เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “ข้อมูลมากขึ้น​ รู้จักมากขึ้น​ เข้าถึงมากขึ้น​ จริงหรือไม่” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2562

ข้อมูลมากขึ้น​ รู้จักมากขึ้น​ เข้าถึงมากขึ้น​ จริงหรือไม่

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้กันในหมู่ของเครดิตบูโรภาครัฐและเอกชนกว่า​ 10 ประเทศ​ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น​ เครดิตบูโรภาครัฐของเกาหลี​ใต้ เวียดนาม​ ศรีลังกา​ ลาว​ เครดิตบูโรภาคเอกชนจากไทย​ ญี่ปุ่น​ ไต้หวัน​ กัมพูชา​ อินโดนีเซีย ตลอดรวมถึงผู้คนจากกระทรวงการคลัง​ และธนาคารกลาง เช่น​ มาเลเซีย​ บรูไน​ ฟิจิ​ เป็นต้น​ ที่ประชุมได้จัดขึ้นที่โรงแรมเมเลีย ฮานอย ซึ่งเป็นที่เดียวกันกับที่มีการจัดประชุมสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี​ สหรัฐอเมริกา​และผู้นำประเทศเกาหลี​เหนือ​ หัวข้อการประชุมมี​ 3 เรื่องคือ​ บทบาทเครดิตบูโรภาครัฐกับการเปลี่ยนแปลงในระบบสถาบันการเงินของประเทศต่างๆ​ ระบบและการส่งผ่านข้อมูลข้ามประเทศหรือข้ามรัฐ เช่น​ Cross Border Credit Information และเรื่องที่สามคือ​ ข้อมูลทางเลือกหรือ​ Alternative​ data เรียกย่อๆ เป็นที่เข้าใจกันก็คือ​ AD เป็นตัวย่อนั่นเองครับ

Alternative​ data ในมุมของสถาบันการเงินคืออะไร​ คำตอบภาษาชาวบ้านคือ​ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและเปิดเผยได้ตามกฎหมายของตัวบุคคล​ ที่ทำให้สถาบันการเงินได้รับรู้และเข้าใจพฤติกรรมตลอดจนความต้องการของบุคคลคนนั้นที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้มากขึ้นและลึกซึ้งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาที่ผ่านมาสถาบันการเงินพยายามรวบรวมและนำเอาข้อมูลของลูกค้ามาจัดเก็บ​ ทั้งนี้จะรวมถึงข้อมูลการทำธุรกรรมกับตัวของสถาบันการเงินนั้นๆ​ หรือจากใบสมัครสินเชื่อ​ เช่น การเดินบัญชี​ หรือแม้แต่ข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโร เป็นต้น​ ชุดข้อมูลนี้เรามักเรียกกันว่า​ Traditional credit data ขอยกตัวอย่างข้อมูลพอสังเขป ดังนี้
ข้อมูลอาชีพ
ข้อมูลรายได้​ ทรัพย์​สิน
ข้อมูลการศึกษา​ ข้อมูลแหล่งที่อยู่​ ข้อมูลเครดิตก็จะมี​ ส่วนที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงตัวบุคคล ประวัติการก่อหนี้​ การชำระหนี้​ การผิดนัดชำระหนี้​ การปรับโครงสร้างหนี้​ การโอนขายหนี้​ เป็นต้น

ต่อมาก็มีความพยายามจะเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เช่น​ ข้อมูลสาธาณะที่ภาครัฐเปิดเผยและเกี่ยวข้องกับบุคคลที่อาจเป็นลูกค้าของเรา เช่น​ ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง​ ข้อมูลล้มละลายจากกรมบังคับคดี​ ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลของภาครัฐที่เปิดออกมาจะมีทั้งข้อมูลที่ระบุตัวตน​ หรือข้อมูลที่มีลักษณะเป็นสถิติ​ เราเรียกรวมๆ ข้อมูลกลุ่มนี้ว่า​ Government​ open data ในหลายประเทศจะมีคนที่เป็นนักธุรกิจหน้าใหม่เข้ามาเอาข้อมูลชุดนี้ไปทำธุรกิจและเติบโต

ข้อมูลทางเลือกหรือ​ AD​ ที่สถาบันการเงินให้ความสนใจจะมีลักษณะที่เรียกว่า​ Daily life behavior เช่น กลุ่มข้อมูล​ การใช้และการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค ซึ่งข้อมูลพวกนี้มันจะสะท้อนข้อเท็จจริงในส่วนของมุมมองของบุคคลอื่นที่มีมายังตัวเจ้าของข้อมูลที่เป็นผู้ใช้บริการทางการเงินกับสถาบันการเงินว่าเขาเหล่านั้นคิดว่าลูกค้าคนนี้เป็นอย่างไรในมุมของเขา​ มันจะขมวดเป็นคำพูดคือ​ Enterprise customer centric view, Public view, Eco system view ข้อมูลชุดนี้ที่กำลังมาแรงมากก็คือ​ Social related activities

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ​ Telcom data กับ​ Mobile data

Telcom data เช่น​ calling record, SMS record, Bill payment, Location track จะนำไป​สู่​ Potential relation โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และ​ Credit worthiness ความน่าเชื่อถือทางการเงิน​

Mobile data เช่น​ Device information, Web browsing, App usage, Root jailbreak ที่อาจจะนำไป​สู่​ Digital footprint, Negative behavior

Invoice data ที่มีลักษณะเป็น​ Digital​ invoice ซึ่งเราเห็นเป็น​ QR​ code พอเข้าไปดูด้านในก็จะพบว่ามีข้อมูลสำคัญที่ผูกตัวตนของเราเข้ากับข้อมูล​ Location, Time, Items and price, Payment type

สถาบันการเงินเมื่อได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจะทำให้เขารู้จักตัวตนของลูกค้า​ และรู้จักมากขึ้น​ ดีขึ้น​ นั่นก็คือ​ Know​ your customers and Know customers better ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่เป็นโจทย์​ในการแกะรหัสลับในตัวลูกค้าก็คือ
1. Who you are???
2. What you are???
3. What you need???

เวลานี้และต่อๆ ไปในอนาคต​ นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้พยายามผลักดันการเกิดฐานข้อมูลใหม่ๆ​เกิดขึ้น​ พร้อมไปกับการเชื่อมโยงข้อมูล​ ตลอดรวมถึงการใช้และแบ่งปันข้อมูล​ มันจะนำไปสู่การให้บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์​บนต้นทุนที่ลดลง​ บริการที่ดีขึ้น​ และผู้คนทุกระดับสามารถเข้าถึงในบริการทางเงินโดยเฉพาะด้านการได้รับสินเชื่อจะดีขึ้นกว่าในปััจจุบันแน่นอนครับ