การบริหารเงินสำคัญแค่ไหน กับเรื่องการเงินที่คนทุก GEN ต้องรู้

 

ในแต่ละช่วงวัยหลายคนก็วาดฝันว่าอยากใช้ชีวิตที่สมบูรณ์และพร้อมในหลาย ๆ ด้าน  ทั้งหน้าที่การงาน การเงิน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความมั่นคงในอนาคต และยิ่งในปัจจุบันนี้เราต่างต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤติการเงินต่าง ๆ ทำให้เราต้องพร้อมรับมือกับเรื่องการเงินอยู่ตลอดเวลา

เมื่อเป็นเช่นนี้เรามารู้เรื่องที่จะต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงินและฝึกฝนด้านการเงินเพื่อไปสู่ความมั่งคั่งตั้งแต่วันนี้ ด้วยกฎการเงินง่าย ๆ 6 ข้อ

 

  1. เลิกผ่อนและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต

เราคงจะเห็นข่าวกันแล้วว่าในปี 2565 หนี้ครัวเรือนในไทยอยู่ในระดับสูง ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง หากเรายังคงเลือกที่จะรูดบัตรชำระขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ หรือเลือกผ่อน 12 เดือน 24 เดือน ดอกเบี้ยก็จะทบต้นไปเรื่อย ๆ กลายเป็นลูปวงจรที่เราหนีไม่พ้น ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรเลิกใช้บัตรเครดิตไป หรือหากต้องการใช้เพื่อรับสิทธิพิเศษก็แนะนำว่าควรชำระหนี้แบบเต็มจำนวน เพื่อไม่ให้เกิดวงจรหนี้ในอนาคตจะดีที่สุด

 

  1. เริ่มออมเงินต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อเกิดวินัยทางการเงินของตนเอง

ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนเงินที่เมื่อก่อนเคยใช้จ่ายได้อย่างเพียงพอก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป สินค้าและการบริการเริ่มปรับขึ้นราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจะใช้จ่ายแบบเดิมอย่างที่เคยเป็นมาคงไม่ได้ การที่จะบริหารการเงินให้มั่นคงเริ่มได้จากประเมินรายจ่ายให้รอบคอบ และคำนวณรายจ่ายที่หมดไปในแต่ละเดือน เมื่อรู้ตัวเลขที่ชัดเจนก็ลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็น และแปลงมาเป็นเงินออมในทุก ๆ เดือน อย่างสม่ำเสมอ และทำเช่นนี้ไปอย่างน้อย ๆ 6 เดือน เพื่อให้เกิดวินัยทางการเงิน

 

  1. บริหารเงินให้รอดด้วยกฎการเงิน 30 วัน

ใน 1 เดือน เราได้รายรับ 1 วัน และต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปอีก 30 วัน กฎการเงิน 30 วันที่ว่าเริ่มต้นจากการที่ในตลอด 1 เดือน เราจะไม่ใช้จ่ายอย่างอื่นเลย ยกเว้นแต่รายจ่ายพื้นฐาน เช่น ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เป็นต้น เหมือนเป็นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปและช่วยให้เรามีเงินออมเพิ่มมากขึ้น

 

  1. ใส่ใจกองทุนและสวัสดิการที่มี

หันมาสนใจกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสวัสดิการต่าง ๆ ที่บริษัทมีให้ว่าตลอดการทำงาน ไปจนถึงชีวิตหลังเกษียณเราจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรจากกองทุนและสวัสดิการเหล่านี้ เพื่ออย่างน้อย ๆ เราจะได้วางแผนชีวิตได้อย่างไม่มีพลาด

 

  1. ศึกษาการลงทุนแบบอื่น ๆ

การลงทุนเหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อ โดยรูปแบบการลงทุนมีหลายแบบแต่หลายคนอาจละเลยไปเพราะมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ตัวอย่างการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ เช่น หุ้น กองทุนรวม เป็นต้น

 

  1. หมั่นตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจสอบข้อมูลเครดิตเสมือนเป็นการตรวจสุขภาพการเงิน เพื่อเช็กประวัติการเงินของเราว่ามีการค้างชำระหรือหนี้งอกหรือไม่ ทั้งยังช่วยให้รู้เท่าทันป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน ตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหากมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็จะสามารถขอแก้ไขข้อมูลเครดิตได้ทันเวลา ไม่ให้เกิดเครดิตการเงินที่ไม่ดี

 

กฎการเงินทั้ง 6 ข้อ เป็นแนวทางการบริหารการเงินที่ควรเรียนรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อที่เราจะได้รับมือกับการเงินได้ในทุกช่วงเวลาและช่วงวัย และก้าวไปสู่ความมั่นคงในอนาคตได้สำเร็จ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dfcufinancial.com/About-Us/DFCU-News/news-articles/11-money-rules-you-need-to-memorize-before-you%E2%80%99re