เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “ทำไมคนให้กู้สองฝั่งมองโอกาสและอุปสรรคต่างกันในตลาดสินเชื่อ” www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562

ทำไมคนให้กู้สองฝั่งมองโอกาสและอุปสรรคต่างกันในตลาดสินเชื่อ

บทความผมวันนี้มาจากการอ่านข่าวสารที่ออกมาของผู้บริหารสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมคือธนาคารพาณิชย์กับมุมมองของผู้บริหารกิจการร่วมทุนลูกผสมระหว่าง​ Technology​ company หรือ​ Tech Fin ที่ก้าวเข้ามาร่วมทุนกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่

มันเป็นจริงเสมอเมื่อเราอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน​ เศรษฐกิจโตชะลอตัวลง​ สงครามการค้าไม่จบ​ เทคโนโลยีดีขึ้นแต่ราคาถูกลง​ ผู้คนต่างวัยต่างความคิด​ ขัดแย้งกันแทบทุกเรื่อง​ ตั้งแต่การใช้ชีวิต​ รูปแบบการทำงาน​ เราจึงพบคนสองแบบเสมอในการประชุม
คนที่หนึ่ง​ เห็นปัญหาในทุกทางออก
คนที่สอง​ เห็นทางออกในทุกปัญหา
คนที่สาม​ คือคนที่บอกว่าเกิดอะไรในระบบเศรษฐกิจ​ อธิบายอดีตเก่งแต่ไม่บอกอนาคตว่าน่าจะไปยังไงต่อ
คนที่สี่คือคนที่ต้องมาตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร​ จะเดินกันอย่างไร

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานผลการดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี 2562 พบว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อ โดยเฉพาะลูกหนี้​ SME​ ส่งผลให้สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์เติบโตลดลงต่อเนื่องจาก 4.2% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ระดับ 3.8% ในเวลาเดียวกันคุณภาพสินเชื่อของระบบพาณิชย์ในภาพรวม ยังมีสัดส่วนหนี้เสียหรือ​ NPL​ ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจาก 2.95% เป็น 3.01% โดยมียอดคงค้าง NPL ที่ 4.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อน  สาเหตุมาจากลูกหนี้รายใหญ่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อ​ SME​

ฝั่งผู้บริหารสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมที่ทำธุรกิจปล่อยกู้รายย่อย​ SM​E ต่างก็กังวลว่า​ปีหน้า​ กู้ซื้อบ้านจะผ่านอนุมัติยาก เหตุเศรษฐกิจชะลอ ถูกหั่น ค่าล่วงเวลา(OT)กระทบรายได้ของผู้ยื่นขอกู้ หลังเห็นสัญญาณรายรับของแรงงานไม่ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในไตรมาส 4 ปีนี้​ตลาดสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยก็ยังไม่ฟื้น เหตุเร่งโอนก่อนมีมาตรการ​ LTV และพบว่ายอดปฏิเสธการให้สินเชื่อพุ่ง 40% บางท่านให้ข้อมูลว่า​ ภาพรวมสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสิ้นปี 2562 มีแนวโน้มเติบโตในอัตราติดลบ 10-15% สาเหตุหลักๆ มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวบวกกับมาตรการ LTV และยังเห็นสัญญาณกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เคยได้รับค่าล่วงเวลา (OT) เริ่มไม่ต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของกลุ่มนี้ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่า ในปีหน้าหลายธนาคารจะไม่นำรายได้จาก OT มาคิดรวมเป็นรายได้ของผู้กู้​ ดังนั้นจะทำให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อมีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น ธนาคารจะเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อเพราะเมื่อเศรษฐกิจชะลอและเห็นสัญญาณความสามารถในการผ่อนชำระต่ำ เพราะรายได้คนกู้น้อยลง ก็ต้องมองบนความเป็นจริงหากฝืนไปก็เจ็บตัว ส่วนหนี้เสีย NPL เห็นสัญญาณจากทุกอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประเด็นของทุกธนาคารต้องระมัดระวังเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว

หันกลับมาในมุมของผู้บริหารกิจการร่วมทุนระหว่าง​ Tech Fin กับ​แบงก์พบว่าเขามีความมุ่งมั่นจะเอาบริการที่คิดค้นมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้า ต่อยอดจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าผู้ใช้บริการสื่อสารบน App อยู่แล้วกว่า 44 ล้านคน บวกกับฐานลูกค้าของธนาคารอีกเกือบ 17 ล้านคนแล้ว เขามองเห็นโอกาสในกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (Underbanked) อีกประมาณ 45% ซึ่งเป็นคนที่มีบัญชีกั
(มันมีคำถามตลอดว่าระบบดั้งเดิมทำไมมองไม่เห็น​ มันเป็นเพราะอะไร)​
จะมีการสร้างการให้บริการทั้งด้านสุขภาพทางการเงินหรือตอบสนองผู้ใช้ App ให้มีวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล การประกันภัยและการลงทุน ซึ่งเป็นโจทย์ในระยะยาว โดยนำเอาฐานข้อมูล (Data) ที่มีอยู่แล้วเริ่มจากการประเมินพฤติกรรมลูกค้าบุคคล พฤติกรรมลูกค้าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่วนตัวแล้วนำข้อมูลมาพัฒนาบริการที่ง่ายให้เข้าถึงลูกค้าด้วยความศรัทธาและปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการในขั้นตอนประเมินความเสี่ยงและประเมินรายได้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (ซึ่งมันก็รวมถึงกลุ่มที่สถาบันการเงินรูปแบบเก่ามองว่าอาจจะเสี่ยงในปีหน้า)​ โดยวงเงินกู้และดอกเบี้ยจะเป็นไปตามความเสี่ยงของตัวลูกค้าที่สะท้อนในข้อมูลนั่นเองแต่ก็คิดได้ไม่เกิน​ 28% ต่อปี

“เรากำลังเตรียมสร้างทีมงานและพัฒนาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์บริการ ซึ่งเวลานี้อาศัยทีมงานจากเครือข่ายที่มาช่วย​ จากนั้นกลางปี 2563 จะเริ่มให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Lending) ซึ่งช่วงปีแรกหวังว่าจะมีลูกค้าให้ความสนใจเป็นหลักล้าน (ย้ำอีกทีว่าหลักล้านคน)​”

ท่านผู้อ่านลองคิดตามนะครับ​ ว่าใครจะอยู่  ใครจะรอด​ ในปีหน้าอันไม่ไกลนี้รดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่  1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป