คอลัมน์เศรษฐกิจภาษาคน โดยคุณสุ : เรื่องที่อาจมองข้ามถ้าเราจะไป​ Digital Lending สำหรับ​ SMEs : วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565

เรื่องที่อาจมองข้ามถ้าเราจะไป​ Digital Lending สำหรับ​ SMEs

เรื่องของเรื่องก็คือมีการพูดการเสวนากันมามากมายต่อเนื่องและต้องการให้กระบวนการขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อสำหรับผู้ขอสินเชื่อประเภท​ SMEs หรือคนตัวเล็กในระบบเศรษฐกิจไทยในเวลานี้เวลาที่เรากำลังยากลำบากในช่วงของการระบาด​ Covid-19 ​ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางของประเทศสมาคมธนาคารไทยสมาคมสถาบันการเงินของรัฐสมาคมฟินเทคหรืออีกหลายสมาคมต่างก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่าถ้าเราร่วมมือกันพัฒนาผลักดันให้การพิจารณาสินเชื่อดีขึ้นเร็วขึ้นสะดวกมากขึ้นลดการเจอหน้าลดการใช้เอกสารกระดาษลดเวลาการพิสูจน์ว่าคนกู้ใช่คนนี้ไหมเอกสารหลักฐานปลอมไหมซึ่งมันก็ไปทำให้เกิดความรู้สึกว่า รอช้ารอผลการพิจารณาว่าให้ไม่ให้นานเกินไปและร้องขอเอกสารมากมายเกินไปเรื่องพวกนี้คุยกันมาถ้าจำความได้ก็มีเกิน​ 7-10 ปี​ 

แต่เวลานี้ปี พศ.2565 นี้ยุคสมัยเปลี่ยนไปมากคนค้าขายปรับตัวเข้ากับเรื่องที่ต้องรู้ด้านดิจิทัลมากขึ้นต้องรู้จักการโอนเงินแบบไร้รอยต่อ​ QR code ไม่ต้องพูดถึงการโอนเงินรับเงินเข้าออกเช็กได้ตลอดเวลาต้องขอขอบคุณอุบัติเหตุตอนเจรจาค่าธรรมเนียมการโอนเงินจนมีการออกแคมเปญฟรีค่าโอนเงินสิ้นเรื่องสิ้นราว นำมาสู่การยกระดับการแข่งขันแบบสุด เพราะเมื่อการโอนเงินไม่ว่ากี่บาทไม่มีค่าธรรมเนียมก็หมายความว่าอิสรภาพของการทำธุรกรรมทางการเงินมันเกิดอย่างมโหฬารเพราะการทำธุรกรรมทางการเงินพื้นฐานคือฝากเข้าถอนออกโอนเข้าโอนออกจ่ายชำระหรือรับชำระมันคือพื้นฐานที่สำคัญที่มีการปลดล็อกจากค่าธรรมเนียม

ทีนี้กลับมาเรื่อง​ Digital​ Lending มันมีเงื่อนไขบางประการที่น่าสนใจคือ

1.ต้องทำรายการผ่านเครื่องมือสื่อสารได้ทุกประเภทโดยเฉพาะอวัยวะที่​ 5 คือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ)​

2.ไม่จำเป็นว่าต้องมาพบเห็นกันต่อหน้าเพื่อจะพิสูจน์ตัวตนว่านาย A คือ นาย A นั่นหมายความว่านาย ​A ต้องมี​ Digital ID เหมือนกับมีบัตรประชาชนในโลกดิจิทัลนั่นเอง

3. เอกสารข้อมูลที่ต้องการไม่ว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีรายการเดินบัญชี (Bank Statement)​ ซึ่งมันเป็นข้อมูลของคนยื่นขอสินเชื่อในโลกของกระดาษมันต้องไปคัดสำเนารับรองความถูกต้องลงนามทุกหน้าแล้วก็ให้คนเอาไปส่งกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อข้อมูลเหล่านี้หน่วยงานที่ดูแลมันก็อยู่ในระบบอยู่แล้วเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์อยู่แล้วทำอย่างไรจะให้คนที่ดูแลข้อมูลเหล่านี้ยอมปล่อยข้อมูลผ่านท่อ ผ่านระบบไปยังคนที่ต้องการใช้ได้เลย

4. มันมีข้อมูลอื่น อีกมากมายนอกจากข้อมูลจากเครดิตบูโรที่จะใช้วัดใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ความตั้งใจในการชำระหนี้ความเต็มใจไม่หลีกหนีในการชำระหนี้ที่กลุ่ม​ Fintech​ เรียกว่าข้อมูลทางเลือกหรือ​ Alternative data บ้านอื่นเมืองอื่นเขาก็ลองเอามาใช้บ้างแล้วใช้ได้บ้างใช้ไม่ได้บ้างแต่มันก็ยังดีที่เริ่มแล้วดีกว่าเอาแต่พูด กัน​ No Action​ Talk Only 

