Blog Page 175

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ “ขอคุยถึงมาตรการแก้ไขหนี้สินประชาชนอีกครั้ง” นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560

เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนได้มีข่าวสารออกมาถึงมาตรการกำกับ ดูแล ควบคุม คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท/เดือน ในการก่อหนี้สินประเภทบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ซึ่งผลของมาตรการนี้จะเกิดกับลูกหนี้หน้าใหม่ หรือคนที่ยื่นขอสินเชื่อใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2560 เป็นต้นไป เราๆ ท่านๆ คงต้องติดตามผลต่อไป ว่ามาตรการนี้จะช่วยให้เกิดความยั้งคิด และชะลอการ ก่อหนี้ภาคครัวเรือนที่ไม่ค่อยสมเหตุผลลงไปได้กี่มากน้อยนะครับ

บทความวันนี้ ผมจะขอกล่าวถึงมาตรการแก้ไขปัญหาลูกหนี้ที่กลายเป็นหนี้เสีย เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ เป็นหนี้ NPL หรือเป็นหนี้ที่มีการค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ค้างชำระเกิน 3 งวดติดกัน) ที่มีชื่อว่า “คลินิกแก้หนี้” นั่นเอง มาตรการนี้ได้เริ่มมาก็เป็นเวลามากกว่า 2 เดือนแล้วเรามีประเด็นบางอย่างที่เห็นจากหน้างาน จากสื่อ จากที่มีการคุยกัน รายละเอียดมีดังนี้

ในด้านบวกระบุว่า
1.เป็นทางออกสำหรับคนที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะได้หันกลับมา ยอมรับความจริง ยอมแก้ปัญหา จัดตารางการชำระใหม่ ตามสภาพของรายได้ รายจ่ายที่เข้ามาในแต่ละเดือน
2.ทำให้มีสมาธิกลับไปทำงานได้อีกครั้ง ไม่ต้องผวากับการตามหนี้ หวาดระแวงว่าใครจะรู้ที่ทำงาน หัวหน้าจะทราบ ฝ่ายบุคคลจะมาจัดการ หรือจะโดนหมายจากเจ้าหนี้มาหรือไม่ ยิ่งปลายเดือนต่อต้นเดือนใหม่ ป่วย ขาด ลา ดูจะเป็นกลยุทธ์หนีหนี้ หนีการตามหนี้
3.ได้ดอกเบี้ยถูกลง ไม่แพง ไม่เจอดอกเบี้ยล่าช้า เบี้ยปรับ ค่าติดตามหนี้
ในด้านลบระบุว่า
1.ต้องไม่ก่อหนี้ใหม่ใน 5 ปี อย่างนี้ก็แย่สิ เพราะถ้าฉุกเฉินจะทำอย่างไร (ฉุกเฉินจริงหรือไม่ก็ไม่รู้) จะไปกู้ก็จะผิดเงื่อนไข ตรงนี้ผู้เขียนเห็นว่า มันเป็นจุดที่ลูกหนี้ทะลุไม่ได้สักที แทนที่จะเกิดการกลับตัวกลับใจมาออมเงิน ฉุกเฉินก็มาเอาเงินออม กลับยังคิดไปหาทางกู้มาอีก
2.ตอนนี้แค่ค้างชำระ 2 งวด หมุนเริ่มไม่ทัน แต่ยังสู้ชำระหนี้ เมื่อยังไม่เป็นหนี้เสีย ก็ยังเข้าโครงการไม่ได้ อาการลูกผีลูกคนก็เลยต้องว่ากันไปเองก่อน
3.ทำไมเอาแต่บัญชีที่มีกับธนาคารล่ะ ในชีวิตจริงมันเป็นหนี้ไปหมดนะ ทั้งธนาคาร ไม่ใช่ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล ถ้าทำปรับโครงสร้างหนี้ไม่จบกับเจ้าหนี้ทั้งหมด แต่จบบางราย เงินเดือน รายได้ มันมียอดเดียวที่จะเอามาจ่าย เกิดสถาบันการเงินที่ไม่ได้ร่วมปรับโครงสร้างหนี้ด้วย เขาฟ้องขึ้นมา แล้วเราจะทำอย่างไร จะจ่ายใครก่อนใครหลัง อยากได้แบบว่าสะเด็ดน้ำกับเจ้าหนี้ทุกราย
4.อ้าว…คนที่ไม่มีสลิปเงินเดือน ไม่มีรายได้ประจำ มีอาชีพอิสระ รับจ้างทำงานให้เป็นงานๆ ไป แม้รายได้จะเข้ามาไม่สม่ำเสมอแต่ก็มีเข้ามานะ ถ้าช่วยแนะเรื่องบริหารจัดการนิดนึงก็ทำได้นี่นา ทำไมเหรอ คนมีรายได้ไม่ประจำมันถึงขาดโอกาสแบบนี้ล่ะ ทีเวลามาเสนอเงินกู้ให้ เสนอบัตรให้ รายได้ประจำหรือไม่ประจำก็ได้ 0% เหมือนๆ กันนี่นา
5.ทำไมจุดให้บริการน้อยจัง เราไปส่งเรื่องเราที่สาขาธนาคารได้หรือไม่ สาขาที่ใกล้บ้าน หรือในห้างก็ได้ พวกเขาก็รู้เรามีรายได้จากไหน เท่าไร เช็กได้ ทำไมต้องบอกกับ SAM แล้ว SAM ก็ต้องส่งกลับไปที่แบงก์ให้ตรวจอีกที อนุมัติอีกที ก็เข้าใจนะ คนที่ไม่จ่าย ผิดสัญญา พอจะมาทำสัญญาใหม่ว่าจะไม่ก่อหนี้อีก มีรายได้เท่านั้นเท่านี้ก็อาจไม่น่าเชื่อถือ เอาที่สบายใจนะ ได้หมดถ้าสดชื่น

