เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “การรุกคืบเข้ามาของการให้บริการแบบออนไลน์ในเรื่องการให้กู้” : วันที่ 6 พฤษภาคม 2562
เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันที่ 6 พฤษภาคม 2562
“การรุกคืบเข้ามาของการให้บริการแบบออนไลน์ในเรื่องการให้กู้”
โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร
คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/588267
ผู้เขียนไม่ได้รู้สึกแปลกใจเลยเมื่อผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ไทยได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า กลยุทธ์ของธนาคารปีนี้ จะมุ่งสร้างการเติบโตและขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์และดิจิทัลมากขึ้น โดยธนาคารได้ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) รวม 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ลูกค้าบุคคลรายย่อย 10,000 ล้านบาท และลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจ SME 20,000 ล้านบาท เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเทียบปี 2561 โดยเหตุที่ว่าธนาคารมีระบบการบริหารจัดการแบบ End to End ดีขึ้นโดยเฉพาะ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนหรือ KYC/CDD การจัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การคัดกรองลูกค้า การประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตและด้านต่างๆ จนมีผลทำให้ธนาคารมีข้อมูลมากเพียงพอในการเข้าใจ เข้าถึง และประเมินความเสี่ยง (ประเมินโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้จากการให้กู้ในปัจจุบันและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าได้แม่นยำ มั่นใจมากขึ้น
นายธนาคารที่เป็นผู้นำในตลาดสินเชื่อ SME และนวัตกรรมในบริการทางการเงินได้ระบุต่อไปอีกว่า
ไตรมาสแรกปี 2562 ทำสินเชื่อประเภทนี้ค่อนข้างน้อย โดยอยู่ในระดับ 5,000 ล้านบาท ลูกค้าสินเชื่อส่วนใหญ่ที่ได้รับอนุมัติยังอยู่ที่รายย่อย และผู้ประกอบการร้านค้าอิสระ ร้านค้าออนไลน์ที่เป็นลูกค้าธนาคารเป็นหลักอยู่ เนื่องจากฐานลูกค้ากลุ่มนี้มีบัญชีเงินหมุนเวียนกับธนาคาร (Having Transaction Data) มีข้อมูลจาก Platform E-Commerce ที่ลูกค้าคนขอสินเชื่อได้ไปค้าขายในระบบนั้น มันทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อผ่านระบบดิจิทัลได้ง่ายมากขึ้น เราต้องไม่ลืมคือธนาคารคือกิจการที่มีข้อมูล มีการค้นหาโอกาสในการนำเงินฝากมาหาประโยชน์โดยการปล่อยสินเชื่อกับการลงทุน และด้วยการไปร่วมมือกับ Platform E-Commerce จะยิ่งเติมพลังและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อีกมากมาย ลองคิดตามผมนะครับจากข่าวที่บอกว่า ดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) หากเป็นผู้กู้รายย่อยคิดอยู่ที่ราว 10-20% เทียบกับดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลทั่วไปที่คิดไม่เกิน 28% ท่านผู้อ่านลองเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวที่ยากจะเกิน 2-3%ในเวลานี้ นี่คือโอกาสในการหาผลตอบแทนที่ดีมากๆ
ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวย้ำในวันนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าในไม่ช้าก็คือ ขีดความสามารถในการพิสูจน์ว่าบุคลนี้คือคนๆนี้ ถ้าเราหรือระบบเราสามารถตอบคำถามจนเชื่อได้ว่า You are who you say you are ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถนำสิ่งที่เรียกว่า
Something you have หรือ
Something you know หรือ
