กฎเหล็กการเงิน 9 ข้อ ช่วยจัดการการเงินให้อยู่หมัดทุกสถานการณ์

 

ในสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเงิน เราจำเป็นต้องมีกฎเหล็กทางการเงินขึ้นมาเพื่อสร้างกรอบเราให้ต้องปฏิบัติตาม เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันในชีวิต และนี่คือกฎเหล็กทางการเงิน 9 ข้อ ที่จะช่วยให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัวมาฝากกัน

 

กฎข้อที่ 1 : วางอนาคตของคุณให้มีความแน่นอน 

สิ่งแรกที่จะช่วยจัดการการเงินให้ได้อยู่หมัดคือ เรารู้เป้าหมายอนาคตของตนเองว่าเราจะทำอะไร เช่น อีก 2 ปีข้างหน้าต้องการซื้อรถใหม่ หรืออีก 10 ปีข้างหน้าต้องการสร้างบ้านอยู่กับครอบครัว เป็นต้น ซึ่งการวางภาพอนาคตให้ชัดเจนจะช่วยฝึกเรื่องการบริหารการเงินขั้นพื้นฐานให้กับเราได้

 

กฎข้อที่ 2 : กำหนดเป้าหมายทางการเงิน 

แบ่งเป้าหมายการเงินออกเป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ ได้แก่ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ซึ่งการที่เรามีกำหนดการทางการเงินแต่ละช่วงเวลา เราจะสามารถจัดสรร แบ่งสัดส่วนงบการเงินในช่วงนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะเขียนเป้าหมายการเงินไว้แปะติดในจุดที่เราเห็นได้ชัด เพื่อสร้างแพชชันให้เราบรรลุเป้าหมายอย่างสำเร็จ

 

กฎข้อที่ 3 : ใช้จ่ายอย่างจำเป็น

ทำบันทึกรายรับรายจ่าย หรือลิสต์รายจ่ายล่วงหน้าว่าในแต่ละเดือนจะใช้เงินไปกับอะไรบ้าง เป็นการแบ่งงบประมาณการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นไปในตัว

ยกตัวอย่าง

 

 

จากลิสต์รายจ่ายเราก็จะเป็นว่าประมาณ 90% เป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องในทุกเดือน แต่จะมีบางรายจ่ายที่ไฮไลต์เอาไว้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายประจำปีที่ครบกำหนดตามช่วงเดือนนั้น ๆ เมื่อเรารู้แบบนี้ ก็จะสามารถจัดสรรเงินจากรายรับให้สามารถมีเงินมาจ่ายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดนั้นได้

 

กฎข้อที่ 4 : ตรวจสอบสถานะการเงินตนเองอยู่เสมอ

การตรวจสอบสถานะการเงินเปรียบเสมือนเป็นการเช็กตัวเราเองว่า มีรายรับ รายจ่าย เพิ่มขึ้นลดลงเป็นจำนวนเท่าไหร่ มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพื่อที่จะวางแผนจัดการเงินได้

 

กฎข้อที่ 5 : จัดสรรงบประมาณอย่างพอดี

มีการกำหนดงบการเงินของเราในแต่ละเดือน โดยที่จะต้องนำไปทำตามได้ด้วย โดยในแต่ละวันเราอาจจะมีการประเมินพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จ่ายจริง และแผนที่วางไว้ หากไม่เป็นไปตามแผนก็จะได้แก้ไขปรุงปรุงได้ทันทีเลย

 

กฎข้อที่ 6 : แยกความต้องการกับความจำเป็นให้ออก

บางครั้งในแต่ละช่วงจะมีกระแสสินค้าหรือบริการที่เรารู้สึกว่า ต้องมี ต้องจัด โดยที่ลืมคำนึงถึงความจำเป็นว่าสิ่งเหล่านั้นจำเป็นต่อความต้องการในชีวิตประจำวันเรามากเพียงพอหรือยัง หรือแค่ตอบสนองความต้องการของเราเพียงแค่ชั่วคราว

 

กฎข้อที่ 7 : สร้างเครดิตทางการเงินของตนเอง

สิ่งที่สร้างเครดิตการเงินให้กับเราได้ดีที่สุด คือการมีวินัยทางการเงิน ไม่สร้างภาระหนี้เกินตัว ไม่ผิดนัดชำระหนี้จนเกิดทำให้เครดิตการเงินเสีย เป็นการรักษาประวัติการเงินของเราเอาไว้

 

กฎข้อที่ 8 : ใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด

บัตรเครดิตมีประโยชน์อยู่มากมาย หากเราใช้ให้เป็น เช่น รูดจ่ายเพื่อเอาคะแนนสะสม นำไปแลกของต่าง ๆ หรือใช้จ่ายเพื่อรับส่วนลด สิทธิประโยชน์อื่น ๆ แต่ทั้งนี้เมื่อใช้จ่ายไปเท่าไหร่ ก็ควรชำระหนี้คืนให้เต็มตามจำนวนด้วยเช่นกัน

 

กฎข้อที่ 9 : ชำระหนี้ตรงต่อเวลา

สำหรับคนที่มีภาระหนี้ จำเป็นต้องชำระหนี้ให้ตรงตามงวดที่กำหนดเพื่อรักษาอันดับเครดิตการเงินที่ดี แต่หากใครจ่ายหนี้ไม่ไหวให้ลองปรึกษากับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อเจรจาต่อรองขอยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไป

 

ลองนำกฎเหล็กต่าง ๆ เหล่านี้ ไปเลือกปรับใช้ตามความเหมาะสมของตนเองกัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการเก็บเงินไม่อยู่ และช่วยเตรียมรับมือกับสถานการณ์การเงินได้อย่างอยู่หมัด