ปลดล็อกหนี้ในกระเป๋าด้วย 5 แนวทางแก้ปัญหาของคนจ่ายหนี้ไม่ไหว

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงวิกฤติแบบนี้เป็นเรื่องที่หนักเกินกว่าที่จะแบกรับภาระได้ไหว ค่าใช้จ่าย หนี้สินถ่าโถมเข้ามาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ส่งผลให้ใครหลายคนขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้อย่างที่เคยเป็นมา

แนวทางแก้ปัญหา และมาตรการเยียวยาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะมาเป็นทางออกให้กับวิกฤติเช่นนี้ มาลองดู 5 วิธีในการช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถจัดการบริหารหนี้สินที่มีได้ง่ายมากขึ้น

  1. ค้นหาช่องทางเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้โดยเฉพาะ
  • มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกหนี้รายย่อย

เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อรายได้ในชีวิตประจำวัน ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อย อย่างในตอนนี้มีช่องทางการที่ช่วยเหลือลูกหนี้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ คลินิกแก้หนี้ by SAM, ทางด่วนแก้หนี้, มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องการแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงวิกฤติเช่นนี้

  • มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกหนี้ SMEs

สำหรับลูกหนี้ที่เป็น SMEs ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมาตรการออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ และไม่มีเงินสดหมุนเวียน โดยมีโครงการสำหรับลูกหนี้ SMEs มากมาย ได้แก่ โครงการพักทรัพย์ พักหนี้, มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู), โครงการ DR BIZ แก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย, มาตรการเลื่อนกำหนดชำระหนี้, มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan)

  1. ติดต่อกับสถาบันการเงินโดยตรง

ถ้ารู้ว่าเราจ่ายหนี้ไม่ไหว ให้เดินไปหาสถาบันการเงิน ปรึกษาพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยแสดงความจำนงอย่างชัดเจนว่า ไม่สามารถชำระหนี้ได้ในช่วงนี้ เพื่อสถาบันการเงินจะทำการยื่นข้อตกลง เงื่อนไขที่เหมาะสมให้กับลูกหนี้

  1. พิจารณาตัวแปรที่เกี่ยวกับหนี้

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับหนี้มีอยู่ 3 ตัวแปรด้วยกัน ได้แก่ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน โดยแต่ละตัวแปรมีวิธีการพิจารณาดังนี้

รายได้ ในช่วงที่ภาระเท่าเดิม แต่รายได้ลดลง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ตกงาน ถูกลดเงินเดือน เป็นต้น ซึ่งความไม่แน่นอนของรายได้ตรงนี้ อาจจะนำปสู่การก่อให้เกิดหนี้ โดยการแก้ปัญหาคือ การหารายได้เสริมเพื่อเยียวยา และช่วยเหลือตนเอง เพื่อให้ทั้งรายได้ และรายจ่ายมีความสมดุลกัน

รายจ่าย สาเหตุก็อาจมาจากรายได้ที่ลดลง เลยทำให้ดูเหมือนว่าภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็มีบางคนที่รายได้เท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายในบ้านกลับสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่อจากต้องเลี้ยงดูคนอื่น ๆ ในครอบครัว ของกิน ของใช้แพงขึ้นกว่าแต่ก่อน และเมื่อรายจ่ายชนเพดาน ก็ทำให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินตามมาโดยปริยาย

หนี้สิน เมื่อคิดจะเป็นหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ประเภทไหน ต้องมั่นใจว่าเราจะสามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วน และตรงต่อเวลา หากไม่สามารถทำได้ นอกจากจะต้องไปดิ้นรนหาเงินมาทบต้นทบดอกของเก่า ยังเป็นการสร้างหนี้ใหม่แบบไม่รู้จบรู้สิ้น และรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

  1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ดี ไม่ควรทำย้อนหลัง แต่ควรวางแผน หรือประเมินค่าใช้จ่ายก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะสามารถเช็กสภาพคล่องทางการเงินของเราได้ และเมื่อมีการใช้จ่ายเกิดขึ้นจริง ๆ ให้กลับมาดูบันทึกรายรับ รายจ่ายที่วางแผนไปก่อนหน้าว่าเป็นปตามที่วางไว้หรือไม่ หากไม่ก็จะช่วยให้เราเห็นปัญหาแต่ละจุดที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ขได้ต่อไป

  1. ซื้อด้วยเงินสด

การใช้จ่ายด้วยเงินสดจะช่วยให้เราฉุกคิดในการใช้จ่ายทุกครั้งเพราะเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าจำนวนเงินเราลดลงไปเท่าไหร่ ป้องกันไม่ให้ใช้จ่ายเพลินจนลืมตัว

ทั้ง 5 วิธีนี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดภาระหนี้สินลงไปได้ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะไม่กลับไปเป็นหนี้อีก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/949103

https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/610383/