คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : คำตอบอยู่ที่ชาวบ้าน : วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

คำตอบอยู่ที่ชาวบ้าน

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2561 

จากเรื่องราวที่เป็นบทสนทนาในแวดวงสังคมไทยผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่งอันประกอบด้วย เรื่องหวย 30 ล้านบาทที่แย่งชิงความเป็นเจ้าของ เรื่องการเข้าป่าล่าสัตว์ของเจ้าของธุรกิจใหญ่เรื่องการทุบรถยนต์ที่จอดปิดทางเข้าออกจนสะเทือนไปถึงการเปิดทำตลาดที่ผิดระเบียบ การออกมาให้ข้อมูลเรื่องการสวมสิทธิโกงเงินช่วยเหลือคนพิการคนด้อยโอกาส

บัดนี้โลกยุคใหม่ ยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนโดยไม่ต้องรอสื่อ ไม่ต้องรอนักข่าวนำเสนอ ประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ต่างเป็นผู้นำเสนอ ผู้คนที่รับสารต่างก็มีปฏิกิริยาตอบโต้ บ้างก็กดดัน บ้างก็ด่าทอต่อว่า บางก็คุกคาม ในด้านร้ายเราก็จบพบว่าหากความจริงยังไม่ปรากฏออกมา

แต่การตัดสิน การตัดสินใจเกิดไปแล้ว ดังที่มีคนพูดว่า เรามีศาลเฟซบุ๊ก ศาลยูทูบ และคำพิพากษา ทวิตเตอร์ไปแล้ว ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดธุรกรรมต่างๆ มากมายทั้งที่เป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ แต่ผู้คนในสังคมต่างต้องรับผล ไม่ว่าใครจะเอาไม้บรรทัดมาตรวัดของหลักกู เผ่ากู ไปฟาด ไปตีเผ่าอื่น กลุ่มอื่น ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ เหมือนๆ กับพอเวลาการแสดงดนตรีขึ้นเพลงบัวลอย ก็จะเริ่มการตีกันของวัยรุ่นทันที
ผมได้สนทนากับเพื่อนๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อนคนนี้ได้ปลีกวิเวกไปอยู่ที่บ้านเขาใหญ่ ทำงานบุญงานกุศลกับชุมชน หมู่บ้าน ทิ้งความเป็นคนเมืองไปอยู่กับธรรมชาติ เขาได้ตอบคำถามเวลาที่ผมบอกว่า “หมดหวังกับสังคมเวลานี้” แต่คำตอบของเพื่อนคนนี้ทำให้ใจคนเมือง คนทำงานได้กลับมาคิดถึงสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ต้องไม่ทำ ดังนี้ครับ

…การต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่ขัดกับมโนธรรมหรือศีลธรรม มันไม่มีกาละ คือ ไม่มีเวลากำหนดว่าเมื่อไหร่ต้องทำ ไม่มีข้อจำกัดว่าหนุ่มสาว หรือแก่ชรา หากใช้เงื่อนไขอายุหรือเวลามาเป็นกำแพงตั้งกรอบไว้ สังคมนี้คงหมดความหวัง เพราะเรายังมีความหวัง เรายังมีความฝัน เราจึงไม่ใช่แค่ซากศพที่เดินได้ต้องเริ่มจากตัวเรา เริ่มจากการให้ที่ไม่สิ้นสุด เริ่มจากระเบียบวินัยในตัวเอง เริ่มจากการรอคิวเข้าแถวให้เป็นระเบียบจัดแยกขยะโดยไม่ต้องให้ใครบอก ไม่จอดรถแบบมักง่ายทำอะไรอย่าพยายามหาทางลัด ทางสะดวก

ทำผิดกฎจราจรอย่ายัดเงินให้เจ้าหน้าที่เอาลูกเข้าโรงเรียนอย่าใช้เส้นสายเลิกวิ่งเต้นเข้าหลักสูตรสายสัมพันธ์ เพื่อต่อยอดธุรกิจแบบเก็บแต้มแกรนด์สแลม (คือเข้ามันทุกหลักสูตร) เราเริ่มสร้างสังคมที่น่าอยู่ได้จากครอบครัว ผมไม่กังวลเรื่องลูกๆ จะมีลูกหลาน (ตรงนี้เพื่อนโต้แย้งผมเพราะผมไม่อยากให้ลูกมีหลานๆ เพราะหมดหวังกับสังคมเวลานี้) เพราะผมเชื่อมั่นจิตสำนึกที่ดีของคนในสังคมนี้แม้เพียงส่วนน้อย เริ่มจากวันนี้ จากตัวเรา จากครอบครัวเรา เราไปรอด…

ผมคิดต่อว่าหลายคนทำไมจึง ตกผลึกความคิดหลังจากไปใช้ชีวิตกับชาวบ้าน ทำไมความเป็นเมืองจึงทำให้ใจคนไม่นิ่ง ไม่เกิดปัญญา ทำไมคำตอบจึงอยู่ที่ป่าเขา อยู่ที่ชนบท อยู่ที่ต่างจังหวัด

จนผมได้พบคำของท่านอาจารย์ ป๋วย ที่เคยกล่าวไว้ว่า

ไปหาชาวบ้านไปอยู่กับเขาเรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขาทำงานกับเขา

เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามีสอนโดยชี้ให้เห็น เริ่มจากการทำไม่ใช่เพื่อโอ้อวด แต่เพื่อเป็นแบบแผน

ไม่ใช่สิ่งละอันพันละน้อย แต่เป็นระบบ

ไม่ใช่ทำทีละอย่าง แต่ใช้หลักผสมผสาน

ม่ใช่ตามใจ แต่ช่วยให้เปลี่ยนแปลงไม่ใช่โอบอุ้ม แต่ช่วยสร้างพลังประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การอยู่ร่วมกัน มีแต่ต้องใช้ใจที่มีวินัย จึงจะเดินไปข้างหน้าได้…ขอบคุณครับ