Something you are มาผสมผสานกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่นใช้สิ่งที่เราเป็นอยู่คือ เสียงของเรา ลายนิ้วมือของเรา ม่านตาของเรา หรือใบหน้าของเรา ที่รวมๆเรียกว่า ไบโอเมตทริกซ์ มาดำเนินการจนมั่นใจและมีกฎหมายรองรับว่านาย A คือนาย A โดยนาย A ไม่ต้องนำพาตัวเอง หรือนำพาตัวเป็นๆของตัวเองมายังสถานที่ของผู้ให้บริการทางการเงินอีกต่อไป (Non face – to – face) แต่ได้กระทำผ่านเครื่องมือและระบบคอมพิวเตอร์/ระบบอินเทอร์เน็ต จนมีมาตรฐานที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปและเมื่อระบบนิเวศทางดิจิทัลยิ่งมีพัฒนาการด้านความปลอดภัยมากขึ้นเราก็จะได้เห็นความทันสมัยในการบริการทางการเงินในอนาคตมากขึ้น
มีข้อมูลปรากฏในข่าวสารที่เผยแพร่โดยสื่อมวลชนระบุว่าผลสำรวจของ Visa ใน พ.ศ.2561 ระบุว่าผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ยื่นขอใช้บริการทางการเงินยินดีที่จะใช้ ไบโอเมตทริกซ์ ของตัวเอง (Something you are) มาพิสูจน์ตัวตนก่อนการใช้บริการทางการเงินเหตุเพราะมันมีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ Error! Hyperlink reference not valid. Somethings you know ที่นับวันจะลดบทบาทลงไปเหตุเพราะปัญหาการลืม การถูกขโมย และความยุ่งยากในการทำซ้ำๆ ในแต่ละขั้นตอนการใช้บริการ
โดยข่าวได้ระบุว่า 86 %ของผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจสนใจที่จะลองใช้ ไบโอเมตทริกซ์ เพื่อยืนยันตัวตนหรือทำการชำระเงิน 65 %ของผู้ทำแบบสำรวจมีความคุ้นเคยกับการใช้ไบโอเมตทริกซ์ ประกอบกับความก้าวหน้าในอุปกรณ์มือถือที่ส่งผลให้การสแกนลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้านั้นมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การใช้เสียงเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนมีความแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันอาจถึงเวลาแล้วที่จะนำเทคโนโลยี ไบโอเมตทริกซ์ มาใช้ในแอปพลิเคชัน ของธนาคารมากขึ้น มากขึ้น และมากยิ่งขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์การชำระเงิน (Payment service) ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าของตน
ท่านผู้อ่านลองคิดตามผมนะครับ
1.เราไม่ต้องเอาตัวเองไปยังธนาคารเพื่อขอใช้บริการสินเชื่อแต่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านโทรศัพท์มือถือ
2.ไม่ต้องทำเอกสารเป็นกระดาษ ไปส่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อแต่ส่งโดยการถ่ายภาพเอกสารส่งไปให้แทน
3.ทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนได้ผ่านสิ่งที่เราเป็นหรือไบโอเมตทริกซ์ในวันนี้
4.ลงนามในหนังสือให้ความยินยอมโดยไม่ต้องมีเอกสารและเซ็นสดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคาร
Error! Hyperlink reference not valid. 15-30นาที
6. ถ้าได้รับอนุมัติ เงินที่ขอกู้ไปจะถูกส่งตรงไปยังบัญชีของผู้ขอกู้ทันที สภาพคล่องของคนที่ได้รับเงินกู้ก็จะทันการณ์
ปี 2562 ยังมีอะไรที่จะออกมาอีกมากมายและผู้เขียนก็เชื่อว่าการรุกคืบเข้ามาของการให้บริการแบบออนไลน์ในเรื่องการให้กู้จะเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในปีนี้นะครับ เรามาลองติดตามเป้าเงินกู้ด้วยกันนะครับ
ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี งาน “กิจกรรม บสย. ออมสิน รักพี่วิน” วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 9.00 – 13.00 น. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย (โดมใหญ่) จ.ลพบุรี
ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี งาน “กิจกรรม บสย. ออมสิน รักพี่วิน”
วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 9.00 – 13.00 น.