5. มันมีกฎหมายให้ความคุ้มครองคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลตัวจริงคนที่ดูแลรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยแบบเครดิตบูโรนั้นไม่ใช่เจ้าของข้อมูลนะครับตรงนี้ต้องไม่เข้าใจผิดดังนั้นข้อมูลของใครไปถูกจัดเก็บที่ไหนคนที่จะบอกคนจัดเก็บให้ส่งไปที่ไหน (Data​ portability) ก็คือเจ้าของข้อมูลโดยคนที่ดูแลข้อมูลจะปล่อยได้ก็ต่อเมื่อเขาเห็นเอกสารการให้ความยินยอม (Consent) ของเจ้าของข้อมูล เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้เขาส่งข้อมูลออกไปเขาก็ผิดกฎหมายเข้าข่ายละเมิดมีโทษรุนแรง​ 

ปัจจุบันประเทศเรามีโครงสร้างพื้นฐานเกือบครบสมบูรณ์แล้ว​ 

1. เรามี​ Digital​ ID Platform เพื่อรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแบบไม่พบเห็นต่อหน้าแล้วเช่น​ NDID

​2. เรามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลเครดิตกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำหนดบทบาทอย่างชัดเจน

3. เรามีระบบการโอนเงินการชำระเงินที่ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมโอนได้​ 24/7​ เพราะเรามี​ Platform National ITMX

4. สิ่งที่เราขาดคือ​ e-Consent Platform ให้เป็นที่ เจ้าของข้อมูลสามารถระบุการให้ความยินยอมว่าให้กับใครให้กับชุดข้อมูลของเขาชุดไหนเช่นชุดข้อมูลทางการเงินชุดข้อมูลทางสุขภาพชุดข้อมูลที่อยู่กับหน่วยงานภาครัฐลองคิดตามผู้เขียนนะครับนาย A มีข้อมูลที่กรมสรรพากรเป็นข้อมูลยื่นแบบเสียภาษีข้อมูลนี้สะท้อนว่านาย​ A มีรายได้พอเวลานาย A ไปยื่นขอกู้กับธนาคาร.​ ผ่านมือถือนาย​ A ก็จะแสดงตัวตนผ่านมือถือธนาคาร. ก็จะพิสูจน์ตัวตนของนาย​ A จากนั้นก็จะมีการยืนยันตัวตนนาย​ A โดยสถาบันการเงิน บริษัทให้บริการโทรคมนาคมที่นาย​ A ได้เคยไปลงทะเบียนไว้แล้วในอดีตเมื่อครบขั้นตอนนาย A คือ นาย​ A ในโลกดิจิทัลจากนั้นนาย​ A ก็ต้องให้ความยินยอมคือการให้​ e-consent ตามแบบที่กฎหมายกำหนด  กรมสรรพากรเมื่อได้รับคำขอคัดแบบโดยมีคนทำ e-KYC e-Consent ให้แล้วก็จะสามารถปล่อยข้อมูลไปยังธนาคาร. ตามคำขอของนาย​ A ได้

ประเด็นคือถ้าเป็นหน่วยงานองค์กรกิจการอื่นเขาจะทำอย่างไรเขาเก็บข้อมูลของนาย​ A เขาจะปล่อยข้อมูลออกไปเขาก็ต้องหาคนมาทำหรือไม่งั้นก็มีระบบตรงกลางให้เขาเชื่อถือลดความเสี่ยงทางกฎหมายเพราะถ้าเขาต้องทำเองทุก แห่งมันจะเป็นต้นทุนของระบบคือทุกคนต้องทำเรื่องพิสูจน์ยืนยันตัวตนเองต้องบริหารจัดการความยินยอมเองเพื่อรอตอนเจ้าของข้อมูลจะทำเรื่องมาองค์กรเหล่านั้นไม่ได้ประโยชน์ธุระก็ไม่ใช่มีต้นทุนเพิ่มในยามนี้ดังนั้นการมี e-Consent​ Platform จะช่วยรักษาสิทธิเจ้าของข้อมูลจะยกเลิกเมื่อไหร่ยกเลิกชุดข้อมูลใดไม่ให้แชร์ก็ทำได้ทุกเมื่อคนที่จะปล่อยข้อมูลก็มาเช็กที่นี่ว่ามีความยินยอมถูกต้องสามารถปล่อยข้อมูลไปยังจุดที่เจ้าของข้อมูลได้​ 

วิธีคิดของผู้เขียนคือทำให้ข้อมูลเหมือนเงินที่โอนไปยังที่ใด ได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลครับมันทำได้ทำได้แน่ เรามีคนเก่ง ที่สามารทำให้มันเกิดได้ตอนนี้คือขอให้พวกมนุษย์เอ๊ะ มนุษย์ที่หิวแสง มนุษย์ที่ไม่รู้แล้วชอบพูดว่ารู้กลับมาเงียบกลับมารู้รักแผ่นดินถิ่นเกิดกลับมาทำหน้าที่พลเมืองที่ดีเลิกกวนใจคนที่ตั้งใจทำงานช่วยนั่งหายใจทิ้งเฉย ระบบและประเทศจะได้เดินหน้า​ Digital​ Lending ในรูปแบบที่ถูกต้องและทุกคนสามารถเข้าถึงได้แบบเดียวกับระบบการโอนเงินค่าธรรมเนียมเป็นศูนย์ ที่มันได้ทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยทำธุรกิจธุรกรรมได้โดยไม่มีภาระต้นทุน​ 

Ease​ of Doing คือการทำแบบนี้ครับทำถนนให้คนทุกระดับและรถทุกประเภทสามารถใช้ได้ด้วยความปลอดภัยเท่าเทียม​ 

กราบขอบคุณที่ติดตามครับ