คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ: การเข้ากระชับพื้นที่การกำกับดูแล สถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ:

การเข้ากระชับพื้นที่การกำกับดูแล สถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

จากข่าวสารที่ออกมายังสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเข้ากระชับพื้นที่ของกรอบการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นคง เพื่อเข้าสู่ความสมดุล และจะทำให้เกิดความยั่งยืนของสถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรัฐบาลชุดนี้ (ที่กล้าเข้าไปผ่าตัดโครงสร้าง) โดย ผู้เขียนขอแยกมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วแบบนำร่อง กระตุกความคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากของสหกรณ์สูงสุดปีแรกอยู่ที่ 4.5% จากเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเดิมอยู่ที่ 7% ที่ค่อนข้างสูงโดยมีหลักคิด คือ ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยประจำเฉลี่ยของ 5 ธนาคารขนาดใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ที่ 1.5%) บวก 3% ปีที่ 2 อิงดอกเบี้ยฝากบวก 2.5% เหลือ 4% และปีที่ 3 อิงดอกเบี้ยฝากบวก 2% เหลือ 3.5% ก่อนทยอยปรับอัตราลงปีต่อมา
เพราะการสร้างแรงจูงใจในเชิงผลตอบแทนของผู้ฝากเงินจะมากดดันให้ต้องหาผลตอบแทนในการปล่อยกู้และนำไปลงทุนที่อาจคำนึงถึงความเสี่ยงที่ไม่มากพอ หากเกิดผิดพลาดจะมีความเสียหายกระทบในวงกว้าง
2.การรับฝากหรือนำเงินไปปล่อยกู้ให้สหกรณ์อื่นต้องไม่เกิน 10% ของทุนเรือนหุ้นบวกทุนสำรอง หรือรวมเงินกู้และเงินรับฝากจากสหกรณ์แต่ละรายต้องไม่เกิน 10% จุดนี้สำคัญเพื่อลดลักษณะการเติบโตที่สร้างความเสี่ยงเกินขีด คล้ายๆ กับการควบคุมความเร็วในการวิ่งขิงรถยนต์บนทางด่วน
3.อัตราเงินปันผลที่จ่ายคืนกลับผู้ถือหุ้นต้องไม่เกิน 80% ของกำไรสุทธิเมื่อหักสำรองตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นหลักการสากลทั่วไป
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญครับ ก็คือ ข้อสรุปแนวทางการกำกับเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นหัวใจการดำเนินงาน 3 เรื่อง ได้แก่
(1) การกำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อทุน (D/E Ratio)
(2)สัดส่วนการลงทุนของ สหกรณ์และ
(3) การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
การกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ตามมติ ครม.คือต้องไม่เกิน 1.5 เท่าของหนี้สิน ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าจะระบุว่า อะไรคือหนี้สินล่ะ ดังนั้นข้อสรุปตามข่าว คือ ในส่วนของหนี้สินให้คำนวณนับเฉพาะหนี้เงินกู้ของสหกรณ์บวกกับเงินฝากจากสหกรณ์อื่น แต่ไม่นับรวมเงินฝากของสมาชิก
พูดง่ายๆ คือ ถ้ารับฝากมาจากสมาชิกก็เอาไปให้สมาชิกกู้ต่อ ส่วนนี้ไม่นับ แต่ถ้าสหกรณ์ไปกู้แบงก์มา ไปรับฝากจากสหกรณ์อื่นมาส่วนนี้จะถูกนำมาคำนวณ สมรภูมินี้คือจุดสำคัญในการเข้ากำกับดูแล
การกำหนดสัดส่วนลงทุนของสหกรณ์ต้องไม่เกิน 20% ของทุนเรือนหุ้นบวกทุนสำรอง จากมติ ครม.ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10% อันนี้อาจเป็นเพราะว่ามีสหกรณ์บางแห่งมีการลงทุนมากกว่า 40-50% ของสินทรัพย์ บางแห่งลงทุนสูงถึง 100% ของส่วนผู้ถือหุ้น
การกำหนดเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง 3% ตามมติ ครม.ที่กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 6% ของหนี้สิน (ปัจจุบันกฎกระทรวงให้ดำรงเพียง 1% เกณฑ์บังคับใหม่ 3%) แยกเป็นการดำรงสภาพคล่องส่วนของเงินสด เงินฝากธนาคาร 1% และพันธบัตร 2% โดย ธปท.ได้ผ่อนผันให้สหกรณ์ที่มีเงินฝากกับชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศให้นับเป็นการดำรงสภาพคล่อง 1% ได้
เรื่องที่จะตามมาอีกจุดหนึ่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ปล่อยกู้วนซ้ำต่ำกว่า 1 หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องหาทางแก้ปัญหาหนี้กลุ่มนี้เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มหนี้ครัวเรือน จุดสลบของประเด็นนี้ คือ เกณฑ์กำกับตามมติของ ครม.ระบุว่า สัญญาเงินกู้ที่กู้วนซ้ำน้อยกว่าการเพิ่มหนี้ครัวเรือน จุดสลบของประเด็นนี้ คือ เกณฑ์กำกับตามมติของ ครม.ระบุว่าสัญญาเงินกู้ที่กู้วนซ้ำน้อยกว่า 1 ปี จะต้องกันสำรองหนี้ทั้ง 100% แน่นอนว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ยังไม่เห็นด้วย เราคงต้องตามดูต่อไป
ผมขอชื่นชมท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และทีมงานเป็นอย่างมากที่ได้ดำเนินการสร้างความ เข้มแข็ง มั่นคง สมดุล และยั่งยืน ให้เกิดกับระบบสถาบันการเงินประเภทนี้ เพราะนี้คือความกล้าหาญในการทำในสิ่งที่ต้องทำ เพื่อคุ้มครองดูแลผู้ฝากและผู้ถือหุ้นของสหกรณ์ครับ
ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 7 มี.ค. 2560 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการปฏิรูปการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน (สินทรัพย์ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท) ตามที่หน่วยงานเสนอ