เริ่มมีข้อเสนอเกี่ยวกับ รหัสสถานะบัญชีใหม่ หนี้เสียที่เกิดจากโควิด-19
บทความในวันนี้ของผมใคร่ ขอเสนอประเด็นต่อเนื่ องจากบทความครั้งก่อนหน้า (เศรษฐกิจภาษาคน โดยคุณสุ ตอนที่ 17/2565 : ต้องจุดเศรษฐกิจให้ติด ผู้คนมีรายได้ คือการแก้ไขปัญหาหนี้ วันที่ 25 เมษายน 2565) ที่ได้มีการพูดถึงในหน้าข่าวสื่ อมวลชนด้านเศรษฐกิจว่า ในสถานะตัวเลขของเดือนมกราคม 2565 เมื่อสมาชิกของเครดิตบูโร จำนวนกว่า 120 สถาบันการเงินได้ส่งข้อมูล เข้าระบบโดยมีการแจ้งรหั สสถานะบัญชีใหม่เพิ่มเติมเป็ นครั้งแรกว่า ในกรณีที่บัญชีสินเชื่อนั้นได้ เกิดการค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ภาษาชาวบ้านคือค้างชำระเกิน 3 งวด หรือ 3 เดือนติดต่อกัน) แล้วกลายเป็นหนี้เสียหรือหนี้ NPL แล้ว ให้ดูต่อกลับไปในอดีตว่าในปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดการแพร่ระบ าดโควิด-19 นั้น บัญชีดังกล่าวมีการค้างชำระหรื อไม่ ดูต่อว่าเจ้าของบัญชีหรือลูกหนี้ รายนั้นมีกี่บัญชี ทุกบัญชีจะต้องมีการชำระที่ดีทั้ งหมด เพื่อให้มั่นใจว่า การที่บัญชีที่ดีขนาดนั้น เจ้าของบัญชีจ่ายหนี้ดีขนาดนั้ น ในปี 2562 แต่วันนี้ผ่านมาสองปี ได้กลายมาเป็นหนี้เสีย ผลกระทบที่เกิดกับลูกหนี้เจ้ าของบัญชีนั้นมันต้องเป็นเหตุ การณ์ไม่ปกติ ซึ่งเหตุการณ์ไม่ปกติในช่วงปี 2563-2564 มันมีเรื่องเดียวคือ income shock เนื่องจากมาตรการทางสาธารณสุ ขในการแก้ไข และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรั สโควิด-19 ไม่น่าจะมาจากเหตุการณ์อื่นใด
ผู้เขียนคิดไว้เสมอตอนที่ พยายามจะแยกแยะข้อมูลให้ได้ว่ า บัญชีที่เคยเป็นหนี้ดีต้ องกลายมาเป็นหนี้เสียในช่ วงสองปีของสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 นี้ ซึ่งก็พบกับความจริงในเดื อนมกราคม 2565 ว่ามีจำนวน 2.3 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 2 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้จะยังไม่หยุด มันคงจะเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะมันยังไม่จบเรื่ องโรคระบาดโควิด-19 ยังคงมีประเด็นอื่นที่แทรกซ้ อนขึ้นมาจนทำให้ลูกหนี้เจ้ าของบัญชีดังกล่าวต้องยอมแพ้ ในการหาเงินมาชำระหนี้ตามที่ กำหนด อาการนี้ที่เรียกว่า “หมดแรงกับหมดลม” คงจะเพิ่มขึ้น ตัวเลขที่ออกมาเบื้องต้ นในไตรมาสที่หนึ่งก็น่าจะเพิ่ มเป็น 2.5-2.7 ล้านบัญชีประมาณนี้ ซึ่งมันก็บ่งบอกได้ถึงความอ่ อนแอในไส้ในของหนี้ครัวเรื อนไทยที่ก่อกันมา สร้างกันมาแต่ในอดีตหลังน้ำท่ วมใหญ่ปี 2554 ถ้าเราจะยังจำกันได้ถึงการกู้ เพื่อซ่อมสร้าง รถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก เกษตรกรสร้างหนี้เพราะเชื่ อในรายได้จากโครงการจำนำข้าว เป็นต้น
อย่างที่ได้จั่วหัวในตอนต้ นของบทความ เมื่อผู้เขียนได้รับทราบข่ าวสารว่า สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดมิเนียมได้ ออกมาแถลงถึ งแนวนโยบายในการดำเนินการในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับเครดิ ตบูโรความตามเนื้อข่าวที่เปิ ดเผยออกมาว่า
“… ผมเข้ามาร่วมงานสมัยนายกประเสริ ฐ (แต่ดุลยสาธิต) กับนายกอาภา (อรรถบูรณ์วงศ์) ทั้งสองท่านทำภารกิจต่าง ๆ ส่งเสริมสมาคมและส่งเสริมผู้ ประกอบการ สำหรับยุคโควิด-19 ธุรกิจคอนโดมิเนี ยมเรากระทบมากที่สุดเลยในอสั งหาริมทรัพย์ ผลกระทบคงไม่แพ้ธุรกิจโรงแรม เรามีสต็อกคอนโดฯ มีที่ดินรอเปิดขายคอนโดฯ มาสัก 3 ปีที่ไม่ได้เปิดสักที คิดว่าเป็นภารกิจที่พยายามผลั กดัน
