ระยะเวลาและรูปแบบการจัดเก็บข้ อมูลในเครดิตบูโร
ในบทความนี้ผมใคร่ขอนำเสนอข้อมู ลแก่ท่านผู้อ่านเรื่อง ระยะเวลาและรูปแบบการจัดเก็บข้ อมูลในเครดิตบูโร ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของท่ านที่มีบัญชีสินเชื่อไม่ว่ าจะเป็นสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เพราะมีความเข้าใจผิดเป็นอย่ างมากในหลายเรื่องดังต่อไปนี้
ความเชื่อที่ผิด : หากเมื่อไหร่ที่ผิดนัดชำระหนี้ แล้วชื่อของเราจะเข้าไปอยู่ ในเครดิตบูโร
สิ่งที่ถูกต้อง : ไม่ว่าจะเป็นการชำระตรงตามเวลา หรือมีการผิดนัดชำระ สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลตามจริ งที่เกิดขึ้นเข้ามาให้กับเครดิ ตบูโร การส่งข้อมูลตามจริงของสมาชิ กจะเป็นการส่งข้อมูลรายเดือน ส่งข้อมูลเดือนละหนึ่งครั้ง
ความเชื่อที่ผิด : ข้อมูลเดือนใหม่ล่าสุดจะเข้ าไปทับข้อมูลเดือนที่ผ่านมาก่ อนหน้า เช่น ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์จะไปทับข้ อมูลเดือนมกราคม ดังนั้นถ้าเราค้างชำระเดื อนมกราคม หากไปจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลจะไปทับของเดิม จะไม่มีใครเห็นข้อมูลเดื อนมกราคมอีกต่อไป
สิ่งที่ถูกต้อง : ข้อมูลเดือนใหม่ล่าสุดจะไม่เข้ าไปทับข้อมูลเดือนที่ผ่านมาก่ อนหน้า เช่น ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์จะไม่ไปทั บข้อมูลเดือนมกราคม ดังนั้น ถ้าเราค้างชำระเดือนมกราคม หากไปจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลจะมีสองบรรทัด คือ บรรทัดที่อยู่ด้านล่างหรือบรรทั ดที่หนึ่งจะเป็นข้อมูลเดื อนมกราคมที่มีข้อมูลปรากฏว่า ค้างชำระ ข้อมูลบรรทัดบนหรือบรรทัดที่ สองจะเป็นข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีข้อมูลปรากฏว่า ไม่ค้างชำระ คนที่ทำหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่ อจะเห็นข้อมูลเป็นประวัติคือเห็ นทั้งสองบรรทัด สองเดือนทั้งที่ค้างชำระและไม่ ค้างชำระ เขาจะอ่านข้อมูลได้ว่าเจ้าของข้ อมูลรายนี้ค้างชำระเดือนมกราคม ต่อมาได้มาจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ เขาจะถามต่อว่าเหตุที่ทำให้ค้ างในเดือนมกราคมนั้นคืออะไร มาจากสาเหตุอะไร
ตามกฎหมายที่กำหนดในเวลานี้ กำหนดว่า สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลระยะเวลาจัดเก็ บไม่เกิน 3 ปี นับแต่ข้อมูลนั้นสมาชิกได้ส่ งเข้ามาให้กับเครดิตบูโร เช่น สถาบันการเงินส่งข้อมูลเข้ามา 30 มกราคม 2563 ข้อมูลบรรทัดนี้จะออกจากฐานในวั นที่ 30 มกราคม 2566 เป็นต้น
คำถามคือทำไมต้องเก็บข้อมูลเป็ นรายเดือน ไม่ทับกัน เก็บต่อเนื่องเป็นขนมชั้น 36 ชั้นหรือ 36เดือน หรือ 3 ปี เหตุผลที่เก็บเพื่อให้คนที่วิ เคราะห์สินเชื่อเห็นข้อมูลในช่ วงเวลาหนึ่งที่ไม่เกิน 3 ปี เขาก็จะวิเคราะห์ได้ว่าคนนี้มี พฤติกรรม นิสัยใจคอ ในการชำระหนี้อย่างไร จ่ายครบจ่ายตรงใช่ไหม มีการค้างชำระหรือไม่เดือนไหน เกิดการค้างชำระนานแล้วหรือเพิ่ งเกิดขึ้น เกิดบ่อยหรือไม่หรือเกิดเพี ยงครั้งเดียว พอมีการค้างชำระแล้วเดือนต่ อมามีการนำเงินมาจ่ายจนทำให้เป็ นปกติหรือไม่ ท้ายสุดคือ เพื่อตั้งคำถามกับเจ้าของข้อมู ลว่าเพราะอะไรถึงได้เกิดการค้ างชำระ จุดนี้เขาเรียกว่า การวิเคราะห์ความตั้ งใจในการชำระหนี้หรือ Willingness to pay analysis นั่นเอง ข้อวิเคราะห์นี้จะนำไปพิจารณาร่ วมกับข้อมูลการวิเคราะห์ ความสามารถในการชำระหนี้หรือ Ability to pay analysis และข้อมูลเรื่องหลักประกัน
สำหรับมาตรฐานสากลในการเก็บข้ อมูลในเครดิตบูโรนั้นคือเครดิ ตบูโรเก็บข้อมูลที่ได้รั บจากสมาชิกสถาบันการเงิน 3 ปีขึ้นไปหรือขั้นต่ำควรเก็บข้ อมูลไว้ 3 ปี ธนาคารโลกจะมีการสำรวจและจั ดทำเป็นรายงานเผยแพร่ทั่วโลกว่ าในจำนวน 190 กว่าประเทศมีประเทศใดเก็บข้อมู ลเป็นระยะเวลาเท่าใด….เอธิ โอเปียประเทศที่ยากจน ด้อยพัฒนาเขาเก็บข้อมูล 5 ปี ประเทศไทยเราได้ตัดสินใจในอดี ตแล้วว่าเก็บไม่เกิน 3 ปี ครับ