Checklist สุขภาพการเงินที่ต้องใส่ใจ สู่ชีวิตดี ๆ ที่สร้างได้เอง

เมื่อพูดถึงเรื่องของสุขภาพ เชื่อว่าในชีวิตของใครหลาย ๆ คนต้องเคยเจ็บป่วยมาไม่มากก็น้อย และไม่ว่าในชีวิตจะเจ็บป่วยหนัก-เบาแค่ไหน เราก็ยังสามารถรักษาให้หายได้อย่างทันที แต่ถ้าหากเจ็บป่วยทางการเงินล่ะคะ จะรักษาให้หายได้อย่างไร 

ถ้าไม่อยากให้การเงินของเราจะต้องเจ็บป่วย จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสุขภาพทางการเงินที่ดีด้วยวิธีเหล่านี้ค่ะ 

  1. ต้องมีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน

หากอยากรู้ว่าสุขภาพการเงินตอนนี้เป็นอย่างไร สิ่งแรกที่ควรเช็กนั่นก็คือ สินทรัพย์ที่มีในปัจจุบันมีอยู่เท่าไหร่ โดยเราสามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้

หนี้สิน – สินทรัพย์ =  สินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่าง นายมั่งมี มีสินทรัพย์ 7,500,000 บาท มีหนี้สิน 2,000,000 บาท
ดังนั้น สินทรัพย์ปัจจุบันของนายมั่นคงเท่ากับ 7,500,000 – 2,000,000 = 5,500,000 บาท

และ หากต้องการรู้ว่าสัดส่วนของสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่สามารถคำนวณได้ ดังนี้
อายุ * รายได้ต่อปี * 10% = สินทรัพย์ที่ควรมี

ตัวอย่าง นายมั่งมี มีอายุ 35 ปี รายได้ต่อเดือน 60,000 บาท
ดังนั้น นายมั่งมีควรมีสินทรัพย์อยู่ที่ 35 * (60,000*12) * 10% = 2,520,000 บาท
และจากสินทรัพย์ปัจจุบันกับสินทรัพย์สุทธิที่ควรมี คือ 5,500,000 : 2,520,000
แสดงว่านายมั่งมี มีความมั่นคงสุทธิ มากกว่า สินทรัพย์ที่ควรมี จึงถือว่านายมั่งมี มีสุขภาพการเงินที่ดี

การเช็กเช่นนี้ถือเป็นการประเมินการเงินขั้นพื้นฐานที่จะสามารถนำไปปรับวางแผนทางการเงินของเราต่อไปได้

  1. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี

สภาพคล่องทางการเงินที่ดี หมายถึงการมีเงินสดหมุนเวียนใช้ตลอดเวลาแม้กระทั่งยามฉุกเฉิน การมีเงินสดมาก ๆ จึงเป็นตัวช่วยในการวัดสภาพคล่องได้ดี

แต่เราต้องรู้ด้วยว่า เรามีสินทรัพย์ที่จะนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้มากน้อยแค่ไหน เช่น เงินสด เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำ กองทุนรวมอย่างกองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนตลาดเงิน เป็นต้น หากเรามีสินทรัพย์สภาพคล่องเท่ากับรายจ่ายประจำ 3-6 เดือนขึ้นไป ก็ถือว่ามีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีค่ะ

  1. มีการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

การลงทุนอย่างสม่ำเสมอแสดงว่าเรามีวินัยทางการออมเงินที่ดี และยิ่งถ้าตัวเลขในการออมเงินสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงการวางแผนจัดสรรการเงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนมากเท่านั้น

เพราะฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพทางการเงินที่ดี เราจึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรสัดส่วนการออมเงินอย่างเหมาะสม ซึ่งสัดส่วนการออมเงินที่แนะนำคือ ควรออมอย่างน้อยเดือนละ 10-20% ของรายได้ต่อเดือนค่ะ

อย่างไรก็ตามการตรวจสุขภาพทางการเงิน สามารถตรวจเองได้ ไม่ต้องมีหมอมาวินิจฉัยอาการ ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องตรวจด้วยรูปแบบหรือวิธีไหน ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับวินัยทางการเงินของเราว่าเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์เพียงพอหรือไม่ หากมีสินทรัพย์เหลือมากก็แสดงว่ามีสุขภาพดี แต่หากมีน้อยก็ต้องเร่งรักษาเยียวยาชีวิตกันต่อไปนั่นเองค่ะ