เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “เราจะมีสุขใน​ ยุค “อปกติ” ที่ต้องคุ้นชินให้ได้อย่างไร” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563

  เราจะมีสุขในยุคอปกติที่ต้องคุ้นชินให้ได้อย่างไร

ทุกสิ่งที่เกิดล้วนมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
สิ่งใดที่เกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดีทั้งสิ้น
อดีตเป็นเหตุปัจจุบันเป็นผล
เกิดแก่เจ็บตายล้วนเป็นความจริง
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
ทุกสิ่งล้วนเกิดมาตั้งอยู่เสื่อมลงดับไป
ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย
คาถาการบริหารเงินฝากออมสินฝังดินไว้ใช้หนี้เก่าให้เขากู้ทิ้งสู่เหว
และอื่นๆอีกมากมายที่เป็นคติคิดในอดีตจนมาถึงปัจจุบันซึ่งก็ต้องยอมรับว่าผู้คนมากบ้างน้อยบ้างก็ได้นำเอามาใช้ในชีวิตประจำวันหากแต่ในช่วงอปกติที่ไวรัสซึ่งเป็นเชื้อโรคที่อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ต้องมาอยู่กับสิ่งมีชีวิตและได้ทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ตนเองอาศัยอยู่จนถึงแก่ความตายหากเรามองแบบที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI) ได้พูดไว้น่าสนใจคือ
มนุษย์อยู่ในระบบนิเวศน์แล้วก็ทำลายระบบนิเวศน์เสียยับเยินโลกร้อนขึ้นน้ำท่วมแผ่นดินไหวพายุมาไฟป่าและควันพิษมนุษย์ก็ยังไม่หยุดการทำลายซ้ำร้ายยังพยายามแพร่พันธุ์ให้มากขึ้นบริโภคมากขึ้นกระตุ้นการทำลายมากขึ้นโดยไม่สนใจว่าระบบนิเวศน์จะพังทลายและย้อนมาทำลายตัวเองซึ่งมันก็เหมือนกับไวรัสที่ต้องการความอยู่รอดมองหาระบบนิเวศน์สำหรับตนและพบว่าในสัตว์ในร่างกายของคนเราคือระบบนิเวศน์ของเขาเมื่อเขาเข้ามาโดยการเกาะติดเซลล์ของตัวเราจากนั้นก็พากันไปยังจุดที่เขาต้องการจะอยู่ พออยู่ได้เขาก็ต้องการแพร่พันธุ์แตกตัวกระจายตัวเพิ่มจำนวนทำลายล้างระบบนิเวศน์ที่เขาชอบอยู่คือปอดมนุษย์ผลคือมนุษย์ก็ต้องตายไวรัสที่อยู่ด้วยก็ต้องตายไปเหมือนกัน ดังนั้นการดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตกับความต้องการแพร่เผ่าพันธุ์จึงน่าจะเป็นปฐมเหตุของหลายสิ่งที่เกิดขึ้นที่เขียนเล่ามาทั้งหมดก็เพื่อเกริ่นนำว่าสิ่งที่ยังทำให้มนุษย์รอดและคงจะรอดต่อไปคือการความสามรถในการปรับตัวเริ่มจากปรับใจปรับความคิดปรับวิธีการดำเนินชีวิตและต้องปรับมุมมองของตัวเองกับมนุษย์คนอื่นและระบบนิเวศน์ที่ตนเองอยู่อาศัย

เมื่อเราทุกคนซึ่งเป็นมนุษย์ที่ยังอยู่ในสังคมเศรษฐกิจเราคงไม่สามารถเก็บกักตัวเองได้ตลอดไปการอยู่รอดแบบตัวกูของกูไม่สนคนอื่นคงยากเมื่อเวลาของการเปิดเมืองเปิดให้ค่อยๆดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกับการใช้ชีวิตก่อน​ COVID​-19จะมาห้ำหั่นจนทุกวันนี้จะเกิดความท้าทายในระบบย่อยๆในระบบเศรษฐกิจใหญ่ในหลายเรื่องเช่นที่ผู้เขียนขอนำมายกเป็นตัวอย่าง

