รัดเข็มขัดสู้วิกฤติ! มาบริหารเงิน ปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายให้รอดในช่วงวิกฤติ

รัดเข็มขัดสู้วิกฤติ! มาบริหารเงิน ปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายให้รอดในช่วงวิกฤติ

เคยไหม? รู้สึกว่าเงินที่ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอ

ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตาม ทำให้ใครหลาย ๆ คนเกิดความรู้สึกที่ว่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ หรือบางทีก็รู้สึกว่าเงินหายไปแบบไร้เหตุผลซึ่งความเป็นจริงแล้วเงินที่หายไปนั้นก็วนอยู่ในค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเราเอง

เมื่อภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายรับที่ลดลง การบริหารเงินที่เคยทำมาจากเมื่อก่อนก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม มีการวางแผน และรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายมากขึ้น มาดูวิธีการบริหารเงินในช่วงโควิด-19 พร้อมกับปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบใหม่ให้รอดวิฤติครั้งนี้กัน

  1. วางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

การปรับพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย  จะช่วยให้เราสามารถบริหารเงินในช่วงวิกฤติเช่นนี้ได้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการเช็กลิสต์ได้อีกว่ามีรายจ่ายไหยที่ไม่จำเป็นเราก็สามารถตัดออกได้

  1. ทำอาหารเองแทนการทานนอกบ้าน

แน่นอนว่าการทานอาหารข้างนอกตอนนี้คงไม่ใช่เรื่องที่ปลอดภัยเท่าไหร่นัก การปรับพฤติกรรมอีกทางหนึ่งคือ หันมาซื้อวัตถุดิบเพื่อที่นำมาทำอาหารเอง นอกจากจะลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ แล้วยังช่วยบริหารค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะเราสามารถจัดการได้ว่าในแต่ละมื้อนั้นควรทำปริมาณอาหารเท่าไหร่ และวัตถุดิบทั้งหมด สามารถอยู่ได้ถึงกี่วัน เป็นการลดค่าอาหารแต่ละมื้อไปในตัว

  1. งดเครื่องดื่มราคาแพง

จากที่เคยดื่มชา กาแฟแบรนด์ดัง ๆ หรือแม้กระทั่งชานมไข่มุกในทุก ๆ วัน และอาจจะวันละหลาย ๆ แก้ว คงต้องปรับพฤติกรรมเหล่านี้ให้ดื่มน้อยลง หรืองดเครื่องดื่มราคาแพงไปสักระยะ เพื่อเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงเกินกว่าความจำเป็น

  1. ลด ละ เลิก ของชิ้นใหญ่ที่ไม่จำเป็น

การใช้จ่ายในช่วงนี้จำเป็นต้องรัดกุมให้ได้มากที่สุด จากเมื่อก่อนที่เรามักซื้อของชิ้นใหญ่อย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้เทคโนโลยี โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเปลี่ยนทุกปี ตอนนี้ต้องปรับพฤติกรรมใหม่ ลด ละ เลิก ซื้อของเหล่านี้ และหันไปใช้จ่ายในสิ่งที่มีความจำเป็นกับชีวิตมากขึ้น

  1. วางแผนเรื่องหนี้สิน

สำหรับใครที่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น หนี้บ้าน หนี้คอนโด หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ควรจะมีการวางแผนการเงินอย่างรัดกุมมากขึ้น หันมาศึกษาวิธีการปลดหนี้ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน

แม้ว่าการบริหารเงินในช่วงโควิด-19 อาจดูเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่พอจะทำได้นั่นก็คือเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเราเอง เพราะนั่นเป็นทางออกที่จะช่วยให้คุณสามารถรอดพ้นจากวิกฤติเช่นนี้ไปได้ค่ะ