รู้ก่อนโดนหลอกเกลี้ยงบัญชี สัญญาณเตือนที่บอกว่าเสี่ยงเป็นเหยื่อภัยการเงิน

ในช่วงที่เกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ มีคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังมองหาช่องทางที่จะเอารัดเอาเปรียบ โดยหลอกคนเพื่อเอาเงินอย่างแนบเนียน เมื่อรู้ตัวอีกทีเงินในบัญชีเราก็หายเกลี้ยงไปหมดซะแล้ว

ดังนั้นเพื่อให้เรารู้ทัน และพร้อมตั้งรับกับมิจฉาชีพ ที่อาจแฝงตัวอยู่ที่ไหนสักแห่ง มาดูรูปแบบภัยทางเงินที่จะเป็นสัญญาณเตือนว่า เรากำลังจะโดนมิจฉาชีพหลอก

วิธีแบบไหนที่มิจฉาชีพชอบใช้

– อ้างว่าเป็นสถาบันการเงิน
มักจะมาในรูปแบบของ call center ส่งข้อความ SMS, E-mail หรือโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ โดยกลวิธีก็หลอกก็จะแตกต่างกัน เช่น อ้างว่าจะช่วยชำระหนี้เพียงคลิกที่ลิงก์ หรือบัญชีถูกแฮกให้ติดต่อธนาคารด่วน เป็นตน

– ส่งข้อความที่มีเนื้อหาชวนสงสัย
หรืออีกแบบคือ กระตุ้นความต้องการ เช่น ยินดีด้วยคุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล หรือเพียงโหลดแอปนี้ ก็จะได้รับเงินทันที เป็นต้น

– ใช้ URL หน้าตาแปลก ๆ
มิจฉาชีพมักจะชอบสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้คนกดเข้าไปแล้วจะดึงข้อมูลสำคัญจากลูกค้ามา ซึ่ง URL ที่ส่งมาจะดูไม่น่าเชื่อถือ และมีแต่ตัวเลขเป็นหลัก

– แสร้งว่าเป็นคนรู้จัก
วิธีที่เห็นบ่อย ๆ คือการสร้าง user ปลอมขึ้นมา แล้วทักไปหลอกว่าสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาใหม่ของเก่าเข้าไม่ได้ ซึ่งถ้าใครไม่เอะใจ ก็จะโดนหลอกเอาข้อมูลไปได้ง่าย และมิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลพวกนี้ไปหลอกต่อไปอีกเรื่อย ๆ

จุดสังเกตที่บอกว่าป็นมิจฉาชีพปลอมตัวมา

SMS
– ข้อความไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีเนื้อหารายละเอียด แต่พยายามโน้มน้าวให้คลิกลิงก์

เว็บไซต์
– URL ไม่ขึ้นด้วย https:// ซึ่งถือเป็นเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ หรือไม่สามารถบอกได้ว่าเว็บไซต์นั้นจดทะเบียนอยู่ในประเทศใด

Line และ Facebook
– กรณีเป็นรูปแบบส่วนบุคคล จะมาในรูปแบบเพื่อนโดยเพิ่มเพื่อนเข้ามาแล้วอ้างเหตุผลสารพัดให้เราเชื่อ
– มีการใช้คำผิด หรือสะกดคำผิดอยูบ่อย ๆ

เมื่อรู้รูปแบบที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงเพื่อเอาเงินจากเราแล้ว ทีนี้ก็มาดูวิธีการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกันบ้าง

วิธีป้องกันภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

– ตั้งสติ ไม่ให้ข้อมูลใครง่าย ๆ แม้ว่าจะเป็นคนรู้จัก หรือสนิทสนมก็ตาม
– อย่าใจร้อนกรอกข้อมูลส่วนตัว ถ้ามีการให้ยืนยันการสมัคร หรือได้รับรางวัลผู้โชคดี โดยอ้างว่ามาจากสถาบันการเงินให้โทรสอบถามเพื่อความแน่ใจก่อน
– สังเกตลิงก์ที่แนบมากับข้อความเสมอ วิธีเช็กง่าย ๆ คือ เว็บไซต์ของสถาบันการเงินจะต้องขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น
– ไม่ใช้ wifi สาธารณะในการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์
– จำกัดการถอนเงินในแต่ละวัน
– เปลี่ยนรหัสสม่ำเสมอทุก ๆ 3-6 เดือน

ในสถานการณ์แบบนี้อย่าไว้ใจใครง่าย ๆ ไม่ควรบอกข้อมูลส่วนตัวกับใคร พร้อมตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ มีสติ ไม่ประมาทถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ขอบคุณข้อมมูลจาก Money Coach, SCB