1.ผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้มันจะได้ต่ำกว่าเดิมหรือไม่เช่นร้านอาหารเดิมเคยมี​ 40โต๊ะกินกันแบบเบียดเสียดแต่ในอนาคตถ้าเปิดเมืองจะต้องนั่งห่างๆกันซึ่งอาจจะเหลือ​ 20โต๊ะในพื้นที่เดียวกันรายได้ก็จะน้อยลงแต่รายจ่ายจะบริหารงานอย่างไรจำนวนพนักงานจะลดลงไปหรือไม่ลดแล้วเลิกจ้างเขาแล้วเขาเหล่านั้นจะไปทำอะไรที่ไหนได้อีก การว่างงานโดยรวมจะเพิ่มสูงทุกหนแห่งหรือไม่ว่างงานมากๆปัญหาสังคมจะเพิ่มมากหรือไม่ต้นทุนในเรื่องความปลอดภัยจะเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ลองคิดดู

2.การให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพจะมีมากขึ้นหรือไม่ความสะอาดการประพฤติตนเองสุขอนามัยสุขบัญญัติกินร้อนช้อนกูแยกห่างกันอยู่ตัวกูจึงรอดการปฏิบัติตัวที่จะนำไปสู่สุขภาพที่แข็งแรงเช่นไม่อ้วนกินน้อยออกกำลังกายมากนอนพักผ่อนให้พอจะกลายเป็นวิถีของคนที่ปรับตัวเหตุเพราะกลัวตายอีกทั้งยังอยากใช้ชีวิตใช้เงินทองทรัพย์สินที่ตัวเองหามาได้ไปอีกระยะหนึ่งการให้ความร่วมมือกับแพทย์แบบที่เรียกว่า​ “เชื่อหมอแล้วเราจะรอดได้พิสูจน์มาแล้วชีวิตสำคัญกว่าเศรษฐกิจหรือการคิดถึงชีวิตคนอื่นเพราะปัญหาจากคนอื่นถ้าเขาไม่รอดเราก็อาจจะไม่รอดก็ได้และชีวิตที่ต้องรอความหวังว่าวัคซีนจะมาในเร็ววันซึ่งมันก็เร็วไม่ได้อย่างที่ใจเราคิดดังนั้นสุขภาพดีไม่มีขายอยากได้ต้องทำเองจะกลายเป็นวิถีของคนปรับตัวคนกลัวตายคนที่จะอยู่รอดต่อไป

3.การบริหารจัดการทางการเงินภายใต้สถานการณ์ที่เรียกว่าจู่ๆรายได้ก็หายไปหายไปแบบทำอะไรไม่ได้หายไปแบบไม่มีทางรู้เลยว่าจะได้กลับมาวันไหนหายไปแบบทั้งที่มีความรู้ความสามารถแบบเดิมพร้อมทำงานพร้อมทำธุรกิจแต่ต้องหยุดอยู่บ้านหยุด(แพร่)​เชื้อเพื่อชาติสิ่งที่เรียกว่า​ “Income shock” ก็เกิดขึ้นในขณะที่ตัวเองได้ก่อหนี้ทั้งที่ก่อเพราะความจำเป็นหรือก่อเพราะความอยากมันคือภาระที่ต้องจ่ายตามสัญญาสิ่งที่บอกกันมาแบบพูดปากจะฉีกถึงหูที่ไม่เคยผ่านเข้าไปในความคิดและพฤติกรรมที่บอกว่าต้องมีเงินออมอย่างน้อย​ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือนไม่เคยคิดจะทำใช้จ่ายไปเพราะของมันต้องมีมาวันนี้ถึงได้รู้สัจธรรมเหตุเพราะจะแปรเปลี่ยนกระเป๋ารองเท้ามาเป็นสิ่งของอันจำเป็นในชีวิตไม่ทันได้แต่รันทดกับพฤติกรรมของตัวเราเองในอดีตในวันข้างหน้าหากผ่านเหตุการณ์วันนี้ไปแล้วยังคิดไม่ได้ก็จะได้เจอสิ่งที่ไม่คาดคิดเพราะเรายังไม่รู้ว่าจะเจอกับ​ COVID​-25 อีกหรือไม่ผู้เขียนเชื่อว่าการสร้างเงินออมจะเป็นวัคซีนป้องกันภัย​ Income shock ในอนาคตอย่างแน่นอน

หากเราอยากได้สิ่งที่มันไม่มี
เราก็ต้องสร้างต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ

แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคอปกติสุขคืออยู่กับความผิดปกติอย่างมีความสุขก็คือใส่หน้ากากอย่าอ้วนให้ผอมเข้าไว้ กินพอดีออกกำลังกายให้มากนอนพักให้พอกินร้อนช้อนกูห่างกันสุดกู่อยู่ด้วยการออนไลน์ อย่าทำลายบ้านเมืองด้วย​ Fake news