Blog Page 123

รู้ทัน “เว็บไซต์ Internet Banking ปลอม” ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

รู้ทัน “เว็บไซต์ Internet Banking ปลอม” ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

เทคโนโลยีไปไกลเท่าไร มิจฉาชีพก็ก้าวไกลเท่านั้น!!

ระวังตกเป็นเหยื่อเว็บไซต์ Internet Banking ปลอม ที่หน้าตาภายนอกเหมือนเว็บของทางธนาคารเป๊ะ ๆ มาหลอกขโมยข้อมูลและรหัสผ่านของเรา ก่อนล็อกอินเข้าทำธุรกรรมทุกครั้ง อย่าลืมสังเกตจุดเหล่านี้ด้วยนะคะ จะได้มั่นใจว่าเราไม่ได้กำลังตกเป็นเหยื่อของใคร

ที่มา: หนังสือ “รู้รอบเรื่องการเงิน รู้รอบระวังภัย” โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย

เราออมเงินกันไปทำไม?

เราออมเงินกันไปทำไม?

เราเก็บเงินกันไปทำไม?
ยังเด็กอยู่เลยต้องออมด้วยหรอ?
เกษียณแล้วยังต้องเก็บออมอยู่ไหม?
บอกเลยว่าควรค่ะ!! ออมก่อนรวยกว่า

เราออมเงินกันไปทำไม?

นิสัยแบบไหน ไม่เหมาะกับ “บัตรเครดิต”

นิสัยแบบไหน ไม่เหมาะกับ “บัตรเครดิต”

นิสัยแบบนี้ ให้ถือบัตรเครดิตอาจจบไม่สวย ใครเป็นต้องรีบแก้ให้หาย ไม่อย่างนั้นเงินหายก่อนไม่รู้ด้วยนะ!!

นิสัยแบบไหน ไม่เหมาะกับ “บัตรเครดิต”

รู้หรือไม่? เราควรมีเงินออมฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน

รู้หรือไม่? เราควรมีเงินออมฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน

ปกติใช้เงินเดือนละเท่าไร คูณ 6 เข้าไปเลย!! นั่นแหละคือเงินออมฉุกเฉินที่ควรมีติดบัญชีไว้เสมอ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา รายได้หดหาย จะได้มีพอกินใช้ไปอีกครึ่งปีนั่นเองค่ะ

ที่มา: หนังสือ “รอบรู้เรื่องการเงิน วางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด” โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทำนายอนาคต จากนิสัยการใช้จ่าย

ทำนายอนาคต จากนิสัยการใช้จ่าย

ใช้จ่ายแบบนี้ มองเห็นอนาคตชัดเลย แม่หมอฟันธง!! ออมก่อนรวยกว่า

ที่มา: หนังสือ “รู้รอบเรื่องการเงิน วางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด” โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย

หาได้เท่าไร
ใช้ 50%
ออม 25%
ลงทุน 25%

อนาคต: ร่ำรวย มีกินเหลือเฟือ

หาได้เท่าไร
ใช้ 80%
ออม 20%

อนาคต: อยู่สบาย ไม่มีลำบาก

หาได้เท่าไร
ใช้ 90%
ออม 10%

อนาคต: พอมี พอกิน พออยู่ได้

หาได้เท่าไร
ใช้หมด 100%

อนาคต: ร่อแร่ เสี่ยงอดมื้อกินมื้อ

หาได้เท่าไร
ใช้หมด 100%
แถมกู้ยืมคนอื่นมาอีก

อนาคต: ล้มละลาย ส่อแววลำบากหนัก

ข้ออ้างยอดฮิต ของคน “ไม่ออม”

ข้ออ้างยอดฮิต ของคน “ไม่ออม”

เรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ มีเงินออมเอาไว้ก็เหมือนมียางอะไหล่ติดรถไปตอนเดินทาง ฉะนั้นไม่ว่าอาชีพไหน วัยไหน รายได้เท่าไร ก็อย่าลืมเก็บเงินกันด้วย “ออมก่อนรวยกว่า” นะคะ

ข้ออ้างยอดฮิต ของคน “ไม่ออม”

อยากรู้ไหม…ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

อยากรู้ไหม...ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

รู้ไหมทำไมสินเชื่อไม่ผ่าน?
เป็นเพราะ “ติด Blacklist” จริงหรอ?