ผมคิดว่าสุขภาพคอนโดฯ หรือสุขภาพลูกค้า ปีโควิด-19 ไม่เหมือนปีปกติ ซึ่งปีปกติมีบัณฑิตจบใหม่รอมาซื้ อ กลุ่ม first jobber เป็นดีมานด์ ซื้อคอนโดฯ หลังแรกอย่างต่อเนื่อง แต่การจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ในช่ วง 2-3 ปี (ปี 2563-2565) ค่อนข้างตะกุกตะกัก รายได้อาจไม่ค่อยดีเหมื อนภาวะปกติ เป็นภารกิจแรก ๆ ที่ต้องเข้าไปช่วยกันกระตุ้ นกำลังซื้อตรงนี้
ผมมีไอเดียคุยกับทางนายกท่านเก่ า ไปผลักดันร่วมกับหน่วยงานรัฐต่อ รวมถึง NCB บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ยุคโควิด 2 ปีที่ผ่านมาเป็นอุบัติเหตุ ทำให้เขา (ลูกค้า) กู้ไม่ได้ ถ้าเราไปผลักดันว่าตรงนี้ไม่นั บได้ไหม เพราะการเลิกจ้างหรือลดเงินเดื อน ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของผู้ กู้ เกิดจากทั้งประเทศ ทั่วโลก เป็นกระดุมเม็ดแรก ๆ ที่จะเข้าไปทำ…”
ประเด็นที่ผมคิดว่ าอยากจะกราบเรียนทุกท่านที่ตั้ งใจจะสร้างทางออกในเรื่องนี้ ในเชิงเทคนิคของกฎกติกาในระบบปั จจุบันก็คือ
1.ข้อมูลในสมุดพกการก่อหนี้ การชำระหนี้ ของคนที่เป็นลูกหนี้คือความจริ งตามสภาพและเหตุปัจจัย ข้อมูลนี้ไม่ควรถูกปิดบัง ทำให้สั้นกว่ามาตรฐานโลก และไม่ควรมีการแก้ไขใด ๆ
2.ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ศักยภาพของตัวลูกหนี้ในการสร้ างรายได้ หารายได้มาชำระหนี้ในอนาคตที่ จะก่อเพิ่มจากการซื้อทรัพย์สิน ประเภทคอนโดมิเนียมนี้ยังมีศั กยภาพอยู่ และจะมั่นคงแข็งแรงเมื่อโควิด- 19 ซาลง นั่นคือการพิสูจน์ให้ได้ว่ามี แหล่งรายได้มาชำระหนี้ค่อนข้ างแน่นอนกับภาระหนี้ที่เพิ่ม
3.กฎกติกาที่ผูกมัดรัดตรึงคนให้ กู้ สถาบันที่ให้กู้ ในกรณีที่จะให้กู้กับคนที่มีบั ญชีหนี้เสีย แล้วปรับโครงสร้างหนี้เสียแล้ว ต่อมาต้องการกู้เพื่อซื้ อคอนโดมิเนียมเพิ่มนั้น มันมีจุดใดต้องปลดล็อกด้วยนะครั บ ระยะดูใจหลังจากที่มีการปรั บโครงสร้างหนี้จากคนเคยมีบัญชี หนี้เสีย เคยเป็นหนี้เสีย มาเป็นหนี้ระหว่างปรับโครงสร้ างและต้องการกู้เพิ่มคืออะไร อันนี้ต้องลงไปหาทางปลดล็อกด้ วยนะครับ ไม่งั้นเจ้าหนี้ที่อยากปล่ อยคงยากจะทำใจได้ครับ
4.เห็นด้วยมาก ๆ ครับกับการลดราคาลงมาให้เกิ ดความสมเหตุสมผล ตามสถานการณ์ครับ ผ่อนสั้นผ่อนยาว เบาได้เบา เวลานี้ก็ต้องไปให้รอดทั้งสามฝ่ ายคือคนกู้มาเพื่อซื้อ เจ้าของโครงการที่กู้มาเพื่อสร้ าง สถาบันการเงินคนที่เอาเงินฝากที่ ระดมมาให้กู้ แต่พอเห็นกำไรที่ท่าน ๆ แจ้งในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ผู้เขียนคิดเอาเองนะครับว่าน่ าจะลงไปได้อีก อีกเยอะพอสมควร เพื่อให้น้อง ๆ คนทำงานหน้าใหม่ ผู้กู้หน้าใหม่ ลูกค้ากลุ่มใหม่ คนรุ่นใหม่ มีที่อยู่ใหม่ และเชื่อในระบบเศรษฐกิจใหม่ว่ า มันทำให้พวกเขามีโอกาสได้มีบ้ านใหม่เป็นของตนเอง
ในอดีตเปิดโครงการ มีคนมาจองตอนพรีเซลพอประมาณ จากนั้นก็มีการขยับราคาขายขึ้ นไป บริหารต้นทุนการก่อสร้าง ต้นทุนการขาย การส่งเสริมการขายที่เพิ่มขึ้ นไป คนรายหลังซื้อแพงกว่ารายแรกเรื่ อย ๆ จนกราฟสามเส้นนี้ไปบรรจบกันพอดี ตอนขายจบ สร้างเสร็จ ปิดโครงการ ลงบัญชี กำไรออกมาแบบ wow wow เพลายามนี้เอาแต่พอควรนะครับ เบาได้เบา อย่างน้อยเราก็จะได้ร่วมด้วยช่ วยกัน ลดเงื่อนไขในประเด็นความคิด ความรู้สึกนึกคิดของน้อง ๆ คนเริ่มทำงาน คนจบใหม่ ที่ออกมาบอกว่า มองไม่เห็นอนาคตที่จะมีหนึ่ งในปัจจัยสี่ในบ้านเรา ซึ่งมักจบลงด้วยคำบอกว่า อยากย้ายประเทศ ที่คนรุ่นผมรับฟังแล้วได้แต่คิ ดว่า
“ทำกำไรกันจนมาถึงจุดนี้ได้อย่ างไร…”
กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติ ดตามนะครับ ผิดพลาดประการใดโปรดให้อภัยด้ วยนะครับ