ในด้านผลที่ออกมา พบว่า มีคนสนใจสมัครเข้ามาลงทะเบียนตามข่าวที่ระบุจำนวนกว่า 3.9 หมื่นราย อนุมัติเพียง 150 ราย ส่วนใหญ่ตกเกณฑ์ ผู้เขียนคิดว่าการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ก่อให้เกิดการตื่นตัวแล้ว ดูจากคนมาตรวจ เครดิตบูโรตัวเอง และคนที่มาลงทะเบียน หากแต่คุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์

ดังนั้น เราควรมาทบทวนเกณฑ์หรือไม่ เราควรให้เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่แบงก์เข้าร่วมโครงการหรือไม่ มันติดอะไร มันน่าจะมีทางออกได้สิ เพราะมันเป็นเรื่องช่วยคนให้ดิ้นพ้นจากบ่อหนี้ มันเป็นงานบุญงานกุศลนี่นา เพราะถ้าช้าออกไปคนจะขาดความเชื่อมั่น สำหรับกระบวนการให้บริการ ใจผมจะถามไปที่คนปฏิบัติว่าทำอย่างไรจะให้เร็วขึ้น คนปฏิบัติหน้างานเขารู้แน่นอน คนที่ไม่ได้ปฏิบัติลองเงียบๆ ไม่พูด ใช้ทักษะการฟัง ฟังช้าๆ ถอดหัวโขน แล้วก็น่าจะเห็นคำตอบ ความกล้ามันอยู่ที่กล้าอนุมัติให้ปรับแก้ตามความเห็นคนปฏิบัติหรือไม่

ความกล้าไม่ใช่การเอาแต่ความคิดเราเป็นตัวตั้ง ผมเห็นสื่อมวลชนหลายท่านออกมาให้ข้อคิด สะท้อนความเห็น ซึ่งเป็นอะไรที่ทุกคนมองเหมือนกัน คือ ลูกหนี้เหล่านั้น ชั่วดี ถี่ห่าง ก็เป็นคนไทยด้วยกัน ฆ่าลูกหนี้ ฟ้องลูกหนี้ ทำไปแล้วได้อะไร รักษา พยาบาล และให้ทางออก ถ้าเขายังกลับไปเสพหนี้อีก ก็ชีวิตเขาแล้วล่ะ…ขอบคุณครับ

โครงการ “การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝาก และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินฯ” จ.นครราชสีมา

คุณวงศ์วริศ ดุลยนิติโกศล (ซ้ายสุด) รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส เครดิตบูโร และคุณอรภัทร รังษีวงศ์ (ที่สองจากขวา) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ได้รับเกียรติจากสำนักงานเศรษฐกิตการคลัง ร่วมงานโครงการ “การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้กับประชาชน ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 11 สิงหาคม 2560 เวลา 8.30-12.00 น. ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา พร้อมให้บริการออกบูธตรวจเครดิตบูโร (ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

เครดิตบูโรห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัดของประเทศ

1 สิงหาคม 2560 : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ส่งหนังสือถึงสถาบันการเงินที่ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าในหลายจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ต้องยึดตามเงื่อนไขแจ้งข้อมูลตามที่ตกลงผ่อนปรนให้แก่ลูกค้า ป้องกันลูกค้ามีบัญชีค้างชำระหนี้
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากหลายจังหวัดประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก เช่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ลพบุรี เพชรบูรณ์ สุโขทัย เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบกิจการ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารและสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก

