คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “เครดิตบูโร!! คืออะไร?…ในประเทศไทย” : นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2563

เครดิตบูโร!! คืออะไร?…ในประเทศไทย

ขอบคุณ มากครับที่ติดตาม
บทความเริ่มต้นในการทำความรู้จักและเข้าใจว่า องค์กรที่มีชื่อติดปากว่า “เครดิตบูโร ” นั้นแท้จริงแล้ว คือ…องค์กร อะไร  มี หน้าที่อะไร เกี่ยวอะไรกับสถาบันการเงิน และเกี่ยวอะไรกับการดำเนินชีวิตหรือเกี่ยวอะไรกับประชาชนคนยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน…แล้วอะไร? คือสิ่งที่ถูกต้องที่ควรเข้าใจ จดจำ และนำไปบอกเล่ากันต่อไปในวงกว้าง
1. เครดิตบูโร หรือชื่อทางการ…คือ บริษัท ข้อมูลเครดิต แห่งชาติจำกัด เป็นองค์กร ที่อยู่ในรูปของบริษัทหรือนิติบุคคลหรือองค์กรภาครัฐในโลกนี้กว่า 190 ประเทศต่างมีการตั้งเครดิตบูโร ซึ่งของไทยมีการจัดตั้งขึ้นมาหลังวิกฤติ การเงิน ปี  40
2. เครดิตบูโร มีหน้าที่หลัก…คือ รับข้อมูลเครดิตจากสมาชิก ประมวลผลข้อมูล รักษาความลับของข้อมูล และเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิก หลังจากที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลได้เช่น ธนาคารเอ ส่งข้อมูลให้เครดิตบูโร ว่า นายเอ มีบัญชีหนี้สินเป็นสินเชื่อบ้าน และในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา นายเอ มีการชำระหนี้ดี ตรงเวลาไม่ค้างชำระ แต่พอ นายเอ ไปยื่นขอกู้ที่ ธนาคารบี เพื่อทำบัตรเครดิต ธนาคารบี ขอให้ นายเอ  ลงนามในหนังสือให้ความยินยอม ให้เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูล ว่า นายเอ  มีหนี้กี่บัญชี สถานะในเดือนปัจจุบัน ค้างหรือไม่ค้าง  และมีประวัติย้อนหลังเป็นรายเดือนว่า เดือน มิ.ย.-ก.ย. ที่ผ่านมา นายเอ ได้ทำอะไรลงไปกับบัญชีสินเชื่อที่ตนเองมีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
ตรงนี้แหละครับ!!! คือ ข้อมูลแสดงพฤติกรรมของตัวคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลว่า …เมื่อมีหนี้แล้วประพฤติปฏิบัติอย่างไรรับ ผิดชอบหรือ ไม่ ชำระครบ ชำระตรงเวลาหรือไม่ สิ่งนี้…เรียกว่า นิสัยความตั้งใจในการชำระหนี้ของเจ้าของข้อมูล
3. หน้าที่ของเครดิตบูโร…คือ เป็นถังข้อมูลที่เก็บข้อมูลคนเป็นหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่เป็นสมาชิก ของเครดิตบูโร เพื่อให้สมาชิกได้ใช้ข้อมูลนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ ว่า จะให้กู้หรือไม่ให้กู้  นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ อาชีพ สถานะทางสังคม แผนธุรกิจและหลักประกัน เครดิตบูโร คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล ข้อมูลที่จะทำให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ไม่เสี่ยง ไม่เกิดหนี้เสียเพราะไม่รู้ข้อมูลคนขอกู้อย่างเพียงพอ
“เราต้องไม่ลืมว่า เงินที่เอามาปล่อยกู้คือเงินจากผู้ฝากเงินถ้าปล่อยกู้หาประโยชน์ ไม่เสี่ยงเกินไป ความเสียหายที่จะเกิดกับเงินฝากก็จะน้อยลงไปตามกัน”
ท่านผู้อ่านลองคิดตาม…เวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปี 8 เทอม การศึกษา สำนักทะเบียนบอกว่า ได้เกรดเอ จำนวน 20 วิชาที่เรียนแต่ได้ เกรดซี จำนวน 1 วิชาที่เรียน ในช่วงปี 3 เทอม 2 ซึ่งเกรดที่ได้จะมาจากอาจารย์ ที่ไปเรียนวิชานั้น ๆ ทีนี้เวลาไปสมัครงาน จะกังวลหรือไม่หากคนสัมภาษณ์จะถามว่า ทำไมปี 3 เทอม 2 ได้เกรดซีมาหนึ่งตัว..
การที่จะผ่านเกณฑ์ การประเมินแล้วถูกรับเข้าทำงาน!! หรือได้รับสินเชื่อ!! เป็นผลมาจากตัวเรา เอง จากวินัยทางการเงิน หรือมาจากอาจารย์ มาจากสถาบันการเงิน หรือเพราะสำนักทะเบียน ที่ไปเก็บข้อมูลทั้งดีและไม่ดีของเรากันแน่ล่ะ?
‘เครดิตดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเองเป็นหนี้ต้องใช้หนี้สัญญา ต้องเป็นสัญ ญาชำระหนี้ต้องชำระให้ครบตรง นิสัยในการชำระหนี้คือข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดในการประเมินความตั้งใจในการชำระหนี้และในปีล่าสุด.เครดิตบูโรในประเทศไทยได้รับคะแนน การประเมินจากธนาคารโลกที่ 7 คะแนนจากคะแนนเต็ม 8  ครับผม”.