ทำไงดีจ่ายหนี้ไม่ไหว ไปต่อหรือหยุดแค่นี้

มีหนี้เยอะบานเบอะจนจ่ายไม่ไหว จะไปต่อหรือพอแค่นี้

 

เชื่อว่าหลายคนอาจเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีหนี้สินเยอะจนท่วมหัว ไม่รู้จะเริ่มต้นจัดการหนี้ก้อนไหนก่อน บางคนอาจถึงขั้นถอดใจยอมเสียเครดิตทางการเงินของตัวเอง และร้ายแรงถึงขั้นถูกฟ้องร้องต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แน่นอนว่านั่นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีแน่นอน เพราะมีผลเสียที่ตามมามากกว่าผลดีในอนาคตเป็นแน่

 

ดังนั้นสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเยอะจนเริ่มจัดการไม่ไหว ก่อนที่จะยอมแพ้ ให้ลองมาดูวิธีที่เรานำมาฝากกันก่อน เผื่อว่าจะเป็นแนวทางในการชำระหนี้ไปต่อได้

– จัดการหนี้สินด้วยตัวเอง

เริ่มจากการทบทวนตัวเองว่าที่ผ่านมามีหนี้สินอะไรบ้าง และมีการจัดลำดับความสำคัญของหนี้ เพื่อป้องกันการเสียเครดิตทางการเงินของตัวเอง และต่อมาก็เริ่มไล่ลำดับในการจัดการจ่ายหนี้จากก้อนเล็ก ๆ ก่อนที่จะไปถึงหนี้ก้อนใหญ่

– มองหารายได้เสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม

เมื่อเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว นั่นอาจจะหมายความว่ารายรับที่ได้มาเป็นประจำอาจไม่เพียงพอต่อการจ่ายหนี้ และใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงควรมองหารายได้อื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น ขายของออนไลน์ เขียนนิยายลงพนแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นต้น

– พักชำระหนี้กับสถาบันทางการเงิน

หากรู้สึกว่าไม่ไหวจริง ๆ ให้ปรึกษากับสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินจะมีมาตรการผ่อนปรน และบรรเทาช่วยเหลือลูกหนี้อยู่แล้ว โดยเราสามารถเข้าไปเพื่อขอเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อสอบถามแนวทางการประนอมหนี้ และการพักชำระหนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต ก็สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินที่เราทำเรื่องยื่นขอกู้สินเชื่อได้เลย

 

หากต้องการผ่อนปรน หรือพักชำระหนี้ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

 

แน่นอนว่าจะไปเจรจาขอพักชำระหนี้แบบปากเปล่าคงไม่ได้ เราต้องมีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อไปคุยกับสถาบันการเงิน โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน

ตัวอย่างเอกสารสำหรับจากเจรจาผ่อนปรนหนี้ต่อสถาบันการเงิน

  1. เอกสารสำหรับส่วนบุคคล

– บัตรประชาชน

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณะบัตร (แล้วแต่กรณี)

 

  1. เอกสารรายได้ (เพื่อพิจารณาความสามารถในการประนอม หรือพักชำระหนี้)

– กรณีที่เป็นอาชีพพนักงานประจำ

– หนังสือรับรองเงินเดือนตัวจริง

– สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน

– บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

 

– กรณีที่เป็นอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ

– หนังสือจดทะเบียนการค้า

– บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน

– เอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบของตนเอง เช่น สัญญาเช่าแผง เช่าร้าน ตัวอย่างใบสั่งสินค้า

 

  1. เอกสารแสดงภาระหนี้ต่างๆ เช่น ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สัญญากู้เงินต่างๆ

 

* อ้างอิงจาก https://www.ghbank.co.th/information/ufaqs/

 

แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินด้วยว่าจะต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติมหรือไม่

 

เจรจาหนี้แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป

เมื่อพูดคุยกับสถาบันการเงิน สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับต่อมาคือ “การวางแผนสำหรับการชำระหนี้” หลังจากที่เจราต่อรองกับสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนนี้มักจะเป็นการวางแผนร่วมกัน โดยยึดตามหลักความเป็นจริง ซึ่งในสัญญาจะมีการระบุอย่างชัดเจนว่าจะมีการชำระหนี้ต่อเดือนเท่าไหร่ และจะสามารถยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปได้กี่ปี หากเรายังผิดนัดชำระหนี้อีก ในครั้งต่อไปอาจมีการเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ และมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดีได้

 

สุดท้ายนี้แม้ว่าเราจะไม่สามารถหนีจากการเป็นหนี้ได้ แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกอยู่เสมอ โดยสามารถมองหามาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ได้จากทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), คลินิกแก้หนี้ ที่พร้อมช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยกัน