ทำไมต้องมีเครดิตบูโร (Credit Bureau) ในระบบการเงินของไทย

ทำไมต้องมีเครดิตบูโร (Credit Bureau) ในระบบการเงินของไทย

เราดูได้จากหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545

ปี 2545 มีการตรา พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 โดยมีเหตุผล คือ โดยที่การกู้ยืมหรือให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าอย่างเพียงพอว่าลูกค้ารายนั้น มีประวัติอย่างไรและมีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นมากน้อยเพียงใด เท่าที่ผ่านมา การให้กู้ยืมหรือการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน ส่งผลให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปะัญหาความไม่มั่นคงแก่สถาบันการเงินนั้น และระบบสถาบันการเงินโดยรวม นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทำธุรกรรมข้อมูลเครดิต รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลไว้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ปี 2548 มีการควบรวมกิจการของบริษัทข้อมูลเครดิตทั้ง 2 แห่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ National Credit Bureau  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 เพื่อให้ข้อมูลเกิดการรวมศูนย์ ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนและนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบกรณีมีบริษัทข้อมูลเครดิตหลายแห่ง

 

เครดิตบูโรเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (Financial Infrastructure)

ตามที่ระบุในวารสารพระสยามธนาคารแห่งประเทศไทย

– ปัจจัยเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน

– โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (Financial Infrastructure) ระบบบัญชี  ระบบกฎหมาย ข้อมูลเครดิต ฯลฯ

> เศรษฐกิจที่ดี

> ระบบสถาบันการเงิน  ( การบริหารความเสี่ยง  ธรรมาภิบาล)

> ความเชื่อถือของลูกค้า ประชาชน (Confidence)

1.เกณฑ์และการกำกับ สถาบันการเงิน

2.Lender of Last Resort

3.ระบบประกันเงินฝาก

4.ระบบการจัดการกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา (Rehabilitation & Resolution)

ภาพใหม่ของระบบสถาบันการเงินที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้วนับตั้งแต่ปี 2540 เพราะการปฏิรูปครั้งใหม่ได้เกิดขึ้น

 

ที่มา : วารสารพระสยาม ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2556