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย (โดมใหญ่) จ.ลพบุรี
ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา
*เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)
“ปลูกฝังวินัยการเงิน’คนรุ่นใหม่’ ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน’ยั่งยืน’ ” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 เมษายน 2562
“ปลูกฝังวินัยการเงิน’คนรุ่นใหม่’ ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน’ยั่งยืน’ “
นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 เมษายน 2562
วิชชุลดา ภักดีสุวรรณ
กรุงเทพธุรกิจ
“คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นหนี้เร็วขึ้น นานขึ้น จนเข้าสู่วัยเกษียณ ก็ยังมีภาระหนี้สินอยู่” นั่นคือสิ่งที่ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนให้เห็นภาพ ตลอดในระยะหลังๆ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดทักษะ ขาดความรู้และความเข้าใจ ด้านการเงิน และขาดการวางแผนด้าน การบริหารจัดการทางการเงินที่ดี จึงไม่แปลกที่คนเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย จนแก่ก็ยัง เป็นหนี้อยู่ เพราะสิ่งเร้า และตัวกระตุ้น ให้คนเป็นหนี้มากขึ้น มีมากมายอย่าง นับไม่ถ้วน
โดยเฉพาะปัจจุบันที่เริ่มเห็นการหันไป เจาะตลาดใหม่ๆ อย่าง “วัยเริ่มทำงาน” ของผู้ให้บริการทางการเงิน หรือเด็กจบใหม่ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คนเป็นหนี้ เร็วขึ้นได้ เพราะความอยากมี จึงต้องดึงเงินในอนาคตมาใช้ ดังนั้นหากไม่ตระหนักถึงการวางแผนทางการเงิน การชำระหนี้ให้ดี หรือการคำนวณรายรับรายจ่ายให้ดี ก็อาจตกอยู่ใน”วงจรหนี้” อย่างไม่จบสิ้นสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เปิดเผยข้อมูลหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป พบว่า หนี้ค้างชำระส่วนใหญ่ หลักๆ แล้วอยู่ที่เจนวายที่มีอายุ 22-39 ปี และกลุ่ม เจนเอ็กซ์ อายุ 40-54 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ เข้าถึงสินเชื่อได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งแต่เริ่มทำงาน หรือตั้งแต่อายุ 19-20 ปีซึ่งกลุ่มนี้เริ่มมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อเงินผ่อน บัตรผ่อนชำระต่างๆ มากที่สุดังนั้น หากต้องการขจัดปัญหาหนี้ครัวเรือน และทำให้วงจรหนี้เหล่านี้ลดลง ต้องกำกับหรือลดหนี้สินเชื่อบุคคล หรือเงินผ่อนให้ได้!!
ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธปท. กล่าวว่า การเป็นหนี้ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่อายุยังน้อย ลากยาวไปจนแก่ เหตุผลหนึ่งมาจากการขาดความรู้ ขาดทักษะและการปลูกฝังวินัยด้านการเงินตั้งแต่ต้น ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญของชีวิต และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่นคง
ปัจจุบัน “หนี้ครัวเรือน” มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 78.6% ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ธปท.เป็นห่วงมาโดยตลอด เพราะพบการก่อหนี้ที่สูงขึ้น หากเทียบกับรายได้ ต้นตอส่วนหนึ่ง มาจากผู้ให้บริการทางการเงิน และสถาบันการเงิน มีแรงจูงใจต่างๆ ในการแข่งขัน ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากภาวะการเงิน ที่คล่องตัว บวกกับภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำในปัจจุบัน อาจกระตุ้นให้เกิด การสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น จึงไปกระตุ้นให้ประชาชนที่ไม่วางแผนทางการเงิน อยู่ใน ภาวะที่เป็น “หนี้” โดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่เกิดปัญหาในชีวิต อาจประสบปัญหา การชำระคืน หรือกระทบต่อการประกอบอาชีพ ในอนาคตได้
กลุ่มที่ธปท.เป็นห่วงมากที่สุดคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่เป็นกลุ่มที่อ่อนไหว และมีโอกาสประสบปัญหาทางการเงินได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ สิ่งที่สำคัญคือ แบงก์ หรือผู้ให้บริการทางการเงิน ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการปล่อยกู้ และควรตระหนักถึงความรับผิดชอบ ต้องให้กู้ กับคนที่มีแนวโน้มจะชำระหนี้คืนได้มาก ที่ผ่านมาธปท.มีการสื่อสารกับสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงิน ให้รับทราบถึง ความเป็นห่วงนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเชื่อว่า การช่วยกันทุกฝ่าย จะช่วยลดความร้อนแรงของ “หนี้ครัวเรือน” ให้ลดลงได้