ในการนี้ เครดิตบูโรในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสถาบันการเงินไทยจึงได้ออกหนังสือถึงธนาคารและสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกกว่า 96 แห่ง เพื่อให้ระมัดระวังในการรายงานและนำส่งข้อมูลของลูกหนี้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยเฉพาะ หากมีการผ่อนผันหรือผ่อนปรนการชำระหนี้ให้กับลูกค้าดังกล่าว ควรยึดถือข้อเท็จจริงตามนโยบายที่ได้ช่วยเหลือหรือผ่อนผันให้กับลูกค้า เช่น กรณีที่ลูกค้าสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงหรือข้อผ่อนผันได้ สมาชิกสามารถรายงานและนำส่งข้อมูลการชำระหนี้ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามข้อตกลงหรือข้อผ่อนผันนั้นในสถานะบัญชี “ปกติ” แทนการรายงานและนำส่งข้อมูลว่า “ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้” เพื่อช่วยเหลือลูกค้าไม่ให้เกิดความเสียหายในประวัติของตน

นอกจากนี้ ตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่องรหัสสถานะบัญชี ก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในกรณีที่มีการพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ หรือตามนโยบายของสมาชิกที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาจนำส่งเป็น “พักหนี้ตามนโยบายของรัฐ” มาตรการนี้จะเป็นการช่วยเยียวยาทางด้านจิตใจและการดำเนินธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องหลังน้ำลดแล้วแก่ผู้ประสบอุทกภัยอีกทางหนึ่งด้วย

ในกรณีสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก 96 แห่งมีการติดต่อลูกหนี้ได้ในภายหลัง เนื่องจากตอนประสบภัยยังหาตัวกันไม่พบเพราะต่างก็ถูกน้ำท่วม แม้จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาว่าผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม เมื่อมีการเข้าโครงการผ่อนผันหรือผ่อนปรนของสถาบันการเงินนั้นๆ และให้มีผลย้อนหลังไปยังเดือนที่เคยส่งข้อมูลว่าผิดนัดชำระหนี้ สถาบันการเงินนั้นก็สามารถแจ้งแก้ไขให้บัญชีดังกล่าวกลับมาเป็นสถานะ บัญชีสินเชื่อนั้นมีประวัติการชำระ “ปกติไม่ค้างชำระ” หรือบัญชีนั้นปรับโครงสร้างหนี้ หรือบัญชีนั้นพักชำระหนี้แล้วแต่กรณี เครดิตบูโรจะดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามที่มีการตกลงกัน

ทั้งนี้ เครดิตบูโรมีข้อแนะนำว่า ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเมื่อน้ำลดควรรีบติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อแจ้งความเสียหาย ปรึกษาหารือเพื่อเข้าโครงการผ่อนผันหรือผ่อนปรนตามที่มีการแถลงออกมา อันจะทำให้ประวัติทางการเงินของท่านเหล่านั้นได้รับการดูแลตามความเป็นจริง นอกจากนี้ในส่วนของเครดิตบูโรก็จะมีการเฝ้าติดตามข้อมูลที่สมาชิกนำส่งทุกสิ้นเดือนว่า ไม่มีความผิดปกติหรือไม่มีการส่งข้อมูลบัญชีที่มีการแสดงสถานะว่าผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า หากพบความผิดปกติจะแจ้งสมาชิกให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนนำข้อมูลเข้าฐาน

นายสุรพลกล่าวด้วยว่า หลังจากเหตุการณ์สู่ภาวะปกติ ลูกค้าสามารถตรวจเครดิตบูโรของตนเองเพื่อดูความถูกต้องของข้อมูลได้ ซึ่งเครดิตบูโรมีช่องทางสำหรับประชาชนทั่วไปสามารถตรวจเครดิตบูโรได้ในหลายช่องทาง อาทิ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร หรือยื่นคำขอผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เอสเอ็มอีแบงก์ หรือที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ไทย 291 สาขา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0-2643-1250

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

จะวันไหนๆ เราก็พร้อมบริการ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2561   ถึงวันเสาร์ ที่  31 มีนาคม 2561

รอรับได้เลย ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท ใช้บัตรประชาชนของตนเอง

  • สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น.
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 4 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น.

