ทำไมการจ่ายขั้นต่ำถึงเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดหนี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว?
สำหรับใครที่มีบัตรเครดิตคงเคยจ่ายขั้นต่ำกันมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการจ่ายบัตรเครดิต เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรหนี้แบบที่คาดไม่ถึง เพราะมีค่าดอกเบี้ยทั้งจากของสถาบันการเงิน และดอกเบี้ยหนี้คงค้าง ที่ทบต้นทบดอกกันไปเรื่อย ๆ จนทำให้เรารู้สึกว่ายิ่งจ่ายหนี้ก็ไม่หมดไป แถมยังเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
เรามาลองดู 4 เหตุผลที่ไม่ควรจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำกันว่า เพราะเหตุผลอะไร ทำไมยิ่งจ่าย หนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นดูกัน
- ดอกเบี้ยเริ่มคิดหลังรูดบัตร
ดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อใดใด จะถูกคิดหลังจากวันที่เราใช้จ่ายทันที ซึ่งดอกเบี้ยจะถูกคิดเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ดอกเบี้ยจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด และดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงเหลือ ดังนั้นเมื่อมีใบแจ้งหนี้รวมยอดค่าชำระมาในแต่ะละเดือน และเดือนนั้นเราเลือกจ่ายขั้นต่ำ และใช้จ่ายด้วยเครดิตต่อไป ทั้งที่หนี้เก่ายังไม่หมด ดอกเบี้ยเงินต้นก็จะถูกคิดต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นทั้งหมด
- จ่ายน้อยจริง แต่ดอกเบี้ยไม่น้อยตาม
การจ่ายน้อย ช่วยให้เรามีเงินไปใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ได้ก็จริง แต่ก็เป็นช่วงเวลา ณ ขณะนั้น เพราะเมื่อยิ่งเราจ่ายขั้นต่ำบ่อยครั้งเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนดอกเบี้ยสะสมบาน และกลายเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว
- ไม่มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย
ในช่วงเวลาที่มีการแจ้งการชำระหนี้ แล้วเลือกจ่ายขั้นต่ำ ทำให้เราไม่มีช่วงระยะเวลาในการปลอดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจะถูกทบมาจากครั้งก่อน ๆ ทำให้ทุกครั้งที่ชำระหนี้นอกจากจะต้องจ่ายเงินต้นแล้ว ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- เข้าสู่วงจรหนี้อย่างเต็มรูปแบบ
สัญญาณเตือนขั้นร้ายแรงที่เห็นได้ชัดมากที่สุด เพราะเมื่อเราเริ่มจ่ายขั้นต่ำ แสดงว่าแผนการเงินเราได้พังเป็นที่เรียบร้อย เพราะไม่สามารถจัดการชำระหนี้ได้ทั้งหมด และเมื่อสถานะการเงินกำลังสั่นคลอน จากที่ไม่สามารถวางแผนการเงินไปตามอย่างที่ตั้งใจไว้ได้
การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงแค่เราควรจะต้องรู้ลิมิตภาระค่าใช้จ่ายของตนเองให้ดี ซึ่งหากรู้ว่าเราเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว ให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายใหม่ หรือเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงิน ไกล่เกลี่ยหนี้ให้ค่ะ