ดังนั้น การสอนให้คนมีความรู้ มีทักษะด้านการบริหารการเงินถือเป็น สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปลูกฝังความรู้ทางการเงินให้กับประชาชนตั้งแต่ อายุน้อยๆ ธปท.จึงผลักดันโครการ”Fin.ดี We can do!!” Season2 จาก ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและ เอกชน ที่เห็นความสำคัญของการเร่ง สร้างความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน ในกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น นักศึกษาอาชีวะ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันในการรับมือสิ่งที่ไม่คาดฝัน
ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า การจัดโครงการ “Fin.ดี We can do!!” Season2 เน้นเจาะกลุ่มเยาวชน อาชีวะทั่วประเทศกว่า 900 แห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาทักษะทางการเงินผ่านการปฏิบัติการจริง จึงสนับสนุนในการสร้าง “ผลงานของ คนอาชีวะ” เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ทางการการเงินไปประยุกต์ใช้ ทั้งการป้องกัน และแก้ไขปัญหาในสภาพแวดล้อมจริง ของสถานศึกษาหรือชุมชนได้
เมื่อถามว่า…ทำไมต้องเป็นเด็กอาชีวะ?เพราะทุกฝ่ายตระหนักดีกว่า กลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานดังนั้นการสร้างความรู้ และทักษะทางการเงิน จึงเป็นการวางรากฐานของทักษะทางการเงิน อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานให้กับชีวิต ในระยะข้างหน้าให้เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะก้าวสู่วัยแรงงาน อย่างมีคุณภาพต่อไป
โครงการนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ต่อยอด มาจากโครงการแรกที่ธปท.เริ่มทำไปเมื่อ 1-2 ปีก่อน โครงการเดิมเริ่มกับสถาบันอาชีวะศึกษาเพียง 17 แห่งจากทั่วทุกภูมิภาค และจากโครงการนี้ทำให้เริ่มเห็นพฤติกรรม ด้านการเงินของเยาวชน นักศึกษา เด็กจบใหม่ มีความรู้ที่ดีขึ้น จึงมีการต่อยอดโครงการนี้ เป็นซีซั่น 2
โดยโครงการนี้จะเปิดให้นักศึกษา ที่สนใจ ส่งผลงานเข้ามาสมัครได้ตั้งแต่ 16 พ.ค.-17 มิ.ย.2562 โดยครั้งนี้ ทีมที่ ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินทุนสนับสนุน เพื่อจัดทำผลงานและเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท
เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือน ถ้าเศรษฐกิจชะลอลง” www.posttoday.com วันที่ 29 เมษายน 2562
เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันที่ 29 เมษายน 2562
“ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือน ถ้าเศรษฐกิจชะลอลง”
โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร
คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/587584
มีข่าวออกมามากมายว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นที่จะชะลอตัวลงโดยเอาตัวเลขการเติบโตของ GDP ในระดับที่เต็มศักยภาพแถวๆ 4% มาเป็นเกณฑ์ โดยมีสาเหตุหลักๆ ที่มีการกล่าวถึงดังนี้
1.การเติบโตของภาคการส่งออก มีการเติบโตติดลบจากเดือนก่อนหน้าต่อเนื่องบ้างก็ว่ามาจากสงครามการค้า บ้างก็ว่าค่าเงินแข่งไม่ได้ บ้างก็ว่าเป็นปัญหาโครงสร้างที่สิ่งของที่เราผลิตนั้น คนซื้อในโลกต้องการน้อยลง
2.การเติบโตของภาคการท่องเที่ยว ไม่ดีเท่าที่ผ่านมาในอดีต จำนวนนักท่องเที่ยวหลักจากจีนจำนวนอาจไม่มากเท่าที่เราเคยเห็น โดยที่บางจุดเราก็เสียโอกาสจากปัญหาหมอกควันในภาคเหนือช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวไปอย่างน่าเสียดาย
3.การเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลปัจจุบันไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้งเกิดประเด็นปัญหาหลายอย่างที่คาดไม่ถึง มีความขัดแย้งมากในหลายจุด คะแนนเสียงที่ปริ่มน้ำของกลุ่มฝ่ายที่เกาะเกี่ยวกันที่ไม่ชนะกันเด็ดขาด จึงเกิดความสั่นไหวว่านโยบายการลงทุนสำคัญจะไม่ต่อเนื่อง ดีที่ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ใช่รัฐบาลรักษาการแต่เป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม และมีมาตรา 44 อยู่ในมืออีกด้วย กระบวนการจัดทำงบประมาณยังคงเดินหน้าต่อไปโดยเฉพาะเรื่อง EEC ในส่วนปัญหาเกียร์ว่างของระบบราชการก็ถูกขันน๊อตจากทีมเศรษฐกิจ และเมื่อเห็นระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะมีการชะลอลง ก็มีการจัดมาตรการหยอดเงินในจุดที่จะทำให้เกิดการหมุนการใช้จ่าย
หากแต่จุดของหนี้ครัวเรือนไทยในมุมมองทางวิชาการและจากสิ่งที่เปิดเผยออกมาพอจะสรุปได้ดังนี้
1.สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตถูกคุมเข้มปลายปี 2560 สินเชื่อที่อยู่อาศัยถูกวางกติกาเข้มข้นผ่านการส่งสัญญาณปลายปี 2561 พอต้นปี 2562 ก็จัดหนักกับสินเชื่อรถแลกเงิน จากนั้นต่อมาก็ส่งสัญญาณว่าจะเข้มข้นเรื่องสินเชื่อรถยนต์ มีการพูดถึงการนำเอาอัตราส่วนหนี้ที่ต้องชำระกับรายได้ หรือ Debt service ratio มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะออกมาแบบไหน
