รู้รอบด้าน การวางแผนการเงิน โดยคุณวิสิฐ ตันติสุนทร

รู้รอบด้าน การวางแผนการเงิน โดย : วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.

การมีชีวิตที่สุขสบาย และมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “การวางแผนการเงินที่ดี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเปลี่ยนแปลงในสภาวะเศษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งทำให้การวางแผนการเงินเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้

หนังสือเล่มนี้จะเป็นเสมือนแผนที่ทางการเงิน ที่จะช่วยให้เราเริ่มวางแผนทางการเงินได้ตลอดทุกช่วงของชีวิต ตั้งแต่วัยเริ่มทำงานไปจนถึงวัยเกษียณ เริ่มจากการวางแผนการออมเงินในครอบครัว การมีบ้าน การทำประกันชีวิต การลงทุน รวมทั้งการวางแผนประหยัดภาษี และวางแผนระยะยาวเพื่อการเกษียณ …

ท่านสามารถ Download บทความทั้งหมดได้ดังนี้

การวางแผนการเงิน หนังสือ “คู่มือการลงทุน” โดย สัมมา คีตสินการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายในอนาคตว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้เงิน เพื่อวัตถุประสงค์ใด จำนวนประมาณเท่าไร เมื่อไรในอนาคต เช่น

  • วาง แผนจะซื้อบ้านอยู่อาศัยมูลค่า 5 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
  • วางแผนส่งลูกเรียนปริญญาโทต่างประเทศอีก 2-3 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายสองปี ๆละ 400,000 บาท
  • วางแผนว่าจะเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้าและเมื่อถึงเวลานั้นต้องการมีเงินเหลือให้ใช้จ่ายได้ปีละประมาณ 30,000 บาทไปอีกเป็นเวลาประมาณ 20 ปี

เมื่อได้กำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องมีการกำหนดยุทธวิธีว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินจนสามารถได้เงินจำนวนดังกล่าวมา ณ เวลาที่ต้องการ โดยเบื้องต้นจะต้องมีการกันเงินส่วนหนึ่งจากรายได้หรือเงินคงเหลือที่เก็บออมมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอาจมีรายได้ที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งอาจมาจากเงินเดือน กำไรจากการค้าขาย หรือมรดก จำนวนเงินที่ได้มาในปัจจุบันและอนาคตนั้น จะต้องถูกนำไปก่อดอกออกผลให้ได้เงินเพียงพอสำหรับความจำเป็นในอนาคต การวางแผนทางการเงินที่ดีได้จะต้องทราบว่า ณ ปัจจุบันสถานะทางการเงินของตนเป็นอย่างไร ต้องสามารถหามูลค่าทรัพย์สินสุทธิและสภาพคล่องของตนได้

กลยุทธการบริหารเงิน 3 ประการ

  1. ปกป้องเงินรายได้ที่มี หมายถึง ทำอย่างไรรายได้ที่หามาได้จึงจะไม่ลดค่าลงไปตามกาลเวลาในอนาคต เงินหนึ่งร้อยบาทที่มีในวันนี้ในอีกสิบปีข้างหน้าอาจมีมูลค่าลดลงเหลือครึ่งเดียวหากภาวะเงินเฟ้อยังเป็นเช่นปัจจุบัน ทำอย่างไรจึงจะรักษาค่าเงินให้คงคุณค่าไม่ให้หดหายลงไปดังกล่าว
  2. ใช้รายได้ที่มีให้เกิดดอกผลมากที่สุด หมายถึง การนำรายได้ที่มีไปก่อดอกออกผลซึ่งจะไม่ได้มาโดยการเก็บรักษาไว้ในบ้าน หรือโดยการออมในลักษณะที่ได้ดอกเบี้ยหรือดอกผลต่ำเกินไป แต่อาจได้มาโดยวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาด เหมาะกับสถานการณ์
  3. เพิ่มรายได้รวมให้มากขึ้น หมายถึง รายได้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้วนั้นอาจมีทางทำให้ได้เข้ามามากขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่ต้องไปหางานทำเพิ่ม แต่อาจได้มาโดยปรับปรุงช่องทางเดินของกระแสเงิน เช่น การรับเงินเดือนโดยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารโดยตรงทำให้ได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หรือทำอย่างไร จึงจะเสียภาษีรายได้ประจำปีให้น้อยลงโดยไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดจริยธรรม เป็นต้น

วิธีการออมแบบไม่สลับซับซ้อนอาจเป็นการฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย แต่ในหลาย ๆสภาวะการฝากเงินกับธนาคารนั้นแม้จะเป็นการออมแต่ก็อาจไม่ใช่การลงทุนที่ถูกต้อง เพราะแทนที่จะเกิดดอกออกผลอาจกลายเป็นว่าเงินที่ฝากด้อยค่าลง เช่น หากภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายจนอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากเงินธนาคารและหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝากแล้วยังต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อจะหมายความว่าเม็ดเงินโตไม่ทันระดับราคาสินค้าและบริการหากไม่ใช่การออมในลักษณะง่าย ๆ ดังกล่าว การบรรลุแผนทางการเงินอย่างชาญฉลาดอาจต้องให้การลงทุนในรูปแบบอื่นต่าง ๆ เพื่อให้ได้ดอกผลมากกว่าการออมตามปกติ