต้นทุนนโยบาย จากสภาพคล่องที่สถาบันการเงินเหลือแล้วมัน วิ่งเข้ามาให้ธนาคารกลางรับตอนปิดposition จาก 1.50 เป็น 1.75 ไอ้ ส่วนต่าง 0.25 ที่ต้องจ่ายเพิ่มทุกวัน จะทำอย่างไร ใครคือผู้รับภาระครับ ขอชื่นชมอีกครั้งนะครับ

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ระยอง วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2562 ชั้น 1 ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จ.ระยอง

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ระยอง

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11.00 – 19.00 น.

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.00 – 18.00 น.

ชั้น 1 ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จ.ระยอง 

ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา

เรื่องน่าอ่าน