คิดดีแล้วหรือยังที่จะเซ็นค้ำประกันหรือเป็นหนี้แทนคนอื่น

 

ใครที่กำลังจะเซ็นค้ำประกันให้กับผู้อื่นรีบเบรกปากกาแล้วอ่านบทความนี้กันก่อน เพราะผลกระทบที่ตามมาหลังจากนั้นอาจร้ายแรงกว่าที่คิด!

 

เชื่อว่าคงมีหลายคนที่เคยมีประสบการณ์ที่ว่าคนสนิท คนใกล้ตัวมาขอให้เซ็นเอกสารค้ำประกันเงินกู้ เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการเงินที่กำลังจะยื่นเรื่องขอกู้ ซึ่งยิ่งสนิทกันก็ยิ่งไว้วางใจกันคิดว่าไม่น่ามีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร แต่เรื่องของเงิน ๆ ทอง ๆ สัญญาเงินกู้อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะหากลูกหนี้ที่เราเซ็นค้ำประกันไว้ให้เกิดหนีจ่ายหนี้ขึ้นมา ภาระหนี้สินคงเหลือทั้งหมดผู้ที่ค้ำประกันต้องจ่ายหนี้แทน และอาจถึงขึ้นถูกฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลไปด้วย ดังนั้นก่อนเซ็นค้ำประกันให้ใคร เรามาทำความเข้าใจฐานะของผู้ค้ำประกัน ข้อควรรู้ และสิ่งที่จะตามมาหลังงจรดปากกาเซ็นไปกัน

 

ผู้ค้ำประกันคือใคร 

หมายถึง ผู้ที่ยอมรับจะชำระหนี้แทนอีกบุคคลหนึ่ง หากบุคคลนั้นไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้

หรือก็คือ ผู้ค้ำประกันจะต้องสามารถจ่ายหนี้ให้แก่ลูกหนี้คนนั้นได้แน่นอนแบบเต็ม ๆ หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เป็นเวลานาน ซึ่งคนที่จะมาเป็นผู้ค้ำประกันจะเป็นใครเลยก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนใกล้ตัวของผู้กู้นั่นเอง

 

เรื่องที่ต้องรู้หากคิดจะค้ำประกันให้ใคร

  1. ชื่อผู้ค้ำประกันจะไม่มีรายชื่อในรายงานข้อมูลเครดิต เนื่องจากสถาบันการเงินไม่ได้มีการนำส่งข้อมูลการเงินของผู้ค้ำประกันเข้าระบบ
  2. ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิ์ใดใดในสินทรัพย์ของผู้กู้
  3. ผู้ค้ำประกันต้องแบกรับภาระหนี้ 100% อย่างแน่นอนหากลูกหนี้หนีหนี้ของสถาบันการเงิน
  4. ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษีในส่วนของดอกเบี้ย เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องให้การจ่ายหนี้

 

แต่ถ้าสุดท้ายแล้วจำเป็นต้องเซ็นค้ำประกันให้กับผู้อื่นจริง ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ คนที่จะค้ำประกันแบบเรานั้นจะต้องรู้ หรือเตรียมตัวอะไรบ้าง

 

  1. อ่านสัญญาให้ละเอียดทุกครั้งก่อนเซ็นค้ำประกัน

เนื่องจากสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีผลต่อทางกฎหมาย ก่อนตัดสินใจเซ็นค้ำประกันอ่านข้อมูลรายเอียดที่ระบุในเอกสารให้ชัดเจน ว่าเราจำเป็นต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ หากในสัญญามีระบุว่า “ให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนหากลูกหนี้ไม่มีจ่าย” ถ้าเป็นเช่นนี้ห้ามเซ็นเด็ดขาด

 

  1. คุยกับผู้กู้หรือลูกหนี้ให้ชัดเจน

แม้ว่าจะสนิทกันแค่ไหนก็ควรเปิดใจคุยกันเพราะมีหลายคนแล้วที่ผิดใจกันจากเรื่องเงิน ก่อนเซ็นผู้ค้ำประกันและผู้กู้ต้องคุยเรื่องสัญญาให้ชัดเจน อย่าใจอ่อนยอมเซ็นให้โดยง่าย เพราะเราจะไม่รู้เลยว่าในสัญญากู้นั้นผู้ค้ำประกันจะถูกเอาเปรียบแค่ไหน

 

  1. เช็กพฤติกรรมและทรัพย์สินของผู้กู้ก่อน

เพื่อป้องกันการโดนชำระหนี้แทน ผู้ค้ำประกันควรจะต้องเช็กนิสัยส่วนตัวของผู้กู้ก่อน เช่น พฤติกรรมการชำระหนี้ เคยหยิบยืมเงินคนอื่นไหม ถ้าเคยยืมแล้วคืนหรือเปล่า หรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้กู้ เช่น มีรถยนต์ มีรายได้ที่มั่นคง เป็นต้น

 

แต่แล้วไม่ว่ายังไงต่อให้เช็กดีเท่าไหร่ เตรียมพร้อมแค่ไหน ก็ไม่วายผู้กู้ที่เราเซ็นค้ำให้หนีหนี้ ไม่ยอมจ่าย สิ่งที่เราจะต้องทำคือต้องปกป้องสิทธิ์ในตัวเรา อย่ายอมจ่ายหนี้แทนเด็ดขาด โดยเบื้องต้นผู้ค้ำประกันสามารถขอเจรจาได้ ดังนี้

– เจรจากับสถาบันการเงินของลูกหนี้รายนั้นเพื่อเลื่อนการจ่ายหนี้ออกไป

– ชำระหนี้ในส่วนที่ตกลงไว้ในสัญญาเงินกู้

– ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมา

 

การเซ็นค้ำประกันให้กับผู้อื่นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน จำเป็นต้องไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ให้รอบคอบ เพราะหากเราเซ็นค้ำประกันโดยที่ไม่รู้อะไร อาจสุ่มเสี่ยงทำให้เรากลายเป็นหนี้ไม่รู้ตัวได้แน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/3DSjK2R

https://bit.ly/3g0Ec8B

https://bit.ly/3UzHvma