ความจริงแล้ว คำว่า “ติด Blacklist” นั้นไม่มีอยู่จริง เพราะเครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือมีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด แต่เครดิตบูโรทำหน้าที่จัดเก็บรักษาและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น สถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อเองตามแต่หลักเกณฑ์ของแต่ละที่ โดยดูจากประวัติเครดิต รายได้ หลักประกัน และปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกัน ตามแต่นโยบายที่สถาบันนั้น ๆ กำหนด

4 สิ่งที่คุณต้อง “เปลี่ยน” ถ้าอยากเป็นเศรษฐี!

4 สิ่งที่คุณต้อง “เปลี่ยน” ถ้าอยากเป็นเศรษฐี!

ใครอยากเป็นเศรษฐี!! #ฉันน่ะสิๆ #แชร์ไปให้ถึงคนที่คุณรัก
ถ้าอยากปลอดหนี้ มีเครดิตดี มีเงินออม พร้อมสุขภาพการเงินที่แข็งแรง อย่าลืม “เปลี่ยน” ตั้งแต่วันนี้นะคะ ยิ่งเร็วยิ่งดี!

1. เปลี่ยน “งานอดิเรก” เป็น “รายได้เสริม” เช่น ขายภาพถ่าย เขียนบทความ ขายงานฝีมือ ฯลฯ

สิ่งที่คุณต้อง“เปลี่ยน”ถ้าอยากเป็นเศรษฐี!

2. เปลี่ยน “บัตรเครดิต” เป็น “บัตรเดบิต” ใช้เท่าที่มี ไม่มีติดลบเพราะหนี้สิน

สิ่งที่คุณต้อง“เปลี่ยน”ถ้าอยากเป็นเศรษฐี! 3. เปลี่ยน “ใช้ก่อนออม” เป็น “ออมก่อนใช้” ตั้งเป้าเงินออม แยกบัญชีเก็บไว้ทันทีเมื่อมีรายรับ ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย

สิ่งที่คุณต้อง“เปลี่ยน”ถ้าอยากเป็นเศรษฐี!

4. เปลี่ยน “ลงทุนมาก ๆ” เป็น “ลงทุนให้ถูกที่ถูกทาง”
การลงทุนที่ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำนั้นไม่มีอยู่จริง ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ เลือกการลงทุนที่เชื่อถือได้และเหมาะกับกำลังทรัพย์

สิ่งที่คุณต้อง“เปลี่ยน”ถ้าอยากเป็นเศรษฐี!

ข้อมูลบัตรประชาชนรั่วไหล อาจกลายเป็นหนี้ไม่รู้ตัวจริงหรอ!?

ข้อมูลบัตรประชาชนรั่วไหล อาจกลายเป็นหนี้ไม่รู้ตัวจริงหรอ!?

“ข้อมูลบนหน้าบัตรประชาชนรั่วไหล อาจถูกมิจฉาชีพเอาไปสวมรอยกู้ยืมเงินได้จริงหรือไม่?”

ตอบ: สำเนาบัตรประชาชน เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการขอเปิดบัตรเครดิตหรือยื่นขอสินเชื่อ และนอกจากสำเนาบัตรประชาชนแล้ว จะต้องใช้สลิปเงินเดือน สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เป็นหลักฐานร่วมกันด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามหลักการแล้วข้อมูลบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอให้เปิดบัตรเครดิตหรือขอสินเชื่อ แต่การตรวจพิจารณาหลักฐานนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินและความรัดกุมของพนักงานด้วย ฉะนั้นหากข้อมูลหน้าบัตรประชาชนของเรารั่วไหลไปอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี ย่อมเป็นการเอื้อโอกาสให้มิจฉาชีพก่อเหตุได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ทางที่ดี หากรู้ตัวว่าบัตรประชาชนหาย หรือข้อมูลบัตรประชาชนรั่วไหลไปโดยไม่เจตนา ควรไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ในอนาคตค่ะ

เรื่องน่าอ่าน