เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “มีวินัยเพราะกลัวติดเชื้อ​พอผ่อนปรนก็มีคนบางจำพวกทำเป็นไม่เข้าใจ…เดี๋ยวได้เริ่มต้นใหม่ ” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2563

มีวินัยเพราะกลัวติดเชื้อพอผ่อนปรนก็มีคนบางจำพวกทำเป็นไม่เข้าใจเดี๋ยวได้เริ่มต้นใหม่ 

การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดกับการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่​ COVID​-19​ เป็นเรื่องที่ฝืนความเป็นมนุษย์ในสังคมเป็นอย่างยิ่งเพราะมนุษย์ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะชอบการแลกเปลี่ยนสนทนากันชอบการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมันยิ่งส่งเสริมการแพร่ระบาดการใช้มาตรการควบคุมให้แยกกันอยู่ให้อยู่ห่างกันให้กักกันตนเองจึงทำให้เสรีภาพที่จะทำสิ่งต่างๆมันหดหายไปแต่ด้วยความที่กลัวตายจึงยอมแลกกับการจำกัดสิทธิ์ทีนี้พอจะเริ่มผ่อนปรนก็จะมีคนบางจำพวกเริ่มมีปฏิกิริยาที่ไม่น่ารักเอาเสียเลยเริ่มมีการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตนเองครอบครัวและสังคมรอบข้างเช่นเขาบอกอย่าเพิ่งเดินทางก็จะไปเขาบอกว่าต้องกินอยู่แบบห่างๆ ก็บอกจะเอาแบบเดิมเขาบอกว่าอย่าเพิ่งสังสรรค์ก็จะรีบตั้งวงฉลองแล้วก็อ้างตัวเลขว่ามันลดลงแล้วคำถามคือตัวเลขมันลดเพราะคนส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนต้องรับผลพอจะดีขึ้นทำไมต้องทำให้ผลลัพธ์ที่อุตส่าห์ร่วมทำกันมาหายไปนี่คือข้อความบางส่วนของคนที่มีส่วนช่วยงานอยู่เบื้องหลังให้ระบบและสภาพการณ์มันดีขึ้นคนทำงานทุกคนเหนื่อยใจกับสิ่งที่เป็นความเสี่ยงตรงหน้าดังนี้ครับ

คนในสังคมเราบ่นเก่ง บ่นได้ทุกเรื่อง ใครทำอะไรสักอย่าง ก็จะมีอีกร้อยคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ตลอดทั้งที่รู้จริงไม่รู้จริงอ่านไลน์แล้วก็เกรียนคีย์บอร์ดออกมา

การมีมาตรการควบคุมโรคใดๆ ก็ตาม ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าควบคุมมันก็ต้องมีการจำกัดสิทธิ์ ลิดรอนสิทธิ์ ไม่อิสระเหมือนยามปกติที่ไม่มีการแพร่ระบาดโรค

ซึ่งถ้าในสุดโต่งด้านนึง คือ lockdown ทุกคนให้อยู่บ้าน เท่าเทียมกันแต่ตอนนี้เราจะเริ่มเปิดเมือง ออกจาก lockdown เริ่มมีมาตรการการใช้การควบคุมแบบบางคน คือลดจากการควบคุมทุกคน มาเป็นคุมบางคนเฉพาะกิจกรรมเฉพาะธุรกรรม เฉพาะบางคนที่อาจมีเชื้อติดตัวอยู่ซึ่งไม่แสดงอาการ มันมีความเสี่ยงเพราะมีเชื้อมากกว่าคนอื่น การผ่อนปรนแบบนี้ย่อมต้องมีความไม่เท่าเทียมกันตามกิจกรรมความเสี่ยง ย่อมต้องมีการรอนสิทธิ์ มันต้องมีไม่เท่ากัน ไม่เสมอภาคตามความจำเป็นแน่นอน แต่ก็เรียกว่า ดีกว่าการจำกัดสิทธิ์ ทุกคนเท่ากันแบบ lockdown ทั้งเมือง และอย่างน้อยจะดีขึ้นเพราะกิจกรรมทางสังคม ทางเศรษฐกิจบางส่วนซึ่งก็เป็นภาคที่ดูแล้วว่าจำเป็น เช่น ผู้ค้ารายย่อยผู้มีรายได้ไม่มากเดินต่อได้สามารถสร้างรายได้ในเวลายากลำบากนี้

แต่เพียงแค่นี้ ก็มีคนเริ่มมาบ่นแล้วว่า ลิดรอนสิทธิ์คน สร้างความไม่เท่าเทียม ฯลฯ บ่นว่า ว่าการใช้แอป ให้มีการคัดกรองคนเข้าสถานที่ เป็นการไม่ยุติธรรม ปฏิบัติกับแต่ละคนไม่เท่าเทียม (ไม่คัดกรองแล้วจะตามตัวอย่างไรถ้าคนๆ นั้นเกิดเป็นคนที่แพร่เชื้อตัวพ่อตัวแม่)​
หรือเราอยากจะให้คนติดเชื้อ ก็มีสิทธิ์ที่จะไปสนามมวย ไปกินหมูกะทะ ไปกินชาบูกินสุกี้แบบเท่าเทียมกันสุดๆ ไปเลย
หรือไม่ก็เปิดเลยไหม อิสระเลย ใครไปไหนทำอะไรก็ได้ตามใจ เท่าเทียมกันหมดแบบเหมือนมันไม่มีการแพร่ระบาด
แล้วตกลงพวกเราสังคมเราเพื่อนฝูงพี่น้องเราจะดำเนินมาตรการควบคุมหรือไม่ควบคุมการระบาดของโรคอย่าลืมนะครับว่าถึงตอนนี้เรายังไม่มีวัคซีนมาป้องกัน

อย่าให้ใครต่อใครมากล่าวว่าสังคมไทยพัฒนายาก เพราะมีคนจ้องมองหาปัญหาในทุกทางออกที่มีใครก็ตามเสนอมากมาย​ (พวกกลอนพาไปก็เยอะ)​ วิพากษ์วิจารณ์โจมตีมากจนเวลานี้จะเหลือคนทำงานคนที่ตั้งใจที่มุ่งมั่นหาทางออกจากปัญหาต่างๆ ที่สังคมต้องเผชิญอยู่น้อยลงไปทุกทีสุภาษิตไทยที่ว่า​ “ปากจะพาจนก็คราวนี้แหละ

คำพูดที่เจ็บปวดใจตอนที่คนประเภทสร้างปัญหาที่มักจะพูดคือผม (ฉัน)​ ไม่ได้ติดเชื้อนี่นาทำแค่นี้ไม่เห็นจะเป็นไรแต่พอมีเรื่องขึ้นมาจริงๆก็จะมาตีหน้าเศร้าคอตกไม่กล้าสบตาแล้วก็พูดว่าต้องขอโทษทุกๆ คนผม (ดิฉัน)​ รู้เท่าไม่ถึงการณ์มันเป็นเช่นนี้อยู่ร่ำไปวนซ้ำซากถ้าวันนี้เราท่านทุกคนยังคิดไม่ได้ไม่ช้าไม่นานเราท่านทุกคนจะเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด
วินัยเพราะกลัวติดเชื้อพอผ่อนปรนก็มีคนบางจำพวกทำเป็นไม่เข้าใจเดี๋ยวได้เริ่มต้นใหม่เศรษฐกิจจะหายนะมากกว่านี้
ขอบคุณมดงานที่อยู่ข้างหลังภาพความสำเร็จที่ทำให้เราบอบช้ำน้อยกว่าหลายๆประเทศมา โอกาสนี้ด้วยความเคารพครับ