เครดิตบูโรร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ใหม่ “มันหนี้” หรือ “Thai Debt Money” “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” เพื่ออนาคตการเงินที่ดี

17 กรกฎาคม2560 : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร )ร่วมสนับสนุนโครงการเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney” ด้วยแนวคิด “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” มุ่งส่งเสริมให้ความรู้การเงินบริหารจัดการหนี้สินให้กลุ่มประชาชนที่มีภาระหนี้สิน เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างวินัยการเงินที่ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า “ด้วยปัจจุบันสภาพสังคมบริโภคนิยม การใช้จ่ายเกินตัว การกู้ยืมเงินและขาดวินัยทางการเงิน ทำให้เกิดภาวะ “หนี้สิน” กับประชาชนเป็นจำนวนมากโดยกลุ่มคนที่มีปัญหาการก่อหนี้เสียมากที่สุดคือ กลุ่มคน Generation Y หรือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 22-37 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากอยู่ในช่วงของการทำงานและการเริ่มก่อร่างสร้างตัวหากไม่สามารถจัดการปัญหาหนี้สินได้ นอกจากจะสร้างปัญหากับตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวสังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่เราเห็นภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณหนี้เสีย โดยที่ผ่านมาสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ริเริ่มให้มีโครงการเพื่อช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาหนี้สินอย่างครบวงจรมาอย่างต่อเนื่องเครดิตบูโรก็ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการเว็บไซต์”มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney”ด้วยแนวคิดง่ายๆ คือ “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลความรู้ทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้สินโดยเน้นให้กลุ่มประชาชนที่มีภาระหนี้สินและกลุ่มประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างวินัยการเงินที่ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตทางการเงิน ที่ดีแก่ประชาชนอีกด้วย”

สำหรับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney” นั้น จะประกอบด้วย 6 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1) การบริการสำหรับผู้ป่วยเป็นหนี้ที่จะแบ่งระดับของภาวะหนี้อย่างเข้าใจ 2) การฟื้นฟูสุขภาพการเงินเพื่อให้มีสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น3) กฎหมายคลายหนี้ ในมุมที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาต่างๆ 4) โปรแกรมคำนวณตรวจสุขภาพหนี้ รู้อาการหนี้ก่อนใคร 5) กูรูกู้รู้รวม เคล็ดลับ เรื่องหนี้อย่างชาญฉลาด 6) การรณรงค์ป้องกันหนี้ที่มีข่าวสารสาระความรู้ทั่วไปเรื่องการเงินไว้อย่างมากมายพร้อมให้บริการแล้ว แค่คลิกมาที่ www.thaidebtmoney.com หรือ www.มันหนี้.com และ www.facebook.com/thaidebtmoney ซึ่งจะมีข้อมูลเพื่อช่วยเหลือประชาชนจัดการหนี้สิน ผ่านออนไลน์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงทุกกลุ่มสู่การมีวินัยทางการเงินที่ดีต่อไป

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร อรภัทร รังษีวงศ์ 02 612 5850
E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

www.มันหนี้.com หรือwww.thaidebtmoney.com

“นิด้าโพล” และ “เครดิตบูโร” เผยผลสำรวจ “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก 2560”

17 กรกฎาคม2560 :ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ร่วมจัดงานแถลงข่าวผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง”พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในครึ่งปีแรก 2560″และเสวนาเรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของคนไทย”

ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน จากนิด้าได้แก่ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการผศ.ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น”นิด้าโพล”ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ผศ.ดร.ปริยดา สุขเจริญสินผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และนายสุรพลโอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรร่วมในงานแถลงข่าวผลสำรวจและเสวนาดังกล่าว

ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการนิด้า กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ได้มีโอกาสร่วมมือกับเครดิตบูโร เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน การบริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนการวางแผนการออม โดยการสำรวจความคิดเห็น เป็นหนึ่งในภารกิจของ นิด้าโพล ที่ต้องการสนับสนุนการบริการทางวิชาการในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ หรือการทำโพล เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม การวิจัยและงานวิชาการอื่น ๆรวมถึงประเทศชาติต่อไป โดยหวังว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หน่วยงาน สถาบันการเงิน หรือองค์กรต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง นำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจการวางแผน หรือการกำหนดนโยบายสาธารณะต่าง ๆ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 ต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น”นิด้าโพล”ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก 2560”จากประชาชนที่มีรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.15 มีรายได้ พอ ๆ กับรายจ่าย โดยประชาชนมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 26,469.91 บาท ขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,606.75 บาท ทั้งนี้ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อย หรือร้อยละ 51.65 มีเงินออมไว้ใช้ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 48.79ออมเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย อุบัติเหตุร้อยละ 38.33 ออมเพื่อสำรองไว้ใช้ในอนาคตร้อยละ 26.91 ออมไว้ให้บุตรหลานตลอดจนการศึกษาของบุตรหลานร้อยละ 12.58 ออมใช้ในระยะยาวช่วงหลังเกษียณอายุ