2.ครัวเรือนไทยที่มีการสำรวจโดยธนาคารกลางกับสถาบันจัด rating สื่อก็พบว่า ครัวเรือนที่มีหนี้แต่ไม่มีปัญหานั้นจะมีภาระที่ต้องชำระหนี้กี่บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น 23% ของรายได้ หมายถึงว่ามีรายได้ 100 บาท ต้องเอาไปชำระหนี้ 23 บาท ขณะที่ครัวเรือนไทยที่มีหนี้แต่มีปัญหานั้นจะมีอัตรส่วนดังกล่าว 75% คือมีรายได้ 100 บาทต่อเดือนต้องเอาไปชำระหนี้ 75 บาทเหลือ 25 บาทเอาไว้กินใช้ แล้วมันจะพอเหรอ
3.สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ก็มีรายงานออกมาว่าทุกช่วงวัยคนเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ 20-80 ปีอย่างน้อย 20% ของมูลหนี้ที่ตนเองมีนั้นต้องเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล หมายความว่าการผ่อนของได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกหนี้ทุกช่วงวัย
4.บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ออกมาระบุว่า หนี้ปรับโครงสร้างมีการเพิ่มขึ้นตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านได้กระโดดจาก 1.5 แสนล้าน ตอนนี้เวลานี้มันมาอยู่ที่มากกว่า 8.0 แสนล้าน ถ้าเกิดมีอะไรมาสะดุดเช่น ดอกเบี้ยฐาน หรือ MRR เพิ่มขึ้นมันจะทำให้มีภาระหนี้เพิ่มทันที มันจะไหวหรือไม่
สุดท้ายนะครับหนี้ครัวเรือนเราทะลุ 12 ล้านล้าน ในนั้นสหกรณ์ออมทรัพย์ปล่อยกู้ไป 2.0 ล้านล้าน พวกบัตรเครดิต เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อบุคคลก็เกิน 1 ล้านล้าน นี่ยังไม่รวมธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีก 3-4 แสนล้าน และจากข้อมูลของเครดิตบูโรพบว่าปี 2561 มีการยื่นใบสมัครขอสินเชื่อ 1.3 ล้านใบต่อเดือน ปี 2562 ไตรมาสแรกโตเป็น 1.4 ล้านใบต่อเดือน แน่นอนว่าคนที่จะไม่ได้สินเชื่อจะต้องผิดหวังมีจำนวนมากขึ้น
จากตัวเลขและข้อมูลทั้งหมดท่านผู้อ่านรู้สึกเป็นห่วงหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุทำให้เศรษฐกิจชะลอลง สำหรับผมนะครับไม่ได้แค่เป็นห่วง แต่มันเกิดความหนาวในขั้วหัวใจเลยหล่ะครับ ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือนถ้าเศรษฐกิจชะลอลงก็มีด้วยประการนี้แล
โปรโมชั่นเดือนพฤษภาคม 2562 เมื่อท่านแต่งกายหรือสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีเหลือง ลดทันที 50% ค่าตรวจเครดิตบูโร วันที่ 2-5 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
เครดิตบูโรเชิญร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
เมื่อท่านแต่งกายหรือสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีเหลือง ลดทันที 50% ค่าตรวจเครดิตบูโร วันที่ 2-5 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ และเวลาที่ให้บริการ
•ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น.
•ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) วันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
หมายเหตุ
1. โปรโมชั่น เฉพาะศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
2. เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)
หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) ประจำเดือนพฤษภาคม 2562 : วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 : ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ ::
หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) ประจำเดือนพฤษภาคม 2562
วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 20 พฤษภาคม 2562
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ ::
ข่าวเครดิตบูโร 004/2562 : เครดิตบูโรร่วมให้ความรู้สถานการณ์หนี้ครัวเรือน ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ
ข่าวเครดิตบูโร 004/2562
เครดิตบูโรร่วมให้ความรู้สถานการณ์หนี้ครัวเรือน ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ
26 เมษายน 2562 : ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ (ที่ห้าจากซ้าย) ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงิน การธนาคาร สถาบันการเงินและตลาดทุน ในคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดการประชุมเรื่อง “สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและผลกระทบต่อเสถียรภาพการเงิน” พร้อมด้วยนางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ (ที่สองจากขวา) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ โดยมี นายสุรพล โอภาสเสถียร (ที่ห้าจากขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ให้การต้อนรับและบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ สำนักงานเครดิตบูโร เมื่อเร็วๆ นี้