ส่วนการมีหนี้สินของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.10 ระบุว่ามีหนี้สิน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนี้สินโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 565,302.88 บาทร้อยละ 59.47 เกิดจากการซื้อ/ผ่อน/ชำระสินค้า การบริการ สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมาร้อยละ 35.46เกิดจากการลงทุนในการประกอบอาชีพการดำเนินธุรกิจ กิจการ การเกษตร การค้าขาย ร้อยละ 14.24 เกิดจากการเลี้ยงดูบุตรหลาน ร้อยละ 11.89 เกิดจากการเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 6.17 เกิดจากการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ
สำหรับวิธีการบริหารจัดการหนี้สินของประชาชนที่มีหนี้สิน พบว่า ผู้ที่มีหนี้สินนั้นส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.01 จะชำระยอดค้างให้ตรงต่อเวลา ร้อยละ 19.46 ไม่สร้างหนี้สินเพิ่มเติม ร้อยละ 14.17 ลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 13.29 หาช่องทางการเพิ่มรายได้ เช่น ทำอาชีพเสริม หารายได้พิเศษ ทำงานล่วงเวลา ร้อยละ 10.50 ระบุว่า เลือกแบ่งงวดจ่ายให้มากครั้ง แต่จ่ายจำนวนเงินต่อครั้งให้น้อย ๆ ขณะที่ประชาชนมีความสามารถในการชำระหนี้สินเฉลี่ย7.72คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10) ซึ่งอยู่ในระดับมาก

นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของคนไทย”โดยได้รับเกียรติจากนายสุรพลโอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโรผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า และ ผศ.ดร.ปริยดาสุขเจริญสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ นิด้า ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการ เป็นการให้ความรู้แบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับผลการสำรวจ ปัญหาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ตลอดจนแนวนโยบายในการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วย

ในการนี้ นายสุรพล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเครดิตบูโรได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลวิชาการที่เป็นประโยชน์ แก่ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” นับว่าเป็นความร่วมมือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งแรกเพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน การออม การใช้จ่าย ซึ่งผลสำรวจในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และผลที่ได้จะช่วยต่อยอดวิเคราะห์เรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออม ภาวะหนี้สิน การใช้จ่าย และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การป้องกัน แก้ไขปัญหาหนี้ของคนไทยได้อย่างทันการณ์ต่อไป โดยเครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาหนี้ คือ ให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างพฤติกรรมและวินัยทางการเงินที่ดี ผ่านเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “Thai Debt Money” แก่กลุ่มผู้มีภาวะหนี้สินและประชาชนทั่วไป ถือว่าสอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในระดับภูมิภาคของรัฐบาลอีกด้วย

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สันติดีวิเศษ
โทร. 02 727 3596 E-mail: nida_poll@nida.ac.th/ website:www.nidapoll.nida.ac.th / facebook: www.facebook.com/nidapoll
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กรอรภัทร รังษีวงศ์
02 612 5850 E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

จะวันไหนๆ เราก็พร้อมบริการ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2560 รอรับได้เลย ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท ใช้บัตรประชาชนของตนเอง

ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

 

รับคำขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์
ทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ค่าบริการรายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท

รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

*เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น

หากต้องการตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป รอรับได้ทันที ….ฟรี! ค่าบริการ

ตรวจสอบสาขาที่ให้บริการเพิ่มเติม ที่ www.thailandpost.co.th 

ไขข้อสงสัยเรื่องเครดิตบูโร

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

 

ทำไมต้องมีเครดิตบูโร ในระบบการเงินของไทย

ที่มา : เว็บไซต์คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

ข้อมูลเครดิตคืออะไร

Blacklist ความเข้าใจผิดที่ควรทราบ

 

อยากรู้จังทำไม ขอสินเชื่อไม่ผ่าน

หลักสากล 3 ประการ มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเครดิต

รายงานข้อมูลเครดิต

สิทธิเจ้าของข้อมูล

ติดต่อเครดิตบูโรได้ทางไหนบ้าง

ทำไมเราต้องไปตรวจเครดิตบูโร

 

การอัพเดทข้อมูลในรายงานเครดิตบูโร

 

เรื่องต้องรู้ ติดตามรายงานเครดิตบูโร

 

ข้อมูลเครดิตคืออะไร ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

 

ข้อมูลเครดิตจัดเก็บอย่างไร นานแค่ไหน

เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติชำระหนี้ได้หรือไม่

เมื่อท่านถูกปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อ

ทำอย่างไร เมื่อต้องการปิดบัญชีหนี้

 

ประวัติเครดิต…ซ่อมได้

 

เรื่องน่าอ่าน